คำถามเกี่ยวกับยา
โดย
เรื่อง :
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency contraception pill: ECP) หมายถึง ยาเม็ดที่มีวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากที่ได้มีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินในขนาดสูงกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดธรรมดา โดยมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการใช้ยาเหล่านี้ ได้แก่
- การถูกข่มขืนกระทำชำเรา
- การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดโดยไม่ได้มีการป้องกันไว้ก่อน
- วิธีการคุมกำเนิดที่ได้ใช้ไปมีข้อผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยแตกรั่ว หรือลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันมาแล้วถึงสามเม็ด
- ป้องกันหรือเลื่อนเวลาการตกไข่
- ป้องกันการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ
- ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะในการฝังตัวของตัวอ่อน
การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานยาทั้งหมดรวม 2 เม็ด โดย
- 1 เม็ดแรกรับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 72 - 120 ชม.หลังมีเพศสัมพันธ์
- จากนั้นรับประทานยาฯอีก 1 เม็ดอีก 12 ชม.ถัดมา
เนื่องจากยามีปริมาณของฮอร์โมนสูงจึงทำให้ไม่เหมาะสมในการใช้เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไปเพราะมีผลข้างเคียงสูง เช่น
- การมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
- มีอัตราการล้มเหลว/การตั้งครรภ์สูงกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป
ถ้าหากไม่มีประจำเดือนมาปกติภายใน 3 สัปดาห์หลังจากการรับประทานยานี้ ขอแนะนำให้ตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์ และหากตั้งครรภ์จะมีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกได้สูงกว่าประชากรทั่วไป จึงควรไปพบแพทย์/สูติแพทย์แต่เนิ่นๆ หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์ และแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่าได้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินก่อนการตั้งครรภ์นี้ แพทย์จะได้ตรวจให้มั่นใจว่ามีหรือไม่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท้องนอกมดลูก) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อนึ่ง การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินนี้ มิได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอชไอวี โรคเอดส์ โรคหนองใน และโรคซิฟิลิส แต่อย่างใด สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยมีชื่อทางการค้า เช่น Postinor และ Madonna
วิตามินซี หรือ กรดแอสคอบิก (Ascorbic acid หรือ L-Ascorbic acid หรือ Ascorbate) มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี เป็นวิตามินที่พบได้ตามธรรมชาติ เช่น ในผัก ผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง สับปะรด พริก แตงโม บรอกโคลี่ กระหล่ำดอก มะ นาว กล้วย ผักโขม สตอเบอร์รี มะเขือเทศ มะละกอ เป็นต้น
• ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์คอลลาเจน (Collagen) และ แอลคาร์นิทีน (L-carnitine, สารที่ช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานได้อย่างปกติ)
• เป็นส่วนร่วมในกระบวนการทำงานของสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ชนิดต่างๆ
• เป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการสมานบาดแผล
• เป็นส่วนร่วมของกระบวนการเปลี่ยนแปลงโปรตีนเพื่อการใช้งานในร่างกาย
• เป็นสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกายรวมถึงมีส่วนร่วมในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่น เช่น วิตามินอี หรือ Tocopherol
ปกติผู้ชายควรได้รับวิตามินซี 90 มิลลิกรัม/วัน ในขณะที่ผู้หญิงต้องการ 75 มิลลิกรัม/วัน แต่สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรควรได้รับวิตามินซีสูงถึงประมาณ 120 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งอาจมีความแตกต่างทางมาตรฐานการบริโภคของแต่ละประเทศที่ต่างกันเล็กน้อย ทั้งนี้ ปริมาณสูงสุดที่ร่างกายได้รับไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน
• เลือดออกตามไรฟัน (โรคลักปิดลักเปิด/โรคขาดวิตามินซี)
• เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
• หลอดเลือดฝอยขาดความยืดหยุ่นไม่แข็งแรงหลอดเลือดจึงแตกได้ง่าย
• ปวดตามข้อ เจ็บกระดูก
• คลื่นไส้ อาเจียน
• วิงเวียน
• ท้องเสีย
• ก่อให้ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต เพราะเพิ่มปริมาณเกลือออกซาเลต (Oxalate) และกรดยูริค (Uric acid)
• ร่างกายอาจมีธาตุเหล็กมากเกินควรซึ่งธาตุเหล็กจะไปสะสมตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะตับ ส่งผลให้อวัยวะเหล่านั้นเกิดการอักเสบได้ และการให้วิตามินซีทางหลอดเลือดดำอาจทำให้เกิดไตวายได้
• การอมวิตามินซีชนิดเม็ดสำหรับรับประทานสามารถทำให้เคลือบฟันและฟันสึกกร่อนได้เพราะวิตามินซีมีฤทธิ์เป็นกรด
• กรณีใช้ร่วมกับยา Dextroamphetamine อาจทำให้ฤทธิ์ในการรักษาของ Dextro amphetamine ด้อยประสิทธิภาพลงไป กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
• กรณีใช้ร่วมกับยา Deferoxamine (ยาขับธาตุเหล็ก) อาจก่อให้เกิดปัญหากับหัวใจและมีภาวะต้อกระจก กรณีที่ต้องใช้ยาร่วมกันควรเว้นระยะเวลาหลังการใช้ Deferoxamine ไปแล้วประมาณ 1 เดือน
• กรณีใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งเช่น Bortezomib อาจทำให้ประสิทธิภาพของ Bortezomib ด้อยลงไป หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
การอักเสบ (Inflammation) คือ การตอบสนองของหลอดเลือด (Vascular tissue) ต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายส่งผลให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นเกิดอาการ บวม แดง ร้อน เจ็บ/ปวด และอาจมีอาการไข้เกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักของการอักเสบมี 2 สาเหตุคือ สาเหตุจากการติดเชื้อโรคและสาเหตุจากที่ไม่ใช่การติดเชื้อโรค
1. ยาต้านอักเสบสเตียรอยด์ (Glucocorticoid หรือ Corticosteroid) หรือมักเรียกสั้นๆว่า “สเตียรอยด์” เป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากต่อมหมวกไต (Adrenal cortex) นอกจากจะมีฤทธิ์ต้านอักเสบ (Anti-inflammatory effects) แล้วยังมีผลต่อระบบเมแทบอลิซึม/การเผาผลาญใช้พลังงานของร่างกาย (Metabolic effects) เช่น การสร้างน้ำตาลกลูโคสจากกรดอะมิโน มีฤทธิ์สลายโปรตีน ไขมัน (Catabolic effects) และกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย (Immunosuppressive)
2. ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSIAD: Non-steroidal anti-inflammatory drug) หรือมักเรียกสั้นๆว่า “เอ็นเสด” เป็นยาที่ใช้ต้านอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากติดเชื้อ แต่ลักษณะอาการอักเสบจะคล้ายกับการอักเสบจากติดเชื้อ ได้แก่ อาการบวม แดง ร้อน เจ็บ/ปวด และอาจมีไข้ เป็นยาที่มีคุณสมบัติต้านการทำงานของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เลือดแข็งตัวได้ช้า ลดโอกาสการเกิดลิ่มเลือด แพทย์จึงมักใช้ยากลุ่มนี้ในการป้องกันและรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เอ็นเสดสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Non-specific COX inhibitors (Traditional NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น และ กลุ่ม COX-2 inhibitors เช่น เซเลค็อกสิบ (Celecoxib) อีโทริค็อกสิบ (Etoricoxib) ซึ่งเป็นยาที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยากลุ่ม Non-specific COX inhibitors
ข้อควรระวังหลักในการใช้ยาสเตียรอยด์
- หลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคจิต โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน และโรคติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อ
- เนื่องจากยาสเตียรอยด์มีผลข้างเคียงมาก จึงควรใช้ยาในขนาดที่น้อยที่สุดและในระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะควบคุมโรคได้
- ใช้ยาเฉพาะที่ เช่น ยาพ่นในการรักษาโรคหืดแทนการใช้ยากินหรือยาฉีด
- บ้วนปากหลังการใช้ยาแบบพ่นคอหรือพ่นจมูก เพื่อลดการเกิดเชื้อราใช้ช่องปาก
- เมื่อเห็นผลการรักษาแล้วต้องค่อยๆ ลดขนาดยาลง ไม่หยุดยาทันทีเพราะจะทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดสเตียรอยด์
ข้อควรระวังหลักในการใช้ยาเอนเสด
- ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานั้นๆ รวมถึงแพ้ยาที่มีโครงสร้างหลักคล้ายกัน
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ (เลือดออกในทางเดินอาหาร) หรือมีแผลทะลุต่างๆ เพราะเอ็นเสดจะก่อให้เกิดการระคายเคืองและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นการกินเอ็นเสดจึงต้องกินหลังอาหารทันทีและมักกินคู่กับยาเคลือบกระเพาะอาหาร
- ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก
- ควรระวังในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ เพราะยากลุ่ม COX-2 inhibitors อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants drugs) หมายถึงยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน เนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle spasm) อันเป็นผลมาจากการบาดเจ็บ หรือโรคของกล้ามเนื้อและ/หรือของกระดูก (Musculoskeletal disease) โดยใช้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการพักการใช้งานกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัด และการรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ (เช่น ยาแก้ปวด) เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
ยาในกลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อนี้ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทสวนกลาง และไม่รวมถึงยาที่ใช้ในการคลายการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasticity) จากโรคของไขสันหลัง และ/หรือโรคของสมอง ตลอดจนไม่รวมถึงยาที่ใช้คลายกล้ามเนื้อระหว่างการดมยาสลบเพื่อการผ่าตัด (Neuromuscular blockers)
ยาแต่ละชนิดในกลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อนี้ ต่างระบุข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ซึ่งกล่าวได้ว่า การใช้ยาในกลุ่มนี้
- ไม่ใช้เป็นยาหลัก แต่ใช้เป็นยาเสริม (Adjunct therapy) ยาตัวอื่นๆ
- ใช้ในกรณีที่มีอาการเฉียบพลัน (Acute) ไม่ใช่อาการจากโรคเรื้อรัง (Chronic)
- ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ (Short-term)
- เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- ไม่มีการระบุข้อบ่งใช้ในโรคของข้อ (Joint disease) เช่น ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) แต่อย่างใด
ตัวอย่าง เช่น ยา Orphenadrine: อาจพบอาการมึนงง/วิงเวียน (Dizziness) และตาพร่ามัว (Blurred vision) ได้มากกว่าร้อยละ 10 ของผู้บริโภคยา หรือพบผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกทำงานลดลง (Aplastic anemia) นอกจากนั้น Orphenadrine ยังมีปฏิกิริยากับยาหลายชนิด เช่น หากให้ร่วมกับ Haloperidol (ยาทางจิตเวช) อาจทำให้อาการของโรคจิตเภท (Schizophrenia) เลวลง เป็นต้น
ในประเทศไทยมีการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อที่ไม่สมเหตุผลกันอย่างกว้างขวางในหลายกรณี เช่น ใช้ในโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคของกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น โรคข้อ หรือใช้ระยะยาวอย่างต่อเนื่องแทนที่จะใช้ระยะสั้น หรือใช้ซ้ำซ้อนกับยาอื่นโดยเฉพาะยา NSAIDs และยา Paracetamol เนื่องจากยาในกลุ่มนี้หลายชนิดเป็นยาที่มีส่วนผสมของกับ NSAIDs หรือ Paracetamol
ทั้งนี้ ยาคลายกล้ามเนื้อเหล่านี้จัดเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงสูง
นอกจากนี้ ยาคลายกล้ามเนื้อยังไม่มีข้อกำหนดชัดแจนว่า “ไม่ควรใช้ยานานเกินเท่าไร” ตราบใดที่กินยาในขนาดที่ใช้รักษา กล่าวคือ ตามแพทย์สั่งหรือตามที่ระบุในฉลากยา และกรณีที่มีอาการดีขึ้นก็ควรหยุดใช้ยา หรือถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็ควรพบแพทย์ ไม่ควรกินยาต่อเนื่องด้วยตนเอง
เป็นกลุ่มยาที่มีโครงสร้างคล้ายสารฮิสตามีน (Histamine) ที่เมื่อกินเข้าไปแล้ว ยาจะเข้าไปจับกับตัวจับ/ตัวรับของสารฮิสตามีน (Histamine receptor) ที่อยู่บนผิวของเนื้อเยื่อตามระบบหายใจ เช่น ในโพรงจมูก หลอดลม ถุงลม และตามผิวหนังต่างๆ แทนตัวสารฮิสตามีน จึงทำให้ฮิสตามีนเข้าไปจับกับตัวรับไม่ได้ ช่วยทำให้ไม่เกิดอาการที่เป็นผลจากกระบวนการแพ้ทั้งหลาย ยากลุ่มนี้มีอีกชื่อว่า “ยาลดน้ำมูก” เพราะนอกจากช่วยลดอาการแพ้ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังใช้ช่วยลดน้ำมูกได้อีกด้วย
กลุ่มที่ 1 ยาแอนติฮิสตามีนกลุ่มง่วง มีคุณสมบัติ คือ
- ผ่านเข้าออกสมองได้ดี จึงสามารถจับกับตัวรับฮิสตามีนในสมองได้ มีผลกดระบบประสาท ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ไม่สดชื่น การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ช้าลง
- มีฤทธิ์เป็นแอนติโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug/ยาต้านสารสื่อประสาทบางชนิด) ซึ่งฤทธิ์นี้ทำให้ปริมาณสารคัดหลั่งบริเวณทางเดินหายใจ (เช่น น้ำมูก เสมหะ) ลดลง โดยเฉพาะถ้าใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น คอแห้ง ปากแห้ง โพรงจมูกแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ใจสั่น และถ้ากรณีผู้ป่วยเป็นต้อหินร่วมด้วย เมื่อใช้ยากลุ่มนี้เป็นเวลานานจะทำให้อาการต้อหินรุนแรงขึ้นได้
- ส่วนใหญ่ยามีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังกินยา
- ยาออกฤทธิ์ภายในเวลา 15-30 นาที หลังกินยา
กลุ่มที่ 2 ยาแอนติฮิสตามีนกลุ่มไม่ง่วง มีคุณสมบัติ คือ
- ยาไม่ผ่านเข้าสมอง จึงไม่กดระบบประสาท ทำให้ไม่ค่อยมีผลง่วงซึม
- ยาออกฤทธิ์ยาวนานกว่า 12 ชั่วโมงจนถึงหลายวัน
- การออกฤทธิ์จะช้ากว่ากลุ่มที่ 1 คือประมาณ 1 -2 วัน หลังกินยา ยกเว้นยาบางตัว เช่น ยาฟีโซฟีนาดีน (Fexofenadine)
- มีความเจาะจงต่อตัวรับฮิสตามีนสูง
- ไม่มีฤทธิ์เป็นแอนติโคลิเนอร์จิก
- ง่วงมากที่สุด เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไดเมนไฮดริเนต (Dimen hydrinate) ไฮครอกไซซีน (Hydroxyzine) ไซโปรเฮปตาดีน (Cyproheptadine) ไตรโพลิดีน (Triprolidine) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) บรอมเฟนามีน (Brompheniramine)
- ง่วงน้อยที่สุดถึงไม่ง่วง เช่น ยาลอราทาดีน (Loratadine) เซติไรซีน (Cetirizine) ฟีโซฟีนาดีน (Fexofenadine)
- ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะอาจดื้อยา และทำให้โพรงจมูกแห้ง ปากแห้ง เยื่อบุผิวตามทางเดินหายใจแห้ง เกิดอาการระคายคอและไอ ต่อมน้ำตาสร้างน้ำตาน้อยลง จนทำให้ตาแห้งและคันตา ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะคั่ง (ถ่ายปัสสาวะไม่ออก) และต้อหินกำเริบ
- ไม่ควรใช้ในเด็กเล็กเพราะจะออกฤทธิ์ตรงข้ามในเด็กเล็ก กล่าวคือ แทนที่จะกดระบบประสาทกลับกระตุ้นระบบประสาทแทน ทำให้เด็กเกิดอาการตื่นเต้น กระวนกระ วาย และถ้าใช้ยามากเกินขนาดอาจทำให้เด็กชักได้
- ยาแอนติฮิสตามีนทุกกลุ่มจะเสริมฤทธิ์กับแอลกอฮอล์และกับยาที่กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาคลายเครียด และยานอนหลับ จึงไม่ควรใช้ร่วมกัน
- พยายามค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้และหลีกเลี่ยงการใช้ยา เพราะแอนติฮิสตามีนเป็นเพียงยาบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรักษา ดังนั้น อาการแพ้จึงไม่หายขาดถ้ายังกำจัดสาเหตุไม่ได้
ส่วนใหญ่จะเป็นยาในกลุ่มยาต้านฤทธิ์สารที่ก่อให้เกิดอาการคันที่เรียกว่า ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งยาในกลุ่มนี้เรียกว่า ยาต้าน (ฤทธิ์) ฮีสตามีน (Antihistamine) ซึ่งมีทั้งยากินและยาทา
1. รุ่นที่ 1 (First generation) Sedating Antihistamine: เป็นกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีนที่ผ่านเข้าสู่ระบบเลือดและสมองได้ดี จึงมีผลข้างเคียงคือ ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ง่วงนอน และยังมีผลข้างเคียงอื่นๆเช่น คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก/ปัสสาวะขัด ตัวยาในกลุ่มนี้เช่น Chlopheniramine, Hydroxyzine, Tripolidine, Brompheniramine ซึ่งข้อดีของยากลุ่มนี้คือ สามารถลดอาการน้ำมูกไหลได้ และสามารถลดอาการคันได้ดีกว่ายาในรุ่นอื่นๆ
2. รุ่นที่ 2 (Second generation) Non-sedating Antihistamines: ยากลุ่มนี้ได้พัฒนาเพื่อแก้จุดด้อยของยาในกลุ่มที่ 1 โดยมีจุดเด่น 3 ประการคือ 1)ไม่ง่วง 2)ออกฤทธิ์นานกว่า 12 ชั่วโมงจนถึงหลายวัน 3)ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับตัวรับ (Receptor) ต่อฮีสตามีน ทำให้ได้ผลการรักษาได้ดีกว่ากลุ่มแรก ยากลุ่มนี้เช่น Loratadine, Mequitazine, Acrivastine, Azelastine, Ebastine, Epinastine
3. รุ่นที่ 3 (Third generation): ยากลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีคุณสมบัติเหมือนรุ่นที่ 2 แต่ตัวยาออกฤทธิ์ได้โดยไม่ต้องผ่านการย่อยสลายที่ตับและลดผลข้างเคียงต่อหัวใจ ยาในกลุ่มนี้เช่น Fexofenadine, Certirizine
ก. โรคภูมิแพ้ทางจมูก (Allergic rhinitis): ควรรักษาด้วยยาต้านฮีสตามีนในรุ่นที่ 2 ร่วมกับยาลดอาการคัดจมูก (Decongestant) และควรให้ยาพ่นจมูกพวก Corticosteroid เสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
ข. เยื่อจมูกอักเสบที่ไม่ใช่ภูมิแพ้และโรคหวัด (Non-allergic rhinitis & Common cold): ควรใช้ยาในกลุ่มต้านฮีสตามีนรุ่นที่ 1 เพราะสามารถลดน้ำมูกที่ไม่ได้เกิดจากสารฮีสตามีนได้ดีกว่าโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับยาลดอาการคัดจมูก
ค. การรักษาลมพิษและโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Urticaria - Angioedema and Atopic Dermatitis): แบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลันซึ่งมักเกิดจากการแพ้อาหารหรือยาหรือสารเคมีต่างๆ และชนิดเรื้อรังซึ่งมักจะเป็นประเภทไม่ทราบสาเหตุแน่นอน โดยอาการคันจากโรคกลุ่มนี้สามารถใช้ยาต้านฮีสตามีนได้ทั้ง 3 รุ่น แต่สำหรับชนิดเรื้อรังควรให้ยาที่มีฤทธิ์ยาวและไม่ทำให้ง่วง
ก. ยาในรุ่นที่ 1 ให้ระวังในการใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เพราะจะทำให้มีอาการง่วงมากขึ้น ได้แก่ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และพวก Alcohol
ข. ยาในรุ่นที่ 2 ให้ระวังการใช้ยาร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเมตาโบลิซึ่มของตับ ซึ่งมีผลเสี่ยงต่อการทำงานของหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับ Macrolides/Azoles group รวมไปถึงยาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
ค. ยาในรุ่นที่ 3 เป็นยากลุ่มที่ไม่มีปัญหาเหมือนรุ่น 1 และ 2 แต่จะมีปัญหาในเรื่องราคายาที่มีราคาค่อนข้างสูง
ยาบำรุงเลือดหรือยารักษาโลหิตจาง (Antianemia Drugs) หมายถึง ยาที่ใช้ป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยยาบำรุงเลือดแต่ละชนิดจะใช้รักษาตามสาเหตุนั้นๆ ดังนั้นหากสงสัยว่าตนเองมีภาวะโลหิตจางแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ไม่ควรซื้อยาหรือวิตามินใดๆ ที่รวมถึงธาตุเหล็กมากินเอง ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ยารักษาได้อย่างถูกต้องตรงกับสาเหตุของโรค
1. ยากลุ่มที่เป็นสารประกอบของธาตุเหล็ก (Ferrous compound)
2. วิตามินบี 12 หรือไซยาโนโคบาลามีน (Vitamin B12)
3. โฟเลทหรือกรดโฟลิก (Folate or Folic acid)
4. ยากระตุ้นการแบ่งตัวและพัฒนาการของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Erythropoiesis-stimulating agents, ESAs)
5. ยากระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์ (Granulocyte colony-stimulating factor, G-CSF)
6. ยากระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์และเซลล์มาโครฟาจ Granulocyte-macrophage colony-stimulating factor, GM-CSF)
1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานั้นๆ หรือมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรง/ปฏิกิริยาไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อยานั้นๆ
2. ห้ามใช้ยา Epoetin ในผู้ที่มีภาวะไขกระดูกไม่สร้างเม็ดเลือดแดง (Pure red cell aplasia / PRCA) ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่กินยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ผู้ที่มีภาวะไวเกินต่อแอลบูมิน(Albumin)
3. ก่อนฉีดยากลุ่ม G-CSF ให้กลับขวดยาไปมา ห้ามเขย่าขวดยาแรงๆ เพราะอาจทำให้ตัวยาเสื่อมสภาพ
4. ห้ามใช้ยากลุ่ม GM-CSF ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา
1. การดูดซึมของธาตุเหล็กชนิดกินจะขึ้นอยู่กับสภาวะของระบบทางเดินอาหาร เช่น สภาวะที่ระบบทางเดินอาหารเป็นกรดจะทำให้ธาตุเหล็กถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ดังนั้นหากกินตอนท้องว่างให้กินร่วมกับน้ำส้มหรือร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูง แต่ในทางกลับกันหากกินร่วมกับนม ยาลดกรด น้ำชา หรือกาแฟ จะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ลดลง อย่างไรก็ดีเพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที
2. ควรระวังการใช้ วิตามินบี 12 ชนิดกินร่วมกับยาต่อไปนี้ ได้แก่ ยา Neomycin, Chloramphenicol, Colchicine, Metformin, Cholestyramine, Potassium chloride, Methyldopa, Cimetidine, และยาเม็ดคุมกำเนิด เพราะยาเหล่านี้รบกวนการดูดซึมของวิตามินบี 12
3. เมื่อได้รับยา Epoetin แล้ว ควรตรวจระดับฮีโมโกลบินอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2-4 ครั้งต่อเดือน เพื่อควบคุมให้ค่าฮีโมโกลบินอยู่ในเป้าหมายของการรักษา เพราะยานี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและต่อการเกิดโรคหัวใจ และ/หรือโรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดอุดกั้นจากลิ่มเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง (ควรตรวจติดตามระดับความดันโลหิตตลอดระยะเวลาการรักษา) และควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก
4. ควรระวังการใช้ยากลุ่ม G-CSF ในผู้ที่มีการติดเชื้อรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน/กลุ่มอาการหายลำบากเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome) และไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่ไม่ได้หวังผลการรักษาให้หายขาด
ยาต้านเชื้อรา (Antifungal drug) เป็นยาที่ใช้รักษาหรือใช้ป้องกันอาการต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อรา โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อรา (Fungistatic) หรือมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา/ยาฆ่าเชื้อรา (Fungicidal) ทั้งนี้ควรกินยาต้านเชื้อราให้ครบตามที่แพทย์สั่งแม้อาการของโรคจะดีขึ้นแล้ว เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคและป้องกันเชื้อดื้อยา ส่วนกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง ถ้าไม่เห็นรอยโรคที่ผิวหนังแล้วก็ยังไม่ควรหยุดยาทันที ควรใช้ยานั้นต่อไปอีก 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อที่อยู่ใต้ผิวหนังถูกกำจัดออกไปเช่นกัน
ก. ยาต้านเชื้อรากลุ่มที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic antifungal drugs): ใช้รักษาการติดเชื้อราที่อวัยวะภายในร่างกายเช่น ปอด ตับ เชื้อราที่ผิวหนังตื้นๆ แต่เป็นทั่วร่างกาย รักษาเชื้อราที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาทา และรักษาโรคติดเชื้อราในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ที่มีผลทำให้เชื้อรามีการแพร่กระจายไปหลายอวัยวะ ซึ่งได้แก่ยากลุ่มต่างๆ ดังนี้
- ยากลุ่มพอลิอีน (Polyenes) เช่น ยาแอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B)
- ยากลุ่มเอโซล (Azoles) เช่น ยาไอทราโคนาโซล (Itraconazole), ฟลูโคนาโซล (Fluco nazole), คีโตโคนาโซล (Ketoconazole), โพซาโคนาโซล (Posaconazole), โวริโคนาโซล (Voriconazole)
- ยากลุ่มอัลลิลเอมีน (Allylamine) เช่น ยาเทอร์บินาฟีน (Terbinafine)
- ยากลุ่มแอคไคโนแคนดิน (Echinocandin) เช่น ยาไมคาฟันจิน (Micafungin), แอนิดูลาฟันจิน (Anidulafungin), แคสโปฟันจิน (Caspofungin)
- ยากลุ่มที่โครงสร้างคล้ายสารไพริมิดีน/สารเคมีชนิดหนึ่ง (Pyrimidine analogues) เช่น ยาฟลูไซโทซีน (Flucytosine)
- ยาอื่นๆเช่น ยากริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin)
ข. ยาต้านเชื้อราที่ใช้ภายนอก (Topical antifungal drugs): เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้นๆหรือผิวหนังชั้นนอก ผม ขน และเล็บ ได้แก่
- ยากลุ่มพอลิอีน (Polyenes) เช่น ยาไนสแตติน (Nystatin)
- ยากลุ่มเอโซล (Azoles) เช่น ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole), ไมโคนาโซล (Micona zole), อีโคนาโซล (Econazole), ไอโซโคนาโซล (Isoconazole), คีโตโคนาโซล (Keto conazole)
- ยากลุ่มอัลลิลเอมีน (Allylamine) เช่น ยาเทอร์บินาฟีน (Terbinafine), แนฟทีฟีน (Nafti fine)
- ยากลุ่มกลุ่มไทโอคาร์บาเมท (Thiocarbamate) เช่น ยาโทลนาฟเตท (Tolnaftate)
- ยากลุ่มไฮดรอกซีไพรีโดน (Hydroxypyridone) เช่น ยาไซโคลไพร็อกโอลามีน (Ciclopi rox Olamine)
- ยากลุ่มมอร์โฟลาย (Morpholine) เช่น ยาอะมอร์โรลฟีน (Amorolfine)
- ยาอื่นๆ เช่น อันดีไซลินิก แอซิด (Undecylenic acid), ยาขี้ผึ้งวิทฟิลด์ (Whitfield oint ment) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยา 2 ชนิดคือ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และกรดซาลิซิลิก (Salicylic acid)
1. ยา Amphotericin B ทำให้เป็นไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ นอกจากนี้ยานี้ยังเป็นพิษต่อตับ/ตับอักเสบและต่อไต/ไตอักเสบ ทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ และทำให้โลหิตจาง
2. ยากลุ่มเอโซล (Azoles) มีผลต่อระบบกระเพาะอาหารและลำไส้คือ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เอนไซม์การทำงานของตับในเลือดผิดปกติ และยา Ketocona zole จะยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จึงอาจทำให้เกิดภาวะนมโตในผู้ชาย
3. ยา Terbinafine ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เอนไซม์การทำงานของตับในเลือดผิดปกติ ผื่นลมพิษ
4. ยากลุ่ม Echinocandin ทำให้หลอดเลือดดำอักเสบบริเวณที่ฉีดยา ใบหน้าบวม หน้าแดง ผื่นคัน
5. ยา Flucytosine ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน มีฤทธิ์กดไขกระดูก/กดการทำงานของไขกระดูก ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ และอาจทำให้ลำไส้อักเสบ
6. ยา Griseofulvin ทำให้เกิดผื่นบริเวณผิวหนัง ปวดศีรษะ ปลายประสาทอักเสบ มึนงง เป็นพิษต่อตับ/ตับอักเสบ
ยาแก้ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea medication) คือยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องน้อยที่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน เพื่อป้องกันอาการปวดท้องน้อยตั้งแต่ก่อนประจำเดือนมา รวมถึงใช้แก้ปวดในช่วงมีรอบประจำเดือน โดยอาการปวดอาจลามไปถึงบริเวณส่วนของหลัง ก้นและ/หรือต้นขา
1. ยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs): เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน(Ibuprofen) ไดโคลฟีแนค (Diclofenac)
2. ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด (Hormonal Contraceptives): ซึ่งแบ่งเป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined oral contraceptives) และยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว (Progestogen-only contraceptives / Minipill)
3. ยาฮอร์โมนสังเคราะห์ (Gonadotropin-releasing hormone agonists, ย่อว่า GnRH-agonist)
4. ยาฮอร์โมนเพศชนิดแอนโดรเจน (Androgen hormone)
1. ยากลุ่ม NSAIDs: ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) ในผู้ป่วยที่ไม่ต้องการการคุมกำเนิด
2. ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด: ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือนในผู้ป่วยที่ต้องการคุมกำเนิด และ/หรือ รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ร่วมด้วย
3. ยากลุ่ม GnRH-agonist และยา Danazol: ออกฤทธิ์ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ จึงใช้รักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดประจำเดือนเรื้อรัง
1. ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs: ในผู้ที่มีแผลทะลุ หรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร และ/หรือลำไส้ (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร) เป็น โรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง หรือเป็น โรคไข้เลือดออก
2. ห้ามใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในผู้ป่วยดังต่อไปนี้: ในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปกรณีเป็นผู้สูบบุหรี่มากกว่า 15 มวนต่อวัน มีภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism) โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน โรคตับแข็ง
3. ห้ามใช้ยา Danazol: ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีตับ ไต และ/หรือหัวใจ ทำงานผิดปกติอย่างรุนแรง มีเนื้องอกที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนแอนโดรเจน มีประวัติภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
1. ยากลุ่ม NSIADs: ยานี้มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร คือ ทำให้เกิดอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องเสีย ทำให้เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร / ผลต่อระบบเลือด คือ ยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดออกง่ายและหยุดช้าโดยเฉพาะเมื่อมีแผล / ผลต่อไต คือเพิ่มการสะสมของโซเดียมและน้ำในร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายเกิดการบวมน้ำจนอาจทำให้เกิดไตวายได้
2. ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด: อาจทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด มีภาวะขาดประจำเดือน
3. ยากลุ่ม GnRH-agonist: อาจทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง ความต้องการทางเพศลดลง และกระดูกพรุน
4. Danazol: อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม บวมน้ำ มีสิว ผิวมัน ขนดก ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
1. แบ่งตามลักษณะการใช้ ได้แก่
- ยาใช้ภายนอกซึ่งถือเป็นยาใช้เฉพาะที่ เช่น
- ยาเหน็บทวารหนัก
- ยาครีม
- ยาขี้ผึ้งที่ใช้ทาบริเวณตัวริดสีดวงทวาร
- ยากิน: มักพบเห็นเป็นลักษณะของ ยาแคปซูล และยาเม็ด และถูกจัดอยู่ในหมวดของยาอันตราย
2. แบ่งตามฤทธิ์ของการรักษา: ยาในหมวดนี้มีความหลากหลายและเป็นทางเลือกของแพทย์และผู้ป่วย
- ยากินแผนปัจจุบัน: ที่ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดแข็งแรง มีความยืดหยุ่น และเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ผ่านบริเวณริดสีดวงทวารได้ดีขึ้น ยาบางตัวมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงลดอาการเลือดออกและลดอาการบวมของแผล อีกทั้งช่วยให้หัวริดสีดวงทวารยุบตัวลง เรามักจะพบในยาชนิดกินที่ประกอบไปด้วยตัวยา เช่น Diosmin, Hesperidin, Aescin, Ginkgo biloba, Rutosides
- ยากินแผนโบราณ: ประเภทยาระบาย/ยาแก้ท้องผูก บรรเทาอาการท้องผูกที่เป็นสาเหตุหนึ่งของริดสีดวงทวาร
- ยาใช้เฉพาะที่: ออกฤทธิ์โดยตรงต่อบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวาร ประกอบด้วย
- ยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ทำให้แผลริดสีดวงทวารหายได้เร็วขึ้น เช่น ยา Hydrocortisone, Fluocortolone pivalate
- ยาชาออกฤทธิ์ลดอาการปวดบริเวณแผลของริดสีดวงหรือแผลตรงรูทวารซึ่งมักจะใช้ยาชาเป็นส่วนผสม เช่น ยา Lidocaine, Cinchocaine
- ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวาร สำหรับยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่พบมากในบริเวณรูทวารหนัก ซึ่งทำให้แผลริดสีดวงทวารหายช้า เช่น ยา Framycetin
- ยาฆ่าเชื้อและระงับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Antiseptic) ที่เป็นคนละกลุ่มกับยาปฏิชีวนะ ยากลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ริดสีดวงทวารหรือแผลบริเวณรูทวารหนักหายช้า เช่น ยา Resorcinol
- ยาระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอย่างอ่อนและมีฤทธิ์สมานแผล/สมานการอักเสบ ทำให้อาการระคายเคือง อาการคัน ทุเลาลง เช่น ยา Bismuth oxide, Bismuth subgallate, Zinc oxide
ทั้งนี้ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยาริดสีดวงทวารชนิดใด ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ
ก. สำหรับชนิดยากิน ยาทาขี้ผึ้ง: สามารถเก็บภายใต้อุณหภูมิห้อง
ข. ส่วนชนิดยาเหน็บทวาร: ให้เก็บในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิระหว่าง 2 - 8 องศาเซลเซียส
วิตามินอี (Vitamin E) เป็นสารในกลุ่ม Tocopherols และสาร Tocotrienols เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำมันและสร้างได้จากพืช ส่วนสัตว์รวมถึงคนไม่สามารถสร้างวิตามินอีได้ วิตามินอีถูกทำลายได้จาก แสงสว่าง ออกซิเจน ความร้อน รวมถึงการเก็บไว้นาน และในขั้นตอนของการถนอมอาหาร อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น น้ำมันพืชต่างๆ อาหารต่างๆ ที่เสริมวิตามินอี (เช่น อาหารเช้าซีเรียล นม โยเกิร์ต เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ ถั่วลิสง ธัญพืชต่างๆ) วิตามินอีในอาหารจากสัตว์มีปริมาณน้อยกว่าจากพืชมาก ที่พบได้ คือ ในเนื้อสัตว์ ไข่ และในตับ
วิตามินอีจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางลำไส้เล็ก โดยต้องอาศัยน้ำย่อยจากตับ (น้ำดี) และจากตับอ่อน เมื่อเข้าสู่กระแสโลหิต จะเข้าสู่ตับเพื่อให้เซลล์ตับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ ส่วนที่เหลือตับจะกำจัดออกทางน้ำดีและออกจากร่างกายทางอุจจาระ ส่วนน้อยในเลือดที่เหลือจากร่างกายนำไปใช้และสะสมแล้ว จะถูกกำจัดออกทางไต/ทางปัสสาวะ ทั้งนี้ เนื้อเยื่อที่เก็บสะสมวิตามินอี คือ กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อไขมัน และบางส่วนในปริมาณที่น้อยกว่าจะสะสมในตับ
ยาวิตามินอี (Vitanin E / Alpha-tocopherol) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายด้วยมีคุณสมบัติและหน้าที่สำคัญๆ เช่น
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสสระ (Antioxidant) ตัวสำคัญ ซึ่งมีหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่เสียหายสึกหรอจากการใช้พลังงานต่างๆ ของเซลล์ร่างกาย
- ช่วยควบคุมการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
- วิตามินอีจะเป็นปัจจัยหรือองค์ประกอบในการควบคุมการแสดงออกของสารพันธุกรรม หรือยีน/จีน/Gene
- ช่วยการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์สมอง และเซลล์ประสาทซึ่งรวมทั้งเซลล์ของจอตา
- ช่วยให้ความแข็งแรงต่อเม็ดเลือดแดง และช่วยยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดจึงช่วยลดการเกิดลิ่มเลือด
- เป็นโรคเซลล์ประสาทและระบบสั่งงานเสื่อม (Spinocerebellar ataxia) และมีอาการเดินเซด้วยกล้ามเนื้อสูญเสียการประสานงานกัน
- เกิดความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อ (Myopathy) กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เกิดอาการโรคเส้นประสาท (Peripheral neuropathy)
- เกิดภาวะจอตาอักเสบ (Retinopathy)
- มีภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย (Red blood cell destruction)
- ติดเชื้อได้ง่าย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง (Impairment of immune response)
- มีอาการทางสมอง อาการความจำเสื่อมชนิดที่เรียกว่า Alzheimer
สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง เช่น ตาพร่า ท้องเสีย วิงเวียน ปวดหัว คลื่นไส้ เป็นตะคริวที่หน้าท้อง อาจมีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเลือดออกได้ง่าย
- การใช้วิตามินอี ร่วมกับยา Tipranavir อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานวิตามินอี ร่วมกับยาที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ด้วยวิตามินอีจะรบกวนการดูดซึมของธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย
- การรับประทานวิตามินอี ร่วมกับยา Aspirin อาจทำให้ได้รับผลข้างเคียงของยา Aspirin หรือมีภาวะเลือดออกง่ายติดตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
ยารักษาหูดหงอนไก่ หมายถึงยาที่ใช้ รักษา ป้องกัน และลดอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคหูดหงอนไก่/หูดอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อฮิวแมนแปปิโลมาไวรัส (HPV)/โรคติดเชื้อเอชพีวี
ก. ยาที่แพทย์ต้องเป็นผู้ทายาให้ผู้ป่วย (Provider-administered therapies): เป็นยาที่ผู้ป่วยต้องมาทายาที่โรงพยาบาลโดยแพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้ทายาให้ เพราะหากทายาผิดวิธีจะส่งผลให้เกิดแผลบริเวณผิวหนังที่สัมผัสยา หรือทำให้การรักษาไม่ได้ผล ยากลุ่มนี้ ได้แก่
1. ไตรคลอโรอะเซติคแอซิด (Trichloroacetic acid / TCA), ไบคลอโรอะเซติคแอซิด (Bichloroacetic acid / BCA)
2. โพโดฟิลลิน (Podophyllin)
ข. ยาที่ผู้ป่วยสามารถทาเองได้ (Patient-applied therapies): เป็นยาที่ให้ผู้ป่วยกลับไปทาเองที่บ้าน แล้วค่อยกลับมาตรวจติดตามการรักษาจากแพทย์ภายหลัง ยากลุ่มนี้ได้แก่
1. โพโดฟิลอก (Podofilox) หรืออีกชื่อคือ โพโดฟิโลทอกซิน (Podophyllotoxin)
2. อิมิควิโมด (Imiquimod)
3. ไซนีคาเทชิน (Sinecatechins)
ค. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human papillomavirus Vaccines / HPV Vaccines) ชนิด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 6,11, 16 และ 18
ทั้งนี้ห้ามใช้ยา Trichloroacetic acid, Bichloroacetic acid และ Podophyllin บริเวณผิวหนังที่มีอาการระคายเคือง ติดเชื้อ แดง คัน บวม มีเลือดออก และผิวหนังบริเวณที่มีความผิดปกติ เช่น ปาน ไฝ เพราะอาจเกิดแผลรุนแรงในบริเวณสัมผัสยา และห้ามใช้ยา Podophyllin ทาผิวหนังกว้างเกินกว่า 10 ตารางเซนติเมตร หรือปริมาณมากกว่า 0.5 มิลลิลิตรต่อวัน หรือทาบริเวณหูดที่มีเลือดออก เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับยานี้มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรงได้
1. ไม่ควรซื้อยารักษาหูดหงอนไก่มาทาเอง เนื่องจากโรคหูดและยารักษาโรคหูดมีหลายประเภท บางประเภทไม่เหมาะกับการรักษาหูดหงอนไก่ และอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังอย่างรุนแรง
2. ผู้ป่วยโรคหูดหงอนไก่ควรไปพบแพทย์เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยเพศหญิงจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
3. ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ขณะที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ เพราะอาจทำให้เชื้อติดต่อไปยังคู่นอนได้
4. ก่อนทายารักษาโรคหูดหงอนไก่ทุกครั้ง ผู้ป่วยควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเสมอ ไม่ควรให้ยานี้โดนน้ำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงหลังทายา เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยานี้ลดลง
5. ไม่ควรใช้ยา Sinecatechins นานเกิน 16 สัปดาห์ และไม่ควรใช้ในผู้ที่ติดเชื้อ HIV หรือผู้มีภาวะภูมิคุ้มกัน(ภูมิคุ้มกันต้านทานโรค)บกพร่อง หรือเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ เพราะยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยานี้ในการรักษาโรคดังกล่าวมากเพียงพอ
6. การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ต้องฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อน นั่นคือ ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
ขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้ แต่ส่วนใหญ่อาจทำให้เกิดอาการ ปวด แสบร้อนบริเวณผิวหนังที่ทายา ระคายเคืองผิวหนัง อาจเป็นแผลเลือดออก รอยด่าง หรือทำลายเนื้อเยื่อบริเวณปกติที่สัมผัสยาได้
เป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิตที่สูงเกินปกติโดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้เข้าสู่ภาวะปกติมากที่สุด เพื่อชะลอความรุนแรงของโรค และเพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับหัวใจ ตา ไต สมอง และหลอดเลือดขนาดเล็กๆ ทั่วร่างกาย
1. ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เช่น ยากลุ่ม Thiazide diuretics ยากลุ่ม Loop diuretics ยากลุ่ม Potassium-sparing diuretics และยากลุ่ม Osmotic diuretics
2. ยาที่ออกฤทธิ์ลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาธีติก (Sympathoplegic agents) เช่น ยากลุ่ม Beta blockers ยากลุ่ม Alpha1 blockers และยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
3. ยาที่ออกฤทธิ์ลดการทำงานของระบบ Renin-angiotensin-aldosterone system (RAAS, ระบบที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของไตและฮอร์โมน/สารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคงความดันโลหิตของร่างกาย) เช่น ยากลุ่ม ACE inhibitors ยากลุ่ม ARBs (Angiotensin II receptor blockers)
4. ยากลุ่มต่างๆ ที่ขยายหลอดเลือด เช่น ยากลุ่ม Calcium channel blockers และยากลุ่ม Nitrate
1. ห้ามใช้ยาขับปัสสาวะบางกลุ่ม (กลุ่มไทอะไซด์และฟูโรซีไมด์) ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาซัลฟา
2. ห้ามใช้ยาขับปัสสาวะปริมาณมากในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ไตวาย และหัวใจล้มเหลว
3. ห้ามกินยาขับปัสสาวะหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอนเพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะตอนกลางคืนจึงรบกวนการนอนหลับ
4. ห้ามใช้ยาในกลุ่ม Beta blockers ในผู้ป่วยโรคหืด โรคหัวใจล้มเหลวชนิดรุนแรง โรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง และภาวะหลอดเลือดส่วนปลาย (มือเท้า แขน ขา) ตีบ
5. ห้ามใช้ยาในกลุ่ม ACE inhibitors ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดไตตีบตัน เพราะอาจทำให้ไตวายได้
6. ห้ามบดเคี้ยวหรือหักยาเม็ดรูปแบบที่เป็นยาออกฤทธิ์เนิ่นนาน เพราะทำให้ยาเสียคุณสมบัติในการออกฤทธิ์นานเป็นพิเศษ และอาจทำให้ร่างกายได้รับยาในปริมาณมากเกินไปจนทำให้ความดันโลหิตตกลงอย่างรวดเร็วจนหน้ามืดหรือหมดสติได้
1. ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide diuretics ทำให้เกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ได้แก่ ภาวะโพเทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) โซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatramia) น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) กรดยูริคในเลือดสูง (Hyperuricemia) และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย/นกเขาไม่ขัน (Impotence)
2. ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Loop diuretics มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาคล้ายกับยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide diuretics และยามีความเป็นพิษต่อหูชั้นในจึงมีผลต่อการได้ยินได้ (Ototoxicity)
3. ยาขับปัสสาวะชนิดที่ลดการขับโพแทสเซียมทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) และภาวะเต้านมโตในเพศชาย (Gynecomastia) เช่น จากการใช้ยาสไปโรโนแล็กโทน (Spironolactone)
4. ยาในกลุ่ม Beta blockers อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradycardia) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจากภาวะร่างกายไวต่อน้ำตาลกลูโคส (Glucose intolerance) ส่งผลในระบบประสาทส่วนกลางเช่น ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ฝันร้าย และภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (ชาย)
5. ยาในกลุ่ม Alpha1 blockers ทำให้เกิดภาวะความดันเลือดต่ำจากการเปลี่ยนท่าทาง (Postural hypotension) ปวดศีรษะและอ่อนเพลีย
6. ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอาจทำให้หดหู่/ซึมเศร้า ฝันร้าย ง่วงซึม ปากแห้ง
7. ยาในกลุ่ม ACE inhibitors มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยคือ ไอแห้งๆ ไอไม่มีเสมหะ อาการอื่นๆ เช่น อาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง/แองจิโออีดีมา (Angioedema) โพแทสเซียมในเลือดสูง ความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มใช้ยาครั้งแรกๆ
8. ยาในกลุ่ม ARBs มีอาการไม่พึงประสงค์คล้ายกับยาในกลุ่ม ACE inhibitors แต่ทำให้เกิดอาการไอแห้งๆ และอาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง (Angio edema) น้อยกว่าอย่างเด่นชัด
9. ยาในกลุ่ม Calcium channel blockers อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวม (Peripheral edema) ปวดศีรษะ หน้าแดง และท้องผูก
ยาแก้ปวดท้อง ยาบรรเทาอาการปวดท้อง (Antispasmodic drugs) ในที่นี้หมายถึง ยาที่ลดอาการปวดท้องที่มีลักษณะบิดเกร็ง/ปวดบีบ (Colicky pain) จากโรคทางเดินอาหาร
- ยาต้านฤทธิ์มัสคารินิก (Antimuscarinic หรือ Anticholinergic): เป็นยาที่ช่วยลดการบีบเกร็ง/ปวดบีบของกล้ามเนื้อเรียบในทางเดินอาหาร (กล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหารและลำไส้) โดยออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท เช่น ยา Atropine ยา Dicyclomine หรือ Dicycloverine ยา Hyoscine หรือ Scopolamine ยา Clidinium ยา Oxyphencyclimine ยา Propantheline
- ยาแก้ปวดเกร็ง/ปวดบีบประเภทอื่น เป็นยาตัวอื่นที่ออกฤทธิ์ช่วยการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้โดยตรง เช่น ยา Mebeverine ยา Alverine ยา Drotaverine ยา Fenoverine ยา Pitofenone ยา Tiropramide
- ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ในกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น/โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome - IBS)
- บรรเทาอาการปวดในโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticulosis)
- ลดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร
- บรรเทาอาการบีบเกร็งแบบฉับพลันและการบีบเกร็งระหว่างกระบวนการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหารด้วยเครื่องมือ เช่น การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้
- ห้ามใช้ยาต้านฤทธิ์มัสคารินิกในผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยลำไส้อุดตัน ทางเดินปัสสาวะอุดตัน หลอดอาหารอักเสบจากโรคกรดไหลย้อน ลำไส้อืดเป็นอัมพาต (ลำไส้ไม่บีบตัว) กระเพาะอาหารส่วนปลายตีบ โรคหืด ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ โรคความดันโลหิตสูง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน) โรคตับ หรือโรคไต
- ระวังการใช้ยาต้านฤทธิ์มัสคารินิกในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยในกลุ่มอาการดาวน์ (ดาวน์ซินโดรม/ Down's syndrome) เพราะเป็นกลุ่มที่เกิดผลข้างเคียงจากยาแก้ปวดท้องได้ง่าย
- ระวังการใช้ยาต้านฤทธิ์มัสคารินิกในผู้ที่ท้องร่วง/ท้องเสีย เพราะไม่มีประโยชน์แน่ชัดว่าช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากท้องเสียได้และอาจเพิ่มปริมาณของแบคทีเรียก่อโรคได้ด้วย
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแก้ปวดท้องมีได้หลากหลายอาการมากขึ้นกับแต่ละตัวยา ดังนั้นการใช้ยาแก้ปวดท้องจึงควรต้องเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์หรือของเภสัชกร และก่อนใช้ยาควรอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ โดยตัวอย่างอาการไม่พึงประสงค์จากยาแก้ปวดท้องกลุ่มยาต้านฤทธิ์มัสคารินิก เช่น กระสับกระส่าย ประสาทหลอน ความดันในลูกตาเพิ่มเนื่องจากรูม่านตาขยาย ผิวแห้งเพราะเหงื่อไม่ออก/ออกน้อย หัวใจ เต้นช้าชั่วขณะ (ตามด้วยอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก/ปัสสาวะขัด
ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาแผลร้อนในให้หายขาดโดยไม่ปรากฏอาการขึ้นมาอีก ดังนั้นการรักษาที่นิยมในปัจจุบันคือ รักษาประคับประคองตามอาการที่สำคัญ คือ กินยาแก้ปวด/แก้เจ็บ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ให้สเตียรอยด์ชนิดทาเฉพาะที่เพื่อลดอาการเจ็บและอาการอักเสบ ดังนี้
- ไตรแอมซิโนโลน อะเซทโทไนด์ (Triamcinolone acetonide) ชนิดขี้ผึ้ง 0.1%
- ฟลูโอซิโนโลน อะเซทโทไนด์ (Fluocinolone acetonide) 0.1% ชนิดสารละลาย หรือชนิดขี้ผึ้ง
- อาจใช้ คลอร์เฮ็กซิดีน กลูโคเนต (Chlorhexidine gluconate) 0.2%-1% ใช้อมบ้วนปาก
อย่างไรก็ดี พึงระลึกไว้ว่า แผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเหนื่อยล้าหรือทรุดโทรม จึงต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรงด้วย เช่น การกินอาหารให้เหมาะสม การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายกลางแจ้งในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการนี้ลง นอกจากนั้น แพทย์บางท่านอาจแนะนำกิน วิตามิน เกลือแร่ เสริมอาหาร และการเปลี่ยนชนิดยาสีฟัน ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- ยาบัวบก: ยาแคปซูล, ยาชง
ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้สมุนไพรวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) เช่น ผักชี ผักชีล้อม เซเลอรี แครอท
ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ในผู้ป่วยบางราย
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ และยาที่มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กัน
- บัวบกอาจเพิ่มระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือด และทำให้ประสิทธิผลของยาลดน้ำตาลและยาลดคอเลสเตอรอลลดลง
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่มีกระบวนการเมแทบอลิซึมผ่าน Cytochrome P450 (CYP 450) เช่น ยาต้านไวรัสบางชนิด เนื่องจากบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19
อาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง): ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง มวนท้อง ท้องอืด และปัสสาวะบ่อย
- ยามะระขี้นก: ยาแคปซูล ยาชง ยาเม็ด
ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในเด็ก หญิงให้นมบุตร และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชักได้
ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออกได้
- ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดกิน หรือร่วมกับการฉีดอินซูลิน เพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ เพราะเคยมีรายงานว่าทำให้การเกิดตับอักเสบได้
อาการไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง): คลื่นไส้ วิงเวียน ชาปลายมือปลายเท้า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนช็อก (Hypoglycemic coma) อาการชักในเด็ก ท้องเดิน/ท้องเสีย ท้องอืด ปวดศีรษะ และอาจเพิ่มระดับเอนไซม์ตับในเลือดได้
- ยารางจืด: ยาชง, ยาแคปซูล
ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอื่น เพราะยารางจืดอาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายทำให้ประสิทธิผลของยาเหล่านั้นลดลง
- ยาหญ้าปักกิ่ง: ยาแคปซูล, ยาชง
ข้อควรระวัง:
- ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
ยาละลายนิ่ว (Chemolysis) ในบทความนี้หมายถึง ยาที่ช่วยให้ผลึกของก้อนนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะละลายได้ (Chemolysis of urinary calculi) ยาละลายนิ่วสามารถใช้เป็นทางเลือกแรก หรือใช้เสริมการรักษาเพื่อละลายก้อนนิ่วที่ตกค้าง หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด หรือ หลังการสลายนิ่วโดยใช้คลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy/ESWL) หรือ หลังการสอดกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะเพื่อสลายนิ่ว (Ureterorenoscopy/URS) หรือ ใช้ละลายนิ่วในผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้
1. ยากินที่ออกฤทธิ์เพิ่มความเป็นด่างในปัสสาวะ (Oral alkalinising agent) เช่น ยาโซเดียมไบคาร์บอเนต หรือเบคกิ้งโซดา หรือโซดามิ้นท์ (Sodium bicarbonate, Baking soda, Sodamint) โพแทสเซียมซิเตรท (Potassium citrate)
2. ยาที่ใช้ไหลผ่านก่อนนิ่วโดยตรง (Percutaneous instillation) ผ่านทางท่อระบาย (Nephrostomy tube) จากไตออกมาทางผิวหนัง เช่น ยาโทรเมทามีน (Tromethamine) อะเซทิลซิสเทอิน (Acetylcysteine)
1. ห้ามใช้ยา Potassium citrate ในผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง รวมถึงมีโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่อาจทำให้ร่างกายมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง เช่น ไตวายเรื้อรัง เบาหวานที่คุมอาการไม่ได้ ภาวะขาดน้ำเฉียบพลัน ต่อมหมวกไตทำงานบกพร่อง โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีการสลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก เช่น ภาวะมีไข้
2. ห้ามใช้ยา Potassium citrate ในผู้ที่มีภาวะผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้อุดตัน เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
3. ห้ามใช้ยา Tromethamine ในผู้ที่ร่างกายปัสสาวะได้น้อยหรือปัสสาวะไม่ออกเลย (Anuria) และภาวะยูรีเมีย (Uremia)
1. Sodium bicarbonate: ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นด่าง ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ระดับโซเดียมในเลือดสูง ทำให้ร่างกายบวมน้ำ ซึ่งอาจส่งผลให้อาการปอดบวม หรือภาวะหัวใจล้มเหลว แย่ลง
2. Potassium citrate: ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ระคายเคืองทางเดินอาหาร ไม่สบายท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย
3. Tromethamine: ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นด่าง น้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง หลอดเลือดดำอักเสบ เนื้อตายเพราะยารั่วซึมออกนอกหลอดเลือด ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ปอดบวม กดการหายใจจนอาจหยุดหายใจ
4. Acetylcysteine: ทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นคันบริเวณผิวหนัง บวมน้ำ หลอดลมหดตัว และมีอาการที่พบได้น้อย ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ
ต่างกันที่หลักการทำงาน กล่าวคือ ยาละลายนิ่ว (Chemolysis) เป็นยาที่ช่วยให้ผลึกของก้อนนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะละลายได้ ส่วนยาขับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (Medical expulsion therapy/ MET in urology) เป็นยาที่ออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบบริเวณท่อไต จึงทำให้นิ่วในท่อไตหลุดออกจากระบบทางเดินปัสสาวะได้เร็วขึ้น
- ยาลดน้ำมูก: ใช้บรรเทาอาการน้ำมูกไหลจากโรคหวัด
- ยาแก้คัดจมูก: เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดอาการบวมของเยื่อเมือกในโพรงจมูก จึงสามารถบรรเทาอาการคัดจมูกในโรคหวัดได้
- ยาแก้ไอ:
- ยากดอาการไอ: ใช้บรรเทาอาการไอที่ไม่มีเสมหะหรือไอแห้ง โดยออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนที่ทำให้เกิดอาการไอ
- ยาละลายเสมหะและยาขับเสมหะ: ใช้บรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ โดยช่วยให้ความเหนียวของเสมหะลดลง ทำให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น
- ยาลดไข้และบรรเทาปวด: ใช้บรรเทาอาการไข้หรือตัวร้อนและบรรเทาอาการปวด เช่น ปวดศีรษะหรือปวดเมื่อยตามเนื้อตัว นอกจากนี้ยากลุ่ม NSAIDs ยังมีฤทธิ์บรรเทาอาการอักเสบได้ เช่น บรรเทาอาการคออักเสบหรือเจ็บคอ
- ห้ามใช้ยาลดน้ำมูก ในผู้ป่วยโรคหืดที่มีอาการกำเริบ โรคต้อหินชนิดมุมปิด โรคต่อมลูกหมากโต โรคความดันโลหิตสูง กระเพาะปัสสาวะอุดกั้น/ปัสสาวะขัด และโรคหลอดเลือดหัวใจ และระวังการใช้ยาลดน้ำมูกร่วมกับยากล่อมประสาท/ยาคลายเครียด ยานอนหลับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้มากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- ห้ามใช้ยาแก้คัดจมูก ในผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง โรคลมชัก และห้ามใช้ยาแก้คัดจมูกชนิดยาพ่นจมูก หรือชนิดยาหยอดจมูกติดต่อกันนานเกิน 5 วัน เพราะอาจทำให้เกิดอาการคัดแน่นจมูกมากขึ้นหลังจากหยุดยา นอกจากนี้ให้ระวังการใช้ยาแก้คัดจมูกในผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต้อหินชนิดมุมปิด โรคหัวใจ โรคจิต โรคต่อมลูกหมากโต โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคไซนัสอักเสบ
- ห้ามใช้ยาแก้ไอ ในผู้ป่วยที่ระบบหายใจทำงานผิดปกติ และผู้ป่วยที่ได้รับยาที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท เช่น ยากันชัก และต้องใช้ยาให้ถูกต้องตามลักษณะของอาการไอ เช่น กรณีใช้ยากดอาการไอในอาการไอแบบมีเสมหะ อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถขับเสมหะออกได้ ส่งผลให้มีเสมหะอุดกั้นบริเวณทางเดินหายใจจนอาจเกิดภาวะหายใจลำบาก
- ระวังการใช้ยา Paracetamol ในผู้ที่มีการทำงานของตับ หรือของไตผิดปกติ และผู้ที่เสพติดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs ในผู้ที่มีแผลทะลุในระบบทางเดินอาหาร หรือมีเลือดออกระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคตับ โรคไต อย่างรุนแรง โรคไข้เลือดออก
- ยาลดน้ำมูก: ทำให้เกิดอาการ ง่วงซึม ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก/ปัสสาวะขัด นํ้าหนักตัวเพิ่ม
- ยาแก้คัดจมูก: ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว/ใจสั่น ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย วิตกกังวล มือสั่น นอนไม่หลับ ปัสสาวะไม่ออก
- ยาแก้ไอ: ทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มึนงง สับสน
- Paracetamol: ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ (Hepatotoxicity)/ตับอักเสบ ส่วนยากลุ่ม NSIADs: ทำให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องเสีย เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกง่ายและหยุดช้า ไตวาย
ยาทาแผลในปากมีหลายชนิด มีทั้งที่ใช้เพื่อลดการอักเสบและอาการคันของแผลที่เกิดที่เยื่อเมือกในช่องปาก ใช้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย/เชื้อราบางชนิด ใช้เพื่อลดอาการปวดอักเสบและรักษาอาการแผลร้อนในของช่องปาก ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็งหรือผลข้างเคียงจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็งในส่วนศีรษะและลำคอ ตัวอย่างของยาทาแผลในปาก เช่น ยาเคนาล็อกป้ายปาก ยาเจนเชียนไวโอเลต ยาแคมิสตัดเจล ยาคาโมมายด์ ยาแอมเลกซานอกซ์ เป็นต้น
ยาเคนาล็อกป้ายปาก (Kenalog in orabase) เป็นยาที่ใช้บำบัดและบรรเทาอาการอักเสบของแผลในปากชนิดที่ไม่มีการติดเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือ เชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดการอักเสบและอาการคันของแผลที่เกิดที่เยื่อเมือกในช่องปาก และยังทำให้หลอดเลือดในเยื่อเมือกที่สัมผัสยานี้หดตัว จึงช่วยลดการอักเสบของเยื่อเมือกช่องปากลงได้อีกวิธี ใช้ในระยะเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปไม่เกิน 7 วัน
ยาเคนาล็อกป้ายปากสามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อาจทำให้รู้สึกแสบคันในบริเวณที่ป้ายยา กรณีใช้ยานี้ในปริมาณมากหรือใช้ต่อเนื่องยาวนาน ยานี้อาจถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้มาก จนอาจส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ หรือระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือมีน้ำตาลปนมากับปัสสาวะ (ในภาวะปกติจะไม่มีน้ำตาลปนมาในปัสสาวะ) เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยานี้ต่อเนื่องยาวนานในเด็กโดยเฉพาะในเด็กเล็กอาจชะลอการเจริญเติบโตของเด็กได้
ยาเจนเชียนไวโอเลต (Gentian violet) คือน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา โดยเฉพาะโรคเชื้อราช่องปากและโรคเชื้อราตามผิวหนังของร่างกาย ยาเจนเชียนไวโอเลตสามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น อาการบวมแดงตรงรอยที่ทาหรือระคายเคืองในบริเวณที่ทายา ในกรณีที่แพ้ยานี้อาจพบอาการหน้าบวม ปากบวม มีผื่นคันขึ้น หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
ยาแคมิสตัด เจล (Kamistad gel) คือ ยาทาเฉพาะที่ที่ใช้ระงับอาการเจ็บปวดและการอักเสบในช่องปาก เช่น เหงือกอักเสบ กระพุ้งแก้มในช่องปากอักเสบ รวมถึงแผลร้อนในในช่องปากและที่ริมฝีปาก แผลจากยาเคมีบำบัด แผลจากการฉายรังสี-ใส่แร่บริเวณช่องปาก คณะกรรมการอาหารและยาของไทยจัดให้ยานี้อยู่ในประเภทยาใช้ภายนอกชนิดยาอันตราย ดังนั้นการจะเลือกใช้ยานี้หรือไม่ ควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือขอคำปรึกษาจากเภสัชกรประจำร้านขายยา ยาแคมิสตัด เจล อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ วิงเวียน ง่วงนอน หรือกรณีบางคนที่มีความรุนแรง เช่น หัวใจเต้นช้า ง่วงนอนมาก หงุดหงิด สับสน ชัก เป็นลม ตาพร่า
ยาคาโมมายด์ (Chamomile) ใช้เพื่อลดอาการอักเสบของช่องปากอันมีสาเหตุจาก แผลในปาก เหงือกอักเสบ แผลอักเสบจากการถอนฟัน ช่วยดับกลิ่นปาก ป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบอันเป็นผลจากการฉายรังสีรักษาหรือการใช้ยาในกลุ่มยาเคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็ง ยาคาโมมายล์สามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้ หากนำไปใช้กับผู้ที่แพ้สารคาโมมายล์ เช่น มีอาการระคายเคืองในบริเวณที่ใช้ยา
ยาแอมเลกซานอกซ์ (Amlexanox) เป็นยาที่นำ มาใช้รักษาแผลร้อนในของช่องปาก ตัวยาจะช่วยลดเวลาและทำให้แผลร้อนในหายเร็วขึ้นพร้อมกับบรรเทาอาการปวดของแผลร้อนใน อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาแอมเลกซานอกซ์มักจะเป็นอาการแสบและคันในบริเวณที่มีการทายา อย่างไรก็ดีร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวจนคุ้นเคยและรู้สึกดีขึ้นเรื่อยๆ แต่กรณีที่แพ้ยานี้จะมีอาการ เช่น หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก ลิ้น-คอ-ริมฝีปากบวม มีผื่นขึ้นเต็มตัว
วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน จึงสะสมอยู่ในร่างกายได้นานกว่าวิตามินที่ละลายในน้ำ ทำให้มีโอกาสที่จะก่อโทษจากภาวะมีวิตามินเอในร่างกายสูงกว่าปกติ วิตามินเอพบมากในตับและน้ำมันตับปลา นอกจากนี้ยังพบได้จากอาหารประเภทนม ชีส เนื้อสัตว์ และไข่ ส่วนในพืช พบในพืชที่มีสี ส้ม แดง แสด เหลือง และผักที่มีใบเชียวเข้ม เช่น แครอท ฟักทอง มันเทศ ใบตำลึง ชะอม ใบคะน้า ผักโขม บรอกโคลี แคนตาลูป มะละกอสุก และมะม่วงสุก
- ช่วยให้การมองเห็นเป็นไปอย่างปกติ
- สนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย
- เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เซลล์มีการเจริญเติบโต
- จำเป็นต่อกระบวนการลอกรหัสพันธุกรรมในร่างกาย
- ทำให้ผิวหนังแข็งแรง
- เกิดภาวะตาบอดกลางคืนหรือการปรับสภาพสายตาในที่มืดไม่ดีเหมือนปกติ
- มีภาวะตาแห้ง เกิดการหนาตัวของเยื่อตาและของกระจกตาที่ส่งผลต่อการมองเห็น
- เกิดภาวะกระจกตาเป็นแผล/กระจกตาอักเสบ
- เกิดการหลุดร่อนของผิวหนัง
- หากเป็นเด็กการขาดวิตามินเอจะทำให้เจริญเติบโตช้าและเกิดภาวะติดเชื้อได้ง่าย
ก่อให้เกิดพิษแบบเฉียบพลันและอาจมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดศีรษะ มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีผื่นคัน ง่วงนอน ปวดท้อง บางกรณีอาจพบอาการลอกของผิวหนัง หากเกิดพิษในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์จะส่งผลต่อทารกและทำให้วิกลรูป/พิการแต่กำเนิดได้
ทำให้มีภาวะเลือดออกง่าย รู้สึกสับสน วิงเวียน ง่วงนอน ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังลอก อาจพบอาการปวดข้อและปวดกระดูก บางกรณีจะพบอาการชัก ผิวแห้ง ปากแห้ง มีไข้ อ่อนเพลีย มีอาการผิวหนังแพ้แสงแดด ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ผมร่วง เท้า-มือ-ผิวหนัง-จมูกมีสีออกเหลืองส้ม
- ห้ามใช้วิตามินเอชนิดฉีด ฉีดเข้าหลอดเลือดแต่ให้ใช้โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- ห้ามใช้ยานี้นานเกินกว่าที่แพทย์กำหนด
- ห้ามปรับขนาดการกินเพิ่มด้วยตนเอง
- ห้ามใช้ยากับสตรีตั้งครรภ์ (สามารถทำให้ทารกวิกลรูป/พิการแต่กำเนิดได้) ส่วนกรณีสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรจะต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น (วิตามินเอสามารถผ่านไปกับน้ำนมมารดาและเข้าถึงทารกได้)
- ห้ามใช้วิตามินเอร่วมกับยา Doxycycline และ Tetracycline เพราะอาจเกิดภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง บางกรณีอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
- ห้ามใช้วิตามินเอร่วมกับยา Isotretinoin และ Tretinoin (ยาทารักษาสิว) เพราะเสี่ยงกับภาวะมีวิตามินเอสูงเกินในเลือด (Hypervitaminosis A) โดยจะมีอาการมองไม่เห็น ความดันในกะโหลกศีรษะสูง มีภาวะไขมันในเลือดสูง มีอาการอักเสบของตับและตับอ่อน เป็นต้น
- การใช้วิตามินเอร่วมกับยา Bexarotene (ยารักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง) อาจนำมาซึ่งอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น ปวดท้อง เบื่ออาหาร อาเจียน ผิวแห้งแตก ผมร่วง ผิวเป็นสีเหลือง
ยาเคลือบกระเพาะอาหาร (Stomach-lining protector) คือยาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเยื่อบุทางเดินอาหาร โดยการเคลือบอยู่บนผิวของเยื่อบุฯ นั้น จึงลดโอกาสที่เยื่อบุฯ จะสัมผัสกรดจากกระเพาะอาหาร จึงช่วยลดอาการจากการอักเสบหรือจากแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนั้นยังช่วยลดโอกาสเกิดการอักเสบและ/หรือการเกิดแผลของเยื่อบุฯ ที่อาจเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารได้
เป็นยาเคลือบกระเพาะอาหารที่นิยมใช้กัน โดยยานี้ออกฤทธิ์เคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารและ/หรือลำไส้ที่อักเสบและ/หรือเป็นแผล จึงป้องกันไม่ให้กรดสัมผัสเนื้อเยื่อที่อักเสบและ/หรือที่เป็นแผลนั้น ยานี้แตกต่างจากยาลดกรด ตรงที่ยานี้ไม่มีฤทธิ์ในการลดกรด แต่จะทำหน้าที่เคลือบเยื่อบุฯ อย่างเดียวและเกาะติดที่เนื้อเยื่อบุฯ ได้ดีกว่าและเกาะติดได้เป็นเวลานานกว่ายาลดกรด
ข้อบ่งใช้: ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และ/หรือ ลำไส้อักเสบ
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา: เช่น ท้องผูก ปวดท้อง ซึ่งลดผลข้างเคียงดังกล่าวโดยกินอาหารที่มีกากใย เช่น ผลไม้และดื่มน้ำตามมากๆ
ข้อควรระวังในการใช้ยา:
- ยานี้มีส่วนผสมของเกลืออลูมิเนียม (Aluminium salt) จึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต
- ระวังการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ยานี้รบกวนการดูดซึมยากันชัก ยาฆ่าเชื้อ/ยาปฏิชีวนะ เช่น เตตร้าซัยคลีน (Tetracycline) ไซโปรฟล๊อคซาซิน (Ciprofloxacin) ดังนั้น ก่อนใช้ยานี้จึงควรแจ้งให้แพทย์และ/หรือเภสัชกรทราบ ว่ากำลังใช้ยาอะไรอยู่
*****หมายเหตุ:
- ยากลุ่มนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถหาซื้อกินเองได้ แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์และ/หรือเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยา เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงดังกล่าว
- เมื่อซื้อยานี้มากินเองแล้ว อาการไม่ดีขึ้นหรือไม่ทุเลาในระยะเวลาประมาณ 7 - 10 วัน ควรไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม แต่ถ้าใช้ยานี้แล้วอาการเลวลงก็ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยไม่ต้องรอ
ยาโรคซึมเศร้า/ยาต้านเศร้า เป็นยาที่ช่วยปรับระดับสารสื่อประสาทในสมองของผู้ป่วยให้อยู่ในระดับปกติ จึงสามารถรักษาอาการซึมเศร้า รวมทั้งป้องกันการกลับเป็นซ้ำของอาการซึมเศร้าได้ มีทั้งในรูปของยาเม็ด ยาน้ำ และแผ่นแปะผิวหนัง แต่ยาเหล่านี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 8-12 สัปดาห์หลังใช้ยาถึงจะเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้น และหลังจากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว ยังคงต้องกินยาต่อเนื่องอีกเป็นเวลานานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี เพื่อลดโอกาสกลับมามีอาการซ้ำ โดยแพทย์ผู้รักษาจะค่อยๆ ลดระดับยานี้ลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดใช้ยานี้ในที่สุด เพราะการหยุดใช้ยานี้ในทันทีจะทำให้เกิดอาการถอนยา เช่น กระสับกระส่าย, หงุดหงิด, นอนไม่หลับ เป็นต้น
ก. ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อสารสื่อประสาทซีโรโทนิน (Selective serotonin reuptake inhibitors = SSRIs)
ข. ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาทซีโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน (Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors = SNRIs)
ค. ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาทนอร์เอพิเนฟรินและโดปามีน (Norepinephrine and Dopamine Reuptake Inhibitors = NDRIs)
ง. ยากลุ่ม Tricyclic Antidepressants (TCAs)
จ. ยายับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (Monoamine oxidase inhibitors = MAOIs)
ฉ. ยากลุ่มใหม่ที่ไม่สามารถจัดรวมกับกลุ่มอื่นได้ (Atypical antidepressants)
อนึ่ง การเลือกใช้ยาต่างๆ แพทย์จะพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น อายุผู้ป่วย ความรุนแรงของโรค ผลข้างเคียงของยา ลักษณะชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เป็นต้น
- ระวังการใช้ยาโรคซึมเศร้าร่วมกับยากลุ่มที่กระตุ้นฤทธิ์สารสื่อประสาทซีโรโทนิน (Serotonergic drugs) เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดกลุ่มอาการซีโรโทนิน (Serotonon syndrome = SS) ได้
- ยากลุ่ม SSRIs มีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางตัว จึงมีผลเพิ่มระดับยาอื่นๆ ในเลือด เนื่องจากยาอื่นจะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเอนไซม์และขับออกจากร่างกายได้น้อยลง ทำให้มีระดับยาในร่างกายมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่สูงขึ้นจากการใช้ยาเหล่านี้ได้
- ไม่ควรใช้ยากลุ่ม TCAs ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง เนื่องจากยากลุ่มนี้มีอาการไม่พึงประสงค์คือ ทำให้ความดันโลหิตต่ำและหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ระวังการใช้ยากลุ่ม MAOIs รวมกับอาหารที่มีสารไทรามีน (อาหารที่มีกรดอะมิโนกลุ่ม Tyrosine ซึ่งร่างกายนำไปใช้ในการสร้างสารโปรตีน) สูง เช่น ไวน์ เบียร์ ชีส กล้วย อะโวคาโด อาหารหมักดอง และอาหารที่มียีสต์เป็นส่วนประกอบ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤตได้
- ยากลุ่ม SSRIs ทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องผูกหรือท้องเสีย กระสับกระส่าย หงุดหงิด นอนไม่หลับหรือง่วงนอน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ น้ำหนักตัวลด/เพิ่ม
- ยากลุ่ม SNRIs ทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ มึนงง นอนไม่หลับ หรือง่วงนอน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปากแห้ง เหงื่อออกมาก ท้องผูก ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น
- ยากลุ่ม TCAs ทำให้เกิดอาการ ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก/ปัสสาวะขัด ปากแห้ง ความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง/ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน ง่วงนอน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ยากลุ่ม MAOIs ทำให้ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง ง่วงนอน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ น้ำหนักตัวเพิ่ม นอนไม่หลับ
ทั้งนี้ ต้องใช้ยาเหล่านี้อย่างระมัดระวัง เพราะยาเหล่านี้ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการฆ่าตัวตายด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็กและวัยรุ่น
ยาคุมกำเนิดเป็นยาที่ช่วยยับยั้งการเกิดปฏิสนธิระหว่างไข่และเชื้ออสุจิ โดยมีลักษณะและกลไกการทำงานที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง เป็นต้น
ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน และโปรเจสติน) มีผลป้องกันการตั้งครรภ์โดยยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางตัวมีสภาพไม่พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิจึงทำให้ไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในท่อนำไข่ได้
ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดทั่วโลก เนื่องจากหาได้ง่าย ใช้ได้สะดวก มีหลายราคา หลายชนิดให้เลือกใช้ มีอัตราการล้มเหลวจากการใช้ยาน้อย ยาเม็ดคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ 1) ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม 2) ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสตินอย่างเดียว 3) ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน
ยาฉีดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดโดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อในระยะเวลาที่กำหนด เป็นที่นิยมใช้ในสตรีที่ต้องการเว้นระยะการมีบุตร เพราะประสิทธิภาพดี ราคาถูก ยาฉีดคุมกำเนิดที่มีในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ยามีฮอร์โมนชนิดเดียว เป็นฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว 2) ยามีฮอร์โมนรวม คือ มีทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนเละโปรเจสติน
ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดโดยการฝังฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำเป็นแท่งเล็กๆ เข้าไปที่ใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ของสตรี ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนนี้ยังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปได้ยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่ ยาฝังคุมกำเนิดจะประกอบด้วยฮอร์โมนเพศหญิงโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว
ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง เป็นการคุมกำเนิดโดยใช้ยาฮอร์โมนที่เป็นแผ่นแปะซึ่งประกอบด้วยยาฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ยาในกลุ่มเอสโตรเจนสังเคราะห์และยาในกลุ่มโปรเจสติน ซึ่งเมื่อแปะบริเวณผิวหนังแล้วจะมีผลให้ตัวยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย โดยกลไกหลัก คือ ยาจะมีผลยับยั้งการตกไข่เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกินหรือชนิดยาฉีดคุมกำเนิด เพราะเป็นยาฮอร์โมนจัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ยานี้จะถูกผิวหนังดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ หลังจากแปะยาไปแล้วประมาณ 48 ชั่วโมง โดยระดับยาจะคงที่สม่ำเสมอ และระดับยาจะใกล้เคียงกันไม่ว่าจะแปะแผ่นยาที่บริเวณ สะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก หรือ แผ่นหลังด้านบน ทำให้มีการออกฤทธิ์อยู่ได้นาน ซึ่งยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนังนี้ มีกลไกป้องกันการตั้งครรภ์หลักคล้ายกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกิน กล่าวคือ ป้องกันการตกไข่ ป้องกันไม่ให้อสุจิผ่านเยื่อเมือกบริเวณปากช่องคลอดเข้ามาปฏิสนธิกับไข่บริเวณโพรงมดลูกและในท่อนำไข่ได้ และมีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางและไม่เหมาะสมในการฝังตัวของตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิ
- กลุ่มยาสเตียรอยด์
- วิตามินเอและกลุ่มอนุพันธุ์ของวิตามินเอ (retinoids / beta carotene)
- วิตามินดีและกลุ่มอนุพันธุ์ของวิตามินดี
- ยา Anthralin
- กรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ซึ่งเป็นกรดหนึ่งในกลุ่มเบต้า-ไฮดรอกซี (BHA)
- ครีม/โลชั่นบำรุงผิวชนิดที่อ่อนโยน
อนึ่ง ยาเหล่านี้มักมีข้อจำกัดในการใช้ที่เฉพาะตัวและมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่น จึงควรใช้ภายใต้การแนะนำและควบคุมของแพทย์ด้านโรคผิวหนัง ไม่ควรซื้อมาใช้เอง
แคลซิโปไตรอีน (Calcipotriene)
- ยาแคลซิโปไตรอีน เป็นอนุพันธ์ของวิตามินดี 3 ชนิดสังเคราะห์ หลังดูดซึมผ่านทางผิวหนัง ตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับของร่างกายที่เรียกว่า Vitamin D receptor ทำให้เกิดการแปลคำสั่งในชั้นผิวหนัง ให้ทำการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังให้มีปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้อาการของโรคสะเก็ดเงินดีขึ้นเป็นลำดับ
ทาซาโรทีน (Tazarotene)
- ยาทาซาโรทีน เป็นยาประเภทเรตินอยด์ (retinoid) การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า ตัวยานี้จะออกฤทธิ์กับตัวรับบริเวณผิวหนังที่เรียกว่า Retinoic acid receptor ซึ่งอาจส่งผลต่อสารพันธุกรรมในบริเวณผิวหนังที่มีอาการโรค ทำให้มีการผลัดเซลล์ผิวหนังที่สมดุลมากขึ้น จนเป็นผลให้เกิดฤทธิ์การรักษาได้ตามสรรพคุณ เป็นยาที่ห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์/ตั้งครรภ์ ด้วยยากลุ่มเรตินอยด์ที่รวมถึงยาทาซาโรทีนสามารถก่อให้เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ได้
แอนทราลิน (Anthralin or Dithranol)
- ยาแอนทราลิน มีกลไกการออกฤทธิ์โดยตัวยาจะยับยั้งการสร้างเซลล์ผิวหนังบริเวณที่เกิดรอยโรค จากการที่ตัวยาจะทำให้สารพันธุกรรมในเซลล์ผิวหนังที่เกิดโรคหยุดการจำลอง/การแบ่งตัว จึงส่งผลทำให้ผิวหนังหยุดการผลิตเซลล์ผิวที่เกิดโรคขึ้นมาใหม่ จึงก่อให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาได้ตามสรรพคุณ
พิเมโครลิมัส (Pimecrolimus)
- ยาพิเมโครลิมัส(Pimecrolimus) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของกลุ่มโปรตีนที่มีชื่อว่า Calcineurin ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานและการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวชนิด T-Cell ด้วยเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้ T-Cell หยุดการเจริญเติบโตและหยุดการแบ่งเซลล์ จากนั้นจะเกิดการกีดกันการปลดปล่อยสารที่กระตุ้นการอักเสบของผิวหนังออกมา (Inflammatory cytokines) จากกลไกดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
โคลทาร์ทอปิคอล (Coal tar topical)
- ยาโคลทาร์ หรือ น้ำมันดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำและมีความหนืดข้น ด้วยองค์ประกอบของน้ำมันดินที่มีสารประกอบจำพวก Phenols สาร Polycyclic aromatic hydrocarbons และสารประเภท Heterocyclic compounds ทำให้น้ำมันดินมีฤทธิ์ทำลายเซลล์ผิวหนังให้หลุดลอก หรือช่วยชะลอการเจริญของชั้นผิวหนังที่ก่อโรค เป็นกลุ่มเภสัชภัณฑ์จำพวกน้ำมันดินบริสุทธิ์ที่แปรรูปมาเป็นยาทาผิวหนังภายนอก ซึ่งมีทั้ง โลชั่น ครีม ขี้ผึ้ง แชมพู และโฟมอาบน้ำ
ก. ยาคลายเครียดที่ออกฤทธิ์แรง (Major Tranquilizers / Antipsychotics / Antipsychotic drug) ยาประเภทนี้ออกฤทธิ์ตั้งแต่ทำให้ร่างกายและสมองมีอาการซึมลงจนถึงหลับสนิท เช่น ยา Phenothiazines มักใช้สำหรับผู้ที่มีอาการทางจิตเวชชนิดซึ่งมีอาการประสาทหลอน เนื่องจากยาประเภทนี้ออกฤทธิ์แรงจึงต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์เท่านั้น และหากใช้ยาคลายเครียดประเภทออกฤทธิ์แรงเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะเกิดความต้านทานยา/ดื้อยา และทำให้เกิดพิษ (ผลข้างเคียงรุนแรง)ค่อนข้างมาก
ข. ยาคลายเครียดที่ออกฤทธิ์อ่อน (Minor Tranquilizers / Anxiolytic / Anxiolytic drug) หรือเรียกอีกอย่างว่า ยาคลายวิตกกังวล ยาประเภทนี้จะออกฤทธิ์ช่วยระงับความวิตกกังวล และคลายความเครียดของสมองและอารมณ์ ทำให้นอนหลับง่าย หากใช้ยาประเภทคลายเครียดที่ออกฤทธิ์อ่อนนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดการดื้อยาและเกิดการเสพติดได้ ยาคลายวิตกกังวลอาจแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น
- บาร์บิทูเรต (Barbiturates): ใช้เป็นยาคลายกังวลช่วยสงบประสาท ใช้รักษาโรคลมชัก มีการออกฤทธิ์ที่ตัวรับ(Receptor) ที่ชื่อ GABA receptors ในสมอง ข้อพึงระวังคือ ยานี้สามารถออกฤทธิ์กดการหายใจ (ทำให้หายใจช้า หายใจตื้น หายใจเบา จนอาจถึงขั้นหยุดหายใจ) เกิดภาวะจิตหลอน/ประสาทหลอน ยานี้ห้ามใช้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ภาวะให้นมบุตร
- เบนโซไดอะซิปีน (Benzodiazepine): เป็นยาช่วยให้นอนหลับ คลายความวิตกกังวล มีการออกฤทธิ์ต่อสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองประเภท GABA ยานี้ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย บำบัดอาการลมชัก
- คาร์บาเมท (Carbamates): จัดเป็นกลุ่มยาอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อบำบัดอาการวิตกกังวล
- โอปิออยด์ (Opioid): เป็นกลุ่มยาที่มีคุณสมบัติคล้ายมอร์ฟีน (Morphine) มีการออกฤทธิ์ที่ประสาทส่วนกลาง รวมถึงระบบประสาทส่วนปลาย ยาในหมวดนี้หลายรายการที่ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ในวงการแพทย์มักใช้เป็นยาระงับปวด/ยาแก้ปวด (Painkilling properties) ยาบางรายการมีฤทธิ์บรรเทาอาการซึมเศร้า รวมถึงอาการวิตกกังวล
- กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressants): นอกจากมีวัตถุประสงค์ลดภาวะซึมเศร้าแล้ว ยังมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล โดยถูกจัดออกเป็นหมวดหมู่ย่อยอีกคือ ยา SSRIs ยา SNRI ยา TCAs และ ยา MAOIs
- ซิมพาโธไลติก (Sympatholytic): เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic nervous system) ซึ่งคอยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจจิตใจ มักใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูง แต่ก็มีฤทธิ์คลายความวิตกกังวลได้ด้วย อาจแบ่งยากลุ่มนี้ออกเป็นหมวดย่อยเป็น ยา Beta blockers ยา Alpha blocker ยา Alpha adrenergic agonist
- ยาคลายเครียด จะมีตัวยาที่ออกฤทธิ์กดการทำงานของสมอง กดการหายใจ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ จึงทำให้หมดสติได้
- เมื่อใช้ยาคลายเครียดเป็นระยะเวลานานและใช้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการติดยาได้
- ผู้ใช้ยาคลายเครียดบางรายอาจทำให้อ้วนขึ้นหรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากยาคลายเครียดจะออกฤทธิ์ทำให้มีอาการอยากอาหารมากขึ้น จึงกินอาหารได้มากขึ้น
- ยาคลายเครียดจะออกฤทธิ์กดการทำงานของสมอง ทำให้ร่างกายและจิตใจไม่อยู่ในสภาพที่ตื่นตัว จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนได้
- หญิงตั้งครรภ์ถ้าเกิดอาการติดยาคลายเครียด ลูกที่เกิดมาอาจจะมีอาการหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า ชักกระตุกได้
- หญิงให้นมบุตรถ้าใช้ยาคลายเครียด ลูกที่ดื่มนมแม่อาจมีอาการคล้ายคนติดยาคลายเครียดได้
- การใช้ยาคลายเครียด/ยากล่อมประสาท ควรระมัดระวังและอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
- ปกติจะไม่ใช้ยากลุ่มนี้ในเด็ก ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น
ในทางเภสัชยาฆ่าเชื้อ หมายถึงกลุ่มของสาร/ยาที่ได้จากธรรมชาติและ/หรือจากการสังเคราะห์ทางเคมี โดยเป็นสารที่มีฤทธิ์ฆ่า/หยุด/ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว (สัตว์เซลล์เดียว) ปรสิต เชื้อไวรัส โดยยาฆ่าเชื้อแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม/ประเภทตามประเภทเชื้อที่เป็นสาเหตุซึ่งได้แก่
- กลุ่มที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial drug/Antibiotic drug) เรียกว่า ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าแบคทีเรีย/ยาต้านแบคทีเรีย
- กลุ่มที่ใช้รักษาการติดเชื้อรา เรียกว่า ยาฆ่าเชื้อราหรือยาต้านเชื้อรา (Antifungal drugs)
- กลุ่มที่ใช้รักษาการติดเชื้อปรสิต หรือ สัตว์เซลล์เดียว เรียกว่า ยาฆ่าปรสิต (Antiparasitic drugs)
- กลุ่มที่ใช้รักษาการติดเชื้อไวรัส เรียกว่า ยาฆ่าไวรัสหรือยาต้านไวรัส (Antiviral drugs)
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย : ใช้รักษาโรคติดเชื้ออวัยวะต่างๆ ที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียของระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ
- ยาต้านเชื้อรา: ใช้รักษาการติดเชื้อราของอวัยวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อราที่ผิวหนัง (เช่น กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า) ที่สมอง ที่ปอด
- ยาต้านปรสิต สัตว์เซลล์เดียว: ใช้รักษาโรคอวัยวะต่างๆ ที่เกิดจากปรสิต เช่น โรคไข้จับสั่น ตืดหมู ตืดวัว พยาธิไส้เดือน
- ยาต้านไวรัส: ใช้รักษาโรคอวัยวะต่างๆ ที่เกิดจากติดเชื้อไวรัส เช่น โรคเริม อีสุกอีใส งูสวัด เอชไอวี
- ไม่ควรซื้อยาฆ่าเชื้อมากินเอง เพราะยาฆ่าเชื้อมีหลายชนิดซึ่งการใช้ขึ้นกับชนิดของเชื้อและความรุนแรงของอาการ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาเพื่อที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อได้ถูกกับโรค ทำให้การรักษาได้ผล นอกจากนี้เพื่อป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา ต้องใช้ยาให้ครบตามแพทย์สั่งไม่หยุดใช้ยาเองถึงแม้อาการจะหายแล้ว
- ยาฆ่าเชื้ออาจผ่านรกหรือออกมากับน้ำนม ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ต้องเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อในขนาดต่ำที่สุดที่ให้ผลในการรักษา และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เช่น ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (เช่น กลุ่มเตตร้าไซคลิน/Tetracycline อีริโทรมัยซิน/Erythromycin) และยาต้านเชื้อรา กรีสซิโอฟูลวิน/Griseofulvin) เป็นต้น ดังนั้น
- ข้อที่ควรต้องทราบและปฏิบัติ คือ ต้องใช้ยาปฏิชีวนะตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น ห้ามซื้อยามากินเอง
- กรณีผู้สูงอายุและเด็ก แพทย์จะพิจารณาและระวังเรื่องปฏิกิริยาของยาและปรับขนาดยา เช่น ยาฆ่าเชื้อที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวยาที่ตับ หรือที่ขับออกทางไต อาจทำให้อาการของโรคตับ/ไตที่เป็นอยู่ของผู้สูงอายุ หรือในเด็กที่ไตยังทำงานไม่เต็มที่ แย่ลงกว่าเดิม หรือการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเตตร้าไซคลินในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรงและฟันมีสีผิด เป็นต้น
ยาฆ่าเชื้อทุกชนิดมีผลข้างเคียง โดยความรุนแรงที่เกิดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบของยาที่ใช้ โดยผลข้างเคียงที่พบมากคือ คลื่นไส้ อาเจียน และอาจเกิดอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน ไปจนถึงอาการขั้นรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ เช่น เกิดภาวะ Anaphylaxis
ในทางเภสัช ยาต้านอักเสบ/ยาแก้อักเสบ (Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่ใช้แก้อาการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากติดเชื้อ แต่ลักษณะอาการอักเสบจะคล้ายกับการอักเสบจากติดเชื้อ ได้แก่ อาการบวม แดง ร้อน เจ็บ/ปวด และอาจมีไข้ ทั้งนี้ยาต้านอักเสบแบ่งออกเป็นยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSIAD: Non-steroidal anti-inflammatory drug) และยาต้านอักเสบสเตียรอยด์ (Glucocorticoid/Corticosteroid)
ร่างกายผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารจากอวัยวะต่างๆ คือ ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ต่อมน้ำลาย เมื่อไรก็ตามที่มีความบกพร่องของอวัยวะที่สร้างเอนไซม์ซึ่งใช้ย่อยอาหารหรือภาวะที่ทำให้การหลั่งน้ำย่อยลดลง ก็จะเกิดความผิดปกติในการย่อยอาหาร ส่งผลทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ไม่สบายท้อง
ยาช่วยย่อยหรือยาช่วยย่อยอาหาร เป็นยาที่ประกอบด้วยเอนไซม์หรือน้ำย่อยอาหารที่ใช้ในการย่อยอาหารต่างๆ เพื่อช่วยทำให้กระบวนการในการย่อยอาหารของร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งยาช่วยย่อยอาหารที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่
1. แพนคริเอตินและแพนคริเอไลเปส เป็นกลุ่มเอนไซม์ที่สกัดจากตับอ่อนของหมูและวัว ประกอบด้วย
- เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ที่ใช้ย่อยพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต
- เอนไซม์ทริปซิน (Trypsin) ที่ใช้ย่อยโปรตีนต่างๆ
- เอนไซม์ไลเปส (Lipase) ที่ใช้ย่อยอาหารพวกไขมัน
เนื่องจากแพนคริเอไลเปสจะมีไลเปสมากกว่าแพนคริเอติน จึงมีฤทธิ์ช่วยย่อยไขมันได้ดีกว่าเอนไซม์แพนคริเอติน โดยเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดใช้ทดแทนการขาดน้ำย่อยจากตับอ่อนซึ่งพบในโรคตับอ่อนอักเสบ
2. ยาช่วยย่อยอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารพวกแป้ง น้ำตาล หรือ คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนเป็นหลัก บางชนิดจะผสมร่วมกับยาลดกรดและยาขับลมต่างๆ นำไปใช้ในกรณีที่มีอาการ ท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย
- ผู้สูงอายุหรือเด็กต่ำกว่า 6 ปี ควรใช้ยาตามแพทย์สั่ง เพราะมีโอกาสเกิดการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงจากยา (ชีพจรเต้นเร็ว มึนงง ตาพร่า) ได้
- ห้ามใช้ในโรคต้อหิน (Glaucoma) เพราะอาการทางตาอาจเลวลง
- หากเกิดอาการชีพจรเต้นเร็ว มึนงง หรือสายตาพร่าหลังกินยา ให้หยุดใช้ยา
- ส่วนหญิงมีครรภ์ และให้นมบุตร สามารถกินยาช่วยย่อยได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะปลอดภัยกว่า
มาเจสโต-เอฟ (Magesto-F)
ยามาเจสโต-เอฟ (Magesto-F) เป็นชื่อทางการค้าของกลุ่มยาที่นำมารักษาอาการปวดท้อง อาการจุก เสียดท้องหลังกินอาหารมากเกินไป รวมถึงช่วยบรรเทาอาการท้องอืดเนื่องจากอาหารไม่ย่อย โดยยามาเจสโต-เอฟ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น เกิดภาวะท้องผูกกับผู้ป่วยบางราย
แพนครีเอติน (Pancreatin)
ยาแพนครีเอติน (Pancreatin) ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะตับอ่อนผิดปกติหรือการทำงานบกพร่อง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการผ่าตัดตับอ่อน มีภาวะตับอ่อนอักเสบ มะเร็งตับอ่อน หรือท่อทางเดินน้ำดีอุดตัน โดยยาแพนครีเอตินสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย เจ็บในช่องท้อง/ปวดท้อง เป็นตะคริว อาจมีอาการคลื่นไส้ แสบขณะปัสสาวะ ปวดตามข้อต่อของกระดูก ผื่นคัน และผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงมากคือหายใจติดขัด
ปาเปน (Papain)
ยาปาเปน (Papain / Papaya proteinase) เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืด โดยยาปาเปนมีผลข้างเคียง เช่น บางรายอาจก่อให้เกิดแผลในลำคอได้
ยาถ่ายพยาธิ (Anthelmintic Drugs / Antiparasitic drugs) หมายถึง ยาที่ออกฤทธิ์ให้พยาธิขาดพลังงานหรือเป็นอัมพาต ทำให้ร่างกายสามารถขับพยาธิออกมาได้ทางการถ่ายอุจจาระ เป็นยาที่ใช้ได้ทั้งในคนและในสัตว์ เช่น สุนัข แมว หมู ม้า แกะ และวัว
ยาถ่ายพยาธิ แบ่งประเภทต่างๆ ตามโครงสร้างทางเคมีได้ดังนี้
ลำดับ |
ประเภทของยาถ่ายพยาธิ |
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา |
ข้อควรระวังในการใช้ยา |
1 |
ยาพิเพอราซีน (Piperazine) |
คลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น ปวดศีรษะ ง่วงซึม มึนงง ปวดท้อง ท้องเสีย มองภาพไม่ชัด มีไข้ ปวดข้อ |
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา Piperazine ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก เพราะอาจทำให้อาการของโรคลมชักแย่ลง และระวังการใช้ยา Piperazine ร่วมกับยา Chlorpromazine ยา Pyrantel |
2 |
ยากลุ่มอนุพันธ์ของสารประกอบเตตระไฮโดรไพริมิดีน (Tetrahydropyrimidine derivatives) เช่น ไพแรนเทล (Pyrantel) อ๊อกแซนเทล (Oxantel) |
คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม มึนงง นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ระดับเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง |
ระวังการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่มีการทำงานของตับบกพร่อง เพราะยาส่งผลให้ระดับเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดเพิ่มขึ้น จึงอาจทำให้อาการของโรคตับแย่ลง |
3 |
ยากลุ่มสารประกอบอิมิดาโซลไทอะโซล (Imidazothiazole derivatives) เช่น เลวาไมโซล (Levamisole) |
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง การรับรสและกลิ่นผิดปกติ เหนื่อยล้า มึนงง ปวดศีรษะ |
ห้ามใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ผู้ป่วยที่มีโรคข้อรูมาตอยด์ โรคไตขั้นรุนแรง โรคตับ และโรคหนังแข็ง |
4 |
ยากลุ่มอนุพันธ์ของสารประกอบเบนซิมิดาโซล (Benzimidazole derivatives) เช่น มีเบนดาโซล (Mebendazole) อัลเบนดาโซล (Albendazole) ไธอะเบนดาโซล (Thiabendazole) ฟลูเบนดาโซล (Flubendazole) ไตรคลาเบนดาโซล (Triclabendazole) |
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ระดับเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ |
ระวังการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่มีการทำงานของตับบกพร่อง เพราะยาส่งผลให้ระดับเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดเพิ่มขึ้น จึงอาจทำให้อาการของโรคตับแย่ลง |
5 |
ยากลุ่มอนุพันธ์ของสารประกอบซาลิซีลานิไลด์ (Salicylanilides derivatives) เช่น นิโคลซาไมด์ (Niclosamide) |
อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง มึนงง ง่วงซึม การรับรสผิดปกติ |
การใช้ยา Niclosamide ต้องให้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูกร่วมด้วย เพื่อเร่งการบีบตัวของลำไส้/เร่งการระบายอุจจาระเพื่อป้องกันไม่ให้มีไข่ตกค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหาร |
6 |
ยาไดเอทิลคาร์บามาซีน (Diethylcarbamazine) |
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ง่วงซึม |
ยาไดเอทิลคาร์บามาซีนอาจทำให้การมองเห็นผิดปกติ ควรต้องหลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะหรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร |
7 |
ยาพราซิควอนเทล (Praziquantel) |
คลื่นไส้ ปวดท้อง วิงเวียน ปวดศีรษะ ง่วงซึม ระดับเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดเพิ่มขึ้น ชัก |
ห้ามใช้ยา Praziquantel รักษาโรคพยาธิตืดหมูในลูกตา (Ocular cysticercosis) เพราะอาจทำให้ลูกตาได้รับบาดเจ็บจากพยาธิที่ตายแล้ว |
8 |
ยาไพร์วิเนียม (Pyrvinium) |
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ผิวหนังไวต่อแสงแดด |
ยา Pyrvinium เป็นยาที่ทำให้อุจจาระและอาเจียนมีสีแดง อาการนี้จะหายไปได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากหยุดยานี้ |
9 |
ยาไอเวอร์เมคติน (Ivermectin) |
คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ ผื่นคัน หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ท้องเสีย มึนงง |
ห้ามใช้ยา Ivermectin ในผู้ป่วยที่มี Blood-brain barrier ผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เพราะอาจทำให้ยาผ่านเข้าสู่สมองได้มากขึ้นจนทำให้เกิดพิษต่อสมองจนเป็นอันตราย |
ตามประกาศบัญชียาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน ปี พ.ศ. 2542 ของกระทรวงสาธารณสุขได้มียาตำรับแผนโบราณ 27 ตำรับ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดีและใช้กันมายาวนาน ในจำนวนนั้นมียาหอมอยู่ถึง 4 ชนิด คือ
1. ยาหอมเทพจิตร: ใช้แก้ลม บำรุงหัวใจ โดยผสมน้ำดอกไม้เทศเป็นกระสาย ซึ่งตามหลักการแพทย์แผนไทย บำรุงหัวใจ หมายถึง บำรุงให้จิตใจรู้สึกแช่มชื่น เหมาะกับคนที่รู้สึกซึมเศร้า มีอารมณ์เศร้าหมอง ที่มักเกิดขึ้นในบางเวลา หรือคนสูงอายุที่รู้สึกเหงา เศร้า อย่างไรก็ดีการใช้ยาหอมในกลุ่มอาการเหล่านี้ ใช้ได้เฉพาะอาการที่แรกเริ่ม ไม่ใช่ยารักษาอาการสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวชที่ต้องปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน
2. ยาหอมทิพโอสถ: แก้ลมวิงเวียน แก้ลมบาดทะจิต โดยใช้น้ำดอกมะลิเป็นน้ำกระสายยา นอกจากใช้แก้ลมวิงเวียน ยังสามารถใช้ในสตรีที่มักมีความรู้สึกหงุดหงิดโกรธง่ายในช่วงก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากเป็นผลกระทบของความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นในรอบเดือนและกระทบต่อจิตใจ เนื่องจากยาที่มีดอกไม้เป็นส่วนผสม จะช่วยลดผลกระทบของความร้อนดังกล่าว ทำให้จิตใจเย็นลง โดยไม่ทำให้โลหิตเย็นซึ่งกระทบต่อการมีประจำเดือน
3. ยาหอมอินทจักร: กรณีแก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี หรือเทียนดำ ต้ม หรือน้ำสุกเป็นกระสาย กรณีแก้ลมจุกเสียดใช้น้ำขิงต้มเป็นกระสาย ส่วนกรณีแก้อาการหงุดหงิดกระวนวาย จิตใจไม่สงบ หรือที่โบราณเรียกว่าลมบาดทะจิต (ละเมอเพ้อพกพูดคนเดียวเหมือนผีเข้า เกิดจากจิตระส่ำระสาย) ใช้น้ำดอกมะลิเป็นกระสาย อย่างไรก็ดีไม่แนะนำให้ใช้ในกรณีที่เป็นไข้สูงและเพ้อ
4. ยาหอมนวโกฐ: กรณีแก้ลมคลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำ ต้มเป็นกระสาย กรณีแก้ลมปลายไข้ ใช้ก้านสะเดา ลูกกระดอม และบอระเพ็ด ต้มเอาน้ำเป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ใช้น้ำสุกแทน ทั้งนี้รายงานการวิจัยพบว่า ยาหอมนวโกฐเพิ่มความแรงการบีบตัวของหัวใจและเพิ่มความดันโลหิตเล็กน้อย ทำให้หลอดเลือดเล็กที่ไปเลี้ยงสมองขยายตัวและปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยาหอมนวโกฐยังมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หลับสบาย และทำให้การหลั่งกรดลดลง และยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็ก แก้ปวดท้องได้ดี
การใช้ยาหอมให้ได้ผล แม้จะเป็นชนิดเม็ด ควรนำมาละลายน้ำกระสายยา หรือน้ำอุ่นกินขณะกำลังอุ่น เหมือนกับวิธีการดั้งเดิม เพื่อช่วยการออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยที่มีในยาหอม ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น และออกฤทธิ์ทั้งผ่านประสาทรับกลิ่นและผ่านการดูดซึมผ่านกระเพาะอาหาร
- การเลือกใช้ยาหอมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกชนิดของยาหอมและน้ำกระสายยาให้ถูกกับอาการ
- ขนาดยาหอมที่ใช้ ควรใช้ตามคำแนะนำในฉลากยา การกินเกินขนาดที่แนะนำไม่ทำให้เกิดอาการเป็นพิษทันที แต่จะผลักดันให้การทำงานของธาตุเปลี่ยนไปเร็ว และทำให้สมดุลอาจขาดหรือเกินไปอีกทางได้
- หากไม่สามารถซื้อหรือเก็บยาหอมหลายชนิดไว้ในตู้ยาประจำบ้าน ก็สามารถเลือกยาหอมประเภทกลางๆ เช่น ยาหอมอินทจักร และใช้ร่วมกับน้ำกระสายยาตามที่ระบุ
- ควรระวังการกินยาร่วมกับยาในกลุ่มยากันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูร และเกิดพิษได้
- ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้
- ในหญิงตั้งครรภ์ ในเด็กเล็ก และในหญิงให้นมบุตร ควรต้องปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรก่อนใช้ยาทุกชนิด ทั้งแผนปัจจุบัน แผนไทย สมุนไพร ฯลฯ ที่รวมถึง “ยาหอม” ด้วย
ยาบำรุงสมอง (Smart drugs หรือ Cognitive enhancers) หรือในที่นี้คือกลุ่มยานูโทรปิก (Nootropic drug) เป็นกลุ่มสารประกอบ อาจจะเป็นยาหรือเป็นอาหารเสริมที่ช่วยกระบวนการรับรู้ของสมอง (Cognitive enhancers) เช่น ความจำ ความคิดสร้างสรรค์ หรือแรงจูงใจต่างๆ ปกติพบการใช้ยานี้กับกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ทั้งนี้ ทางคลินิกยังไม่มีข้อสรุปว่ายากลุ่มนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองจริงหรือไม่ โดยกลไกของการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของกลุ่มยานูโทรปิกจะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับธรรมชาติและโครงสร้างของตัวยาแต่ละชนิด ซึ่งสามารถแบ่งยานูโทรปิกออกเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้
ก. กลุ่มกระตุ้นประสาท (Stimulants): เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นต่อสมองโดยตรง หรือช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองภายใต้กระบวนการทำงานของสารสื่อประสาทในสมองอย่างมีสมดุล ขนาดการใช้ยากลุ่มนี้มักจะเป็นปริมาณที่ต่ำ เพราะการใช้ยากลุ่มนี้ขนาดสูงเพื่อกระตุ้นการทำงานของประสาทจะส่งผลตรงกันข้าม กล่าวคือจะทำให้สมองสูญเสียกระบวนการรับรู้และไม่สามารถควบคุมระบบประสาทของตนเองได้อีกต่อไป ตัวอย่างของกลุ่มยาในหมวดนี้ เช่น Amphetamine, Methylphenidate, Eugeroics, Xanthines และ Nicotine
ข. เรสแตมส์ (Racetams): เป็นอีกหมวดหนึ่งของยานูโทรปิกที่มีคุณสมบัติเสริมสร้างกระบวนการรับรู้ของสมอง มีขายตามร้านขายยาทั่วไป หนึ่งในกลไกการออกฤทธิ์ของยาหมวดเรสแตมส์คือ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมองโดยยับยั้งการรวมตัวของลิ่มเลือดที่อาจก่อตัวหรืออุดกั้นหลอดเลือด จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดในสมองทำได้ไม่ดีพอ จากกลไกดังกล่าวจึงสามารถใช้ช่วยบำบัดอาการความจำเสื่อม อารมณ์ซึมเศร้าและวิตกกังวล ทั้งนี้ อาจพบผลข้างเคียงของการใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ เช่น รู้สึกวิตกกังวลมากขึ้น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ตัวสั่น ซึมเศร้ามากขึ้น และอ่อนแรง ตัวอย่างของยาในหมวดนี้ เช่น Piracetam, Etiracetam, Oxiracetam และ Aniracetam
ค. โภชนเภสัช (Nutraceutical): เป็นกลุ่มสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยคล้ายกับเป็นยาหรือใช้รักษาโรค ปกติจะจำหน่ายในลักษณะของอาหารเสริม ซึ่งพบเห็นได้มากมายหลายยี่ห้อในท้องตลาด มีการทำวิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับโภชนเภสัชจนมีข้อสรุปออกมาเป็นจุดขายว่า ช่วยกระบวนการเพิ่มความจดจำของสมอง ทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยเพลีย แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มที่มีความเห็นตรงกันข้ามว่า โภชนเภสัชดังกล่าวไม่มีสรรพคุณตามที่กล่าวอ้างมา ตัวอย่างของกลุ่มโภชนเภสัชดังกล่าว เช่น พรมมิ (Bacopa monnieri), โสม (Panax ginseng) แปะก๊วย (Ginkgo biloba)
ง. กลุ่มอื่นๆ: เช่น Theanine, Tolcapone, Levodopa, Atomoxetin, Despiramine
อย่างไรก็ตาม ก่อนการเลือกใช้ยาในกลุ่มนูโทรปิกตัวใด ผู้บริโภคควรต้องปรึกษาแพทย์/เภสัชกรเพื่อทราบข้อเท็จจริง ข้อมูลด้านความปลอดภัยของตัวผลิตภัณฑ์ว่ามีความเหมาะสมกับผู้บริโภคหรือไม่
ผลข้างเคียงเท่าที่พบเห็นของยากลุ่มนูโทรปิกอาจเกิดที่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ อ่อนแรง ปวดศีรษะ โดยอาการข้างเคียงจากยานี้จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดการกิน และ/หรือการใช้ยาในกลุ่มนี้ตรงกับอาการโรคหรือไม่
ก. ยากระตุ้นการเจริญของเส้นผม (Hair growth promoters): เช่น Minoxidil
ข. ยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Antiandrogens): เช่น Finasteride, Dutasteride
ค. ยาพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin analogues): เช่น Bimatoprost, Latanoprost
ง. ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids): แบ่งตามรูปแบบของยาได้ดังนี้
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดฉีดเข้าบริเวณรอยโรค (Intralesional corticosteroids): เช่น Triamcinolone, Hydrocortisone
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดใช้ทาภายนอก (Topical corticosteroids): เช่น Desoximetasone, Betamethasone, Clobetasol
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic corticosteroids) ซึ่งอยู่ในรูปแบบยาใช้กินหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ: เช่น Dexamethasone, Prednisolone
จ. ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Topical immunotherapy): เช่น Diphenylcyclopropenone
ทั้งนี้ ยา Minoxidil, ยากลุ่ม Antiandrogens, และยากลุ่ม Prostaglandins ใช้รักษาภาวะผมร่วงจากพันธุกรรม ส่วนยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ และ Diphenylcyclopropenone ใช้รักษาภาวะผมร่วงเป็นหย่อม
- ควรระวังการใช้ยา Minoxidil รูปแบบยาเม็ดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด โรคไต และเนื้องอกต่อมหมวกไตชนิดฟีโอโครโมไซโตมา (Pheochromocytoma)
- ยา Minoxidil ในรูปแบบยาทาเฉพาะที่เป็นยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ถ้ายาเข้าตาหรือบาดแผลอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้นให้ล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก
- ยา Diphenylcyclopropenone เป็นยาที่ใช้ทาบริเวณหนังศีรษะ ควรทิ้งไว้ประมาณ 48 ชั่วโมงแล้วค่อยล้างออก หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดขณะที่ทายา เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง
- ยา Diphenylcyclopropenone เป็นยาที่ระคายเคืองผิวหนัง หากยาถูกผิวหนังบริเวณอื่นๆ หรือรอบดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก
- ยา Minoxidil ในรูปแบบยาเม็ดทำให้ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว บวมน้ำ ภาวะเส้นขนยาว (Hypertrichosis) ซึ่งพบบริเวณหน้าผาก ขมับ ขนตา ไรผม เป็นต้น ส่วนยา Minoxidil ในรูปแบบยาทาเฉพาะที่ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวที่สัมผัสยา ผิวแห้ง แดง คันบริเวณที่ใช้ยา ปวดศีรษะ และลักษณะของเส้นผมหรือสีผมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
- ยากลุ่ม Antiandrogens ทำให้มีความต้องการทางเพศลดลง ปริมาณน้ำอสุจิลดลง อวัยวะเพศไม่แข็งตัว เต้านมโตขึ้น เจ็บเต้านม มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
- ยากลุ่ม Prostaglandin analogues เป็นยาที่ผู้ป่วยทนต่อยาได้ดี พบอาการไม่พึงประสงค์จากยาน้อย เช่น ผื่นแดงและคัน
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ชนิดฉีดเข้าบริเวณรอยโรคทำให้ผิวหนังยุบตัวลงในบริเวณที่ฉีดยา ผิวบาง ภาวะเส้นเลือดฝอยขยายตัว ส่วนชนิดใช้ทาภายนอกทำให้รูขุมขนอักเสบ ผิวบางบริเวณที่ใช้ ภาวะเส้นเลือดฝอยขยายตัว สำหรับชนิดออกฤทธิ์ทั่วร่างกายทำให้เกิดภาวะเบาหวาน กระดูกพรุน ต้อกระจก ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นสิว และมีกลุ่มอาการคุชชิ่ง
- ยา Diphenylcyclopropenone ทำให้เกิดผื่นบริเวณผิวหนัง ตุ่มน้ำใส รูขุมขนอักเสบ หนังศีรษะแห้ง ผิวมีสีอ่อนลงหรือสีเข้มขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้
- กลุ่มยาสเตียรอยด์ (Intranasal corticosteroids): ใช้รักษาอาการผิดปกติทางจมูกทุกอาการ เช่น คันจมูก จาม น้ำมูกไหล คัด/แน่นจมูก, อาการผิดปกติทางทางตา เช่น คันตา แสบตา น้ำตาไหล ตาแดงที่เกิดจากโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดเป็นเฉพาะฤดูกาล, โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดเป็นตลอดทั้งปี, โรคริดสีดวงจมูกขนาดเล็กและขนาดกลาง, ป้องกันการเป็นซ้ำของริดสีดวงจมูกภายหลังการผ่าตัด, รักษาโรคไซนัสอักเสบ, และโรคเยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ เช่น ยา Beclomethasone, Budesonide, Flunisolide, Mometasone, Triamcinolone
- ยาหดหลอดเลือด (Intranasal decongestants): ใช้ลดอาการคัดจมูกเป็นหลัก เช่น ยา Ephedrine, Phenylephrine, Naphazoline, Oxymetazoline, Xylometazoline
- ยาต้านฮิสตามีน/ยาแก้แพ้ (Intranasal antihistamines): ใช้บรรเทาอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก น้ำตาไหล คันตา แต่ลดอาการคัดจมูกได้น้อย เช่น ยา Azelastine, Levocabastine
- ยาต้านฤทธิ์โคลีเนอร์จิก (Intranasal anticholinergics): ใช้ลดอาการน้ำมูกไหลเป็นหลัก เพราะไม่มีผลต่ออาการทางจมูกอื่นๆ จึงใช้เป็นยาทางเลือกในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการน้ำมูกไหลเรื้อรังที่ใช้ Intranasal corticosteroids หรือ Intranasal antihistamines แล้วอาการไม่ดีขึ้น เช่น ยา Ipratropium bromide
- ยา Cell membrane stabilizer: ใช้บรรเทาอาการจาม คัน น้ำมูกไหล และรักษาโรคภูมิแพ้หูคอจมูกที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น ยา Cromolyn sodium, Nedocromil
- ยา Intranasal corticosteroids: อาจทำให้เกิดผลเฉพาะที่ เช่น จมูกแห้ง และจามทันทีภายหลังการพ่นยา, มีน้ำมูกปนเลือดออกมา, เลือดกำเดาไหล, มีอาการทางผิวหนัง เช่น ลมพิษ ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ, ผนังกั้นช่องจมูกเป็นรูที่พบได้น้อยมาก
- ยา Intranasal decongestants: อาจทำให้เกิดผลเฉพาะที่ เช่น แสบร้อนจมูกและลำคอ จมูกแห้ง จาม, ผลต่อร่างกายทั้งระบบ เช่น ปวดหัว หัวใจเต้นผิดปกติ เหงื่อออกมาก ต้อหิน ปัสสาวะไม่ออก/ปัสสาวะขัด วิตกกังวล นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน
- ยา Intranasal antihistamines: อาจทำให้รู้สึกถึงรสขมของยา แสบจมูก จาม ไอ ปวดหัว อ่อนเพลีย มึนงง
- ยา Ipratropium bromide: อาจทำให้จมูกแห้ง เลือดกำเดาไหล ปัสสาวะไม่ออก ต้อหิน ปวดหัว คลื่นไส้ คออักเสบ
- ยา Cell membrane stabilizer: เป็นยาที่ปลอดภัยมีผลข้างเคียงน้อย เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ ท้องเสีย
- เมื่อมีน้ำมูก ควรกำจัดน้ำมูกออกจากจมูกให้หมด โดยการสั่งน้ำมูกหรือการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
- เขย่าขวดยา (กรณีที่เป็นยาขวดใหม่ก่อนใช้ยาควรตั้งขวดยาให้ตรง และกดพ่นยาออกมาในอากาศให้เป็นละอองฝอยก่อนใช้ยาจริง)
- นั่งตัวตรง เอนศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อย หรือตั้งศีรษะตรง หรือก้มศีรษะ (ขึ้นกับชนิดของยา) ปิดปากให้สนิท
- สอดปลายที่พ่นยาเข้าไปในรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ใช้นิ้วมืออีกข้างปิดรูจมูกที่เหลือ สูดหายใจเข้าช้าๆ พร้อมกับกดที่พ่นยาเข้าจมูก, การพ่นยาต้องให้ปลายหลอดพ่นชี้ไปทางผนังด้านข้างจมูกให้มากที่สุด ห้ามพ่นยาไปที่ผนังกั้นช่องจมูก เพราะอาจทำให้ผนังกั้นช่องจมูกเป็นแผลและมีเลือดกำเดาไหลได้
- กลั้นหายใจ 2 - 3 วินาที แล้ว
- พ่นยาในรูจมูกอีกข้างด้วยวิธีเดียวกัน (ถ้าต้องพ่นยาทั้ง 2 ข้างจมูก)
- ถ้าต้องพ่นข้างละ 2 ครั้ง ควรพ่นข้างละ 1 ครั้งให้ครบทั้ง 2 ข้างก่อน แล้วจึงเริ่มพ่นครั้งที่ 2 ให้ครบทั้ง 2 ข้าง
- เช็ดทำความสะอาดที่ปลายท่อพ่นยา ปิดฝาให้เรียบร้อย เก็บยาตามคำแนะนำของแพทย์ เภสัชกร/พยาบาล หรือเอกสารกำกับยา/ฉลากยาแนะนำ
1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol): มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง
2. ยาเอ็นเสด (NSAIDs = Non-steroidal anti-Inflammatory drugs) คือ ยาในกลุ่มต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ เช่น ยา Ibuprofen, Diclofenac, Mefenamic, Indomethacin, Piroxicam, Nimesulide
3. ยาคอกทูอินฮิบิเตอร์ (COX-2 Inhibitors): เช่น Celecoxib
4. กลุ่มยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotic analgesic): เช่น Morphine) และ Codeine
กลไกการบรรเทาปวดของยาแก้ปวดจะแตกต่างและเป็นคนละแบบกับยาชา เพราะยาชากำจัดทั้งความเจ็บปวดและทำให้ความรู้สึกถึงการสัมผัสของร่างกายสูญหายไปด้วยพร้อมๆ กัน ส่วนกลไกการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวด สามารถออกฤทธิ์ระงับปวดจากความรู้สึกที่สมอง หรือออกฤทธิ์ที่อวัยวะที่มีอาการปวดโดยตรง ทั้งนี้ อาจแบ่งแนวทางการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวดได้ดังนี้
1. ออกฤทธิ์ห้ามมิให้ร่างกายสร้างหรือหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการปวด
2. ยับยั้งฤทธิ์ของสารในร่างกายที่หลั่งออกมาและทำให้รู้สึกปวด
3. ห้ามไม่ให้เม็ดเลือดขาวออกมาสร้างปฏิกิริยากับบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บจนก่อเกิดอาการปวด
- เป็นพิษกับตับและไต
- ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร (กระเพาะอาหารและลำไส้)
- กระตุ้นความดันโลหิตให้สูงขึ้นในผู้ที่ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว
- อาจมีผลให้เกิดโรคหัวใจ
- นอกจากนี้ อาจพบอาการ/ผลข้างเคียงอื่นๆ ตามมา เช่น ผื่นคัน ปวดศีรษะ ง่วงนอน และหอบหืด
- อาการปวดจากปวดเมื่อยธรรมดา: ไม่ต้องใช้ยา เพียงแค่นอนพัก อาการก็จะดีขึ้นเอง
- ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด โดยที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับยานั้นๆ ให้ปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยาใกล้บ้าน
- กรณีที่มีโรคประจำตัว ควรต้องระมัดระวังการใช้ยาแก้ปวดต่างๆ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือเมื่อมีแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยาแก้ปวดหลายตัวจะส่งเสริมให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หรืออาจส่งผลถึงการทำงานของหัวใจ หรือก่อให้เกิดเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ ยาแก้ปวดจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือทำลายโดยตับและขับออกทางไต ดังนั้น หากต้องใช้ยาแก้ปวดในผู้ที่มีภาวะตับและ/หรือไตผิดปกติ ควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำเท่านั้น
- การใช้ยาแก้ปวดในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
มีชนิดกิน ชนิดเหน็บทวาร ชนิดยาขี้ผึ้งใช้ทาบนตัวริดสีดวงและ/หรือแผลที่รูทวารหนัก โดยมีข้อบ่งใช้คือ
- รักษาอาการเลือดออกที่ทวารหนัก อันมีสาเหตุจากอาการท้องผูก
- ยารักษาริดสีดวงทวารบางตัว ช่วยรักษาภาวะเส้นเลือดขอด/หลอดเลือดดำขอด และหลอดเลือดดำผิวอักเสบอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับกลไกการออกฤทธิ์ของยาแต่ละตัว
- รักษาและบรรเทาอาการปวดจากริดสีดวงทวาร หรืออาการปวดริดสีดวงทวารขณะถ่ายอุจจาระ
- บรรเทาอาการคันหรือระคายเคืองในบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวาร
กลไกการออกฤทธิ์ของยารักษาริดสีดวงทวาร แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับตัวยาของยาแต่ละชนิด ดังต่อไปนี้ เช่น
- ยาที่ออกฤทธิ์ต่อผนังหลอดเลือด: จะช่วยทำให้เลือดไหลเวียนผ่านบริเวณริดสีดวงทวารได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด ยาบางตัวมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงลดอาการเลือดออกและลดอาการบวมของแผลริดสีดวงทวาร อีกทั้งช่วยให้หัวริดสีดวงทวารยุบตัวลง เรามักจะพบในยาชนิดรับประทานที่ประกอบไปด้วยตัวยา เช่น Diosmin, Hesperidin, Aescin, Ginkgo biloba, Rutosides
- ยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบของริดสีดวงทวาร ทำให้แผลริดสีดวงทวารหายได้เร็วขึ้น: ยากลุ่มนี้ เช่น ยาสเตียรอยด์ เช่นยา Hydrocortisone, Fluocortolone pivalate
- ยาที่ออกฤทธิ์โดยลดอาการเจ็บปวดบริเวณแผลของริดสีดวงทวารหรือแผลตรงรูทวารซึ่งมักจะใช้ยาชาเป็นส่วนผสม เช่นยา Lidocaine, Cinchocaine
- ยาปฏิชีวนะสำหรับยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งพบมากในบริเวณรูทวารหนัก ซึ่งทำให้แผลริดสีดวงทวารหายช้า ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่นยา Framycetin
- ยาที่เป็นสารระงับและยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย (Antiseptic: สารระงับเชื้อ) ที่เป็นคนละกลุ่มกับยาปฏิชีวนะ ยากลุ่มนี้จะช่วยยับยั้งการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ริดสีดวงทวารหรือแผลบริเวณรูทวารหนักหายช้า ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่นยา Resorcinol
- ยาที่มีฤทธิ์เป็นยาสมานแผล ระงับเชื้อแบคทีเรียได้อ่อนๆ ทำให้อาการระคายเคือง อาการคัน ทุเลาลง ยากลุ่มนี้ เช่นยา Bismuth oxide, Bismuth subgallate, Zinc oxide
- ยาเหน็บทวารหรือยาทาขี้ผึ้งอาจทำให้มีอาการระคายเคือง หรือรู้สึกคันผิวหนังบริเวณที่สัมผัสยา
- ยากินอาจทำให้รู้สึกไม่สบายท้องได้เล็กน้อย บางทีจะพบอาการนอนไม่หลับได้บ้าง หรือบางสูตรอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ยาในผู้ป่วยบางรายได้ เช่น หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย ริมฝีปากบวม ใบหน้าบวม
- ไม่สมควรใช้ยาเหน็บทวารกับผู้ที่กำลังมีอาการเลือดออกที่ช่องทวารหนัก หรือผู้ที่อยู่ในภาวะท้องเสียและยังไม่หยุดขับถ่าย
- ระวังการใช้ยาเหน็บทวารชนิดที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์กับภาวะริดสีดวงที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้อาการของโรคกำเริบมากยิ่งขึ้น
- การสอดยาเหน็บทวาร ควรสอดเข้ารูทวารหนักจนมิด ไม่ให้มีส่วนของแท่งยาโผล่ยื่นออกมา เพราะแท่งยาอาจหลุดได้
- สำหรับสูตรตำรับที่มี Aescin (ตัวยารักษาหลอดเลือดของริดสีดวงทวาร) เป็นตัวยาสำคัญ มีข้อห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคไตและผู้ที่แพ้ยาตัวนี้
ยาลดกรด (Antacid) คือ ยาช่วยปรับความเป็นกรดด่างในกระเพาะอาหารให้อยู่ในสมดุล โดยตัวยามีสภาวะเป็นด่าง ออกฤทธิ์ลดกรดโดยการสะเทิน (ทำให้เป็นกลาง) กับกรดในทางเดินอาหาร เมื่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลงจึงทำให้อาการปวดท้องหรือแสบท้องบรรเทาลงได้ และเป็นยาที่มักใช้ร่วมกับยาระบบทางเดินอาหารในกลุ่มอื่นๆ
- บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยเนื่องจากแผลที่ทางเดินอาหาร (Ulcer dyspepsia) เช่น แผลในกระเพาะอาหาร
- บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยชนิดไม่มีแผลที่ทางเดินอาหาร (Functional or Non – ulcer dyspepsia)
- บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดไหลย้อน ชนิดไม่ก่อให้เกิดแผลที่หลอดอาหาร (Non–erosive gastro–esophageal reflux)
- บรรเทาอาการปวดท้อง อาการแสบร้อนกลางอก และใช้เคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
ชนิดของยาลดกรด |
ข้อห้ามใช้ |
อาการไม่พึงประสงค์ |
Aluminium hydroxide |
ทารกแรกเกิด ผู้มีภาวะฟอสเฟต/ฟอสฟอรัสในเลือดต่ำหรือในภาวะไตวาย |
ทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด อาจส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน/ลำไส้อุดกั้นจากก้อนอุจจาระ หรือโรคริดสีดวงทวาร และหากใช้ยานี้นานเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำที่ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดโรคกระดูกพรุน และโรคกระดูกน่วมกระดูกอ่อน |
Magnesium hydroxide / Milk of Magnesia / MOM |
ผู้ป่วยโรคไต |
ทำให้คลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะขาดน้ำ |
Sodium bicarbonate / Baking Soda / Sodamint |
ผู้มีภาวะด่างเกินในกระแสเลือด/เลือดเป็นด่าง (Alkalosis) ภาวะโซเดียมในเลือดสูง แคลเซียมในเลือดสูง และภาวะปอดบวมน้ำอย่างรุนแรง |
ทำให้เกิดภาวะด่างเกินในกระแสเลือด/เลือดเป็นด่าง อารมณ์เปลี่ยนแปลง/อารมณ์แปรปรวน เหนื่อยหอบ/หายใจลำบาก โซเดียมในเลือดสูง แคลเซียมในเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ |
Bismuth subsalicylate |
ผู้เคยมีประวัติเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารอย่างรุนแรง |
ทำให้เกิดอาการท้องผูก เป็นพิษต่อระบบประสาท |
Calcium carbonate |
ผู้เป็นโรคนิ่วในไต หรือเคยมีประวัติเป็นโรคนิ่วในไต, ผู้มีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง และฟอสเฟตในเลือดต่ำ |
ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องอืด เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะด่างเกินในกระแสเลือด ไตวาย |
ยาสตรี (Tonic herbs for women) จัดเป็นยาแผนโบราณซึ่งขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณ สรรพคุณที่ได้รับอนุญาต คือ บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย เจริญอาหาร แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และเป็นยาแทนการอยู่ไฟ ขับน้ำคาวปลา ช่วยฟอกโลหิต ยานี้ไม่ใช่ยาขับเลือด ไม่ใช่ยาทำแท้ง เนื่องจากยาสตรีส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสมุนไพรชนิดต่างๆ รวมถึงแอลกอฮอล์ ซึ่งตัวยาบางตัวในตำรับอาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงมีคำเตือนไว้ที่ฉลากหรือเอก สารกำกับยาว่า "สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน"
ตำรับยาแผนโบราณที่ใช้สำหรับสตรีจะมีหลายตำรับ ซึ่งปรุงขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่แตกต่างกัน เช่น บางตำรับใช้สำหรับบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บางตำรับใช้สำหรับสตรีหลังคลอดบุตรกินแทนการอยู่ไฟ หรือบางตำรับใช้สำหรับสตรีที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ดังนั้นการใช้ยาสตรีขนานใด ต้องใช้ให้ถูกต้องตรงกับอาการ ไม่เช่นนั้นอาจไม่ได้ผลในการรักษา
เนื่องจากยาสำหรับสตรีส่วนมากจะมีตัวยาที่มีรสร้อนตามศาสตร์ของยาแผนไทย เช่น ขิง ดีปลี พริกไทย และบางตำรับก็อาจมีหัวเหล้าในสูตรตำรับด้วยเล็กน้อย จึงมักมีข้อควรระวังไม่ให้ใช้สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ทำให้มีบางคนเข้าใจว่ายาเหล่านี้เป็นยาทำให้แท้ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอย่างมาก ในทางตรงกันข้าม บางตำรับกลับเป็นยาบำรุงร่างกายหรือบำรุงโลหิต ไม่ได้เกี่ยวกับการขับทำให้แท้งแต่อย่างใด แต่ที่ต้องมีคำเตือน เพราะเกรงว่าตัวยาหรือหัวเหล้าที่มีอยู่ในตำรับยาอาจไปมีผลต่อทารกในครรภ์
กินยาสตรีบ่อยๆ จะเหมือนคนกินเหล้า เพราะส่วนประกอบหลักของยานี้คือ แอลกอฮอล์ มีกลุ่มคนชนบท (ชาย) หลายคนหันมาดื่มยาสตรีนี้แทนดื่มเหล้า ดังนั้นถ้ากินยาสตรีบ่อยๆ ก็อาจติดเหล้าได้
ส่วนยาสตรีตำรับที่ใช้สำหรับสตรีที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ก็ต้องระวังเพราะการที่ประจำเดือนไม่มาอาจเกิดจากการตั้งครรภ์
- ยาหยอดตาจะมีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) 7.4 และมีค่าสภาพตึงตัว (Tonicity: ความดันของสารละลาย) ใกล้เคียงกับน้ำตา เพื่อให้เวลาหยอดตาแล้วไม่รู้สึกระคายเคืองต่อตา
- หลายครั้งที่พบว่า ปัญหาการติดเชื้อที่ตาเกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่หมดอายุ หรือยาหยอดตาที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์หลังจากการเปิดใช้
- โดยทั่วไป ยาหยอดตาชนิดขวดจะมีการเติมสารป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Preservative) ซึ่งจะมีฤทธิ์เต็มที่ภายใน 1 เดือนหลังจากเปิดใช้งานครั้งแรก ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาหยอดตาเกิน 1 เดือนหลังการเปิดใช้ครั้งแรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับตาได้ ส่วนยาหยอดตาบางประเภทที่ไม่มีการผสมสารป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (เช่น น้ำตาเทียมบางยี่ห้อ) ส่วนมากจะมีอายุการใช้งาน 1 วันหลังจากการเปิดใช้ ดังนั้นเมื่อใช้ครบ 24 ชั่วโมงแล้วใช้ไม่หมด ส่วนที่เหลือควรจะต้องทิ้งไป
- ล้างมือให้สะอาด
- นอน หรือ นั่งแหงนหน้าขึ้น
- ค่อยๆ ใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังตาล่างลงมาให้เป็นกระพุ้ง และเหลือบตาขึ้นข้างบน
- หยดยาตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ลงในด้านในของเปลือกตาล่าง (ระวังอย่าให้ปลายหลอดหยดถูกตาหรือสิ่งใดๆ)
- ปล่อยมือจากการดึงหนังตาล่าง หลับตาอย่างน้อย 1 นาที และอย่าขยี้ตา
- ใช้นิ้วกดหัวตาไว้เบาๆ เพื่อไม่ให้ยาไหลลงคอ จะได้ไม่รู้สึกขมคอ และยาจะได้อยู่นานขึ้นในตา
- ปิดฝาครอบขวดยาให้สนิท เก็บไว้ในตู้เย็นชั้นธรรมดา
- ถ้ามียาหยอดตาหลายชนิด ยาหยอดตาแต่ละชนิดควรหยอดให้ห่างกันอย่างน้อย 5 นาที (มียาบางชนิดอย่าง เช่น ยารักษาต้อหิน แพทย์อาจแนะนำให้หยอดยาแต่ละชนิดห่างกันประมาณ 10-15 นาที)
ปฏิบัติตามข้อ 1-3 ของวิธีการหยอดตา แล้วให้ปฏิบัติต่อดังนี้
- ให้ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับหลอดขี้ผึ้งป้ายตา และบีบขี้ผึ้งขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หรือประมาณ 1/2 นิ้ว ลงในด้านในของเปลือกตาล่าง ระวังอย่าให้ปลายหลอดขี้ผึ้งถูกตาหรือสิ่งใดๆ
- ปล่อยมือจากการดึงหนังตาล่าง ค่อยๆ ปิดตาและกลอกลูกตาไปมาทุกทิศทาง ขณะที่ยังปิดตาอยู่สักครู่
- ถ้าต้องใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตา 2 ชนิดขึ้นไป ควรเว้นระยะห่างในการป้ายยาแต่ละชนิดประมาณ 10 นาที ถ้ายาอีกชนิดเป็นยาหยอดตาให้หยอดยาก่อนและรอประมาณ 10 นาที จึงใช้ขี้ผึ้งป้ายตา
- ห้ามใช้ยาหยอดตาร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้ติดโรคจากกันและกันได้
- ผู้ใช้เลนส์สัมผัส ควรถอดเลนส์ออกก่อนหยอดตา โดยทั่วไปแพทย์มักแนะนำให้รอประมาณ 10-15 นาที จึงใส่เลนส์สัมผัส เพื่อให้ยาสามารถดูดซึมผ่านกระจกตาได้ดีก่อน
- ควรเก็บยาหยอดตาไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส หมายถึงเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้ แต่ไม่ควรวางไว้ริมหน้าต่าง หรือบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง เพราะอาจทำให้ยาเสื่อมฤทธิ์ลงได้ ทางที่ดีที่สุดคือเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา (ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง) และเก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- การหยอดตาอย่างสม่ำเสมอ ควรหยอดให้ตรงเวลาทุกวัน ถ้าหยอดตาวันละ 2 ครั้ง ควรหยอดให้ห่างกันในแต่ละครั้งประมาณ 12 ชั่วโมง
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial drug) หรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เช่น Chloramphenical, Polymyxins B, Neomycin, Ciprofloxacin, Ofloxacin เป็นต้น
- ยาต้านเชื้อรา (Antifungal drugs) เช่น Clotrimazole, Tincture merthiolate, Gention violet เป็นต้น
- สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น กรดอะซีติก (2 Percent Acetic acid solution), กรดบอริก ที่จะมีคุณสมบัติมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านเชื้อรา เนื่องจากเชื้อก่อโรคต่างๆ เหล่านี้ที่อยู่ในช่องหูมักเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง
- ยาชาเฉพาะที่ (Otic anesthetics) เช่น Lidocaine, Benzo caine ที่ใช้ช่วยลดอาการปวดหู
- ยาต้านอักเสบ (Corticosteroids) เช่น Hydrocortisone, Dexamethasone, Prednisolone ที่ใช้ลดการอักเสบและลดบวม
- ยาละลายขี้หู (Ceruminolytic agent) เช่น Docusate sodium, Sodium bicarbonate/NaHCO3), น้ำมันมะกอก ที่ใช้ในผู้ที่ขี้หูอุดตัน
- ไม่ควรใช้ยาที่ทำให้เกิดพิษ/มีผลข้างเคียงต่อหู (Ototoxicity) เช่น Neomycin ในคนไข้ที่แก้วหูทะลุ แต่ควรเลือกใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดที่ไม่มีพิษต่อหูแทน เช่น Ciprofloxacin หรือ Ofloxacin
- ไม่ควรใช้ยาหยอดหูที่มีส่วนผสมของยาต้านอักเสบชนิดสเตียรอยด์ในคนไข้ที่ติดเชื้อรา เชื้อวัณโรค หรืองูสวัด ในช่องหู
- ในคนไข้ที่แก้วหูทะลุ ควรระวังการใช้ยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือมีแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดหรือระคายเคืองต่อหูได้
- ห้ามใช้ยาละลายขี้หูในผู้ที่แก้วหูทะลุหรือที่มีอาการอักเสบของหู
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย/ยาปฏิชีวนะ ในกลุ่ม Aminoglycoside เช่น ยา Streptomycin, Kanamycin จะเป็นพิษต่อหู อาจทำให้การได้ยินเสียงผิดปกติ หรือสูญเสียการได้ยินได้ แต่กรณีนี้พบได้น้อยมากจากการใช้ยาหยอดหู
- เกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนัง (Contact dermatitis) ซึ่งพบได้บ่อยในการใช้ยา Neomycin
- เกิดการติดเชื้อราแทรกซ้อนในช่องหู เนื่องจากใช้ยาต้านแบคทีเรียหยอดหูติดต่อกันเป็นเวลานาน
- ระคายเคืองช่องหูชั้นนอกเมื่อใช้ยาละลายขี้หูติดต่อกันนานเกินไป
- ควรทำความสะอาดหูก่อนหยอดยา โดยใช้ไม้พันสำลีเช็ดสิ่งสกปรกหรือหนองออกหรือใช้วิธีดูดออก (ทำโดยแพทย์เท่านั้น)
- นอนตะแคงให้หูข้างที่จะหยอดยาอยู่ด้านบน ดึงใบหูไปด้านหลังและดึงขึ้นข้างบน เพื่อให้ยาเข้าไปในช่องหูได้ดี
- นอนตะแคงอยู่ในท่าเดิมประมาณ 3-5 นาที อาจเอาสำลีสะอาดใส่ไว้ในรูหูเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ยาไหลออกมา
- ถ้าหูชั้นนอกบวมมาก อาจใช้สำลีสอดเข้าไปในรูหูแล้วหยดยาผ่านสำลีแทน เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าช่องหูได้ดียิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนสำลีทุกวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการและทำความสะอาดช่องหูทุกๆ 2-5 วันหรือตามแพทย์แนะนำจนกว่าหูชั้นนอกจะหายบวม
- ถ้าเป็นยาหยอดหูชนิดยาน้ำแขวนตะกอน ให้เขย่าขวดก่อนใช้ยา
- หากเก็บยาหยอดหูไว้ในตู้เย็น (ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง) ก่อนใช้ยาควรใช้มือกำขวดยาไว้สักครู่ เพื่อปรับอุณหภูมิของยาให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากถ้าหยอดยาที่เย็นเกินไปในช่องหูอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้
ยาสอดหรือยาเหน็บ เป็นยารักษาโรคเช่นเดียวกับที่เป็นยา กิน ทา ฉีด พ่น หรือ สูดดม แต่เป็นการให้ยาผ่านทางอวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อ/โพรงที่มีปากอวัยวะเปิดออกภายนอกร่างกาย ซึ่งจะทำให้สามารถสอดยาผ่านทางปากอวัยวะนี้ได้ ทั้งนี้ มักใช้กับบริเวณทวารหนักและช่องคลอด เช่น ยารักษาโรคริดสีดวงทวาร ยารักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด เป็นต้น
ในการใช้ยาจะเป็นการสอดยาแล้วปล่อยยาไว้ ไม่นำออกมาอีก ทั้งนี้ยาจะค่อยๆ ละลาย ซึ่งเมื่อยาละลายแล้วเคลือบอยู่บนเนื้อเยื่อบุผิว หรือเนื้อเยื่อเมือกของอวัยวะนั้นๆ ยาจะสามารถใช้รักษาโรคต่างๆ ของเนื้อเยื่อบุผิวหรือของเนื้อเยื่อเมือกของอวัยวะนั้นๆ ได้ เช่น แผลต่างๆ โรคริดสีดวงทวาร โรคเชื้อราในช่องคลอด โรคท้องผูก
นอกจากยาสอด/ยาเหน็บจะใช้รักษาโรคเฉพาะที่ของอวัยวะในส่วนที่ยาสอด/เหน็บเคลือบถึงแล้ว ยาบางชนิดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีจากทวารหนักหรือช่องคลอด (เพราะเป็นอวัยวะที่มีเลือดมาเลี้ยงมาก) จึงสามารถใช้รักษาโรคต่างๆ ได้เช่นเดียวกับการกินยาหรือการฉีดยา ดังนั้นแพทย์จึงใช้ยาสอด/ยาเหน็บเป็นอีกช่องทางในการให้ยา เช่น ในเด็กที่กลืนยายังไม่เป็น หรือไม่ยอมกินยาน้ำ/ยาเม็ด (เช่น ยาพาราเซตามอลที่ใช้ลดไข้ในเด็กอ่อน) หรือในผู้ป่วยที่คลื่นไส้อาเจียนมากจนไม่สามารถกินยาได้ (เช่น การให้ยานอนหลับหรือยากันชักยาต้านชัก) หรือยาบางประเภทอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารจึงใช้การเหน็บแทน (เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด)
- ควรเหน็บยาก่อนนอน เพื่อยาจะได้ไม่ซึมไหลเมื่อต้อง ยืน นั่ง เคลื่อนไหว แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์
- อ่านฉลากยาถึงวิธีใช้ยาให้เข้าใจ เตรียมยาและขนาดยาให้พร้อม
- ปัสสาวะอุจจาระให้เรียบร้อยก่อนใช้ยา เพื่อป้องกันการไหลออกของยาจากการเบ่ง
- ล้างมือให้สะอาด ทำความสะอาดบริเวณภายนอกอวัยวะเพศและบริเวณทวารหนักให้เรียบร้อยก่อนด้วยสบู่เด็ก
- ควรนำเม็ดยาชุบน้ำสะอาดก่อน เพื่อให้เม็ดยาลื่นสอดใส่ในช่องคลอดได้ง่าย ถ้าเม็ดยาเหลวให้แช่เม็ดยาในตู้เย็น (ไม่แช่ในช่องแช่แข็ง) หรือในน้ำแข็งให้ยาแข็งตัวพอใช้สอดยาได้
- นอนหงาย ชันเข่าขึ้นทั้งสองข้างบนที่นอน ถ่างขาออก เพื่อเปิดปากช่องคลอด
- สอดยาเข้าไปในช่องคลอดช้าๆ ลึกๆ ทีละ 1 เม็ด โดยเอาด้านหัวยาซึ่งแหลมกว่าเข้าไปก่อน
- ใช้นิ้วชี้ (ป้ายนิ้วด้วยยาหล่อลื่นชนิดมีส่วนประกอบเป็นน้ำ เช่น K-Y jelly เพื่อช่วยให้นิ้วลื่น สอดเข้าช่องคลอดได้ง่ายขึ้น) ดันยาเหน็บช้าๆ ไม่ใช้แรงมาก ให้ลึกเข้าไปอีกจนถึงปากมดลูก (จะรู้สึกได้ว่านิ้วชนกับอวัยวะหนึ่ง) หรือให้ลึกที่สุดเท่าที่จะลึกได้
- หนีบขาไว้ด้วยกันสักพัก นอนในท่าเดิมต่อประมาณ 15 นาที อย่ารีบลุกเดินทันที เพราะยาอาจหลุดออกมาได้ รอให้ยาละลายเคลือบในช่องคลอดก่อน
- เมื่อเหน็บยาเสร็จแล้ว ทิ้งวัสดุห่อยาในถังขยะ แล้วล้างมือให้สะอาด
- ยาบางชนิดใช้รักษาการติดเชื้อ ต้องใช้ติดต่อกันจนยาหมดตามแพทย์ พยาบาล เภสัชกร แนะนำ
- อาจมียาบางชนิดไม่ควรใช้ระหว่างมีประจำเดือน ดังนั้นควรสอบถามแพทย์ พยาบาล เภสัชกรในเรื่องนี้ เพื่ออาจต้องเปลี่ยนวิธีให้ยา
- งดเพศสัมพันธ์ระหว่างใช้ยา จนกว่าโรค/อาการจะหาย และต่อไปควรใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์เสมอ
- ยาอาจออกมาเปื้อนบริเวณอวัยวะเพศภายนอกได้แต่ไม่มีอันตรายใดๆ ให้ทำความสะอาด ใช้ทิชชูเช็ดยาออก แล้วล้างบริเวณนั้นด้วยน้ำสะอาดหรือสบู่อ่อน ซับบริเวณนั้นให้แห้ง แล้วเปลี่ยนกางเกงในใหม่
- ถ้าจะใช้ที่สอดยา ก็ทำวิธีการเดียวกัน เพียงใส่แท่งยาในที่สอดยาแทน แต่ต้องระมัดระวังไม่ใช้แรงดันขณะสอดยา หรือฝืนเมื่อสอดแล้วติด เพราะที่สอดยาอาจครูดผนังช่องคลอดเกิดแผลได้
- ควรตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการขีดข่วนอวัยวะเพศทั้งภายนอกและภายใน
1. ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน ใช้บรรเทาอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนทั้งชนิดที่มีและไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าก่อนการปวดศีรษะ (Aura): ได้แก่
- ยาแก้ปวด/ ยาลดไข้ ทั่วไป: ได้แก่ Paracetamol, Acetaminophen
- ยาแก้ปวดและยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs): เช่น Aspirin, Ibuprofen, Naproxen, Diclofenac
- ยาแก้ปวดชนิดผสม: ได้แก่ ยาสูตรผสมระหว่างพาราเซตามอล แอสไพริน และคาเฟอีน, ยาสูตรผสมระหว่างพาราเซตามอลและฟีโนบาร์บิทาล
- ยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids): เช่น Morphine, Tramadol, Codeine
- ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรนกลุ่มเออร์กอตอัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids): ได้แก่ Ergotamine ซึ่งมักผสมกับยาอื่น เช่น คาเฟอีน
- ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรนกลุ่มทริปแทน (Triptans): เช่น Sumatriptan, Naratriptan, Zolmitriptan
2. ยาป้องกันการเกิดอาการไมเกรน (นอกจากใช้ป้องกัน ยังสามารถใช้ในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ของกลุ่มยาบรรเทาอาการปวดในข้อ1 และ/หรือในผู้ป่วยที่ทนอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแก้ปวดไมเกรนบางชนิดไม่ได้ หรือในผู้ที่อาการปวดศีรษะไมเกรนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน): ได้แก่
- ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับเบต้า (Beta blockers): เช่น Propranolol, Atenolol, Metoprolol, Nadolol
- ยาแก้/ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressants): เช่น Amitriptyline, Nortriptyline, Imipramine
- ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นช่องแคลเซียม (Calcium channel blockers): เช่น Verapamil, Diltiazem
- ยากันชัก (Antiepileptic drugs): เช่น Gabapentin, Valproate, Topiramate
- ยาต้านตัวรับซีโรโทนิน (Serotonin antagonist): เช่น Methysergide, Cyproheptadine
- โบทูไลนุม ทอกซิน ชนิดเอ (Botulinum Toxin type A, BOTOX)
3. ยารักษาเสริมสำหรับอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการปวดศีรษะไมเกรน: ได้แก่
- ยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน: เช่น Domperidone, Metoclopramide, Prochlorperazine, Chlorpromazine
- ไม่ควรใช้ยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนในการป้องกันอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไมเกรนสัมพันธ์กับรอบเดือน/รอบประจำเดือน ซึ่งสามารถใช้ยานี้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน และใช้ต่อเนื่องจนถึงวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน
- ไม่ควรกินยารักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนบ่อยๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดภาวะถอนยาเมื่อหยุดยา ส่งผลให้กลับมามีอาการปวดศีรษะไมเกรนอย่างรุนแรง (Rebound headache)
- ยากลุ่ม Ergot alkaloids ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน จึงสามารถใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอาการดังกล่าวได้
- ควรระวังการใช้ยากลุ่ม Triptans ร่วมกับยารักษา/ยาต้านโรคซึมเศร้ากลุ่ม Selective serotonin re-uptake inhibitor (SSRIs) หรือกลุ่ม Serotonin noradrenaline re-uptake inhibitors (SNRIs) เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ Serotonin syndrome ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน ผู้ป่วยและญาติควรเฝ้าสังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย เช่น ภาวะความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไป กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ (เช่น กระตุกผิดปกติ) หากมีอาการรุนแรง ควรหยุดยานั้นๆ แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
อนึ่ง ถ้าอาการปวดศีรษะรุนแรง ร่วมกับมีไข้หรืออาเจียนมาก ไม่ว่าเป็นโรคไมเกรนอยู่แล้วหรือไม่เคยปวดศีรษะเรื้อรังมาก่อน ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจมีโรคอื่นเกิดขึ้นมาใหม่ เช่น โรคสมองอักเสบหรือเนื้องอกสมอง ส่วนผู้ที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังบ่อยๆ ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจไม่ตรงกับโรค อาจทำให้เกิดการติดยา มีผลข้างเคียง และผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองให้ดีว่า สิ่งใดเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการปวดศีรษะกำเริบขึ้นมาจะได้หลีกเลี่ยง
- กลุ่มยาสแตติน (Statins หรือ HMG CoA reductase inhibitors) เช่น ยา Atorvastatin, Fluvastatin, Lovastatin, Pravastatin, Rosuvastatin, Simvastatin
- ยายับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล (Selective cholesterol absorption inhibitors) เช่น ยา Ezetimibe
- ยาช่วยขจัดกรดน้ำดี/ไบล์แอซิดซีเควสแตรต์ (Resins หรือ Bile acid sequestrants หรือ Bile acid-binding drugs) เช่น ยา Cholestyramine, Colestipol, Colesevelam
- ยากลุ่มไฟเบรต (Fibrates หรือ Fibric acid derivatives) เช่น ยา Gemfibrozil, Fenofibrate, Clofibrate
- ยาอื่นๆ เช่น Vitamin B3 หรือ Niacin หรือ Nicotinic acid
- ระวังการใช้ยาลดไขมันกลุ่ม Statins ในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี และโรคไต
- ยาลดไขมัน Cholestyramine และ Colestipol มีฤทธิ์ลดการดูดซึมยาอื่นๆ ดังต่อไปนี้ เช่น ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide, ยากลุ่ม Digitalis, ยาลดความดัน กลุ่ม Beta-blocker, ยาWarfarin, ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด/ยาเบาหวาน และวิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน ดังนั้น หากต้องการกินยาเหล่านี้ร่วมกับยาลดไขมันมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ควรกินยาเหล่านี้ก่อนกินยาลดไขมัน Cholestyramine และ Colestipol อย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือหลังจากกินยาลดไขมัน Cholestyramine และ Colestipol อย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- ระวังการใช้ยาลดไขมันกลุ่ม Fibrates ในผู้ป่วยโรคตับ และโรคไต
- ยากลุ่ม Fibrates เป็นยาที่สามารถจับกับสารโปรตีนในพลาสมาได้มาก จึงต้องระวังหากใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่นที่สามารถจับกับโปรตีนในพลาสมาได้เช่นเดียวกัน เช่น ยา Warfarin, Repaglinide, และยากลุ่ม Statins เพราะอาจทำให้ยาอื่นดังกล่าว หลุดจากการจับกับโปรตีนในพลาสมาได้ ส่งผลให้มีระดับยาเหล่านั้นในเลือดมากเกินไป ตัวอย่างเช่น เมื่อระดับ Warfarin มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา คือเกิดภาวะเลือดออก เป็นต้น
- ระวังการใช้ยา Niacin ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้
- หากลืมกินยาลดไขมันที่ต้องกินก่อนนอน แล้วนึกขึ้นได้ในตอนเช้าของอีกวัน ให้กินยาของวันนั้นตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า ถ้าลืมกินยาลดไขมันที่ต้องกินตอนเช้า แล้วนึกขึ้นได้ในวันเดียวกัน ให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้านึกขึ้นได้ในวันถัดไป ให้กินยาของวันนั้นตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
- ยากลุ่ม Statin: ทำให้เกิดพิษต่อตับ (Hepatotoxicity) หรือ ตับอักเสบ, เกิดพิษต่อกล้ามเนื้อ (Myotoxicity) ได้แก่ ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) หรือกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ (Myopathy) อาการอื่นๆ เช่น ปวดหัว และรู้สึกไม่สบายท้อง
- ยา Ezetimibe: พบอาการไม่พึงประสงค์น้อย เพราะยาถูกดูดซึมได้น้อย เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด เหนื่อยล้า
- ยากลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรต์: ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้
- ยากลุ่ม Fibrates: ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด รู้สึกไม่สบายท้อง นิ่วในถุงน้ำดี เกิดพิษต่อกล้ามเนื้อ ได้แก่ ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย หรือ กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ
- ยา Niacin: ทำให้เกิดอาการใบหน้าแดง ร้อนวูบวาบที่ใบหน้าและที่ผิวหนัง อาการคัน คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย ปวดท้อง แน่นท้อง เกิดแผลในทางเดินอาหาร เป็นพิษต่อตับ ระดับกรดยูริคในเลือดสูง และระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- https://haamor.com/ยาลดไขมัน
- https://haamor.com/ไขมันในเลือดสูง
- https://haamor.com/ยาสแตติน
- https://haamor.com/อีเซทิไมบ์
- ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ Bile acid sequestrants - หาหมอ.com (haamor.com)
- ไฟเบรต Fibrate - หาหมอ.com (haamor.com)
- กรดนิโคตินิก Nicotinic acid หรือ ไนอะซิน Niacin หรือ วิตามินบี 3 VitaminB3 - หาหมอ.com (haamor.com)
คือ ยาที่มีผลเพิ่มการขับน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายโดยการเพิ่มปริมาตรของปัสสาวะ ยาจะออกฤทธิ์โดยตรงที่ไต มีผลทำให้ยับยั้งการดูดซึมกลับของน้ำและเกลือแร่จากท่อไต ซึ่งส่งผลให้น้ำและเกลือแร่ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะมากขึ้น
ใช้ในการช่วยรักษาและป้องกันภาวะคั่งของน้ำ และลดอาการบวมน้ำที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) ภาวะหัวใจวาย (Congestive Heart Failure) ภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน (Acute Pulmonary Edema) เป็นต้น นอกจากนี้ยาขับปัสสาวะยังใช้ประโยชน์อื่นๆ อีก เช่น
- ลดความดันในลูกตา (ในโรคต้อหิน) หรือ ในสมอง (ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง)
- เพิ่มปริมาตรปัสสาวะโดยตรง เช่น ในภาวะไตวาย
- ขับสารพิษออกทางปัสสาวะ
- ยานี้ต้องมีแพทย์เป็นผู้สั่งใช้ยาเท่านั้น ถ้าแพทย์ให้กินวันละครั้งควรกินตอนเช้า ถ้าแพทย์ให้กินวันละสองครั้ง ควรกินตอนเช้าและตอนบ่าย ไม่ควรกินตอนเย็นหรือก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะตอนกลางคืน ทำให้รบกวนการนอนหลับได้ (ยาขับปัสสาวะที่ใช้กันทั่วไปมักออกฤทธิ์นานตั้งแต่ 3 ชั่วโมงขึ้นไป บางชนิดออกฤทธิ์นานเกิน 12 ชั่วโมง)
- ควรไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และควรเจาะเลือดตรวจเป็นครั้งคราวเพื่อตรวจสภาพของไตและตับว่าเป็นปกติหรือไม่
- ผู้ป่วยไม่ควรหยุดกินยาขับปัสสาวะเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ และต้องมียาเตรียมไว้เพียงพอแก่การใช้เสมอเวลาเดินทางหรือไปพักผ่อน
- ควรกินอาหารที่ไม่เค็ม กินอาหารที่มีโซเดียมต่ำ ไม่ควรกินอาหารที่ใส่ผงฟู เช่น ขนมกรุบกรอบ ขนมปังโดยทั่วไป
- ควรกินผักผลไม้สดให้มากขึ้น โดยเฉพาะผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม แตงโม เป็นต้น เพราะยาขับปัสสาวะจะขับเกลือโพแทสเซียมออกจากร่างกายเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงอาจขาดโพแทสเซียมได้
- ปวดปัสสาวะบ่อย
- ถ้าสูญเสียโพแทสเซียมไปในปัสสาวะมาก จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว กระหายน้ำ ให้กินอาหาร/น้ำดื่มที่ชดเชยโพแทสเซียมตามแพทย์สั่ง หรือดื่มน้ำผลไม้เช่นที่กล่าวข้างต้น
- ควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกนั่งหรือลุกยืนอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันอาการวิงเวียนหน้ามืดจากการมีความดันโลหิตต่ำลงจากการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว
- ถ้าผู้ป่วยกินยาขับปัสสาวะแล้วมีอาการ เจ็บคอ ตาพร่า ปวดศีรษะ ผื่นขึ้น หรือเป็นจ้ำเลือดตามผิวหนัง หรืออาการผิดปกติต่างๆ ควรติดต่อแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเกิดการแพ้ยา หรือมีปฏิกิริยาระหว่างยาขับน้ำกับยาอื่นที่ใช้ร่วมอยู่ด้วย
- ผู้ป่วยมีประวัติโรคหลอดเลือดสมองหรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะภายใน 3 เดือน
- ผู้ป่วยมีประวัติผ่าตัดใหญ่ภายใน 14 วัน ผ่าตัดเล็กภายใน 10 วัน หรือหลังคลอดบุตรไม่เกิน 7 วัน เพราะจะส่งผลให้มีเลือดออกจากแผลจากผ่าตัดหรือแผลจากคลอดบุตร
- ผู้ป่วยมีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือในทางเดินปัสสาวะภายใน 21 วัน
- มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท
- มีประวัติมีเลือดออกง่ายผิดปกติ หรือได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) หรือยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drugs) เพราะเพิ่มโอกาสการเกิดเลือดไหลไม่หยุด (Bleeding) ได้
- มีอาการชัก
- มีเกล็ดเลือดต่ำ ต่ำกว่า 100,000/ลูกบาศก์มิลลิลิตร
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 หรือมากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ถ้าต้องผ่าตัด รักษาโรคอื่นๆ ด้วย ให้แจ้งแพทย์/ทันตแพทย์ด้วยว่ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่
- ห้ามเล่นกีฬาที่มีการปะทะ ผาดโผน ล้ม ใช้ศีรษะ เช่น ชกมวย จักรจานเสือภูเขา กีฬาเอ็กซ์ตรีม ฟุตบอล ตะกร้อ ปีนหน้าผา
- ห้ามปรับเปลี่ยนขนาดยาเอง บางกรณีไม่ได้กินยาทุกวัน ต้องอ่านวิธีกินยาให้ดี แพทย์จะมีการปรับยาตามผลตรวจค่าการแข็งตัวเลือด เพื่อให้ระดับค่าการแข็งตัวของเลือดประมาณ 2-3 เท่าของค่าปกติ และไม่ควรกินสมุนไพร อาหารเสริม โปรตีนบำรุง เช่น วิตามินอี น้ำมันปลา และแปะก๊วย (Ginko biloba) เพราะอาจเพิ่มโอกาสการเกิดเลือดไหลไม่หยุดได้
- มีเลือดออกมากผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ในหลายอวัยวะเช่น อุจจาระมีเลือดปนหรือสีดำคล้ำ (เลือดออกในทางเดินอาหาร) เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกที่ตาขาว/เลือดออกใต้เยื่อตา มีรอยจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง ประจำเดือนมากผิดปกติ เลือดกำเดาไหลมากและนานกว่าปกติ เลือดออกมากผิดปกติในช่องปาก เป็นต้น
- ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac tamponade) จากมีเลือดออกในโพรงเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งจะมีอาการแสดงคือ ความดันโลหิตต่ำลงและหลอดเลือดที่คอโป่งพอง เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยช็อกและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
ยาละลายลิ่มเลือด |
ยาต้านเกล็ดเลือด |
วาร์ฟาริน คูมาดิน |
แอสไพริน คลอพิโดเทล ซีลอสตาซอล อะกรีน็อค อะโพเล็ต พลาวิท |
ทำให้เลือดแข็งตัวยาก |
ทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะตัว |
ตรวจดูการแข็งตัวของเลือด (PT:INR) ทุกครั้งที่พบแพทย์ |
ตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เกล็ดเลือด (CBC) นานๆ ครั้ง |
ผลข้างเคียงเลือดออกหยุดยาก รอยจ้ำ เลือดออก ฟกช้ำง่าย |
ผลข้างเคียงกัดกระเพาะอาหาร |
มีปฏิกิริยากับยาอื่นหลายชนิด ต้องบอกแพทย์ทุกครั้งว่า |
ไม่ควรกินร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs |
กรณีที่จะทำการรักษาใดๆ ซึ่งจะทำให้มีเลือดออก ต้องหยุดยา |
ทำฟัน ผ่าต้อกระจก ผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องหยุดยา |
ห้ามเล่นกีฬาที่มีการปะทะ ผาดโผน ล้มง่าย เช่น ชกมวย ฟุตบอล |
เล่นกีฬาได้ทุกชนิดตามความพร้อมและความแข็งแรงของร่างกาย |
1. ยาออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathomimetic drugs) ยากลุ่มนี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารลดลงแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- Noradrenergic Agents เป็นกลุ่มยาที่ยับยั้งการเก็บกลับสารสื่อประสาท Norepinephrine และ Dopamine เช่น ยา Phentermine, Phendimetrazine, Diethylpropion
- Noradrenergic-Serotonergic Agents เป็นกลุ่มยาที่ยับยั้งการเก็บกลับสารสื่อประสาท Serotonin และNorepinephrine เช่น ยา Sibutramine
2. ยาออกฤทธิ์โดยขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ไลเพส/เอนไซม์ช่วยดูดซึมไขมัน (Gastrointestinal lipase inhibitor) ทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันจากระบบทางเดินอาหารได้ลดลงเช่น ยา Orlistat
- ห้ามใช้ยานี้เป็นวิธีการเดียวในการรักษาโรคอ้วน
- ห้ามใช้ยาลดความอ้วนในกลุ่มยา Sympathomimetic drug กับผู้ป่วยที่มีการกินอาหารผิดปกติ เช่น อโนเร็กเซีย เนอร์โวซ่า (Anorexia nervosa) และโรคบูลีเมีย (Bulimia nervosa)
- ห้ามใช้ยาลดความอ้วนในกลุ่มยา Sympathomimetic drug ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะ/โรคความดันโลหิตสูงที่ยังควบคุมไม่ได้เช่น ความดันโลหิตสูงกว่า 145/90 มิลลิเมตรปรอท
- ห้ามใช้ยาลดความอ้วนในกลุ่มยา Sympathomimetic drug ร่วมกับยากลุ่ม Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) เพราะอาจเกิดพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ ดังนั้นควรใช้ยาลดความอ้วนหลังจากหยุด MAOIs ไปแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และห้ามใช้ร่วมกับยาที่มีผลเพิ่มระดับสาร Serotonin เช่น เออร์โกตามีน (Ergotamine) ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ Serotonin syndrome ได้
- ห้ามใช้ยา Orlistat ในผู้ป่วยที่มีภาวะดูดซึมผิดปกติแบบเรื้อรัง (Chronic malabsorption syndrome) และมีภาวะคั่งของน้ำดี (Cholestasis)
- ห้ามใช้ยาลดความอ้วนมากกว่า 1 ชนิดร่วมกัน เพราะยังไม่มีการศึกษาใดพบว่าการใช้ยาลดความอ้วน 2 ตัวร่วมกันได้ประโยชน์มากกว่าการใช้ยาเพียงตัวเดียวและอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้มากกว่าด้วย
- ยา Phentermine, Phendimetrazine และ Diethylpropion อาจทำให้นอนไม่หลับ กระวนกระวาย อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คลื่นไส้ ท้องผูก ปากแห้ง เหงื่อออก มองภาพไม่ชัด/ตาพร่า มองเห็นสีผิดปกติ มีอาการทางจิตประสาทเช่น หูแว่ว หวาดระแวง เห็นภาพหลอน และติดยาได้
- ยา Sibutramine ทำให้ความดันโลหิตและอัตราเร็วของชีพจรเพิ่มขึ้น ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร
- ยา Orlistat อาจทำให้ท้องอืด มวนท้อง ผายลม กลั้นอุจจาระไม่ได้ และมีน้ำมันปนออกมากับอุจจาระ (Steatorrhea) เนื่องจากไขมันไม่ถูกย่อยหรือดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
- ยา Orlistat อาจทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินที่ละลายได้ในไขมันเช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค และเบต้าแคโรทีนลดลง ดังนั้นผู้ป่วยควรรับประทานวิตามินรวมเสริมเพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามิน
- อาหารและน้ำดื่ม: การกินอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรืออยู่ในช่วงควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
- ยาหลายกลุ่มทำให้ท้องผูกได้ เช่น ยาในกลุ่มโคเดอีน ยาขับปัสสาวะ ยาต้านเศร้า ยาแก้แพ้ ยาต้านการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ยากันชัก ยาลดกรดที่มีกลุ่มสารอลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบ
- ระบบการเผาผลาญของร่างกาย เกลือแร่ และ/หรือ ฮอร์โมน เช่น ภาวะมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคเบาหวาน
- ความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแผลบริเวณปากทวารหนัก
- อาการทางจิตประสาท บางคนกลัวการถ่ายอุจจาระที่ส้วมสาธารณะ เช่น ในห้างสรรพสินค้า กลัวความเจ็บปวดจากการขับถ่ายดัวยภาวะเป็นริดสีดวงทวารหรืออั้นอุจจาระเป็นประจำ
- เพิ่มเนื้ออุจจาระให้มีมากขึ้น จนเกิดการกระตุ้นให้อยากขับถ่าย ซึ่งยากลุ่มนี้ได้จากสารที่สกัดจากเมือกของเปลือกต้นไม้ และนำมาทำในรูปแบบยากิน
- เพิ่มการดูดน้ำเข้าลำไส้และช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น
- ทำให้อุจจาระนิ่ม และเคลื่อนตัวไปยังลำไส้ใหญ่ส่วนปลายได้ง่าย
- หล่อลื่น และทำให้อุจจาระสามารถเคลื่อนตัวไปในลำไส้ใหญ่ได้ดีขึ้น
- กระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณผนังลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมาก การใช้จนติดเป็นนิสัย ทำให้ต้องเพิ่มขนาดยากินอยู่เรื่อยๆ เพราะยาขนาดเดิมเมื่อกินบ่อยๆ จะใช้ไม่ได้ผล และอาจก่อให้เกิดผลเสีย
- เพิ่มแรงดันในลำไส้ โดยสวนทวารด้วยน้ำเกลือที่ใช้สวนทวารหนัก
ก. ประเภทแรก: เป็นกลุ่มของผู้ที่เริ่มใช้ยาหรือใช้ยาตามคำสั่งแพทย์ อาจพบผลไม่พึงประสงค์ตามแต่ละชนิดของยาที่ใช้รักษา เช่น ท้องอืด รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง บางตำรับจะทำให้รู้สึกระคายเคืองในช่องท้อง ปวดเกร็ง หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเมื่อหยุดใช้ยา อาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะดีขึ้น
ข. ประเภทที่สอง: เป็นกลุ่มที่ใช้ยาแก้ท้องผูกต่อเนื่อง อาจใช้ยาติดต่อกันเป็นอาทิตย์หรือเป็นแรมเดือน ผลไม่พึงประสงค์ที่ติดตามมาขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ อย่างการทำให้เสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น
- ภาวะมีเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ และ/หรือไตทำงานผิดปกติได้
- บางตำรับของยาแก้ท้องผูก จะทำให้ลำไส้ลดการเคลื่อนตัวตามธรรมชาติและต้องได้รับยาขนาดที่มากขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ จึงจะกระตุ้นการบีบตัวเพื่อไล่อุจจาระได้ จึงเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น
- บางครั้งพบว่าการใช้ยาแก้ท้องผูกเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลในลำไส้ จึงเกิดภาวะเลือดออกหรือตกเลือด ซึ่งจะพบเห็นได้จากการมีเลือดปนมากับอุจจาระที่ถูกขับออกมา
ควรเลือกยาที่เลียนแบบกลไกทางธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ยากลุ่มที่เพิ่มปริมาณเนื้ออุจจาระ แต่ทั้งนี้เมื่อท้องผูก ควรสังเกตว่า ขาดการกินผักผลไม้หรือไม่ ดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ ออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายบ้างหรือไม่ เพราะทั้งสามปัจจัยเป็นสาเหตุหลักของการท้องผูก เลือกแก้ไขด้วยวิธีการเหล่านั้นก่อนพึ่งยา แต่กรณีท้องผูกเรื้อรังถึงแม้ปรับตัวแล้วก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพื่อได้รับการดูแลรักษาที่สมควรกับเหตุ จะปลอดภัยกว่าซื้อยากินเอง หรืออย่างน้อยถ้าจะซื้อยากินเอง ควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาเสมอ
ประเภท |
การออกฤทธิ์ |
ตัวอย่าง |
1. Barbiturates |
ออกฤทธิ์กดสมอง ทำให้เข้าสู่ภาวะสงบประสาทจนถึงขั้นหลับหรือหมดสติ ปัจจุบันกลุ่มยา Barbiturates ถูกแทนที่ด้วยยาBenzodiazepine ด้วยเหตุผลมีอันตรายน้อยกว่า Barbiturates |
Amobarbital, Pentobarbital, Phenobarbital, Secobarbital, และ Sodium thiopental |
2. Quinazolinones |
ออกฤทธิ์ในลักษณะ GABA receptor agonists โดยทำให้เกิดการปิดกั้นการส่งกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง จึงทำให้เกิดฤทธิ์สงบประสาทและก่อให้เกิดอาการง่วงนอน |
Cloroqualone, Diproqualone, Etaqualone, Mebroqualone, Mecloqualone และ Methaqualone |
3. Benzodiazepine |
การออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้จะเกิดที่ตัวรับ (Receptor) ที่ปลายเซลล์ประสาทในสมองที่ชื่อว่า GABAA receptor ส่งผลรบกวนการส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทด้วยกัน และเป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รับยาเข้าสู่ภาวะนอนหลับ แต่ยากลุ่มนี้หากใช้ยาเป็นระยะเวลานานผู้ป่วยจะต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ จึงจะทำให้นอนหลับ |
Nitrazepam, และ Diazepam |
4. Nonbenzodiazepine |
ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประโยชน์ข้อหนึ่งของยากลุ่มนี้คือทำให้นอนหลับ โดยมีข้อดีคือสามารถใช้ยาได้เป็นเวลายาวนานกว่ากลุ่มยา Benzodiazepine และการดื้อยาก็น้อยกว่า Benzodiazepine ส่งผลลดความเสี่ยงของการติดยา |
Zopiclone, Eszopiclone, Zaleplon, และ Zolpidem |
5. Melatonin |
เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไพเนียลในสมอง โดยทั่วไปฮอร์โมนนี้จะถูกหลั่งออกมาในตอนกลางคืนหรือตอนที่ไม่มีแสงสว่าง เพื่อช่วยกระตุ้นให้นอนหลับ (การใช้ยาประเภทนี้มักไม่ควรนานเกิน 3 เดือน) |
|
6. Antihistamine |
เป็นกลุ่มยาที่นำมาบำบัดอาการแพ้ แต่มีการประยุกต์โดยนำผลข้างเคียงข้อหนึ่งของยานี้คือทำให้ง่วงนอนมาเป็นประโยชน์โดยใช้เป็นยานอนหลับ |
Diphenhydramine และ Doxylamine |
7. ยาต้านเศร้า(Antidepressant) |
ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน โดยแบ่งยาตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ดังนี้ 7.1 กลุ่ม Serotonin antagonists and reuptake inhibitors (SARIs) 7.2 กลุ่ม Tricyclic antidepressants
7.3 กลุ่ม Tetracyclic antidepressants 7.4 ยากลุ่มอื่นที่แสดงฤทธิ์ต่อความสัมพันธ์ของสารสื่อประสาทในสมองและมีฤทธิ์ต้านเศร้า ช่วยทำให้นอนหลับ เช่น Selective serotonin reuptake inhibitors(SSRI), Serotonin–norepinephrine reuptake inhibitors, Norepinephrine reuptake inhibitors |
7.1 Trazodone
7.2 Amitriptyline, Doxepin, และ Trimipramine 7.3 Mianserin และ Mirtazapine
|
8. ยารักษาโรคจิต(Antipsychotics) |
ออกฤทธิ์ที่สมองโดยจะเข้าจับกับตัวรับหลายชนิดที่เซลล์ประสาทของสมอง ส่งผลบำบัดอาการทางจิตใจและช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น |
Chlorpromazine, Clozapine, Olanzapine, Quetiapine, Risperidone, และ Zotepine |
9. ยากลุ่มอื่น |
9.1 Alpha-adrenergic agonist 9.2 Cannabinoids 9.3 Orexin receptor antagonist 9.4 Gabapentinoids |
9.1 Clonidine และ Guanfacine 9.2 Cannabidiol, Tetrahydrocannbinol 9.3 Suvorexant 9.4 Pregabalin, Gabapentin, Phenibut และ Imagabalin |
- สภาพร่างกายหรือความสมบูรณ์ของร่างกาย
- โรคประจำตัว เพราะยาประจำที่ใช้อยู่ก่อนอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยา
- ชนิดและการออกฤทธิ์ของยานอนหลับ ตลอดจนความแรง และผลข้างเคียง
- ในกรณีที่ไอแบบมีเสมหะหรือเสลดเหนียว การใช้ยาแก้ไอก็เพื่อละลายเสมหะที่ข้นเหนียวจับกันเป็นก้อน อุดขวางทางเดินหายใจให้ใสขึ้น เพื่อที่ร่างกายจะได้ขจัดออกได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสบายคอและหายใจได้สะดวกขึ้น
- แต่ถ้ามีอาการไอแบบแห้งๆ หรือไม่มีเสลด การใช้ยาแก้ไอก็มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างออกไป คือ ต้องการให้ยาไประงับอาการไอ เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องทรมานกับการไอและพักผ่อนได้เต็มที่ ตลอดจนลดอาการเหนื่อยอ่อนที่เกิดจากการออกแรงในการไอมากไป ผู้ป่วยก็จะสามารถฟื้นไข้ได้เร็วขึ้น
- นอกจากนี้ ยาแก้ไอยังมีผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกชุ่มคอ ยาแก้ไอบางชนิดก็ช่วยลดน้ำมูกและอาการแพ้ต่างๆ ได้ด้วย เพราะผู้ผลิตมักนิยมใส่ตัวยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ร่วมด้วย
- ยาแก้ไอน้ำดำ (Brown mixture) ขององค์การเภสัชกรรม เป็นยาสามัญประจำบ้าน ใช้แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ เหมาะสำหรับการไอแบบแห้งๆ หรือไอระคายคอ เช่น ไอจากโรคหวัด การแพ้อากาศ การเจ็บคอ คันคอ ทั้งนี้ ยาแก้ไอน้ำดำไม่เหมาะที่จะใช้กับการไอแบบมีเสมหะข้นเหนียว และเนื่องจากยาจะตกตะกอนจึงควรเขย่าขวดก่อนจะใช้ทุกครั้ง
- ยาแก้ไอน้ำเชื่อม (Cough Syrup) ขององค์การเภสัชกรรม เป็นยาสามัญประจำบ้าน มีสรรพคุณและการใช้เช่นเดียวกับยาแก้ไอน้ำดำทุกอย่าง ยกเว้นมีกลิ่นหวานกว่า เหมาะสำหรับเด็ก
- ยาแก้ไอแก้หวัดน้ำเชื่อม ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หวัด เพราะมียาแก้แพ้ที่มีชื่อว่าคลอร์เฟนิรามีนผสมอยู่ด้วย ยาแก้ไอน้ำเชื่อมชนิดนี้เหมาะที่จะใช้แก้ไอเนื่องจากโรคหวัดหรือแพ้อากาศ ไม่ควรใช้กับอาการไอแบบมีเสมหะเหนียวหรือไอจากโรคหืด เพราะจะทำให้เสมหะเหนียวเข้มข้นยิ่งขึ้น ไอออกยาก ทำให้ไอและหอบมากขึ้น ยานี้กินแล้วอาจทำให้ง่วงนอนได้ จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
- มิสต์สกิลแอมม่อน (Mist Scill Ammon) ขององค์การเภสัชกรรม เป็นยาแก้ไอละลายเสมหะ เหมาะที่จะใช้กับอาการไอแบบมีเสลดเหนียว เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม โรคหืด ฯลฯ ยานี้มีรสเฝื่อนอาจกินยาก และหากตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอน จึงควรเขย่าขวดก่อนกินทุกครั้ง
- ยาแก้ไอชวนป๋วยปี่แป่โหล่ว ยาตัวนี้เป็นยาแผนโบราณ เป็นยาน้ำที่ทำจากสมุนไพรจีน มีรสหอมหวานอร่อย และช่วยให้ชุ่มคอ เหมาะที่จะใช้แก้ไอ ขับเสมหะ หรือใช้จิบให้ชุ่มคอ ใช้ได้ทั้งไอมีเสมหะและไอแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดื่มน้ำอุ่นก่อนแล้วจิบยาแก้ไอนี้ตามจะชุ่มคอมาก
- น้ำอุ่น ช่วยระงับการไอและช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียวให้ใสขึ้นและถูกขับออกได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ควรงดอาหารรสเผ็ดจัด น้ำแข็ง น้ำเย็นจัด ของทอด เหล้า บุหรี่ เพราะจะระคายคอ ทำให้ไอมากขึ้น
อนึ่ง ในการใช้ยาบรรเทาอาการไอนั้น บางครั้งอาจได้รับยาสูตรที่มีตัวยาแก้ไอหลายชนิดผสมกัน หรือบางครั้งอาจได้รับยาแก้ไอเดี่ยวๆ มากกว่าหนึ่งชนิดพร้อมกัน หากเป็นไปได้ควรเลือกชนิดของยาที่สอดคล้องกับลักษณะของอาการไอให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้ใช้ยาได้ผลตรงตามประสิทธิภาพ
และหากจะใช้ยามากกว่าหนึ่งกลุ่มร่วมกัน ‘ควรเลือกยาที่ออกฤทธิ์คนละกลไกกัน’ เช่น ใช้ยาขับเสมหะร่วมกับยาละลายเสมหะ หรือ ใช้ยากดอาการไอร่วมกับยาละลายเสมหะ ทั้งนี้ไม่ควรใช้ยากลุ่มเดียวกันซ้ำซ้อนกัน เพราะไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น ในทางกลับกันอาจเกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น เช่น ใช้ยาขับเสมหะหลายๆ ยี่ห้อร่วมกัน เป็นต้น
1. การให้น้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ - ผงเกลือแร่/โออาร์เอส (ชนิดกิน) และสารอาหาร (ชนิดกิน)/อาหารน้ำหรืออาหารเหลว ในช่วงที่มีอาการท้องเสียอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำและอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้
2. ยากลุ่ม Zinc และ Probiotic
ก. Zinc: จะช่วยลดอาการแทรกซ้อนและลดการตายจากอาการท้องเสียจากการติดเชื้อ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย
ข. Probiotic ซึ่งเป็นแบคทีเรีย (จุลินทรีย์) ในลำไส้เล็กจะช่วยลดระยะเวลาของการเกิดท้องเสีย กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมต่อเยื่อเมือกของลำไส้ ทั้งยังป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารด้วย
3. ยาป้องกันอาการท้องเสีย
ยาที่ถือว่าปลอดภัยและมีประสิทธิผลดีในการรักษาโรคท้องเสียเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อคือ Bismuth subsalicylate (Gastro Bismol) และยา Racecadotril (Hydrasec) ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาท้องเสียในเด็ก โดยยา Bismuth subsalicylate จะจับกับสารพิษจากแบคทีเรีย (Enterotoxin) ทำให้เกิดผลโดยตรงต่อการต้านแบคทีเรีย และช่วยกระตุ้นการดูดกลับของน้ำและโซเดียมภายในลำไส้ ส่วนยา Racecadotril เป็น Encephalinase inhibitor (ตัวยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายสาร Encephalin ในทางเดินอาหาร) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารน้ำในทางเดินอาหาร ทำให้ Encephalin มากขึ้น จึงสามารถลดอาการท้องเสียได้
4. ยาปฏิชีวนะ - ยาที่ใช้รักษาอาการท้องเสียก่อนได้รับผลวินิจฉัยว่าเกิดจากเชื้ออะไร
ก. Norfloxacin: ใช้รักษา บิดไม่มีตัว อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค
ข. Ciprofloxacin: ใช้รักษา บิดชนิดไม่มีตัว อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค
ค. Bactrim: (Trimethoprim/Sulfomethoxazole) ใช้รักษาบิดมีตัว
ง. Flagyl (Metronidazole): ใช้รักษาบิดมีตัว
5. ยาหยุดถ่าย
หมายถึง ยาที่มีฤทธิ์ลดการบีบตัวหรือลดการเคลื่อนที่ของลำไส้ ซึ่งมีการใช้รักษาเพื่อช่วยลดจำนวนครั้งของการถ่าย เช่น Imodium (Loperamide), Lomotil (Diphe noxylate atropine) เป็นต้น
6. กลุ่มอื่นๆ เช่น
ก. ยาน้ำ Kaopectate (Kaolin Pectin): ออกฤทธิ์โดยการดูดซับเชื้อโรค และป้องกันการจับของเชื้อโรคกับผนังลำไส้ ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ดูดซับของเหลวส่วนเกินในลำไส้
ข. ยา Furazolidone: เป็นยารักษาอาการท้องเสียจากการติดเชื้อบิดมีตัวและลำไส้อักเสบ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย
ค. ยา Ultra Carbon: เป็นยาใช้รักษาอาการท้องเสีย ยาออกฤทธิ์โดยการดูดซับเชื้อโรคและสารพิษจากเชื้อโรค โดยยานี้ควรกินตอนท้องว่างหรือก่อนอาหารประมาณ 1 ชม. หรือหลังอาหารประมาณ 2 ชม. หากต้องกินร่วมกับยาอื่น ต้องห่างจากยานี้ประมาณ 2 ชม.
ยาล้างตาโดยมากเป็นนํ้าบริสุทธิ์ผสมกับยาฆ่าเชื้อโรค (Antiseptics) บางชนิด มีชนิดที่เป็นกรดบอริก (Boric acid) นํ้าเกลือ (Normal saline) หรือแบบนํ้าสะอาดธรรมดา (Distilled water: น้ำกลั่น)
ปกติตาคนเราไม่ต้องการทำความสะอาดตาโดยการล้าง เพราะตาเรามีวิธีรักษาความสะอาดตัวเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว คือ มี ‘นํ้าตา’ ซึ่งจะขับออกมาจาก ‘ต่อมน้ำตา’ น้ำตาที่ผลิตจากต่อมน้ำตาของคนเราจะเป็นสิ่งที่ช่วยเคลือบหรือหล่อเลี้ยงเยื่อตาและกระจกตาได้อย่างพอเหมาะพอดีอยู่แล้ว แถมน้ำตายังช่วยกำจัดเชื้อโรคจำนวนเล็กๆ น้อยๆ ที่ปลิวมาในอากาศหรือติดมากับฝุ่นลมไม่ให้มาคุกคามลูกตาอีกด้วย การล้างตาเป็นประจำเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะกระทำ เพราะเป็นการล้างเอานํ้าตาธรรมชาติซึ่งมีประโยชน์มากกว่าออกไป แต่ถ้าเกิดมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตาแล้วนํ้าตาธรรมชาติไม่สามารถชะล้างออกได้ เราอาจต้องช่วยเหลือจัดการกับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นโดยการล้างตา
- ป่วยเป็นโรคตาและแพทย์แนะนำให้ล้างตา ในเด็กที่ไม่สามารถล้างตาด้วยตนเอง ผู้ปกครองใช้สำลีสะอาดๆ ชุบยาล้างตา แล้วเช็ดไปตามความยาวของเปลือกตา/หนังตา ตั้งแต่หัวไปจนถึงหางตา เปลี่ยนสำลีใหม่ทุกครั้ง เช็ดแบบเดิมจนขนตาและเปลือกตาสะอาด
- มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ส่วนมากเป็นผงหรือฝุ่นละอองต่างๆ เศษผงบางชนิด ฝังตัวติดแน่นกับตาดำ แบบนี้การล้างตาไม่ได้ช่วยให้ผงหลุดออกไปได้ ควรไปพบจักษุแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยด่วน
คนที่ล้างตาเป็นประจำทุกวันทั้งที่ไม่ได้เจ็บป่วยเป็นโรคตานั้น ถือว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่กลับมีผลเสีย กล่าวคือเสียเงินซื้อยาล้างตามาล้างบ่อยๆ ซึ่งทำให้ความต้านทานโรคตามธรรมชาติของตาลดต่ำลงด้วย
สำหรับคนทั่วๆ ไปมักใช้ยาล้างตาที่มีขายทั่วไปซึ่งประกอบด้วยกรดบอริค 2-3 กรัม ในน้ำ 100 ซีซี เป็นตัวสำคัญ กรดบอริคเป็นตัวฆ่าเชื้อโรคได้อย่างอ่อนๆ เมื่อต้องการล้างตาด้วยตนเองจะต้องมีถ้วยเล็กๆ สำหรับล้างตา มีขนาดที่สามารถครอบลงไปบนตาและเปลือกตาได้มิด รินน้ำยาล้างตาใส่ให้เต็ม แล้วครอบไปบนตาข้างที่ต้องการล้าง ลืมตา กะพริบตา และกลอกตาไปมาในน้ำยาสักครู่ใหญ่ แล้วเทน้ำยาทิ้ง ซึ่งใช้ได้ผลดีพอประมาณ แต่ส่วนใหญ่ได้ผลทางจิตใจมากกว่า และในแง่ของการติดเชื้อแล้วถือว่าไม่ได้ผล เพราะเมื่อล้างแล้วหากมีเชื้ออยู่ เชื้อจะคลุกเคล้ากับนํ้ายาที่ล้าง แล้วก็ติดอยู่แถวๆ ตานั้น ที่ร้ายคือเชื้อติดอยู่ที่ถ้วยล้าง หลังจากล้างแล้วไม่ทำความสะอาดถ้วยล้างตาให้ดีพอ พอล้างใหม่เชื้อก็กลับเข้าไปอีก ฉะนั้นหลังล้างตาแล้ว ต้องทำความสะอาดภาชนะล้างตาให้ดี เช่น ต้ม แล้วตากให้แห้ง
นอกจากนี้ การล้างตาโดยวิธีอื่น เช่น เปิดก๊อกนํ้าประปาสะอาด ให้น้ำไหลแล้วเอาตาเข้าไปรอง หรือลืมตาในนํ้าสะอาด วิธีเหล่านี้ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจมีอันตรายและไม่ถูกสุขลักษณะ แต่เป็นวิธีที่เหมาะและสมควรทำอย่างยิ่งกรณีที่มีสารเคมีเข้าตา เช่น กรด ด่าง ฯลฯ เพราะขณะนั้นต้องการความรวดเร็วและเป็นสิ่งที่หาง่ายที่สุด
- เวลาล้างตา ต้องทำอย่างเบามือ
- ขณะล้างตา อย่าพุ่งน้ำลงบนกระจกตา (ตาดำ) โดยตรง เพราะจะทำให้รู้สึกปวด เจ็บตา
- ให้ล้างตาข้างที่สะอาดก่อนเสมอ (ในกรณีที่ตาติดเชื้อ)
ยาทากันยุง (Mosquito Repellents) ในที่นี้รวมถึงยาที่อยู่ในรูปแบบของเหลว โลชั่น ครีม เจล สเปรย์ ลูกกลิ้ง แป้ง ผ้าเปียก ทิชชูเปียก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้ยุงกัดแต่ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่ายุง จึงมีความปลอดภัยสามารถนำมาทาบริเวณผิวหนังหรือเสื้อผ้าได้
- ห้ามใช้ยาทากันยุงบริเวณผิวหนังในร่มผ้า (ส่วนของร่างกายในผ้านุ่งที่ไม่ควรเปิดเผย เช่น อวัยวะเพศ) แต่ควรใช้สเปรย์ฉีดพ่นบริเวณเสื้อผ้า รองเท้า หมวก หรือมุ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุง
- ห้ามใช้ยาทากันยุงบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผล มีอาการระคายเคือง หรือผิวไหม้จากแสงแดด
- หากใช้ยาทากันยุงรูปแบบสเปรย์ ห้ามใช้ฉีดพ่นบริเวณใบหน้าโดยตรง ควรฉีดลงบนฝ่ามือแล้วค่อยๆ ทาให้ทั่วใบหน้ารวมถึงรอบใบหู ยกเว้นบริเวณรอบตาและริมฝีปาก
- ควรใช้ยาทากันยุงเมื่อจำเป็นเท่านั้น ห้ามใช้ติดต่อกันเป็นประจำหรือใช้ในปริมาณมาก
- ควรอ่านคำแนะนำบนฉลาก/ฉลากยา/ฉลากผลิตภัณฑ์ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ใช้ยากันยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา เพราะยาทากันยุงแต่ละชนิดมีปริมาณที่ต้องใช้และมีช่วงเวลาที่ออกฤทธิ์แตกต่างกัน
- ก่อนใช้ควรลองทายากันยุงบริเวณข้อพับแขนดูก่อน หากไม่เกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง จึงใช้กับผิวหนังบริเวณอื่นได้
- หลังจากการใช้ยาทากันยุง ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร
- หากยาทากันยุงเข้าตา ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก จนกว่าอาการระคายเคืองตาจะทุเลา ถ้าอาการไม่ทุเลา ควรรีบไปโรงพยาบาล
- หากต้องใช้ยาทากันยุงร่วมกับครีมกันแดด ให้ทาครีมกันแดดก่อน และอาจต้องทาครีมกันแดดซ้ำบ่อยขึ้น เพราะยาทากันยุงอาจทำให้ประสิทธิภาพการกันแดดลดลง
- ประสิทธิภาพของยาทากันยุง อาจลดลงเมื่อผู้ใช้มีเหงื่อออกมาก อยู่ในบริเวณที่มีลมแรง หรือถูกชะล้างด้วยน้ำ
- เมื่อกลับสู่เข้าพื้นที่ปลอดยุง ควรล้างผิวหนังบริเวณที่ทายากันยุงด้วยสบู่ และใช้มือถูให้สะอาด
ยาจุดกันยุง (Mosquito Coil) เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้ในบ้านเรือนเพราะมีราคาถูก มีวิธีใช้โดยการจุดไฟบริเวณหัวยาจุดกันยุงจนเกิดการเผาไหม้ หลังจากนั้นสารออกฤทธิ์จะระเหยออกมาพร้อมกับควัน โดยสารออกฤทธิ์ดังกล่าวค่อนข้างปลอดภัยในคน แต่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงหรือฆ่ายุง หากยุงสัมผัสควันนี้ในปริมาณน้อยจะไม่บินเข้ามาใกล้ หากได้รับควันถึงปริมาณหนึ่งจะรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตแล้วตกลงมาหงายท้อง และหากได้รับควันปริมาณมากจะทำให้ยุงตายได้
- ห้ามจุดยาจุดกันยุงในห้องที่มีเด็กอ่อน หรือมีผู้ป่วย หรือในพื้นที่อับไม่มีอากาศถ่ายเท
- ห้ามให้ยาจุดกันยุงสัมผัสหรือรมถูกอาหาร หลังจากใช้ยาจุดกันยุงควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร
- ห้ามจุดยาจุดกันยุงใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย
- หลีกเลี่ยงการสูดดมควันจากยาจุดกันยุง เพราะอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ฯได้
ดีคอลเจน เป็นชื่อการค้าของยาเม็ดที่ใช้บรรเทาอาการไข้หวัด/โรคหวัด ไซนัสอักเสบ ไข้ละอองฟาง ลดอาการคัดจมูกเนื่องจากน้ำมูกมาก ในประเทศไทยมีขึ้นทะเบียนอยู่ 2 สูตรตำรับ คือ
- Decolgen tab จัดอยู่ในหมวดยาทั่วไปที่ไม่ใช่ยาอันตราย ประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ ยาลดไข้แก้ปวด Paracetamol 500 มิลลิกรัม + ยาแก้แพ้ Chlorpheniramine maleate 2 มิลลิกรัม ต่อเม็ด เหมาะกับอาการไข้หวัด/โรคหวัดที่มีอาการแพ้ เช่น ไอ จาม ร่วมด้วย
- Decolgen prin tab มีตัวยาลดน้ำมูกเพิ่มเข้ามาจากสูตรแรกและถูกขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีส่วนประกอบของตัวยาสำคัญ คือ Paracetamol 500 มิลลิกรัม + Phenylephrine HCl 10 มิลลิกรัม + Chlorpheniramine maleate 2 มิลลิกรัม ต่อเม็ด เหมาะกับอาการไข้หวัดที่มีอาการแพ้ เช่น ไอจามและที่มีน้ำมูกมาก
ยาดีคอลเจนสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอน วิงเวียน ปากแห้ง บางคนอาจพบอาการผื่นคันตามมา
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด ผู้ที่มีโรคไต
- ห้ามใช้ร่วมกับยากลุ่ม MAOIs
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคต้อหิน ผู้ที่มีตับไตทำงานผิดปกติ
- ขณะใช้ยานี้อาจมีอาการง่วงนอนและวิงเวียน ต้องเพิ่มความระวังหากต้องขับขี่ยวดยานพาหนะหรือต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องจักร
- ระวังการใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ห้ามมิให้ไปซื้อหายามากินเอง
- ระวังการใช้ยานี้ในเด็กโดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปีต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
- การใช้ยาดีคอลเจนร่วมกับยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) อาจทำให้เกิดฤทธิ์ของการกดประสาทส่วนกลางหรือสมองเพิ่มมากขึ้น จนเป็นเหตุให้มีอาการวิงเวียน ง่วงนอนมากกว่าเดิม หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
- การใช้ยาดีคอลเจนร่วมกับยากลุ่ม MAOIs สามารถทำให้ยาดีคอลเจนออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้น และส่งผลต่อการรักษารวมถึงอาการข้างเคียง/ผลข้างเคียงของยาดีคอลเจนที่อาจติดตามมา จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มดังกล่าวร่วมกัน
- การใช้ยาดีคอลเจนร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin ส่วนประกอบที่เป็น Paracetamol ของยาดีคอลเจนอาจทำให้ฤทธิ์ของยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพิ่มมากขึ้นจนเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
- ใช้ขยายหลอดลมในผู้ป่วยโรคหืด
- ใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรคปอด
- Beta 2agonist Beta 2 adrenergic agonist (Beta adrenergic receptor) ที่กล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอดลม ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบริเวณนี้คลายตัว หลอดลมจึงขยายตัว ซึ่งแบ่งยากลุ่มนี้ตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ได้เป็น 2 ประเภท/ชนิดได้แก่
- ชนิดออกฤทธิ์สั้น: ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์เร็ว ภายในระยะเวลาประมาณ 5 นาที และมีระยะเวลาออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้นานประมาณ 4 - 6 ชั่วโมง เช่น ยา Salbutamol, Terbutaline
- ชนิดออกฤทธิ์ยาว/นาน: ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า ภายในระยะเวลาประมาณ 20 นาที และมีระยะเวลาออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้นานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เช่น ยา Salmeterol, Formoteral
- Methyl xanthines: เป็นสารที่พบในธรรมชาติ เช่น ชา กาแฟ และช็อกโกแลต สารนี้ที่นำมาใช้เป็นยาขยายหลอดลม เช่น Aminophylline และ Theophylline
- Anticholinergics Antimuscarinic Acetylcholine ที่มีตัวรับบริเวณกล้ามเนื้อเรียบของผนังหลอดลม ส่งผลให้หลอดลมขยาย ยากลุ่มนี้แบ่งตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ได้เป็น 2 ประเภท/ชนิด ได้แก่
- Ipratropium
- ชนิดออกฤทธิ์ยาว/นาน เช่น Tiotropium
- ไม่ควรใช้ยาในกลุ่ม Beta 2-agonist ชนิดออกฤทธิ์สั้นเป็นยาเดี่ยวๆ เพื่อบรรเทาอาการต่อเนื่องนานเกินไป เพราะร่างกายอาจตอบสนองต่อการใช้ยาได้ลดน้อยลง แต่ควรใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นควบคู่กันไปเพื่อควบคุมอาการด้วย
- ระวังการใช้ยาในกลุ่ม Beta 2-agonist ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง/ โรคซีโอพีดี เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักมีโรคหัวใจร่วมด้วย การใช้ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้แม้จะใช้ยาในขนาดปกติก็ตาม
- ห้ามบดหรือเคี้ยวยาเม็ด Theophylline ชนิดออกฤทธิ์เนิ่น/นาน (Sustained-release theophylline) แต่สามารถแบ่งใช้เม็ดยาได้
- Theophylline เป็นยาที่มี *ดัชนีการรักษาแคบ มีประวัติการสูบบุหรี่และการใช้ยาอื่นๆ เพราะอาจส่งผลให้ระดับเอนไซม์ตับซึ่งทำหน้าที่ขจัดยาออกจากร่างกายเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้ควบคุมระดับการใช้ยานี้ในแต่ละบุคคลได้ค่อนข้างยาก
- ยา Beta 2-agonist: มีผลข้างเคียง เช่น ทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มือสั่น กระวนกระวาย ปวดหัว นอนไม่หลับ และถ้าใช้ยามากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งการใช้ยาสูดพ่นจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้น้อยกว่ายากิน
- ยา Methyl xanthines: มีผลข้างเคียงเช่น ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และอาการอื่นๆ เช่น มือสั่น นอนไม่หลับ ความดันโลหิตต่ำ โดยถ้าได้รับยาขนาดสูงมากๆ อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตเพราะผู้ป่วยอาจชัก หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ยา Anticholinergics: มีผลข้างเคียง เช่น ปากคอแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง/ไม่ถ่ายปัสสาวะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า
ยาขับเสมหะ คือ ยาที่ออกฤทธิ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้มูก ทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นน้อยลง ไอหรือขับออกมาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากในคนที่ป่วยด้วยโรคในระบบทางเดินหายใจ นอกจากเสมหะจะมากขึ้น เหนียวข้นขึ้นแล้ว ยังมักจะแห้งกว่าปกติ จากที่มีการหายใจที่เร็วขึ้น จึงทำให้เยื่อเมือกที่บุในทางเดินหายใจและมูกแห้งลงกว่าปกติ
ยาขับเสมหะที่มีขายในท้องตลาด เช่น
- Guaifenesins (Glycerol guaicolate) ซึ่งเป็นส่วนผสมโดยทั่วไปของยาบรรเทาอาการหวัดในท้องตลาด
- Terpin hydrate
- Ammonium chloride
อนึ่ง การรักษาด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง ก็ช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ และช่วยให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้นขึ้นได้
ยาละลายเสมหะ คือ ยาที่ออกฤทธิ์ในการทำลายการเกาะกันของโปรตีนในมูก ทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นลดลง โดยอาจจะย่อยโปรตีน หรือเพียงแค่ทำลายคุณสมบัติทางเคมีก็ได้ ทำให้เสมหะใส ความเหนียวลดลง จึงขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น
ยาละลายเสมหะที่มีขายในท้องตลาด เช่น
- Acetyl cysteine ซึ่งพบว่ามีประโยชน์ในคนไข้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(โรคซีโอพีดี/COPD)
- Carbocysteine เป็นยาในกลุ่มเดียวกันกับ Acetyl cysteine คือ ออกฤทธิ์เหมือนกัน
- Bromhexine
- Ambroxol
ยาทั้งสองกลุ่ม ไม่ได้แตกต่างกันในเรื่องผลการรักษา และไม่เกี่ยวกับการรักษาการติดเชื้อ ชอบตัวไหนใช้ตัวนั้น
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
- ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาขยายหลอดเลือด หมายถึง ยาที่มีคุณสมบัติขยายหลอดเลือดดำ และ/หรือหลอดเลือดแดง โดยทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อของหลอดเลือดและทำให้ท่อของหลอดเลือดขยายตัว จึงลดแรงต้านทานภายในหลอดเลือดลง ส่งผลทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ดีขึ้น จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง ในทางคลินิกจึงใช้ยาขยายหลอดเลือดเป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ประเภทของยา |
ข้อบ่งใช้ |
ก. ยาที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโดยตรง (Direct-acting vasodilators) ได้แก่
|
|
ข. ยาขยายหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vasodilators): เช่น ยา Cinnarizine, Flunarizine, Nicergoline, Ginkgo Biloba Extract, Co-dergocrine mesylate |
|
ค. ยาขยายหลอดเลือดแดงปอด (Pulmonary vasodilators): ได้แก่
|
|
ยาขยายหลอดเลือดทุกชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาซึ่งที่พบบ่อยที่สุดคือ ภาวะความดันโลหิตต่ำ และผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น
- ยากลุ่ม Calcium channel blockers: อาจทำให้ ปวดศีรษะ เท้าและข้อเท้าบวม และยา Verapamil ทำให้ท้องผูก
- ยากลุ่ม Nitrates: อาจทำให้ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง
- ยา Hydralazine: อาจทำให้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ใจสั่น เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก หน้าแดง หัวใจเต้นเร็วจากการที่หลอดเลือดคลายตัว (Reflex tachycardia)
- ยา Sodium nitroprusside: อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายได้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้
- ยา Cinnarizine และยา Flunarizine: อาจทำให้ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย เหนื่อยล้า การเคลื่อนไหวผิดปกติ
- ยา Nicergoline: อาจทำให้ระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดต่ำ ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ระดับกรดยูริคในเลือดสูง มึนงง นอนไม่หลับ
- ยา Co-dergocrine mesylate: อาจทำให้ปวดศีรษะ ไม่สบายท้อง มองเห็นภาพไม่ชัด
- ยา Ginkgo Biloba Extract: อาจทำให้ไม่สบายท้อง ผิวหนังเกิดผื่นคัน ปวดศีรษะ
- ยากลุ่ม Prostacyclin analogues: อาจทำให้หน้าแดง ร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ คลื่นไส้
- ยากลุ่ม PDE-5 inhibitors: อาจทำให้ปวดศีรษะ หน้าแดง ร้อนวูบวาบ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดแขนขา
ยาขับลมลม ยาลดแก๊ส แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ ดังนี้
1. ยากลุ่มที่ทำให้หูรูดของทางเดินอาหารเปิด
ยากลุ่มนี้ ได้แก่ พวกน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากพืชต่างๆ เมื่อกินยากลุ่มนี้เข้าไปแล้วจะรู้สึกอุ่นที่ทางเดินอาหาร ยาจะทำให้หูรูดทางเดินอาหารส่วนล่างเปิดออก และขับไล่ลมหรือแก๊สออกทางทวารหนัก ยากลุ่มนี้ขับลมได้ดี ควรกินก่อนอาหาร ตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ เอ็ม คาร์มิเนทิฟ (M. Carminative) ยาธาตุน้ำแดง ยาธาตุน้ำขาว น้ำมันซินนามอน (Cinnamon) น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ (Peppermint) น้ำมันเฟนเนล (Fennel)
ยากลุ่มนี้มีข้อจำกัด คือ ยาธาตุน้ำแดงและยาธาตุน้ำขาว มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ จึงไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ตลอดจนคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคไต
หมายเหตุ: ยาธาตุน้ำแดง: ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง จุก/เสียดท้อง แน่นท้องจากอาหารไม่ย่อย ส่วนยาธาตุน้ำขาว: นอกจากบรรเทาอาการท้องเฟ้อ ยังใช้บรรเทาอาการท้องเสียจากทางเดินอาหารติดเชื้อชนิดไม่รุนแรง
2. ยากลุ่มต้านการเกิดฟอง
ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ลดแรงตึงผิวของฟองก๊าซในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ฟองก๊าซไม่จับตัวเป็นก้อน หรือทำให้ฟองก๊าซที่เป็นก้อนแตกกระจาย และถูกขับออกมาทางปากด้วยการเรอ ทำให้การดูดซึมยาและสารอาหารต่างๆ ในกระเพาะและลำไส้เล็กดีขึ้น นอกจากนี้ ยายังป้องกันไม่ให้เมือกเกาะหุ้มฟองอากาศเหล่านี้ ทำให้เรอ ขับลม หรือผายลม ได้สะดวกขึ้น ตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไซเมทิโคน (Simethicone) และ ซิลิคอน เมทิลโปลีไซโลเซน (Silicone methylpolysiloxane)
ยากลุ่มนี้ ถ้าเป็นยาเม็ดต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ส่วนที่เป็นยาน้ำมักผสมกับยาลดกรด และหญิงมีครรภ์ไม่ควรใช้ นอกจากแพทย์สั่ง
3. ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ดูดซับ
ยากลุ่มนี้สามารถดูดซับฟองแก๊ส/ก๊าซ มาไว้ที่อนุภาคของมันได้ เป็นการช่วยกำจัดก๊าซ หรือลมที่มีมากในกระเพาะอาหาร ทำให้ลมในกระเพาะอาหารลดลงได้ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้เช่น ผงถ่านที่มีขนาดอนุภาคเล็กละเอียดอย่างมาก มีพื้นที่ผิวในการดูดซับก๊าซมากและแตกตัวเร็ว ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็ว
ยากลุ่มนี้ควรกินก่อนหรือหลังกินยาอื่น 2 ชั่วโมง โดยหญิงมีครรภ์และให้นมบุตรสามารถกินได้
อนึ่ง นอกจากยาขับลมดังกล่าวข้างต้น สมุนไพรไทยหลายชนิด ซึ่งรวมถึง "ยาหอม" ก็ช่วยขับลม และบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ผลดี เช่น ขิง น้ำขิง ขมิ้นชัน กานพลู ชะพลู พริกไทย กะเพรา ดีปลี กระเทียม เปล้าน้อย ลูกกระวาน เกล็ดสะระแหน่ เป็นต้น
ยาถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal หรือ Activated carbon) คือ รูปแบบหนึ่งของธาตุคาร์บอน ที่นำมาผ่านการสังเคราะห์ทางเคมี (การปลุกฤทธิให้มีฤทธ์เพิ่มขี้น: Activated) ทำให้มีอนุภาคเล็กๆ หรือเป็นผงเม็ดเล็ก (Granule) ทั้งนี้ยาถ่านกัมมันต์ไม่สามารถถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหาร/ลำไส้เข้าสู่ร่างกายได้ จึงไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาการเผาผลาญในร่างกายแต่อย่างใด
ยาถ่านกัมมันต์มีข้อบ่งใช้ เช่น
- แก้ท้องเสีย โดยดูดซับสารพิษที่รับประทานเข้าไป
- ใช้เป็นส่วนผสมของ ยาลดกรด ยาช่วยย่อย ยาขับลม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
- คลื่นไส้
- ท้องผูก หรือ ท้องเสีย
- อุจจาระมีสีดำ (ดำเป็นถ่าน)
- ท้องอืด
- ลำไส้อุดตัน
- เกล็ดเลือดมีการเกาะกลุ่มรวมกัน (เลือดออกง่าย)
- ตัวเย็น
- น้ำตาลในเลือดต่ำ (อาการ เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก เป็นลม)
- ปริมาณแคลเซียมในเลือดต่ำ (อาการชัก)
- ความดันโลหิตต่ำ (หน้ามืด เป็นลม)
- ฟันและปากมีสีคล้ำ
- เกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกะตุก) เป็นต้น
- ห้ามใช้ยานี้ในการรักษากับผู้ป่วยที่กลืนสารพิษบางจำพวก เช่น ไซยาไนด์ กรดแก่ ด่างแก่ ตัวทำละลายต่างๆ (Organic Solvent) เกลือแร่/ธาตุเหล็ก แอลกอฮอล์ และสาร/ยาจำพวกลิเทียม (Lithium)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตัน หรือผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือในลำไส้
- ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยาถ่าย/ยาแก้ท้องผูก ที่มีน้ำตาล Sorbitol เป็นส่วนประกอบ
- ระวังการใช้ยานี้หลังกินอาหารภายในเวลา 1 ชั่วโมง อาจทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลำไส้ลดลง จนทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ
- อาหารบางกลุ่มสามารถลดประสิทธิภาพในการรักษาของถ่านกัมมันต์ได้ เช่น นม ไอศกรีม จึงควรหลีกเลี่ยงไม่กินร่วมกัน
การใช้ยาถ่านกัมมันต์ร่วมกับการใช้ยาอื่นๆ ต้องปรับระยะเวลาของการกินอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังการกินยานั้นๆ ทั้งนี้ด้วยฤทธิ์ของถ่านกัมมันต์ สามารถรบกวนการดูดซึมของยาอื่นๆ ได้ทุกชนิด เช่น
- กลุ่มยาแก้ปวด ยาลดไข้ เช่นยา Acetaminophen/Paracetamol, Aspirin
- กลุ่มยาต้านแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) เช่นยา Doxycycline, Tetracycline
- กลุ่มยารักษาโรคหัวใจ เช่นยา Digoxin
- กลุ่มยาขยายหลอดลม เช่นยา Theophylline
- ยารับประทานทุกชนิด
ยารักษาอาการทางจิตเวช แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้ได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
ประเภทยา |
ข้อบ่งใช้ |
กลไกการออกฤทธิ์ |
ผลข้างเคียง |
ตัวอย่างยา |
|
ใช้รักษาโรคจิตเภท รักษาอาการหวาดระแวง (Paranoid) |
ยับยั้งการหลั่ง Dopamine |
คอเอียง อาการเกร็งหลังแอ่น กลอกตาไปมา กระวนกระวาย ตื่นเต้น อยู่ไม่สุข ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก ง่วงนอน ตาพร่ามัว สับสน มึนงง |
|
|
ใช้รักษาโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) เครียด หวาดกลัว ใช้เป็นยานอนหลับ |
กดการทำงานของสมอง (Cerebral cortex) ช่วยคลายเครียดกังวลใจ ช่วยให้นอนหลับ |
ง่วงนอน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ความดันโลหิตต่ำ เกิดกลุ่มอาการขาดยาถ้าหยุดยาทันที |
|
|
ใช้รักษาโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) ในผู้ป่วยอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) และในโรควิตกกังวล |
ออกฤทธิ์เพิ่มความเข้มข้นของ สาร Serotonin และ สาร Norepinephrine /Noradrenaline (NE: สารที่ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด) ทำให้อารมณ์ดีขึ้น |
ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตเปลี่ยน ปากแห้ง หลงลืม ตาพร่ามัว ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง คลื่นไส้ เบื่ออาหาร |
|
|
ใช้รักษาภาวะ/โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorder) และโรคซึมเศร้า
|
ทำให้การทำงานส่วนที่มีประสิทธิภาพของ Norepinephrine (Active nore pinephrine) ในสมองลดลง |
สับสน ง่วงนอน เบื่ออาหาร กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย |
|
นอกจากนี้ยาทางจิตเวช ยังอาจแบ่งได้อีกแบบ โดยเป็น 2 ประเภท คือ
ก. ยาที่ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทในสมอง ที่ใช้บ่อย เช่น
- ยับยั้ง Dopamine: ได้แก่ Chlorpromazine, Haloperidol, Perphenazine, Fluphenazine
- กระตุ้น GABA receptor : ได้แก่ Lorazepam , Diazepam , Clorazepate dipotassium
- ยับยั้งการหลั่ง 5 - HT : ได้แก่ Chlorpromazine , Perphenazine
- ยับยั้งการทำลาย 5 - HT : ได้แก่ Amitriptyline , Fluoxitine
- ยับยั้งการทำงานของ Norepinephrine : ได้แก่ Amitriptyline
ข. ยาประเภทอื่นๆ: ได้แก่
- Typical antipsychotic หรือ First generation antipsy chotic คือ ยารุ่นแรกหรือยาหลักที่ใช้รักษาโรคทางจิตเวช หรือเรียกว่า ยารักษาโรคจิตเวชกลุ่มเก่า เป็นยาที่ทำให้ตัวรับสาร Dopamine ไม่ทำงานเป็นหลัก ได้แก่ Haloperidol, Perphenazine, Chlorpromazine
- Atypical antipsychotic หรือ Second generation antipsychotic คือ ยารักษาโรคจิตเวชกลุ่มใหม่ เป็นยาในรุ่นที่สองที่ค้นคิดได้ โดยเป็นยาที่ยับยั้งทั้งตัวรับของ Serotonin (Serotonin recep tor) และตัวรับของ Dopamine (Dopamine receptor) ได้แก่ Olanzapine, Risperidone, Quetiapine, Aripiprazole
ร้อนใน เป็นกลุ่มอาการทางสุขภาพที่ผิดจากปกติหลายๆ อย่าง อาจแสดงออกดังนี้ คือ ตาแฉะ มีขี้ตามากหลังตื่นนอน เจ็บที่เหงือก เหงือกเป็นแผล กระพุ้งแก้มด้านใน/ริมฝีปากด้านในเป็นแผล ลิ้นแตกเป็นแผล ลมหายใจร้อน คอแห้ง ปากขม กระหายน้ำ เจ็บคอ บางครั้งมีอาการไอ (ไอร้อน) มีเสมหะเหลืองข้น เมื่อยตามตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกรุมๆ คล้ายจะเป็นไข้ ท้องผูก ถ่ายค่อนข้างลำบาก
- นอนน้อย นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ
- ความเครียด โมโห ฉุนเฉียว
- กินอาหารฤทธิ์ร้อนมากเกินไป เช่น ขนมปังเบเกอรี่ ของมัน ของทอด เนื้อติดมัน ของหวาน ไอศกรีม เหล้า เบียร์ ผลไม้ที่หวานมากๆ
- กัดปากตัวเอง เวลาเคี้ยวข้าวบังเอิญไปกัดริมฝีปากบ้าง กัดลิ้นบ้าง กัดกระพุ้งแก้มบ้าง
- ขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ (เกลือแร่) โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก โฟเลต หรือวิตามินบี 12
- อาจเป็นจากกรรมพันธุ์
- เป็นประจำเดือน เกิดกับผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือน เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
- กินอาหารรสจัดมากไป เค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด
แผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเหนื่อยล้าหรือทรุดโทรม จึงต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรง เช่น การกินอาหารให้เหมาะสม นอนหลับอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายกลางแจ้งในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการนี้ลงไปได้ ส่วนการใช้ยามีทั้งยาแก้ร้อนในแผนปัจจุบันและแผนโบราณ
ยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาแผลร้อนในให้หายขาดโดยไม่ปรากฏอาการขึ้นมาอีก การรักษาที่นิยมในปัจจุบันคือ รักษาไปตามอาการโดยให้สเตียรอยด์ชนิดทาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการเจ็บและอาการอักเสบ ดังนี้
- Triamcinolone acetonide01
- Fluocinolone acetonide01
- Chlorhexidine gluconate02110 1
ซึ่งปกติให้ทาหลังอาหาร 3 มื้อ หรือจะทาก่อนนอนก็ได้ เพราะสะดวกกว่าและช่วยให้หายเร็วมากกว่าทาเวลาอื่น เพราะตอนนอนยาจะติดทนนานกว่า เนื่องจากไม่ค่อยมีการขยับปากมาก
- ยาบัวบก
- ยามะระขี้นก
- ยารางจืด
- ยาหญ้าปักกิ่งง
|
อะไซโคลเวียร์ (Aciclovir/ACV) |
วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) |
แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) |
คุณสมบัติ |
|
|
|
ผลข้างเคียง |
|
|
|
ปฏิกิริยากับยาตัวอื่น |
|
|
|
ข้อควรระวัง |
|
|
|
ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า แบ่งประเภทตามกลุ่มยาที่ใช้ตามระยะของการเกิดโรคได้ดังนี้
ก. ระยะแรก: ระยะที่ผิวหนังที่เท้าเริ่มเกิดอาการอักเสบและระคายเคือง: ยาที่ใช้ เช่นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก เช่นยา Hydrocortisone, Triamcinolone, Betamethasone, Mometasone, Clobetasol, Prednicarbate
ข. ระยะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่รอยโรคที่เท้า: ยาที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังที่เท้า เช่น
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดทาภายนอก (Topical Antibiotics): เช่นยา Mupirocin, Sodium Fusidate, Gentamicin, Chloramphenicol, Povidone-Iodine
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดกิน (Oral Antibiotics): เช่นยา Cloxacillin, Dicloxacillin, Azithromycin, Cephalexin
ค. ระยะที่มีการติดเชื้อราแทรกซ้อน: ยาที่ใช้ เช่น
- ยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก (Topical antifungals): เช่นยา Ketoconazole, Butenafine, Tolnaftate, Ciclopirox
- ยาต้านเชื้อราชนิดกิน (Oral antifungals): เช่นยา Fluconazole, Griseofulvin, Ketoconazole, Itraconazole, Nystatin
ง. นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยากลุ่มอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคน้ำกัดเท้า เช่น
- ยาแก้แพ้ชนิดกิน (Oral antihistamines): เช่นยา Hydroxyzine, Cetirizine, Diphenhydramine, Cyproheptadine
- ยาขี้ผึ้งวิทฟิลท์ (Whitfield’s ointment) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยา 2 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก และกรดซาลิซิลิก
- ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือ วาสลีน
- ห้ามใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก ทาผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา เพราะมีความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง และห้ามใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 4 สัปดาห์ เพราะอาจกดการทำงานของต่อมหมวกไต
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาต้านเชื้อราชนิดกิน เป็นยาที่ต้องกินให้ครบตามที่แพทย์สั่ง ห้ามหยุดยานี้เองแม้อาการของโรคจะดีขึ้นแล้ว เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคและป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา
- หากใช้ยาต้านเชื้อราชนิดทา: ควรทาบริเวณผิวหนังที่อยู่รอบๆ การติดเชื้อนั้นด้วย และทาต่อไปอีก 2 สัปดาห์หลังจากอาการของโรคหายเป็นปกติแล้ว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
- ไม่ควรทา Whitfield’s ointment บริเวณที่มี แผลสด แผลมีหนอง เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย
- ในขณะที่ป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า ควรสวมรองเท้าและถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ดี และขนาดพอดีกับเท้า ไม่รัดแน่นเกินไป ตัดเล็บเท้าให้สั้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้รองเท้า ถุงเท้า และผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น
- หากต้องเดินลุยน้ำบ่อยๆ ในฤดูฝน หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำสกปรกโดยตรงโดยการสวมรองเท้าบูท แต่ถ้าไม่สามารถเลี่ยงได้ ให้ล้างเท้าด้วยสบู่หรือน้ำสะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสกับน้ำสกปรกแล้วเช็ดเท้าให้แห้ง
- เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และเด็ก ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก ทำให้ผิวหนังที่สัมผัสยานี้มีอาการปวดแสบร้อน คัน ระคายเคือง ผิวแห้ง รูขุมขนอักเสบ สีผิวซีดจาง ผิวบาง ผิวลาย ขนดก อาการของโรคนี้รุนแรงขึ้น
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาต้านเชื้อราชนิดกิน มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ทั่วไป คือ ทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ผื่นแพ้ยาเล็กน้อยถึงรุนแรง
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เฉพาะที่ เช่น แสบร้อนบริเวณที่ทายา คัน แดง ผิวหนังแห้ง และผื่นแพ้ยาเล็กน้อยถึงรุนแรง
- ยาแก้แพ้ ทำให้เกิดอาการ ง่วงซึม ปวดศีรษะ ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก สับสน ใจสั่น
- Whitfield’s ointment ทำให้เกิดอาการ แสบ ระคายเคือง อักเสบ บริเวณที่ทายานี้
ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ/ยาหัวใจเต้นผิดจังหวะ/ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง ยาที่ใช้ควบคุมอัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจให้ใกล้เคียงระดับปกติ ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของอาการ เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการ และลดอัตราการตายของผู้ป่วย แบ่งประเภทตามกลุ่มยาได้ดังนี้
- ยาที่ออกฤทธิ์ปิดกั้นช่องโซเดียม/ปิดกั้นการทำงานของหัวใจผ่านทางประจุโซเดียม (Sodium channel blockers): เช่นยา Quinidine, Procainamide, Disopyramide, Lidocaine, Phenytoin, Flecainide, Propafenone
- ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับเบต้า (Beta blockers): เช่นยา Propanolol, Esmolol, Metoprolol
- ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นช่องโพแทสเซียม/ปิดกั้นการทำงานของหัวใจผ่านทางประจุโพแทสเซียม (Potassium channel blockers): เช่นยา Bretylium, Amiodarone, Sotalol
- ยาออกฤทธิ์ปิดกั้นช่องแคลเซียม/ปิดกั้นการทำงานของหัวใจผ่านทางประจุแคลเซียม (Calcium channel blockers): เช่นยา Verapamil, Diltiazem
- ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอื่นๆ (Miscellaneous Drugs): เช่นยา Digoxin, Adenosine, Magnesium Sulfate
- ห้ามใช้ยากลุ่ม Sodium channel blocker ในผู้ที่มีโครงสร้างของหัวใจผิดปกติ (Structural Heart Disease) เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ หัวใจห้องล่างซ้ายทำงานผิดปกติ
- ห้ามใช้ยากลุ่ม Beta blockers ในผู้ป่วยที่รับการรักษาอยู่ในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) มีภาวะบวมน้ำ เป็นโรคหืด ภาวะ/โรคความดันโลหิตต่ำ หรือ มีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ
- การใช้ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิด/หลายประเภทรวมกัน อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเองได้ และอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง ดังนั้นควรใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกันก็ต่อเมื่อแพทย์พิจารณาแล้วว่า จะเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น
- ยา Phenytoin อาจทำให้เกิดอาการ วิงเวียน มองเห็นภาพซ้อน และง่วงซึม จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานใกล้เครื่องจักรขณะใช้ยานี้ เพราะจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานยานอนหลับ หรือยาแก้แพ้ ร่วมด้วย เพราะจะยิ่งเพิ่มฤทธิ์ง่วงซึมจากยา Phenytoin
- ระวังการใช้ยา Amiodarone ในผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมกับโรคต่อมไทรอยด์ เพราะยา Amiodarone มีปริมาณของสารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ จึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้
- ยา Amiodarone เป็นยาที่มีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ (Enzyme inhibitors) จึงมีผลลดการกำจัดยาชนิดอื่นๆ ออกจากร่างกาย เช่นยา Warfarin, Thephylline, Quinidine, Digoxin และ Procainamide เป็นต้น การใช้ยาร่วมกันจะทำให้ระดับของยาเหล่านี้ในเลือดสูงเกินไป จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาเหล่านี้ได้ ดังนั้น จึงควรตรวจติดตามระดับยานี้ในเลือด และเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นตามแพทย์ เภสัชกร แนะนำ
- ไม่ควรหยุดใช้ยากลุ่ม Beta blockers ทันทีหลังจากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะเจ็บหน้าอก/ แน่นหน้าอก และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้
- ยา Phenytoin และยา Digoxin เป็นยาที่มีช่วง “Therapeutic index” แคบ (ขนาดของยาที่ให้ผลการรักษา และขนาดของยาที่ทำให้เกิดอันตรายใกล้เคียงกัน) ผู้ป่วยต้องกินยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรเพิ่มขนาดยา หรือลดขนาดยา หรือหยุดยาเอง โดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
- ยา Digoxin เป็นยาที่ถูกทำลายได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ จึงควรระวังการกินยานี้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย/ยาปฏิชีวนะ เพราะอาจทำให้เพิ่มการสะสมยา Digoxin ในร่างกายจนส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากยา Digoxin
- ระวังการใช้ยา Adenosine ในผู้ป่วยโรคหืด เพราะยานี้จะกระตุ้นให้หลอดลมตีบ/หดตัว อาจทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก
- ใช้กดการรับรู้ของระบบประสาทหูชั้นใน (Vestibular Suppressants) จึงสามารถบรรเทาอาการเวียนศีรษะ (Dizziness) และอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) ที่มีสาเหตุเกิดจากโรคเมนเนียร์ (โรคของหูชั้นในที่ไม่ทราบสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุนเรื้อรัง) ความผิดปกติอื่นๆ ของระบบอวัยวะรับการทรงตัวในหูชั้นใน โรคหูจากสาเหตุต่างๆ
- ใช้บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน และช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร
ประเภท |
ผลข้างเคียง |
ชื่อตัวอย่างยา |
|
ตาแห้ง และตาไวต่อแสง ปากแห้ง ปวดศีรษะ มึนงง สับสน ง่วงซึม ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก รูม่านตาขยาย ต้อหิน คลื่นไส้อาเจียน |
ยา Scopolamine hydrobromide หรือ Hyoscine hydrobromide |
|
ง่วงซึม อาการอื่นๆ ได้แก่ ตาแห้ง ปากแห้ง เสมหะเหนียวข้น ตามองภาพไม่ชัดและไวต่อแสง สับสน ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก หัวใจเต้นผิดปกติ |
ยา Dimenhydrinate, Diphenhydramine, Promethazine, Hydroxyzine |
|
ง่วงซึม เวียนศีรษะ หลงลืมชั่วคราว ติดยา ก้าวร้าว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ บ้านหมุน ความดันโลหิตต่ำ กลั้นปัสสาวะไม่ได้ การมองเห็นผิดปกติ กดการหายใจ |
ยา Lorazepam, Clonazepam, Alprazolam, Diazepam |
|
เกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการเอ็กทราพิรามิดัล (Extrapyramidal symptoms) ทำให้เกิด อาการสั่น การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อผิดปกติ กระสับกระส่าย และอาการยึกยือ (Tardive dyskinesia) |
ยา Domperidone, Metoclopramide, Itopride, Chlorpromazine, Prochlorperazine, Perphenazine, Trifluoperazine, Haloperidol |
|
ปวดศีรษะ ท้องผูก ใบหน้าแดง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ |
ยา Ondansetron, Granisetron, Ramosetron, (Dolasetron, Palonosetron, Tropisetron |
|
ง่วงซึม ท้องผูก อยากอาหาร คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการสั่นไม่ทราบสาเหตุ และอาจทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน |
Cinnarizine, Flunarizine |
|
คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ปวดศีรษะ ง่วงซึม เหนื่อยล้า หน้ามืด นอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตาพร่า |
ยา Betahistine dihydrochloride, Betahistine mesilate |
|
ผิวหนังบาง มีรอยแตก รอยช้ำ กระเพาะอาหารทะลุ เลือดออกในกระเพาะอาหาร/เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ต้อกระจก ต้อหิน กดการทำงานของต่อมหมวกไต ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ กระดูกพรุน และหากใช้ยานี้ขนาดสูงเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ อาจทำให้เกิดกลุ่มอาการ Cushing’s Syndrome |
ยา Dexamethasone, Methylprednisolone |
เมื่อผู้ป่วยหายจากอาการเวียนศีรษะ เวียนศีรษะบ้านหมุน และ/หรือ คลื่นไส้อาเจียน แล้ว ควรหยุดใช้ยาทุกชนิด โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาวะให้เข้าสู่ภาวะปกติ และเนื่องจากยาแก้เวียนศีรษะและเวียนศีรษะบ้านหมุนมีข้อควรระวังในการใช้ยามาก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้โดยเฉพาะการใช้ยาในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และเด็ก
ยาฝังคุมกำเนิด/ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive implant หรือ Implantable contraception) คือ วิธีหนึ่งในการคุมกำเนิดแบบชั่วคราว โดยการฝังฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำเป็นแท่งเล็กๆ เข้าใต้ผิวหนังใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ของสตรี ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา นอกจากนี้ ฮอร์โมนนี้ยังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปได้ยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่ สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยมีโอกาสการตั้งครรภ์น้อยกว่า 1 ใน 100 ของสตรีที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด
- สะดวกสบายเมื่อไปรับการคุมกำเนิดวิธีนี้ สามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา
- ไม่ต้องกินยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน ลดโอกาสลืมกินยา หรือต้องไปฉีดยาคุมกำเนิดทุก 3 เดือน ลดโอกาสฉีดยาคลาดเคลื่อนไม่ตรงกำหนด
- ไม่มีผลข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้อาเจียน เป็นฝ้า
- เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง
- ประจำเดือนกะปริบกะปรอย/เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงพบมากที่สุด
- ไม่มีประจำเดือน หรือเกิดภาวะขาดประจำเดือน
- อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
- แผลที่ฝังยาเกิดการอักเสบ หรือมีรอยแผลเป็น
- อารมณ์แปรปรวน
- ปวด/เจ็บเต้านม
- มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท้องนอกมดลูก) หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น
- อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
- ผู้ที่ลืมกินยาบ่อยๆ รวมทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด
- ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี
- มีข้อห้ามในการใช้การคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น กำลังให้นมบุตร
- มีโรคตับ: เพราะผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการ ตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้
- มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามแพร่กระจาย
- มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ที่ไม่ทราบสาเหตุ เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
- มีภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวในภาวะเลือดออก
- ลดอาการปวดประจำเดือน
- ป้องกันการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- ลดโอกาสเกิดอาการซีดจากการมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ที่เกิดจากมีการหนาตัวมากของเยื่อบุโพรงมดลูก
- แก้ปวดระดับน้อยไปจนถึงระดับปานกลาง แต่ไม่ช่วยลดการอักเสบของร่างกาย เช่น การอักเสบจากถูกกระแทกฟกช้ำ
- ใช้เป็นยาลดไข้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ทั้งนี้ ข้อดีของยาพาราเซตามอล คือ ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร สามารถกินพร้อมอาหารหรือขณะท้องว่างได้
ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์โดยตัวยาจะไปยับยั้งการสร้างสารเคมีบางตัวในสมองของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง
ทั้งผู้ใหญ่และเด็กมีขนาดยาและช่วงระยะเวลากินยาพาราเซตามอลที่ต่างกันตามอาการและการตอบสนองของร่างกาย การใช้ยาพาราเซตามอลไม่ได้ขึ้นกับน้ำหนักของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นกับโรคต่างๆ ของผู้ป่วยด้วย เช่น ผู้ที่มีโรคตับ และ/หรือ โรคไต แพทย์มักต้องปรับลดขนาดยาที่รับประทานลง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง ซึ่งเมื่อกินยาพาราเซตามอลแล้วอาการไม่ทุเลาภายใน 1 - 2 วัน ต้องรีบพบแพทย์/มาโรงพยาบาล เพื่อแพทย์ค้นหาสาเหตุและปรับแนวทางการรักษา
- การกินยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานติดต่อกันเกิน 5 - 7 วัน หรือกินเกินขนาด (ขนาดปกติในผู้ใหญ่ที่ ไม่มีโรคประจำตัวคือ กินครั้งละ 1 - 2 เม็ด ทุก 6 - 8 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดพิษต่อตับ/ตับอักเสบ
- การกินร่วมกับแอลกอฮอล์ สามารถทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลวได้ ซึ่งมีบางคนที่กินยาพาราเซตามอลในปริมาณมาก ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยสภาวะตับล้มเหลว ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน
- การกินยาพาราเซตามอลร่วมกับยากดสมองส่วนกลาง/ยากดประสาทส่วนกลาง เช่น ยากันชัก หรือกินพร้อมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ จะเสริมฤทธิ์ความเป็นพิษต่อตับและมีความเสี่ยงทำให้การทำงานของตับลดลง
- การกินยาพาราเซตามอลร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะทำให้การจับตัวของเกล็ดเลือดลดลง จึงอาจลดประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือดลงได้ ซึ่งยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)
- ควรระวังเป็นพิเศษ ถ้าต้องใช้ยาพาราเซตามอลในผู้ป่วยที่มีสภาวะตับทำงานผิดปกติ/โรคตับ (ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้เสมอ)
- ห้ามใช้ยากับผู้ที่เคยมีการแพ้ยาตัวนี้ (รู้ได้จากการมีอาการผิดปกติจากกินยาพาราเซตามอลในครั้งก่อนๆ เช่น ขึ้นผื่นคัน และ/หรือ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก)
ก. ยาเพนิซิลลิน (Penicillin): เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เช่น คออักเสบ เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่ไม่ทนกับกรดในกระเพาะอาหาร จึงต้องกินยาก่อนอาหาร และถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านไต แต่ยาบางตัวในกลุ่มนี้ก็ถูกขับออกโดยผ่านกระบวนการที่ตับก่อน ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) แอมปิซิลลิน (Ampicillin) คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) และ ฟลูคลอซาซิลลิน (Flucloxacillin) เป็นต้น
ข. อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides): เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก ข้อ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อ/โรคติดเชื้อระบบหายใจ การติดเชื้อหลังผ่าตัด ยากลุ่มนี้ไม่ค่อยดูดซึมทางลำไส้ ต้องใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือด มีความเป็นพิษต่อไตและหูชั้นใน ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น เจนตามัยซิน (Gentamycin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) นีโอมัยซิน (Neomycin) เป็นต้น
ค. เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin): เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบทางเดินหายใจ/โรคติดเชื้อระบบหายใจ และทางเดินอาหาร/โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ยากลุ่มนี้ไม่ทนกรดเช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลิน และดูดซึมในทางเดินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องใช้การฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือด แต่ก็พบว่ายาเซฟาโลสปอรินบางตัวมีคุณสมบัติทนกรดได้ดี ทั้งยังสามารถให้ยาด้วยการกินได้ โดยยาเซฟาโลสปอรินจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางไตออกมากับปัสสาวะ ส่วนน้อยถูกทำลายและผ่านออกมาทางตับ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น เซฟาโซลิน (Cefazolin) เซฟาคลอร์ (Cefaclor) เซฟูรอกซีม (Cefuroxime) เป็นต้น
ง. แมคโครไลด์ (Macrolide): เป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม (RNA) ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้ มักใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบน/โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง (เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ) ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น อีรีโทรมัยซิน (Erythromycin) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) เป็นต้น
จ. เตตราไซคลีน (Tetracyclines): ใช้รักษาการติดเชื้อ/โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ /โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบอักเสบ แผล ฝี หนอง มีกลไกการออกฤทธิ์โดยก่อกวนการทำงานของสารพันธุกรรม (RNA) ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนและทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโต ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) เป็นต้น ทั้งนี้ ห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในเด็กอ่อนและหญิงตั้งครรภ์ ห้ามใช้ร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิด ยาลดกรด และ/หรือ ยากลุ่มวิตามินที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ
ฉ. ควิโนโลน (Quinolones): ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางไต และต่อมลูกหมาก (โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ) แต่ไม่ค่อยนำไปใช้รักษาการติดเชื้อในโพรงไซนัส (Sinusitis) ออกฤทธิ์โดยรบกวนการสร้างโปรตีนในสารพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย (DNA) ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น ไซโปรฟลอซาซิน (Ciprofloxacin) เลโวฟลอซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น ทั้งนี้ ห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่เป็นโรคลมชักเพราะอาจกระตุ้นสมอง เป็นสาเหตุให้ชักได้บ่อยขึ้น
- เชื้อโรคมีพัฒนาการต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยา
- เกิดการกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายที่มีตามธรรมชาติ ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ด้วยภูมิคุ้มกันของตัวเอง
- เกิดการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ซึ่งอาศัยอยู่ในทางเดินอาหาร ส่งผลให้การสร้าง และ/หรือ การดูดซึมวิตามิน บางกลุ่มสูญเสียไป เช่น วิตามินเค เป็นต้น
- ได้รับผลข้างเคียงสูงขึ้น เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ โรคหืด
- รบกวนการทำงานของยากลุ่มอื่น (ปฏิกิริยาระหว่างยา) เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดลดลง จนอาจเกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้
- ควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสมอ หรืออย่างน้อยควรต้องปรึกษาเภสัชกร/พยาบาล ก่อนซื้อยากินเอง
- แจ้ง แพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร ให้ทราบว่าตนเองแพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่มใด/ตัวใด รวมถึงยาตัวอื่นๆ ที่กำลังกินอยู่เพื่อป้องกันปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเสริมหรือต้านฤทธิ์กัน
- กินยาให้ครบถ้วนถูกต้องตามฉลากยา กินยาให้หมดตามแพทย์สั่ง ไม่หยุดยาเองเมื่ออาการดีขึ้น
ยาซัลฟาเป็นกลุ่มยาที่ถูกสังเคราะห์เพื่อนำมากำจัดเชื้อแบคทีเรีย (Antimicrobials) และนำมาผลิตเป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น
- รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
- รักษาโรคเบาหวาน
- รักษาและป้องกันโรคลมชัก
- เป็นยาขับปัสสาวะ
- ยาต้านไวรัส
ยาซัลฟามีผลข้างเคียงที่หลากหลาย เช่น ทำให้ทางเดินปัสสาวะมีความผิดปกติ (เช่น ปัสสาวะขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ) ดีซ่าน วิงเวียน ปวดศีรษะ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน แพ้แสงแดด โลหิตจาง ปัสสาวะเป็นเลือด ระบบเลือดผิดปกติ และอาจถึงขั้นแพ้ยา เช่น มีอาการของ Stevens-Johnson syndrome เป็นต้น
- ห้ามใช้ยานี้กับเด็กทารก เด็กแรกเกิด
- ระวังการใช้ยาอื่นที่มีส่วนประกอบของธาตุกำมะถัน (เช่น ยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิด) ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาซัลฟา
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะตับไตทำงานผิดปกติ
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงมีครรภ์
- การใช้ยาซัลฟา ควรดื่มน้ำตามเป็นปริมาณที่เพียงพอ (2 แก้ว) ในการละลายและกระจายตัวมิให้เกิดการตกตะกอนในปัสสาวะ
- การใช้ยาซัลฟา เช่น Sulfamethoxazole ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin จะทำให้การทำงานของยาต้านการแข็งตัวของเลือดมีฤทธิ์นานขึ้น ควรปรับขนาดใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้เป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาซัลฟา เช่น Sulfasalazine ร่วมกับยาต้านไวรัสเฮชไอวี เช่น Tenofovir สามารถก่อให้เกิดปัญหาที่ไตของผู้ป่วย หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน ควรต้องปรับขนาดการใช้ให้เหมาะสม
- การใช้ยาซัลฟากับผู้ป่วยที่มีภาวะปัสสาวะเป็นกรด จะทำให้ยาซัลฟาหลายตัวตกตะกอนในปัสสาวะ เกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ หรือเมื่อกินร่วมกับยาบางตัว เช่น Methenamine (ยารักษาการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะ) ซึ่งทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นกรด และเกิดตะกอนในปัสสาวะได้เช่นกัน จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาซัลฟาในผู้ป่วยมีภาวะปัสสาวะเป็นกรด
- การใช้ยา Sulfamethoxazole/Trimethoprim ร่วมกับยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors จะทำให้ระดับโพแทสเซียมในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น ควรปรับขนาดใช้ให้เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายไป
- การใช้ยาซัลฟาร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ เช่น Digoxin สามารถเพิ่มระดับ Digoxin ในกระแสเลือด และทำให้เกิดพิษของ Digoxin ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น หากไม่มีความจำเป็นควรเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
- การใช้ยาซัลฟาร่วมกับยารักษาโรคข้อรูมาตอยด์ เช่น Cyclosporine จะทำให้ฤทธิ์ในการ รักษาของ Cyclosporine ด้อยประสิทธิภาพลง อีกทั้งทำให้เกิดปัญหากับไตได้มากขึ้น ควรเลี่ยงที่จะใช้ยาร่วมกันหรือควรปรับขนาดใช้ให้เหมาะสม
การแพ้ยาในกลุ่มซัลฟา เกิดขึ้นได้น้อย มีรายงานว่าการแพ้ยาในกลุ่มนี้เกิดได้ 3%ของผู้ใช้ยาซัลฟาทั่วไป และเกิดได้ประมาณ 60% ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ใช้ยากลุ่มนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มโรคเอดส์/ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันร่างกายจึงมีโอกาสเกิดการแพ้ยาในกลุ่มซัลฟาได้มากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มโรคอื่นๆ ผู้ป่วยทุกคนจึงควรแจ้งให้ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทราบทุกครั้งถึงการมีโรคประจำตัว
ยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวด ซึ่งมีกลไกการทำงานคล้ายกับอนุพันธุ์ของฝิ่น ใช้ระงับและบรรเทาอาการปวดระดับกลางไปจนกระทั่งระดับรุนแรง ทั้งชนิดอาการปวดแบบเฉียบพลันและชนิดปวดแบบเรื้อรัง ยาจะถูกดูดซึมและเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1 ชั่วโมงหลังการกิน จากนั้นจะถูกส่งไปเปลี่ยนโครงสร้างที่อวัยวะตับ และต้องใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงเพื่อกำจัดยาในกระแสเลือด 50% ออกจากร่างกายโดยผ่านมาทางปัสสาวะ
ยาทรามาดอลมีกลไกการออกฤทธิ์ที่สมอง โดยจะยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสาทในสมอง 2 ตัว คือ Serotonin และ Norepinephrine อีกทั้งยังเพิ่มการหลั่งสารเซโรโทนินภายในสมองอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ทรามาดอลยังเข้าไปจับกับตัวรับ (Receptor) ในสมองที่เรียกว่า Mu-Opiate Receptors และด้วยกลไกที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้เกิดการระงับอาการปวดได้
คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปากคอแห้ง วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก หรือ ท้องเสีย ง่วงนอน อ่อนเพลีย วิตกกังวล หงุดหงิด ผื่นคัน ลมพิษ ปัสสาวะบ่อย เหงื่อออกมาก น้ำหนักลด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง การมองภาพได้ไม่ชัดเจน ตับอักเสบ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยานี้ และ/หรือ แพ้ยาแก้ปวดกลุ่มยาเสพติด เช่น มอร์ฟีน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยพิษสุราเรื้อรัง/ โรคพิษสุรา
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่อยู่ในภาวะสลบ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีโรคระบบทางเดินหายใจและผู้ป่วยที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคลมชัก
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- การใช้ยานี้เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ อาจก่อให้เกิดการติดยา
- หลังใช้ยานี้อาจทำให้การควบคุมร่างกายด้อยประสิทธิภาพลงไป ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร และ/หรือ การขับรถ
- กฎหมายยาของประเทศไทยกำหนดให้ยาทรามาดอลเป็น ‘ยาอันตราย ‘ การใช้ยานี้ต้องระมัดระวัง และควรอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น
- การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถเพิ่มการกดประสาทส่วนกลางทำให้มีอาการ มึนงง อาการคล้ายคนเมา วิงเวียนศีรษะ มากยิ่งขึ้น จึงห้ามใช้ร่วมกัน
- การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับยาแก้ปวดชนิดที่เป็นยาเสพติด สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ใช้ยามีอาการชัก อึดอัดและหายใจไม่สะดวก/หายใจลำบาก มีอาการตัวสั่น การพูดจาติด ขัด เดินเซ เป็นต้น หากมีความประสงค์จะใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการกินให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยยาแก้ปวดชนิดเสพติดดังกล่าว เช่นยา Codeine และ Fentanyl
- การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับยาต้านเศร้า สามารถกระตุ้นให้เกิดการชักได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ที่ติดสุรา ผู้ที่ป่วยเป็นเนื้องอกสมอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ยาต้านเศร้าดังกล่าว เช่นยา Amitriptyline
- การใช้ยาทรามาดอลร่วมกับยาคลายความวิตกกังวล/ยาคลายเครียด บางตัว สามารถเกิดผลข้างเคียงตามมา อาทิเช่น วิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน การควบคุมสติสัมปชัญญะแย่ลง ยาคลายความวิตกกังกลดังกล่าว เช่นยา Diazepam, Lorazepam
ยาละลายเสมหะ คือยาที่ออกฤทธิ์ในการทำลายการเกาะกันของโปรตีนในมูก ทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นลดลง โดยอาจจะย่อยโปรตีนหรือเพียงแค่ทำลายคุณสมบัติทางเคมีก็ได้ ทำให้เสมหะใส ความเหนียวลดลง จึงขับเสมหะออกมาง่ายขึ้น
ยากลุ่มนี้ที่มีขายในท้องตลาด เช่น
- Acetyl cysteine ซึ่งพบว่ามีประโยชน์ในคนไข้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
- Carbocysteine เป็นยาในกลุ่มเดียวกันกับ Acetyl cysteine ออกฤทธิ์เหมือนกัน
- Bromhexine
- Ambroxol
ยาขับเสมหะ (Expectorants) คือยาที่ออกฤทธิ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้มูก ทำให้เสมหะมีความเหนียวข้นน้อยลง ไอหรือขับออกมาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากในคนที่ป่วยด้วยโรคในระบบทางเดินหายใจ นอกจากเสมหะจะมากขึ้นเหนียวข้นขึ้นแล้ว ยังมักจะแห้งกว่าปกติจากการหายใจที่เร็วขึ้น จึงทำให้เยื่อเมือกที่บุในทางเดินหายใจและมูกแห้งลงกว่าปกติ
ยากลุ่มนี้ที่มีขายในท้องตลาด เช่น
- Guaifenesins (Glycerol guaicolate) ซึ่งเป็นส่วนผสมโดยทั่วไปของยาบรรเทาอาการหวัดในท้องตลาด
- Terpin hydrate
- Ammonium chloride และ
- การรักษาด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง ก็ช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ และช่วยให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้นขึ้นได้
ยาทั้งสองกลุ่ม ไม่ได้แตกต่างกันในเรื่องผลการรักษา และไม่เกี่ยวกับการรักษาการติดเชื้อ ชอบตัวไหนใช้ตัวนั้น
ยาเจนเชียนไวโอเลต (Gentian violet) หรือ คริสตัลไวโอเลต (Crystal violet) หรือที่เรียกทั่วไปว่า “ยาม่วง” เป็นยาน้ำประเภทสารละลายสีม่วง เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่เป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา โดยเฉพาะโรคเชื้อราของผิวหนังและเชื้อราช่องปาก นอกจากนี้เจนเชียนไวโอเลตยังเป็นสารเริ่มต้นที่ใช้ในอุตสาหกรรมการย้อมสีและในห้องทดลองใช้เพื่อแบ่งประเภทของแบคทีเรียซึ่งมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า ‘การย้อมแกรม (Gram’s method)’
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเจนเชียนไวโอเลตคือ ตัวยาจะซึมเข้าผนังเซลล์ของเชื้อโรคและก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษกับสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ ส่งผลให้เชื้อโรคหยุดการแบ่งเซลล์และตายลงในที่สุด
- ในผู้ป่วยบางราย ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการบวมแดงตรงรอยที่ทาหรือระคายเคืองในบริเวณที่ทายา
- ในกรณีที่แพ้ยานี้ อาจพบอาการ
- หน้าบวม
- ปากบวม
- มีผื่นคันขึ้น
- หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
- ห้ามใช้ในบริเวณที่มีบาดแผล
- ห้ามใช้ยานี้กับเด็กแรกเกิดและเด็กทารกที่ยังไม่หย่านมของมารดาด้วยอาจก่อให้เกิดแผลในบริเวณที่ใช้ยา
- หลีกเลี่ยงการป้ายยานี้ในบริเวณหัวนมมารดาที่ยังเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง เพราะจะทำให้หัวนมแห้งและแตกได้
- การใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง ยังไม่พบรายงานว่าก่อโทษต่อทารก แต่เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อนใช้ยานี้ เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
- เมื่อใช้ยานี้ 2 - 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรต้องกลับไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อแพทย์พิจารณาประเมินปรับการรักษาใหม่
- การป้ายยานี้ในปาก ให้ใช้ปริมาณยาที่เหมาะสม ป้ายตรงบริเวณที่มีการติดเชื้อเท่านั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้มากเกินความจำเป็นด้วยผู้ป่วยบางรายอาจกลืนยาและมีอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและลำไส้ตามมา
- ระวังมิให้ยากระเด็นเข้าตา
- ระวังยาเปื้อนเสื้อผ้า
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในรูหูกับผู้ป่วยที่มีเยื่อแก้วหูทะลุ
- หยุดการใช้ยานี้ทันที หากพบอาการ บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่ทายา
ยามหาหิงค์ (Asafoetida tincture) เป็นสารที่มีลักษณะเหมือนยางไม้ที่สกัดได้จากเหง้าของพืชตระกูล Ferula มีกลิ่นแรงและมีรสขม จนทำให้มีผู้เรียกมหาหิงคุ์อีกชื่อหนึ่งว่า “Devil’s drug (ยาที่มีกลิ่นเหมือนอุจจาระ)”
ยามหาหิงคุ์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เพื่อแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาขับลม และช่วยลดอาการปวดเกร็ง/ปวดบีบของช่องท้อง โดยประโยชน์ทางคลินิกของยามหาหิงคุ์ที่พอจะสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้
- ไอระเหย ใช้ช่วยบำบัดอาการหายใจของผู้ป่วย หลอดลมอักเสบ ผู้ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ และผู้ป่วยโรคหืด
- ยารับประทาน ช่วยบำบัดอาการปวดท้อง โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) อาการระคายเคืองของลำไส้ใหญ่
- ไอระเหย ใช้บำบัดอาการไอกับผู้ป่วยโรคไอกรน (Pertussis) หรือผู้ที่มีภาวะหายใจลำบากและมีอาการไอร่วมด้วย หรือช่วยบรรเทาอาการเสียงแหบ
- ยาทาภายนอก ใช้ทาบริเวณแมลงกัดต่อย
- ยาทาภายนอก ใช้ทาท้องบรรเทาอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในเด็กอ่อน
- ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางประเภท
ยามหาหิงคุ์มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและแอลกอฮอล์ ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์โดยทำให้รู้สึกร้อน จึงช่วยขับลมในระบบทางเดินอาหาร ประกอบกับแอลกอฮอล์มีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว จึงช่วยลดอาการปวดเกร็ง/ปวดบีบในช่องท้อง
ยามีกลิ่นฉุน จึงทำให้ผู้ใช้ยาไม่ชอบ และอาจรู้สึกอุ่น/ร้อนบริเวณที่ทายา หรือ แสบ ร้อน ระคายเคือง ถ้าทาบริเวณผิวหนังที่มีผื่นหรือมีแผล
- ไม่แนะนำให้ใช้รับประทานใน เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า ยามหาหิงคุ์สามารถทำให้เกิดความผิดปกติในเลือดของเด็กเล็ก นอกจากนี้ยังสามารถผ่านเข้าในน้ำนมมารดา และถูกส่งผ่านไปถึงทารกได้
- ยามหาหิงคุ์ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเลือดออกง่าย เพราะตัวยาจะทำให้การจับตัวของเกล็ดเลือดเป็นลิ่มเลือดช้าลง ดังนั้นจึงถือเป็นข้อห้ามใช้กับผู้ที่มีภาวะเลือดออกตามร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนประกอบของมหาหิงคุ์ขณะที่เกิดการอักเสบของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร (เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ) เพราะยามหาหิงคุ์อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้มากยิ่งขึ้น
- นักวิทยาศาสตร์พบว่า ผู้ที่ได้รับประทานยามหาหิงคุ์อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ก็ต่ำ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยามหาหิงคุ์กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิต
ปัจจุบัน ยามหาหิงคุ์ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยาของไทยให้ใช้เป็นตัวยาสำคัญในตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ซึ่งในบ้านเรามักจะพบเห็นการใช้ยามหาหิงคุ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ยาทาภายนอกที่ใช้ทาท้องเพื่อการขับลมแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ กับเด็กเล็ก
ยามอร์ฟีน (Morphine) คือ สาร/ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ตามกฎหมายของไทย ทางแพทย์ได้นำมาใช้เป็นยาแก้ปวด (Opioid analgesic drug) ที่รักษาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง แต่สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการใช้มอร์ฟีนคือ อาการติดยาซึ่งมักจะเกิดหลังใช้ยาเพียงไม่นาน สำหรับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของยามอร์ฟีนจะมีความแตกต่างกันออกไปตามรูปลักษณะของยาที่ใช้ กล่าวคือ ยาชนิดรับประทานจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้จากระบบทางเดินอาหารประมาณ 20 - 40% ยาเหน็บทวารประมาณ 36 - 71% และยาฉีดร่างกายจะมีการดูดซึมได้ 100% ทั้งนี้ เฉลี่ยเวลาในการออกฤทธิ์ของยามอร์ฟีนอยู่ที่ 4 ชั่วโมงโดยประมาณ
- อาการชัก
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปากคอแห้ง
- ท้องผูก
- ปัสสาวะไม่ออก/ปัสสาวะขัด
- ปวดศีรษะ
- วิงเวียน
- ชีพจรเต้นผิดปกติ
- ตัวเย็น
- อาจมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้นตามผิวหนัง
- หัวใจเต้นเร็ว หรือ หัวใจเต้นช้า ผิดปกติ
- ตาพร่า
- มีอาการเหงื่อออกมาก
- อาจรู้สึกหงุดหงิดหรือเคลิบเคลิ้ม
- สามารถติดยาได้
- ห้ามใช้ยานี้ขณะที่ผู้ป่วยมีการหายใจผิดปกติเช่น ขณะเป็นหอบหืดเฉียบพลันหรือหอบขนาดรุนแรง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยขณะที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยพิษสุราแบบเฉียบพลัน รวมถึงผู้ป่วยด้วยโรคตับ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่สลบ ไร้การตอบสนอง หรือขณะไม่รู้สึกตัว
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema)
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้สูงอายุ เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ/ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต ผู้ที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (เช่น ลำไส้อักเสบ) ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยโรคถุงน้ำดี (เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี)
- การใช้ยามอร์ฟีน ร่วมกับยาในกลุ่ม TCAs อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดกลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome) ดังนั้นการใช้ยาร่วมกันจะต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
- การใช้ยามอร์ฟีน ร่วมกับยา Metoclopramide สามารถเพิ่มอาการข้างเคียงด้านการสงบประสาท หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
- มอร์ฟีนมีฤทธิ์ต่อต้านการรักษาของกลุ่มยาขับปัสสาวะ หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยาปฏิชีวนะบางตัว เช่นยา Rifampicin ร่วมกับยามอร์ฟีนสามารถส่งผลให้ระดับความเข้มข้นของมอร์ฟีนในกระแสเลือดลดต่ำลง ทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาอาการปวดถดถอยตามไปด้วย การจะใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
- ยาทาภายนอก (Topical therapies): ได้แก่ยา เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide ย่อว่า BP) ยาทาในกลุ่มอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอหรือเรตินอยด์ (Topical retinoids) กรดอะเซเลอิค (Azelaic acid) ยากลุ่มซัลโฟน (Sulfone agents) เช่นยา Dapsone กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) เป็นต้น
- ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน (Systemic antibiotics): ได้แก่ ยากลุ่มเตตราไซคลิน (Tetracyclines) ยากลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides) ยากลุ่มเพนนิซิลลิน (Penicillins) ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins) เป็นต้น
- ยาฮอร์โมนชนิดรับประทาน (Hormonal agents): ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined oral contraceptives) ที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน
- ยาที่เป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ (Retinoic acid) ชนิดรับประทาน
- ห้ามใช้ยารักษาสิวต่อไปนี้ ได้แก่ Sulfanilamide, Dapsone, Sulfamethoxazole ในผู้ที่แพ้ยากลุ่มซัลฟา เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ยาชนิดรุนแรง
- ห้ามรับประทานยาปฏิชีวนะกลุ่ม Tetracyclines ร่วมกับนมหรือกับยาลดกรด เพราะจะส่งผลให้ร่างกายดูดซึมยานี้ได้น้อยลง ทำให้ระดับยานี้ในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา
- ห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคตับ โรคมะเร็ง ผู้ที่มีเลือดออกจากช่องคลอด/ประจำเดือนผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ และผู้ที่ตั้งครรภ์
- ห้ามใช้ยา Isotretinoin ชนิดรับประทานในผู้ป่วย โรคตับ โรคไต ภาวะวิตามินเอสูงเกินในเลือด (Hypervitaminosis) และผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง/โรคไขมันในเลือดสูง และผู้ป่วยที่ได้รับยา Isotretinoin ชนิดรับประทานจะต้องไม่บริจาคโลหิตในขณะที่ใช้ยานี้และหลังจากหยุดยานี้ 1 เดือน เพราะถ้าผู้รับบริจาคเป็นหญิงมีครรภ์/ตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ได้
ยารักษาสิวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของยาที่ใช้ เช่น
- ทำให้ผิวแห้ง แดง ลอก แสบ ไหม้ คัน ระคายเคือง ผิวหนังไวต่อแสงแดด (Photosensitivity) ปากแห้ง
- ไม่สบายท้อง คลื่นไส้อาเจียน
- มีไข้ ไอ ปวดศีรษะ
- โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ไซนัสอักเสบ คอหอยอักเสบ ไข้หวัดใหญ่
- เสียงดังในหู (Tinnitus)
- ผิวหนัง เยื่อเมือก ฟันเปลี่ยนสี
- ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- เลือดกำเดาไหล
- ตาแห้ง การมองเห็นตอนกลางคืนลดลง
- ผมร่วง
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ
- ซึมเศร้า
- ความดันในกะโหลกศีรษะสูงเพิ่มขึ้น
- ตับอักเสบ
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ยาลดไข้/ยาแก้ไข้ (Antipyretics) และยาแก้ปวด (Analgesic/Pain Killer) ปกติแล้วเรามักจะพูดรวมๆ กันทั้ง 2 ประเภท เนื่องจากยาในกลุ่มนี้มักมีฤทธิ์เป็นได้ทั้งยาลดไข้และยาแก้ปวดในตัวเอง
โดยยาลดไข้มักเป็นเพียงยาบรรเทาไข้ ช่วยให้ไข้ลง ไม่ใช่ยารักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ กล่าวคือ เมื่อกินยา 1 ครั้ง ยาจะออกฤทธิ์ลดไข้อยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมง หากสาเหตุที่ทำให้เกิดไข้ยังไม่หาย เมื่อยาหมดฤทธิ์แล้ว ไข้ก็จะปรากฏใหม่ ก็ค่อยให้ยาใหม่
- มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ แต่หากกินมากเกินขนาด จะทำให้มีไข้สูง ซึม ชัก และถึงตายได้ ปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยมใช้ในการลดไข้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากแอสไพรินมีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นก้อนได้น้อยลง ปัจจุบันจึงได้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองและหัวใจ
- เป็นยาที่ใช้กันมากสำหรับอาการปวดลดไข้ทั่วไป เนื่องจากราคาถูก (แก้ปวดระดับรุนแรงน้อยไปจนถึงระดับรุนแรงปานกลาง) มีข้อดีคือ ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร (สามารถกินพร้อมอาหารหรือขณะท้องว่างได้) และมักไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการแพ้ จึงเหมาะที่จะใช้แก้ปวดลดไข้ในผู้ที่มีโรคแผลในทางเดินอาหาร ผู้ที่แพ้ยากลุ่ม NSAIDs หรือในผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก หรือเด็กเล็กที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส แต่หากกินขนาดสูง จะทำให้ตับถูกทำลายและเสียชีวิตจากตับล้มเหลวได้ ทั้งนี้ ในผู้ใหญ่ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 10 วัน และในเด็กไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 5 วัน ซึ่งควรให้ยาลดไข้ในเด็กเมื่อไข้สูงเท่านั้น โดยให้ในขนาดที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัว ห้ามให้ถี่กว่า 4 ชั่วโมง กรณีที่ให้ยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ควรให้เด็กดื่มน้ำมากๆ ร่วมกับการเช็ดตัวด้วยน้ำประปาจนกว่าไข้จะลด
ผลไม่พึงประสงค์ของยาแอสไพริน คือ สามารถทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดภาวะกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร เป็นต้น
- การกินยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานติดต่อกันเกิน 5 - 7 วัน หรือกินเกินขนาด (ขนาดปกติในผู้ใหญ่ที่ ไม่มีโรคประจำตัวคือ กินครั้งละ 1 - 2 เม็ด ทุก 6 - 8 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดพิษต่อตับ/ตับอักเสบ
- การกินยาพาราเซตามอลร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลว/ตับวายได้
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่ใช้ดูดซับพิษในกระเพาะ ลำไส้ อาจทำให้การดูดซึมของยาแอสไพรินเข้าสู่ร่างกายลดน้อยลง ยาดังกล่าว เช่น Activated Charcoal
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะทำให้การดูดซึมยาแอสไพรินลดลง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกันกับยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น กลุ่มยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาต้านการอักเสบบางกลุ่มก็สามารถลดการดูดซึมของยาแอสไพรินได้เช่นเดียวกัน ยาดังกล่าว เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
- การใช้ยาพาราเซตามอลร่วมกับยากดสมองส่วนกลาง/ยากดประสาทส่วนกลาง เช่น ยากันชัก หรือกินพร้อมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์จะเสริมฤทธิ์ความเป็นพิษต่อตับ และมีความเสี่ยงทำให้การทำงานของตับลดลง
- การใช้ยาพาราเซตามอลร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยา วาร์ฟาริน (Warfarin) จะทำให้การจับตัวของเกล็ดเลือดลดลง จึงอาจลดประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือดลงได้
ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรืออีกชื่อคือ คูมาดิน (Coumadin) จัดเป็นยาต้านทานการแข็งตัวของเลือด ทางการแพทย์ใช้รักษาและป้องกันภาวะอุดตันของหลอดเลือด อันมีสาเหตุจากการทำงานของเกล็ดเลือดที่ผิดปกติ (ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ)
- ใช้ป้องกันและรักษาการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด
- ป้องกันการอุดตันของเลือดในถุงลมปอดจากการเกิดลิ่มเลือด
- ป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation
อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกตามผิวหนัง ภาวะอัมพาต ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ วิงเวียน การหายใจผิดปกติ การกลืนอาหารลำบากขึ้น บวมตามร่างกาย อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ และ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่ายหรือผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดเส้นประสาท ผ่าตัดตา ผ่าตัดสมอง ผ่าตัดไขสันหลัง
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในระบบทางเดินหายใจ เลือดออกในระบบอวัยวะสืบพันธุ์
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่เจาะหลัง และผู้ป่วยเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
- การใช้ยาวาร์ฟารินร่วมกับยาแก้ปวดบางกลุ่ม อาจทำให้มีเลือดออกหรือเกิดรอยฟกช้ำตามผิวหนัง อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย กลุ่มยาแก้ปวดดังกล่าว เช่น Aspirin, Ibuprofen และ Naproxen เป็นต้น
- การใช้ยาวาร์ฟารินร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาจพบเลือดออกตามร่างกายได้ง่ายขึ้น หรือถ้ามีเลือดออกจากระบบทางเดินอาหาร อาจตรวจพบว่าอุจจาระจะมีสีดำเหมือนยางมะตอย
- การกินอาหารที่มีปริมาณวิตามินเคสูงในระหว่างการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน สามารถส่งผลลดการทำงานของยาวาร์ฟาริน จึงควรระมัดระวังการกินร่วมกันกับอาหารกลุ่มดังกล่าว เช่น ตับ ชาเขียว กะหล่ำ ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด บรอกโคลี กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหอม หัวผักกาด ผักชีฝรั่ง ถั่วเหลืองหรือน้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น
วิตามินบี (Vitamin B) คือ สารอาหารสำคัญต่อการดำรงชีวิตเพื่อใช้ในกระบวนการใช้พลังงาน/สันดาป/เมตาโบลิซึมของเซลล์ทุกชนิดโดยเฉพาะของอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง กล่าวคือ ใช้เป็นโคเอนไซม์หรือเป็นสารตั้งต้น (Precursor) ในการสันดาป แต่เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณไม่มากเหมือน โปรตีน แป้ง และไขมัน มนุษย์
|
|
|
|
|
|
|
ไทอามีน (Thiamine) |
ข้าวกล้อง ถั่ว งา จมูกข้าวสาลี นมถั่วเหลือง เนื้อหมู เมล็ดทานตะวัน |
เหน็บชา |
ไม่ควรเกิน/วัน ไม่ระบุ |
ง่วงนอน กล้ามเนื้อคลายตัว |
|
ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) |
ไข่ นม เครื่องในสัตว์ ตับ ผักใบเขียว โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต |
ปากนกกระจอก |
ไม่ควรเกิน/วัน ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
|
ไนอาซิน (Niacin), ไนอาซินามายด์ (Niacinamide) |
ตับ เนื้อสัตว์ ข้าวโอ๊ต ถั่ว จมูกข้าว ยีสต์ ผักใบเขียว |
เพลลากร้า(Pellagra) คือ กลุ่มอาการดังต่อไปนี้ มีอาการอักเสบของลิ้น/ ลิ้นอักเสบ คันตามผิวหนัง อาหารไม่ย่อย ปวดประสาท ปลายประสาทอักเสบ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง หงุดหงิด นอนไม่หลับ คลุ้มคลั่ง ความจำเสื่อม และท้องเสีย |
ไม่ควรเกิน/วัน 35 มิลลิกรัม |
ถ้าได้รับ B3 มากกว่า 2 กรัม/วัน ตับอาจได้รับความเสียหาย |
|
แพนโททินิก แอซิด (Pantothenic Acid) |
ไก่ เนื้อวัว ตับ มันฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน |
ปวดท้อง ท้องอืด ตะคริว อ่อนเพลีย ซึมเศร้า นอนไม่หลับ แก่ก่อนวัย อาการเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า อาเจียน |
ไม่ควรเกิน/วัน ไม่ระบุ |
อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน แสบร้อนกลางอก |
|
ไพริดอกซีน (Pyridoxine), ไพริดอกซามีน (Pyridoxamine), ไพริดอกซอล (Pyridoxal) |
เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม นม ไข่แดง ข้าวกล้อง รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่วต่างๆ เมล็ดงา |
โลหิตจาง (โรคซีด), ปลายประสาทอักเสบ |
ไม่ควรเกิน/วัน 100 มิลลิกรัม |
การได้รับมากกว่า 100 มก./วัน อาจทำให้เส้นประสาทถูกทำ ลาย และสูญเสียการรับรู้ของประสาทสัมผัส |
|
ไบโอติน (Biotin) |
ดอกกะหล่ำ ถั่ว กล้วย ปลาแซลมอน เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ งา |
ผิวหนังอักเสบ ไม่สดชื่น |
ไม่ควรเกิน/วัน ไม่ระบุ |
ไม่ระบุ |
|
โฟลิก แอซิด (Folic Acid), โฟลินิก แอซิด (Folinic Acid), หรือ โฟเลท(Folate) |
ถั่ว ผักโขม บรอกโคลี คะน้าผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ส้ม สตอเบอรี ธัญพืช ถั่วลิสง ตับ ผักกาดหอม |
โลหิตจาง/ โรคซีด |
ไม่ควรเกิน/วัน 1,000 ไมโครกรัม |
อาจพบสิวขึ้นคล้ายลักษณะผื่นคัน แต่เป็นไม่ทุกกรณีไป |
|
ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin), ไฮดรอกซีโคบาลามิน (Hydro xycobalamin), เมทิลโคบาลามิน (Methylcobalamin) |
เนื้อสัตว์ เครื่องใน นม โยเกิร์ต ตับ ไข่ |
โลหิตจาง/ โรคซีด มีขนาดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ |
ไม่ควรเกิน/วัน ไม่ระบุ |
อาจพบสิวขึ้นคล้ายลักษณะผื่นคัน แต่เป็นไม่ทุกกรณีไป |
ยาวัณโรค เป็นยาที่ใช้รักษาวัณโรค (Tuberculosis ย่อว่า TB) ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) โดยยานี้มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อการรักษาวัณโรคให้หายขาด การรักษาซ้ำหลังจากการรักษาครั้งแรกล้มเหลว การรักษาซ้ำหลังจากผู้ป่วยขาดยาครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรค ลดอัตราการตายของผู้ป่วยจากวัณโรค ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของวัณโรค และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่น
1.ยาหลักที่ใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษาวัณโรค (First-line anti-tuberculosis drugs): เป็นยารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ผู้ป่วยทนผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้ดีที่สุด แบ่งออกเป็น
1.1 ชนิดรับประทาน (First-line oral anti-tuberculosis drugs): เช่นยา Isoniazid (INH), Rifampin (R), Ethambutol (E), Pyrazinamide (Z)
1.2 ชนิดฉีด (First-line injectable anti-tuberculosis drugs): เป็นยาปฏิชีวนะ Aminoglycosides ได้แก่ ยาStreptomycin (S)
2. ยาทางเลือกที่สองหรือยาสำรองที่ใช้ในการรักษาวัณโรค (Second-line anti-tuberculosis drugs): เป็นยาที่เลือกใช้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาหลักได้ เช่น เมื่อผู้ป่วยดื้อยาหลัก หรือเกิดผลข้างเคียงจากยาหลักมาก ได้แก่
2.1 ชนิดรับประทาน (Second-line oral anti-tuberculosis drugs): เช่นยา Para-aminosalicylic acid หรือ 4-Aminosalicylic acid (PAS), Cycloserine, Terizidon, Ethionamide, Prothionamide
2.2 ชนิดฉีด (Second-line injectable anti-tuberculosis drugs): เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) ได้แก่ยา Amikacin, Kanamycin
2.3 ยาทางเลือกที่สองฯ ที่เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones): ได้แก่ยา Ofloxacin, Levofloxacin, Ciprofloxacin, Gatifloxacin, Moxifloxacin
3. ยาใหม่ที่ใช้ในการรักษาวัณโรค (New drugs in tuberculosis): ได้แก่ ยา Bedaquiline, Delamanid ซึ่งทั้ง 2 ชนิดเป็นยาชนิดรับประทาน
ยาบางตัวเป็นยาที่ต้องใช้อย่างเคร่งครัด รับประทานทุกวันอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นหรือไม่มีอาการแล้ว ห้าม เพิ่ม ลด หรือหยุด ยาเองโดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์ ยาบางตัวห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไต ในขณะที่ยาบางตัวหากใช้ร่วมกับยาอื่นจะทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยาหรือประสิทธิภาพในการรักษาลดลง/ไม่ได้ผล ดังนั้นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
ยาบางตัวอาจทำให้ตับอักเสบ มีอาการชาตามปลายเส้นประสาท เช่น ปลายมือ ปลายเท้า เกิดผื่นผิวหนังอักเสบ ภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงซึม สารคัดหลั่งต่างๆ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย เสมหะ เหงื่อ น้ำตา เปลี่ยนเป็นสีส้มแดง การมองเห็นสีผิดปกติ (เช่น มองเห็นสีแดงและสีเขียวเปลี่ยนไป) ปวดตา ปวดข้อ อาจเป็นพิษต่อหู (เช่น ทำให้สูญเสียการได้ยิน/หูหนวก) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ยาแต่ละตัว
- ยาวิตามินบีรวม/ยาบีโคชนิดรับประทาน: มีวิตามินบีอย่างน้อย 8 ชนิดที่ให้ปริมาณยาต่อวัน ดังนี้
- Thiamine B109
- Riboflavin B209
- Niacin B312
- Pantothenic acid B54
- Pyridoxine B61
- Biotin B720
- Folic acid B9300
- Cobalamin B1218
- ยาวิตามินบีรวม/ยาบีโคชนิดฉีด: ประกอบด้วยวิตามินบีอย่างน้อย 4 ชนิดที่ให้ปริมาณยาต่อวัน ดังนี้
- Thiamine B109
- Riboflavin B209
- Niacin B312
- Pyridoxine B61
- วิตามินบี 1 และบี 2: ช่วยทำให้ร่างกายเปลี่ยนสารอาหารไปเป็นพลังงาน
- วิตามินบี 1: ยังทำให้การทำงานของระบบประสาทมีประสิทธิภาพ
- วิตามินบี 2: ช่วยในการมองเห็น
- วิตามินบี 3: ช่วยควบคุมระดับไขมันในร่างกายให้เป็นปกติโดยเพิ่มระดับ HDL cholesterol และช่วยควบคุมไม่ให้ LDL cholesterol และ Triglycerides สูงเกินปกติ
- วิตามินบี 5: ช่วยควบคุมภาวะอารมณ์ความเครียดและความวิตกกังวล เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
- วิตามินบี 6: ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนสารอาหารไปเป็นพลังงาน ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี การใช้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรจะช่วยส่งผ่านไปถึงทารกและทำให้การพัฒนาสมองของทารกเป็นไปอย่างปกติ
- วิตามินบี 7: บำรุงเส้นผมป้องกันไม่ให้ผมร่วง บำรุงเล็บ ช่วยป้องกันอาการซึมเศร้าได้บ้าง
- วิตามินบี 9: ช่วยบำรุงเม็ดเลือดแดงให้สมบูรณ์แข็งแรง การใช้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วยป้องกันไม่ให้ทารกแรกคลอดขาดวิตามินชนิดนี้
- วิตามินบี 12: ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาทให้เป็นปกติ และช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงให้เจริญอย่างเป็นปกติและแข็งแรง
ปวดท้อง พบอาการท้องเสียได้บ้าง อุจจาระมีสีคล้ำ มีผื่นคัน หลอดลมเกร็งตัว/หายใจลำบาก ปัสสาวะมีสีเหลือง เกิดภาวะหลอดเลือดส่วนปลาย (ส่วนแขน ขา) อุดตันซึ่งมีอาการ เช่น มือเท้าเย็น อาจเขียวคล้ำ ปวด
วิตามินบีรวมจัดอยู่ในประเภทยาอันตราย เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาผู้บริโภค/ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด โดย
- ผู้ป่วยควรต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะวิตามินหลายรายการรวมทั้งวิตามินบีรวมสามารถเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นได้
- หากเป็นสตรีที่ตั้งครรภ์หรือสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร การได้รับวิตามินบีจะต้องปรับขนาดการใช้อย่างเหมาะสมจากแพทย์ เพราะกลุ่มยาวิตามินบีสามารถส่งผ่านไปยังทารกได้
- ผู้ป่วยด้วยมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งอัณฑะถือเป็นข้อห้ามใช้วิตามินบีรวมในขนาดสูง
- มีการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ กรณีเช่นนี้แพทย์อาจต้องเปลี่ยนยาวิตามินบีรวมจากชนิดรับประทานมาเป็นชนิดฉีดแทน
ในทางการแพทย์แผนไทย ยาหอม (Balsum) ตั้งขึ้นเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับลม ใช้บำรุงหัวใจ หมายถึงยาปรับการทำงานของลมที่เคลื่อนไหวทั่วร่างกายมนุษย์ ซึ่งส่งผลต่อจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก การหมุนเวียนของเลือด หรือที่เรียกรวมกันว่า ลมกองละเอียด นอกจากนี้ยังใช้สำหรับแก้ไขปัญหาที่เกิดจากลมกองหยาบ ซึ่งหมายถึง ลมที่อยู่ภายในทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการจุกเสียดอีกด้วย การตั้งตำรับยาหอมจึงต้องประกอบด้วยสมุนไพรจำนวนมาก ที่จำแนกได้เป็นกลุ่มดังนี้
- ยาพื้นฐาน เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ส่วนใหญ่มีรสสุขุม ยากลุ่มนี้เป็นยาพื้นฐานด้วยความประสงค์ที่จะทำให้ร่างกายเราอยู่ในสมดุล คือไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป สมุนไพรในกลุ่มนี้ได้แก่ โกฐทั้ง 5 เทียน (ชื่อสมุนไพรจำพวกหนึ่ง) ทั้ง 5 กฤษณา ขอนดอก กระลำพัก อบเชย
- สมุนไพรเพิ่มการทำงานของธาตุลม เป็นตัวยารสร้อนหรือรสเผ็ดร้อน เช่น สมุลแว้ง สนเทศ ว่านน้ำ กระชาย เปราะหอม สุรามฤต ข่าต้น ลูกจันทน์ ผิวส้ม (ตัวยากลุ่มนี้เป็นตัวยาหลัก เพราะยาหอมเป็นยาที่ใช้ปรับการทำงานของธาตุลมให้เข้าสู่สมดุล)
- ยาปรับธาตุ ซึ่งมักนำมาจาก พิกัดเบญจกูล (สะค้าน ช้าพลู ขิง ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง) หรือ พิกัดตรีผลา (สมอพิเภก สมอไทย มะขามป้อม)
- ส่วนประกอบที่ใส่เฉพาะตำรับ เพื่อใช้เฉพาะอาการ ได้แก่ พิกัดเกสร หรือ ดอกไม้ชนิดต่างๆ เช่น มหาหงส์ กาหลง เป็นต้น ทำให้ยาหอมประเภทนี้จะเป็นยาหอมสุขุม เย็น ลดความร้อน ทำให้จิตใจที่ร้อนรุ่ม เย็นลง สงบมากขึ้น
ทั้งนี้ ยาหอมมีองค์ประกอบหลัก ข้อ 1 และ 2 คล้ายกัน แต่องค์ประกอบในข้อ 3 และ 4 แตกต่าง ทำให้ยาหอมทุกชนิดมีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียน แต่บางชนิดอาจต้องใช้ร่วมกับน้ำกระสายยา เนื่องจากมีตัวยาแก้ลมวิงเวียนน้อยไป
- ยาหอมเทพจิตร: ใช้แก้ลม บำรุงหัวใจ หมายถึง บำรุงให้จิตใจรู้สึกแช่มชื่น เหมาะกับคนที่มีอารมณ์เศร้าหมอง ที่มักเกิดขึ้นในบางเวลา หรือคนสูงอายุที่รู้สึกเหงา เศร้า โดยผสมน้ำดอกไม้เทศเป็นกระสาย
- ยาหอมทิพโอสถ: แก้ลมวิงเวียน แก้ลมบาดทะจิต (อาการหงุดหงิดกระวนวาย จิตใจไม่สงบ) สามารถใช้ในสตรีที่มักมีความรู้สึกหงุดหงิดโกรธง่ายในช่วงก่อนมีประจำเดือน โดยใช้น้ำดอกมะลิเป็นน้ำกระสายยา
- ยาหอมอินทจักร: กรณีแก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชี หรือเทียนดำ (เมล็ดของสมุนไพรชนิดหนึ่ง) ต้ม หรือน้ำสุกเป็นกระสาย, กรณีแก้ลมจุกเสียด ใช้น้ำขิงต้มเป็นกระสาย, กรณีแก้ลมบาดทะจิต ใช้น้ำดอกมะลิ
- ยาหอมนวโกฐ: ในรายงานการวิจัยพบว่า ยาหอมนวโกฐเพิ่มความแรงการบีบตัวของหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิตเล็กน้อย ทำให้หลอดเลือดเล็กที่ไปเลี้ยงสมองขยายตัว และปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หลับสบาย ลดการหลั่งของกรด และยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็ก แก้ปวดท้องได้ดี, กรณีแก้ลมคลื่นเหียน อาเจียน (ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ ใช้น้ำลูกผักชี เทียนดำต้มเป็นกระสาย, กรณีแก้ลมปลายไข้ (หมายถึง อาการท้องอืด เฟ้อ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เกิดหลังจากหายไข้ในระยะพักฟื้น) ใช้ก้านสะเดา ลูกกระดอม และบอระเพ็ด ต้มเอาน้ำเป็นกระสาย ถ้าหาน้ำกระสายไม่ได้ใช้น้ำสุกแทน
อนึ่งการใช้ยาหอมให้ได้ผล แม้จะเป็นชนิดเม็ด ควรนำมาละลายน้ำกระสายยา หรือน้ำอุ่น รับประทานขณะกำลังอุ่น เพื่อช่วยการออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยที่มีในยาหอม ช่วยทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น และออกฤทธิ์ทั้งผ่านประสาทรับกลิ่นและผ่านการดูดซึมผ่านกระเพาะอาหาร
- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มยากันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)
- ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้
- ควรระวังการใช้ยานี้ ในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้
-
ห้ามใช้ยาหอมอินทจักรในหญิงตั้งครรภ์
ยาลูกอม ยาอม (Throat lozenge, Cachou cough drop, Cough sweet, Cough tablet, หรือ Troche) เป็นลูกกวาดบำบัด (Medicated sweet) สำหรับอมไว้ในปากให้ลูกอมละลายช้าๆ ในช่องปาก เพื่อหล่อลื่นเยื่อเมือกอันระคายเคืองในช่องปากและลำคอ ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง อาการไอ และอาการเจ็บคอ ซึ่งมักเป็นเพราะคอหอยอักเสบ (Pharyngitis) เนื่องจากโรคหวัดหรือมีไข้
ยาอมอาจเจือสารเบ็นโซเคน (Benzocaine) ซึ่งเป็นยาระงับความรู้สึก (Anesthetic) ประเภทหนึ่ง หรืออาจเป็นน้ำมันยูคาลิปตัสก็ได้ ในหลายๆ ขนานปรากฏว่ามี การบูร น้ำมันสะระแหน่ หรือสะระแหน่หอม เป็นตัวนำกลิ่น บ้างก็ใส่น้ำผึ้งด้วย
ส่วนยาอมที่ไม่ผสมการบูร มักใช้สารซิงก์กลูโคเนตไกรซีน (Zinc gluconate glycine) หรือไม่ก็เพกติน (Pectin) ปรุงเป็นยาบรรเทาอาการระคาย (Demulcent) อย่างไรก็ดี ยาอมหลายๆ ยี่ห้อในท้องตลาดมักประกอบด้วย ยาเด็กซ์ทรอเมโทเฟน (Dextrometrophan: ยาระงับอาการไอ)
ยาอมนั้นควรบริโภคแต่พอประมาณ เพราะส่วนประกอบบางชนิดหากรับประทานมากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
อนึ่ง ยาอมบางประเภทที่มีสรรพคุณต่อต้านแบคทีเรีย ก็ช่วยให้ลมหายใจสดชื่น และขจัดแบคทีเรียที่ทำให้กลิ่นปากเน่าเหม็นด้วย
- ยาอมให้ความชุ่มชื้น หรือ แก้ไอ ปกติจะอมครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หรือเวลาไอ ในกรณีที่ยาอมนั้นมีส่วนผสมของยาแก้ไอเด็ทซ์ทรอเมโทรฟาน แต่ถ้าเป็นยาอมสมุนไพรมักไม่มีข้อจำกัดว่าห้ามอมไม่เกินวันละเท่าไร
- ถ้าเป็นยาอมที่มีส่วนผสมของรสมิ้นต์หรือรสเมนทอล ก็สามารถอมได้โดยไม่มีข้อจำกัดในปริมาณที่ใช้อม
- ยาอมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ปกติจะอมตามที่ระบุไว้ในฉลากยา วันละ 3-4 ครั้ง มักไม่เกินวันละ 8 เม็ด เช่น ยาอมมายบาซิน
- ยาอมเฉพาะโรคต่างๆ จะอมตามที่ระบุไว้ในฉลากยา โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุในฉลาก ควรอมให้ตรงเวลาตามที่กำหนด เช่น เมื่อมีการติดเชื้อราในช่องปาก
- ในคนเป็นเบาหวาน ปกติน้ำตาลที่มีอยู่ในลูกอมจะมีปริมาณไม่มากจนเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวานถ้าอมตามที่ระบุไว้ ซึ่งปกติคนเป็นเบาหวานควรพกลูกอมติดตัว เพื่อใช้ในกรณีเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ในเด็กยาอมที่มีส่วนผสมของสะระแหน่ อาจทำให้รู้สึกระคายเคืองเยื่อบุทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจได้
- ส่วนหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ไม่มีข้อห้ามในการใช้ยาอมมีส่วนผสมของสะระแหน่
- ข้อควรระวังข้างต้นใช้กับยาอมทั่วไป ถ้าเป็นยาอมที่มีส่วนผสมของยาเฉพาะกลุ่ม อาจต้องพิจารณาเป็นรายๆ เช่น ยาอมแก้เชื้อรา (Clotrimazole) ที่ใช้สำหรับรักษาโรคเชื้อราในช่องปาก (Thrush infection) ซึ่งมีวิธีใช้ยาดังนี้
- ยานี้ใช้อมให้ละลายในปาก หรือให้ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยา โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
- ควรอมยานี้ให้ตรงเวลาทุกครั้ง
- ห้ามหยุดใช้ยาด้วยตัวเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน
- อมยาทั้งเม็ด ห้ามเคี้ยว หรือกลืนยานี้
- หากอาการติดเชื้อราในช่องปากไม่ดีขึ้นภายใน 3-7 วันหลังจากใช้ยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า หรือ ยาโรคน้ำกัดเท้า (Athlete’s foot medications) หรือ ยารักษาโรคฮ่องกงฟุต (Hong kong foot medications) เป็นยาที่ใช้ป้องกันและรักษาโรคฮ่องกงฟุต โรคน้ำกัดเท้า หรือโรคกลากที่เท้า (Tinea pedis) โรคนี้จะใช้ยาต่างชนิดกันไป ขึ้นอยู่กับระยะอาการของโรค ยารักษาโรคน้ำกัดเท้าแบ่งประเภทตามกลุ่มยาที่ใช้ตามระยะของการเกิดโรคได้ดังนี้
ก. ระยะแรก: ระยะที่ผิวหนังที่เท้าเริ่มเกิดอาการอักเสบและระคายเคือง: ยาที่ใช้ เช่น
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก (Topical Corticosteriods) ใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้าในระยะแรก บรรเทาอาการอักเสบ ระคายเคือง ผื่นแดง แสบ คัน บริเวณรอยโรคที่ผิวหนัง เช่นยา Hydrocortisone, Triamcinolone, Betamethasone, Mometasone, Clobetasol, Prednicarbate, Desoximetasone
ข. ระยะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่รอยโรคที่เท้า: มีแผลเปื่อย แผลอักเสบ บวม แดง ปวด เป็นหนอง ยาที่ใช้ เช่น
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) ชนิดทาภายนอก (Topical Antibiotics): เช่นยา Mupirocin, Sodium Fusidate (Fucidic acid), Gentamicin, Chloramphenicol, Povidone-Iodine
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดรับประทาน (Oral Antibiotics): เช่นยา Cloxacillin, Dicloxacillin, Azithromycin, Cephalexin, Cefadroxil
ค. ระยะที่มีการติดเชื้อราแทรกซ้อน: มีการติดเชื้อราบริเวณผิวหนัง หรือเรียกว่าโรคกลากที่เท้า (Tinea Pedis) ทำให้เกิดผื่นแดงและรอยแตก ผิวหนังลอกเป็นสะเก็ดสีขาว คัน มีกลิ่นเท้า หรือปวดแสบบริเวณที่เป็นรอยโรค ยาที่ใช้ เช่น
- ยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก (Topical antifungals): เช่นยา Ketoconazole, Clotrimazole, Miconazole, Econazole, Terbinafine, Butenafine, Tolnaftate, Ciclopirox olamine
- ยาต้านเชื้อราชนิดรับประทาน (Oral antifungals): เช่นยา Fluconazole, Griseofulvin, Ketoconazole, Itraconazole, Nystatin, Terbinafine
ง. นอกจากนี้ยังสามารถใช้ยากลุ่มอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคน้ำกัดเท้า เช่น
- ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน (Oral antihistamines): ใช้บรรเทาอาการคันจากโรคน้ำกัดเท้า และบรรเทาอาการผื่นบริเวณผิวหนังจากโรคน้ำกัดเท้าในระยะแรก เช่นยา Hydroxyzine, Cetirizine, Diphenhydramine, Cyproheptadine
- ยาขี้ผึ้งวิทฟิลท์ (Whitfield’s ointment) ใช้ทาบริเวณง่ามเท้าก่อนโดนน้ำสกปรกเพื่อป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า เนื่องจากตัวยาพื้นเป็นขี้ผึ้งจึงมีความเป็นมันสูง สามารถเคลือบเกาะติดกับผิวหนังได้นาน จึงลดความเปียกชื้นเมื่อโดนน้ำ และใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้าได้ในทุกระยะของโรค
- ปิโตรเลียมเจลลี่หรือวาสลีน ใช้ทาบริเวณง่ามเท้าก่อนโดนน้ำสกปรกเพื่อป้องกันการเกิดโรคน้ำกัดเท้า
- ห้ามใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอก ทาผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา เพราะมีความเสี่ยงที่อาจทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง
- ห้ามใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 4 สัปดาห์ เพราะการใช้ยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจกดการทำงานของต่อมหมวกไต
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาต้านเชื้อราชนิดรับประทาน เป็นยาที่ต้องรับประทานให้ครบตามที่แพทย์สั่ง ห้ามหยุดยานี้เองแม้อาการของโรคจะดีขึ้นแล้ว เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคและป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา
- หากใช้ยาต้านเชื้อราชนิดทา: ควรทาบริเวณผิวหนังที่อยู่รอบๆ การติดเชื้อนั้นด้วย และทาต่อไปอีก 2 สัปดาห์หลังจากอาการของโรคหายเป็นปกติแล้ว เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
- ไม่ควรทายาขี้ผึ้งวิทฟิลท์ บริเวณที่มี แผลสด แผลมีหนอง เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย
- บำบัดรักษาผู้ที่ขาดเกลือแร่/แร่ธาตุแคลเซียม (ภาวะขาดแคลเซียม)
- รักษาภาวะเกลือแร่โพแทสเซียมในเลือดสูง และ เกลือแร่แมกนีเซียมในเลือดสูงเกินปกติ
- รักษาโรคกระดูกพรุน
- ใช้เป็นยาทาภายนอก/ยาใช้ภายนอก รักษาอาการระคายเคืองจากกรดไฮโดรฟลูออริก (Hydrofluoric acid)
- รักษาภาวะร่างกายได้รับยากลุ่ม Calcium channel blocker เกินขนาด
การใช้ยาหรือได้รับยาแคลเซียมกลูโคเนตเกินขนาดสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้กล่าวคือ อาจพบอาการนิ่วในไต ปวดกระดูก ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะมาก อ่อนแรง เบื่ออาหาร ตับอ่อนอักเสบ อาการที่รุนแรงมากกว่านี้น่าจะเป็นภาวะหัวใจเต้นช้า และหัวใจเต้นผิดจังหวะ และเมื่อมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะพบค่า ECG เปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อาจเกิดภาวะโคม่าจนถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นได้ ดังนั้นก่อนการเลือกใช้แคลเซียมกลูโคเนต ผู้ป่วยสมควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ และไม่ควรไปซื้อหายามารับประทานด้วยตนเอง
- ห้ามฉีดยาแคลเซียมกลูโคเนตเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในระหว่างทำการกู้ชีพด้วยเครื่องที่เรียก ว่า CPR ( Cardiopulmonary resuscitation)
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีภาวะเกลือแคลเซียมในเลือดสูง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่ได้รับพิษจากยา Digoxin
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นนิ่วในไต (Renal calculi)
- ระวังการให้ยาแคลเซียมกลูโคเนตแบบฉีดเข้าหลอดเลือดอาจก่อให้เกิดอาการหลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนถึงขั้นหัวใจหยุดเต้น
- อาจเกิดภาวะท้องผูก ท้องอืด เมื่อใช้ยาแคลเซียมกลูโคเนตชนิดรับประทาน
- การใช้ยาแคลเซียมกลูโคเนต ร่วมกับยา Digoxin อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ แน่นหน้าอก ตาพร่า คลื่นไส้ และเป็นลมชัก หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับ ประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
- ห้ามใช้ยาแคลเซียมกลูโคเนตชนิดฉีดผสมร่วมกับยาปฏิชีวนะ Ceftriaxone ด้วยยาทั้ง 2 จะทำให้เกิดตะกอนผลึกในกระแสเลือด ในปอด หรือในไต โดยเฉพาะกับเด็กทารก
- การใช้ยาแคลเซียมกลูโคเนต ร่วมกับยา Hydrochlorothiazide อาจทำให้ระดับความเข้มข้นของแคลเซียมกลูโคเนตในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นผลให้มีอาการข้างเคียงตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาแคลเซียมกลูโคเนต ร่วมกับยา Amlodipine อาจทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของยา Amlodipine ด้อยลงไป หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
ยาไซโคลออกซิจิเนส-2 อินฮิบิเตอร์ (Cyclooxygenase-2 inhibitor) หรือนิยมเรียกย่อว่า “คอก-ทู อินฮิบิเตอร์ (Cox-2 inhibitor)” คือ ยาในกลุ่มยาเอ็นเสดส์ (NSAIDs) วงการแพทย์นำมาใช้รักษา อาการปวด อาการบวมต่างๆ เช่น
- รักษาอาการปวดจากไขข้อ (น้ำหล่อลื่นข้อของร่างกาย) อักเสบ, ข้ออักเสบ/ข้อเสื่อม โรคข้อรูมาตอยด์, โรคเกาต์
- รักษาอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด
- รักษาอาการปวดประจำเดือน
- รู้สึกไม่สบายภายในท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (แผลเปบติค)
- ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ (เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลว)
- ปวดหัว วิงเวียน สับสน
- ซึมเศร้า ง่วงนอน หรือ นอนไม่หลับ
- ผิวหนังไวต่อแสงแดด (อักเสบ ดำคล้ำ)
- คลื่นไส้
- ตัวบวม
- ปากแห้ง ปากเป็นแผล
- ความดันโลหิตสูง
- การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป
- อ่อนเพลีย
- มีไข้คล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ / กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- ไตอักเสบ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มี โรคลำไส้อักเสบ หรือ มีแผลในกระเพาะอาหาร
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคตับระยะรุนแรง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ยา Aspirin
- ห้ามใช้ยานี้กับ หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร และเด็ก ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยา ยาซัลฟา-ซัลโฟนาไมด์ / Sulfa drug/ Sulfonamides
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่เคยมีประวัติด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวมของร่างกายอันเนื่องจากเป็น โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
- การรับประทานยาเซเลคอกซิบ (Celecoxib) ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น Warfarin) หรือ Corticosteroids หรือแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หากไม่จำเป็น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
- การรับประทานยาเซเลคอกซิบร่วมกับยาต้านเชื้อราเช่น Fluconazole สามารถทำให้ระดับเซเลคอกซิบในเลือดเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดผลข้างเคียงติดตามมา หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
- การรับประทานยาอิโทริคอกซิบ (Etoricoxib) ร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิดเช่น แอสไพริน(Aspirin) อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (แผลเปบติค) หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสม
- การรับประทานยาอิโทริคอกซิบร่วมกับยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ตัวอื่นเช่น Ibuprofen, Diclofenac, Naproxen อาจเกิดความเสี่ยงของภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาใช้ร่วมกัน
- การรับประทานยาอิโทริคอกซิบร่วมกับยาบางกลุ่มอาจทำให้ระดับยาในกระแสเลือดของยา กลุ่มนั้นๆ เพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา อาจต้องปรับขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ร่วมกัน ยากลุ่มดังกล่าวเช่น ยาโรคหัวใจ (เช่น Digoxin), ยารักษาอาการทางจิตเวช (เช่น Lithium), ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง (เช่น Methotrexate), ยาเม็ดคุมกำเนิด (เช่น Oestrogens)
ยา 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์ (5 alpha reductase inhibitor) เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ต้านการทำงานฮอร์โมนเพศชาย แอนโดรเจน (Antiandrogen) ทางคลินิกได้นำมาใช้
- บำบัดรักษาอาการต่อมลูกหมากโต ช่วยทำให้การขับถ่ายปัสสาวะในบุรุษดีขึ้น
- ลดความเสี่ยงและป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
- รักษาอาการศีรษะล้านหรือผมร่วงในบุรุษและสตรี
- ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ: เช่น ลดสมรรถนะทางเพศ อาจพบภาวะคัดตึงเต้านม หรือทำให้เต้านมโต
- ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น ซึมเศร้าและวิตกกังวล
- ผลต่อตา: เช่น พบภาวะต้อกระจก
- Finasteride: ใช้บำบัดอาการต่อมลูกหมากโตและภาวะผมร่วง มีรูปแบบเป็นยาชนิดรับประทานและวางจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้าหลายตัว ผลข้างเคียงที่เด่นชัดของยาตัวนี้ คือ ทำให้สมรรถภาพทางเพศในบุรุษบางรายถดถอยเมื่อใช้ยานี้เป็นระยะเวลานานๆ กระทรวงสารธารณสุขของไทยจัดให้ Finasteride เป็นยาอันตราย และต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
- Dutasteride: ใช้บำบัดอาการต่อมลูกหมากโต ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก รักษาอาการผมร่วง มีรูปแบบยาแผนปัจจุบันเป็นยารับประทาน สามารถใช้ในลักษณะของยาเดี่ยวหรือจะใช้ร่วมกับยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha-blocker) อย่างยา Tamsulosin ก็ได้ ยา Dutasteride จะมีความแรง (Potent) และมีอายุหรือค่าครึ่งชีวิต (Half life) อยู่ในร่างกายได้ยาวนานมากว่ายา Finasteride การใช้ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้สมรรถภาพทางเพศถดถอยได้เช่นเดียวกันแต่ไม่มากเท่าใดนัก กระทรวงสารธารณสุขของไทยก็จัดให้ยานี้อยู่ในหมวดยาอันตรายเช่นกัน
- Alfatradiol: หรือรู้จักกันในชื่ออื่นว่า 17 Alfa-estradiol หรือ 17-epiestradiol เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์แรงในฐานะยา 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์ อีกตัวหนึ่ง แต่เป็นยาประเภทฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์ต่ำ ยา Alfatradiol มีรูปแบบผลิตภัณฑ์เป็นยาทารักษาอาการผมร่วงที่ใช้ได้ทั้งกับบุรุษและสตรี โดยมีอาการข้างเคียงน้อยเมื่อใช้กับผิวหนัง
- ห้ามใช้ยานี้ชนิดรับประทานกับสตรีตั้งครรภ์และเด็ก
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรและในผู้สูงอายุโดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
- ห้ามปรับขนาดรับประทานหรือเพิ่มระยะเวลาการใช้ยานี้ด้วยตนเอง
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ
- ระหว่างการใช้ยานี้ ควรได้รับการตรวจร่างกาย/ตรวจสภาพต่อมลูกหมากจากแพทย์เป็นระยะๆ ตามแพทย์นัด และผู้ป่วยควรมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลตามนัดหมายทุกครั้ง
- การใช้ยา Finasteride ร่วมกับยากลุ่ม Calcium channel blocker เช่นยา Diltiazem หรือยาอื่นๆ อย่างเช่นยา Fluconazole, Itraconazole หรือยาต้านไวรัส เช่น Nelfinavir สามารถเพิ่มระดับและปริมาณยา Finasteride ในกระแสเลือดจนอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงสูงขึ้นตามมา หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยา Dutasteride ร่วมกับยา Ciprofloxacin, Nifedipine, Amprenavir อาจเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้สมรรถภาพทางเพศถดถอยลงได้มากขึ้น หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
เซอร์ทราลีน คือ ยาต้านเศร้า ทางคลินิกมีการใช้ยาดังนี้
- รักษาอาการซึมเศร้า: ซึ่งยานี้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้สูงอายุน้อยกว่ากลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า TCAs
- บำบัดอาการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive compulsive disorder): ซึ่งพบว่าให้ผลการรักษาได้ดีกว่ายา Clomipramine
- บำบัดอาการตื่นตระหนก (Panic disorder): ทางคลินิกมีรายงานว่า ยาเซอร์ทราลีนรักษาอาการตื่นตระหนกได้เทียบเท่ากับยา Clomipramine, Imipramine, Clonazepam, Alprazolam, Fluvoxamine และ Paroxetine
- รักษาอาการผิดปกติหลังได้รับความสะเทือนใจ (Posttraumatic stress disorder)
- รักษาอาการกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)
- บำบัดกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน
- ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น มีภาวะนอนไม่หลับ หรือ เกิดภาวะซึมเศร้ามากขึ้น รวมถึงอาจเกิดภาวะอยากทำร้ายตนเองหรือคิดฆ่าตัวตาย
- ผลต่อระบบประสาท: เช่น ก่อให้เกิดอาการ วิงเวียน ง่วงนอน ปวดหัว เกิดภาวะตัวสั่น ลมชัก รู้สึกสับสน กลุ่มอาการเซโรโทนิน
- ผลต่อการทำงานของหัวใจ: เช่น เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นผิดปกติ มีอาการบวมตามมือเท้า ความดันโลหิตสูงหรือไม่ก็ต่ำ หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เกิดอาการท้องเสียหรือท้องผูก ปากคอแห้ง คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่อักเสบ ลิ้นเป็นแผล เลือดออกในทางเดินอาหาร
- ผลต่อระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย: เช่น ระดับคอเลสเตอรอล ทั้ง HDL และ LDL ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
- ผลต่อระบบสืบพันธุ์: เช่น ทำให้สมรรถนะทางเพศของบุรุษถดถอย/นกเขาไม่ขัน
- ผลต่อผิวหนัง: เช่น เกิดสิว ผื่นคัน เหงื่อมาก ลมพิษ
- ผลต่อระบบเลือด: เช่น เกิดภาวะโลหิตจาง รวมถึงเม็ดเลือดขาวต่ำ เม็ดเลือดทุกชนิดต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ
- ผลต่ออวัยวะตับ: เช่น ทำให้เอนไซม์การทำงานของตับ เช่น Serum transaminase เพิ่มสูงขึ้นในเลือด ตับทำงานผิดปกติ/ตับอักเสบ
- ผลต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค: เช่น มีรายงานว่าอาจทำให้ร่างกายติดเชื้อเริมได้ง่าย
- ผลต่อระบบการมองเห็น: เช่น การมองเห็นผิดปกติ เห็นภาพไม่ชัดเจน ปวดตา รูม่านตาขยาย
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ: เช่น คออักเสบ คัดจมูก มีอาการหาวบ่อย
- ยานี้จัดอยู่ในหมวดยาอันตราย การใช้ยาจะต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น ห้ามปรับขนาดยาหรือหยุดการใช้ยาด้วยตนเอง (เพราะอาจเกิดภาวะถอนยา/ลงแดงติด) และให้ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- ห้ามใช้ยานี้กับ สตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ผู้สูงอายุ โดยไม่มีคำสั่งแพทย์
- ห้ามใช้ยานี้กับเด็กและผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (ยกเว้นแต่อาการย้ำคิด ย้ำทำ)
- ยานี้สามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดความคิดอยากทำร้ายตนเองหรือคิดฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นการใช้ยาในกลุ่มนี้จึงต้องเฝ้าระวังเรื่องพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยควบคู่กันไป หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ให้รีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ทันที เพื่อแพทย์พิจารณาปรับแนวทางการรักษา
- แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยอย่างละเอียดทุกครั้ง เพราะอาการป่วยบางประเภทไม่เหมาะที่จะใช้ยาเซอร์ทราลีน เช่น โรคตับ โรคไต โรคลมชัก มีภาวะเลือดออกง่าย มีอาการของไบโพลาร์/โรคอารมณ์สองขั้ว หรือมีประวัติติดสาร/ยาเสพติด หรือเคยคิดฆ่าตัวตายมาก่อน
- ผู้ที่ได้รับยานี้ อาจต้องใช้เวลานานถึงประมาณ 4 สัปดาห์ขึ้นไปกว่าอาการจะเริ่มดีขึ้น
- ห้ามรับประทานยานี้พร้อมกับสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงมากยิ่งขึ้น
- ยานี้จะทำให้ความคิดการตัดสินใจช้าลง จึงควรต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างมากหากผู้ป่วยต้องขับขี่ยวดยานพาหนะ
ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) เป็นยาลดความดันเลือดสูงที่มีใช้อย่างแพร่หลาย โดยยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่า Calcium Channel Blocker ทางการแพทย์ยังนำยาแอมโลดิปีนมาใช้รักษา โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน
- ปลายมือ ปลายเท้าบวม (Peripheral edema)
- ปวดหัว
- อาหารไม่ย่อย
- คลื่นไส้
- วิงเวียน
- อ่อนเพลีย
- นอนไม่หลับ
- ซึมเศร้า
- หัวใจเต้นเร็ว
- เหงือกงอกเกิน
- เหงือกอักเสบ
- ระมัดระวังการใช้ยากับผู้ป่วย โรคตับ ภาวะหัวใจล้มเหลว
- ระวังการใช้ยากับ สตรีตั้งครรภ์ (อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้) และสตรีที่กำลังให้นมบุตร (ยาจะปนออกมาในน้ำนม ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้)
- การรับประทานยาแอมโลดิปีน ร่วมกับยาลดไขมันบางตัว สามารถก่อให้เกิดความเสียหายกับตับและไต เพราะยาแอมโลดิปีนสามารถเพิ่มระดับยาลดไขมันบางกลุ่มในกระแสเลือดได้ อาทิเช่น ยา Simvastatin
- การใช้ยาแอมโลดิปีน ร่วมกับยาแก้ปวด/ยาลดไข้บางตัว สามารถก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ จึงต้องให้แพทย์เป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานเพื่อลดผลเสียดังกล่าว ยาแก้ปวด/ลดไข้ดังกล่าว เช่น ยา Aspirin, ยา Ibuprofen
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์บางชนิด สามารถลดผลการทำงานของยาแอมโลดิปีนและส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้ ยากลุ่มสเตียรอยด์ดังกล่าว เช่นยา Methylprednisolone
- การรับประทานแอมโลดิปีน ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม สามารถเพิ่มระดับของยาแอมโลดิปีนในกระแสเลือด จนส่งผลทำให้มีอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้น เช่น ความดันโลหิตต่ำอย่างมาก หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการคั่งของน้ำในร่างกาย (อาการบวมน้ำทั่วตัว) ตับบวม ภาวะหัวใจล้มเหลว ยาปฏิชีวนะดังกล่าว เช่นยา Clarithromycin
ยาเมอร์แคปโตพิวรีน (Mercaptopurine) หรือ 6-Mercaptopurine หรือย่อว่า 6MP เป็นยาเคมีบำบัดกลุ่ม Antimetabolite ซึ่งมีกลไกต้านมะเร็งโดยออกฤทธิ์ต้านการสังเคราะห์สารพันธุกรรมชนิดดีเอ็นเอ (DNA) และชนิดอาร์เอ็นเอ (RNA) ของเซลล์มะเร็ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไปอีกไม่ได้ เนื่องจากยาเมอร์แคปโตพิวลีนทำการยับยั้งการสังเคราะห์สารพันธุกรรมดังกล่าวของเซลล์มะเร็ง
ยาเมอร์แคปโตพิวรีนใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันทั้งชนิด Acute lymphoblastic leukemia/Acute lumpho cytic leukemia/ALL และชนิด Acute myelogenous leukemia/AML โดยมีผลกดไขกระดูก/กดการทำงานของไขกระดูกอย่างชัดเจน ซึ่งการใช้ยานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
- การกดไขกระดูก (Bone Marrow Suppression): ส่งผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ โลหิตจาง และเกล็ดเลือดต่ำ จึงเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อโรค ภาวะซีดทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และเลือดออกผิดปกติได้ง่าย
- ภาวะพิษต่อตับ: เช่น ตับอักเสบ ภาวะน้ำดีคั่งในตับ (Cholestasis) และเนื้อเยื่อตับตายเน่า (Hepatic gangrene)
- อาการของระบบทางเดินอาหาร: เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เยื่อบุในปากอักเสบ
- อาการทางระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค: เช่น การปวดข้อ เป็นไข้ ใบหน้าบวม
- อาการทางผิวหนัง: เช่น เกิดผื่นแดง คัน ผิวหนังเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มมากขึ้น ผมร่วง
- อื่นๆ: มีรายงานภาวะจำนวนตัวอสุจิในน้ำอสุจิน้อยกว่าปกติ
- ยานี้อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
- ยาเมอร์แคปโตพิวรีนเป็นยาเคมีบำบัด เพื่อลดความเสี่ยงในการที่ยาจะสัมผัสกับผิวหนังจึงจำเป็นต้องใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง ให้รับประทานยานี้ทั้งเม็ด ห้ามบด หรือแบ่งยาโดยเด็ดขาด เนื่องจากยาดังกล่าวเป็นยาเคมีบำบัด การบด การแบ่งยานี้อาจทำให้เกิดการสัมผัสยาเคมีบำบัดที่อาจฟุ้งกระจายเข้าสู่ร่างกายได้หลังการบดแบ่ง และแนะนำให้สวมถุงมือยางสำหรับการตรวจโรคทุกครั้งก่อนหยิบยานี้ และรีบถอดถุงมือออกแล้วล้างมือทันทีหลังรับประทานยานี้เสร็จ
- ยาเมอร์แคปโตพิวรีนมีผลพิษต่อตับ ควรติดตามค่าการทำงานของตับทุกสัปดาห์ตามแพทย์แนะนำช่วงที่ผู้ป่วยได้รับยา หรือติดตามบ่อยขึ้นกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาโรคตับอยู่ก่อน และแพทย์จะพิจารณาหยุดยานี้ทันทีเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการดีซ่าน
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเมอร์แคปโตพิวรีนในช่วงกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากยานี้มีผลพิษต่อทารกในครรภ์อาจก่อให้ทารกเกิดความพิการขึ้นได้ และหากอยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการให้นมบุตร เพราะยานี้ถูกขับออกทางน้ำนม อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงแก่บุตรได้ ควรหยุดให้นมบุตรหากมารดากำลังได้รับยานี้อยู่ หรือหยุดการใช้ยานี้ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของมารดาต่อภาวะที่กำลังเป็นอยู่โดยควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
- ยาเมอร์แคปโตพิวรีนทำให้เกิดการกดไขกระดูกอย่างรุนแรงโดยทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการติดเชื้อรวมถึงภาวะเลือดออกง่ายในอวัยวะต่างๆ
- ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคขาดเอนไซม์ไทโอพิวลีน เมทิวทรานส์เฟอเรส (Thiopurine methyltransferase; TPMT) มาแต่กำเนิดนั้นต้องระวังการใช้ยาเมอร์แคปโตพิวลีน เนื่องจากยาถูกขจัดออกทางร่างกายโดยอาศัยเอนไซม์ไทโอพิวลีน เมทิวทรานส์เฟอเรส ดังนั้นหากผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเดิมขาดเอนไซม์ดังกล่าวอาจเกิดภาวะกดไขกระดูกอย่างรวดเร็วหลังใช้ยานี้
- ระวังการใช้ยาเมอร์แคปโตพิวรีนร่วมกับยาชนิดอื่นๆที่มีผลยับยั้งเอนไซม์ไทโอพิวลีน เมทิวทรานส์ เฟอเรส (Thiopurine methyltransferase; TPMT) เพราะอาจเกิดความเป็นพิษที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นจากยาเมอร์แคปโตพิวรีน
- ในช่วงการรักษาด้วยยาเมอร์แคปโตพิวรีนจะส่งผลต่อการสลายตัวของเซลล์ (Cell lysis) อย่างรวดเร็ว แพทย์จะตรวจวัดระดับกรดยูริคในเลือดและในปัสสาวะเพราะอาจเกิดภาวะกรดยูริคเกินในเลือดหรือในปัสสาวะซึ่งส่งผลพิษต่อไต
โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) เป็นสารประกอบประเภทเกลือ ลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว รสเค็มเล็กน้อย มีฤทธิ์เป็นด่าง และละลายในน้ำได้เป็นอย่างดี อุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้นำเกลือโซเดียมไบคาร์บอเนตมาเป็นส่วนประกอบของยาสีฟัน อุตสาหกรรมอาหารใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มเกลือแร่ในกลุ่มนักกีฬา ทางคลินิกนำมาใช้เป็นยาบำบัดรักษาภาวะความเป็นกรดเกิน/เลือดเป็นกรดของร่างกาย และภาวะอาหารไม่ย่อย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของยาลดกรดชนิดรับประทาน ใช้ในรูปแบบยาฉีดเพื่อใช้ปรับภาวะความเป็นกรดด่างของเลือดให้กลับมาอยู่ในระดับสมดุลปกติ ใช้ในรูปแบบยาหยอดหู
ในประเทศไทยโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้ยาเม็ดโซเดียมไบคาร์บอเนตอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยยาเม็ดโซเดียมไบคาร์บอเนตมีสรรพคุณ เช่น เพิ่มค่าความเป็นด่างในปัสสาวะ รักษาภาวะอาหารไม่ย่อย และรักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากกระบวนการเผาผลาญของร่างกายชนิดเรื้อรัง (Chronic metabolic acidosis)
ก่อให้เกิดภาวะเลือดเป็นด่างสูงต่อร่างกาย (Alkalosis: อาการเช่น สับสน คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน ใจสั่น) อารมณ์แปรปรวน หายใจหอบถี่ ชักเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดภาวะเกลือโซเดียมในเลือดสูง (อาการ เช่น อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ชัก) มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (อาการ เช่น เป็นตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดปกติ) ปวดท้อง ท้องอืด
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยภาวะเลือดเป็นด่าง ผู้ป่วยที่มีภาวะเกลือโซเดียมในเลือดสูง ผู้ป่วยด้วยโรคปอดบวมอย่างรุนแรง และผู้ป่วยที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย โรคลมชัก ภาวะหัวใจล้มเหลว ไตวาย ตับแข็ง ความดันโลหิตสูง บวมน้ำ
- ใช้รักษาภาวะร่างกายมีภาวะเลือดเป็นกรด ที่จะต้องคอยควบคุมระดับเกลือแร่ในกระแสเลือดเพื่อมิให้เสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในระหว่างการรักษา
- ระวังการใช้ยานี้กับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
ยาเม็ดโซเดียมไบคาร์บอเนตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น ทั้งเพิ่มความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงของยาดังกล่าวได้มาก กลุ่มยาเหล่านั้น เช่นยา Amphetamines, Ephedrine, Pseudoephedrine, Flecainide, Quinidine, และ Quinine หรืออาจลดลดฤทธิ์ในการรักษาของยาบางตัว เช่นยา Lithium, Chlorpropamide, Dolutegravir
ยาหยอดหูโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate ear drop) ถูกใช้เพื่อกำจัดขี้หูที่แห้งแข็งจนอุดตันรูหู ยาจะช่วยให้ลักษณะทางกายภาพของขี้หูนิ่มตัวลง จนสามารถหลุดลอกออกจากรูหูได้ง่าย แพทย์จะแนะนำใช้ยานี้เมื่อพบว่าขี้หูเริ่มแข็งและแห้งซึ่งทำให้การได้ยินเสียงจากภายนอกไม่ชัดเจน ทั้งนี้คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้บรรจุให้สูตรตำรับยาหยอดหูโซเดียมไบคาร์บอเนตอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว
- ห้ามใช้ยานี้เกิน 4 สัปดาห์ หลังการเปิดขวดใช้ครั้งแรก
- ห้ามปรับขนาดการใช้หรือใช้ยานี้นานเกินคำสั่งแพทย์
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีแก้วหูทะลุ รวมถึงผู้ที่ได้รับการผ่าตัดภายในช่องหูมาใหม่ๆ
- การจะใช้ยานี้กับ เด็ก สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรควรอยู่ใน ดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
- ห้ามใช้ไม้พันสำลีแคะหู เช็ดทำความสะอาดภายในรูหู ระหว่างที่มีการใช้ยานี้
ยาแอสไพริน (Aspirin) จัดอยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่าเอ็นเสด (NSAIDs) มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้เป็นยาป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด เพื่อลดภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ (โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ) ยาแอสไพรินสามารถดูดซึมได้ดีในระบบทางเดินอาหาร หรือแม้แต่ดูดซึมเข้าทางผิวหนังโดยใช้ในรูปของยาทา ปริมาณยาในกระแสเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 2 ชั่วโมงหลังรับประทาน และยาจะถูกทำลายที่ตับ ถูกขับออกทางปัสสาวะ ยาแอสไพรินสามารถผ่านเข้ารกและถูกขับออกมากับน้ำนมได้ การใช้ยานี้กับหญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตรจึงต้องใช้ความระมัดระวังและได้รับคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
สามารถทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดภาวะกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้ยาแอสไพริน คือ การเกิดภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ซึ่งได้แก่
- ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกในทารกได้
- ห้ามใช้ยากับเด็กทารก
- ห้ามใช้ยากับผู้ที่ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- ห้ามใช้ยากับผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก หรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะตกเลือด
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตชนิดไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Insufficiency)
- ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยด้วยโรคตับ
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่ใช้ดูดซับพิษในกระเพาะลำไส้ อาจทำให้การดูดซึมของยาแอสไพรินเข้าสู่ร่างกายลดน้อยลง ยาดังกล่าว เช่น Activated Charcoal
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะทำให้การดูดซึมยาแอสไพรินลดลง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน ยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างดังกล่าว เช่น กลุ่มยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับ ยาต้านการอักเสบบางกลุ่มก็สามารถลดการดูดซึมของยาแอสไพรินได้เช่นเดียวกัน ยาดังกล่าว เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
ยาอิโทริคอกซิบ (Etoricoxib) หรือยาชื่อการค้าที่คนรู้จัก คือ ‘อาร์โคเซีย (Arcoxia)’ เป็นยากลุ่มเอ็นเซด (NSAIDs) ถูกนำมารักษาอาการปวดที่มีสาเหตุต่างๆ เช่น โรคข้อรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคเกาต์ และอาการปวดเฉียบพลัน
- รู้สึกไม่สบายภายในท้อง
- ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ (เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ)
- ปวดศีรษะ
- วิงเวียน
- สับสน
- ซึมเศร้า
- ง่วงนอน หรือ นอนไม่หลับ
- เกิดผื่นแพ้แสงแดด
- มีอาการคล้ายเป็นโรคเลือด (มีห้อเลือดตามเนื้อตัว)
- ตัวบวม
- ปากคอแห้ง
- ความดันโลหิตสูง
- การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป
- ช่องปากเป็นแผล
- เจ็บหน้าอก
- อ่อนเพลีย
- มีอาการของกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- เป็นพิษกับไต
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีโรคลำไส้อักเสบ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรง ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีบาดแผลในช่องทางเดินอาหาร
- ห้ามใช้ยานี้ในหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร และในผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่เคยมีประวัติด้วยโรคหัวใจล้มเหลว
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวมของร่างกาย เนื่องจากเป็น โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
- การรับประทานยาอิโทริคอกซิบ ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยา Warfarin อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
- การรับประทานยาอิโทริคอกซิบ ร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิด เช่นยา แอสไพริน อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสม
- การรับประทานยาอิโทริคอกซิบ ร่วมกับยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ตัวอื่น เช่นยา Ibuprofen, Diclofenac, Naproxen อาจเกิดความเสี่ยงของภาวะเลือดออกในเดินอาหาร ควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาใช้ร่วมกัน
- การรับประทานยาอิโทริคอกซิบ ร่วมกับยาบางกลุ่ม อาจทำให้ระดับยาในกระแสเลือดของ ยากลุ่มนั้นๆ เพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดอาการข้างเคียงตามมา แพทย์อาจต้องปรับขนาดรับประทานหรือให้หยุดการใช้ร่วมกัน ยากลุ่มดังกล่าว เช่น
- ยาโรคหัวใจ เช่นยา Digoxin
- ยาจิตเวช เช่นยา Lithium
- ยารักษามะเร็ง/ยาเคมีบำบัด เช่นยา Methotrexate
- ยาเม็ดคุมกำเนิด เช่นยา Estrogens
ยาโอเมพราโซล (Omeprazole) คือ ยาที่ใช้รักษาอาการ กรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้/แผลเปบติค นอกจากนี้ยังใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อ H. pylori (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร) ที่มักจะฝังตัวอยู่ในผนังกระเพาะอาหาร และทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้า ยาโอเมพราโซลจะถูกขับออกจากร่างกายได้ทั้งทางปัสสาวะและอุจจาระ การใช้ยานี้ต้องอยู่ภายในคำสั่งแพทย์เท่านั้น ไม่สมควรไปหาซื้อยามารับประทานเอง
- ปวดหัว
- ท้องเสีย หรือ ท้องผูก
- ปวดท้อง
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องอืด
- อาจพบผื่นคันได้บ้าง
- วิงเวียน
- ปริมาณเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดเพิ่มขึ้น (ตับอักเสบ)
- ห้ามใช้ยากับ หญิงตั้งครรภ์ และ หญิงที่อยู่ภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคตับ
- ระวังการใช้ยานี้ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
- การใช้ยาโอเมพราโซล ร่วมกับ ยาคลายความวิตกกังวล (ยาคลายเครียด) จะส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ในตับ และทำให้ระดับยาคลายความวิตกกังวลมีระยะเวลาอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น ทำให้อาการข้างเคียงต่างๆ ของยาคลายความวิตกกังวลแสดงผลกระทบต่อร่างกายได้มากมายตามมา เช่น ง่วงนอนมาก หายใจติดขัด/หายใจลำบาก ยาคลายความวิตกกังวลดังกล่าว เช่นยา Alprazolam, Diazepam
- การใช้โอเมพราโซล ร่วมกับ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการตกเลือดหรือเลือดออกง่าย (ถึงแม้จะพบได้น้อยรายก็ตาม) รวมไปถึง อาการบวม คลื่นไส้ ปวดหัว วิงเวียน อ่อนเพลีย ควรต้องให้แพทย์เป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานของยาให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ป่วย ยาต้านการแข็งตัวของเลือดดังกล่าว เช่นยา Dicumarol, Warfarin
- การใช้โอเมพราโซล ร่วมกับ ยาวิตามินรวมที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ เพื่อบำรุงเลือดหรือรักษาอาการโลหิตจาง/โรคซีด สามารถทำให้การดูดซึมของธาตุเหล็กลดน้อยลง จนส่งผลให้การบำรุงเลือดด้อยประสิทธิภาพลง ควรต้องปรับระยะเวลาของการรับประทานไม่ให้ตรงกัน ทั้งนี้ แพทย์ เภสัชกร จะเป็นผู้แนะนำวิธีรับประทานที่ถูกต้อง
- การใช้โอเมพราโซล ร่วมกับ ยาลดไขมันบางกลุ่ม อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตับหรือทำให้เกิดการทำลายตัวเองของกล้ามเนื้อลาย/กล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) ยาลดไขมันดังกล่าว เช่นยา Simivastatin, Atovastatin
ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen ) เป็นยาในกลุ่มยาแก้ปวด อยู่ในพวกเดียวกับยาเอ็นเสด (NSAIDs – ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์) โดยใช้เป็นยาแก้ปวดระดับน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้บรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน และใช้เป็นยาลดไข้ได้ นอกจากนี้ทางการแพทย์ยังนำไปใช้รักษาอาการปวดจากโรคข้อบางชนิดและบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน
- การกินในขนาดต่ำๆ มีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ และสามารถทำให้ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลำไส้ และ/หรือระบบหัวใจ
- มีบางรายงานกล่าวว่า การใช้ยาตัวนี้จะทำให้สภาพร่างกายทนต่อแสงแดดได้น้อยลง เช่น เกิดอาการปวดแสบร้อนเมื่อออกแดดนานๆ (ผิวหนังไวต่อแสงแดดเกินกว่าปกติที่เคยเป็น)
- อื่นๆ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย เลือดออกในทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ ง่วงนอน เกิดผื่นคันทางผิวหนัง และหอบหืด
- เมื่อกินร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้
- เมื่อกินร่วมกับยาลดความดันโลหิตจะทำให้ประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตลดลง และทำให้ไตทำงานบกพร่อง
- เมื่อกินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะเสริมฤทธิ์กันและก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ง่าย
- เมื่อกินร่วมกับยารักษาโรคหัวใจบางชนิดจะทำให้การออกฤทธิ์ของยารักษาโรคหัวใจมีมากขึ้นจนอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ อาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
- ในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร
- ในผู้ที่มีประวัติหอบหืด
- ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ
- ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
- ในผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาแอสไพริน หรือ การแพ้ยาในกลุ่มเอนเสดทั้งหลาย
- ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิด 2
- ช่วยทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดลดลง
- ใช้เป็นยาทางเลือกในการรักษากลุ่มอาการรังไข่ทำงานผิดปกติ (Polycystic Ovarian Syndrome: กลุ่มอาการพีซีโอเอส) ซึ่งมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติขาดๆ หายๆ มักพบในผู้ที่มีน้ำหนักของร่างกายมากหรือในคนโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
- ใจสั่น
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องเสีย
- น้ำหนักตัวลด
- หนาวสั่น
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ผื่นคัน
- ภาวะขาดวิตามินบี12
- ปวดหัว
- ท้องอืด
- อาหารไม่ย่อย
- การกินยาเมทฟอร์มิน ร่วมกับ สุราจะก่อให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Lactic Acidosis) และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จึงควรหลีกเลี่ยงการกินร่วมกัน
- การกินยาเมทฟอร์มิน ร่วมกับ ยาโรคหัวใจบางกลุ่ม อาจก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การกินยาเมทฟอร์มิน ร่วมกับ ยาไทรอยด์ฮอร์โมน อาจก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หากต้องใช้ยาร่วมกัน ควรต้องได้รับการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
- การกินยาเมทฟอร์มิน ร่วมกับ ยาลดกรดบางชนิด อาจจะยับยั้งการขับถ่ายยาเมทฟอร์มินออกจากร่างกายโดยทางไต ทำให้ระดับยาเมทฟอร์มินในเลือดสูงขึ้น และส่งผลต่อการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดตามมา
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะตับ/ไตผิดปกติ เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำ และเกิดการติดเชื้อในร่างกายตามมา
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยด้วยพิษสุราทั้งชนิดเรื้อรังและเฉียบพลัน ผู้ป่วยโรคไทรอยด์
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์และภาวะให้นมบุตร
ยาอะโทรวาสแตติน (Atorvastatin)) ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขมันในเลือดสูง รวมถึงนำมาใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ใช้รักษาภาวะไขมันในเลือดชนิดไม่ดีต่างๆของร่างกายที่สูงผิดปกติ เช่น Total cholesterol, LDL cholesterol, Triglycerides, และ Apolipoprotein B
- ช่วยเพิ่มระดับไขมันในเลือดชนิด HDL cholesterol (ไขมันชนิดดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย)
- ใช้ป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น หัวใจขาดเลือด เจ็บหน้าอก เป็นต้น
จากการศึกษาการกระจายตัวของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกายพบว่า ยาอะโทรวาสแตตินสามารถจับตัวได้ดีกับโปรตีนในเลือดได้ถึงประมาณ 98% จากนั้นก็จะถูกลำเลียงไปเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีที่อวัยวะตับ ร่างกายต้องใช้เวลาถึงประมาณ 14 ชั่วโมงในการกำจัดยาออกจากกระแสเลือด 50 % โดยผ่านไปกับอุจจาระ
ยาอะโทรวาสแตตินจัดเป็นยาอันตราย การที่จะใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และส่งผลดีต่อการรักษาในผู้ป่วย ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น และผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
- ท้องผูก หรือ ท้องเสีย
- ท้องอืด
- ปวดท้อง
- ปวดศีรษะ/ ปวดหัว
- คลื่นไส้
- ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ
- ข้อบวม
- มีปริมาณเอนไซม์ Creatinine phosphokinase (CPK: เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับ โรคหัวใจ และ/หรือโรคกล้ามเนื้อ) ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นโดยไม่ได้มีการเจ็บป่วยใดๆ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับหรือผู้ที่มีภาวะตับทำงานผิดปกติ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่เป็นโรคหรือมีพยาธิสภาพเกี่ยวกับกล้ามเนื้อลาย
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการรับประทานยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีผลต่อการทำงานของตับมากขึ้น
- การใช้ยาอะโทรวาสแตตินร่วม กับยาบางกลุ่ม สามารถทำให้ระดับยาอะโทรวาสแตตินในกระแสเลือดสูงขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับผลข้างเคียงสูงขึ้นจากยาอะโทรวาสแตตินตามมา เช่น ตับทำงานหนัก หรือปวดกล้ามเนื้อ จนไปถึงขั้นกล้ามเนื้อบาดเจ็บถูกทำลาย/ กล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาอะโทรวาสแตตินร่วมกับยากลุ่มดังกล่าว เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาปฏิชีวนะ ยาต้านเอชไอวี ยาต้านเชื้อรา
ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) จัดเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolide) สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า RNA ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้ มักใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบน/โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น
- การติดเชื้อแบคทีเรียของหูชั้นกลาง (หูชั้นกลางอักเสบ)
- ทอลซิลอักเสบ
- เจ็บคอ/คออักเสบ
- กล่องเสียงอักเสบ
- หลอดลมอักเสบ
- ปอดบวม
- ไทฟอยด์
- ไซนัสอักเสบ
- รักษาการติดเชื้อในทารกที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และในการติดเชื้อโกโนเรีย
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องอืด
- ท้องเสีย
- ง่วงนอน
- ปวดหัว
- เวียนศีรษะ
- อาจมีตับอักเสบได้
- การใช้ยาอะซิโธรมัยซินร่วมกับ ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว จะทำให้ยารักษาโรคหัวใจคงอยู่ในร่างกายได้ยาวนานขึ้น อาจส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น หรือหัวใจหยุดเต้นได้
- การใช้ยาอะซิโธรมัยซินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะเสริมฤทธิ์กันและก่อให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย ตัวอย่างยาต้านการแข็งตัวของเลือด
การใช้ยาปฏิชีวนะต้องใช้ให้เหมาะสมและตรงกับชนิดของโรคที่จะรักษา ดังนั้นการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะควรต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนใช้เสมอ เพราะการได้รับยาไม่ครบตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสม ส่งผลเสียโดยตรง คือ อาการของโรคไม่ดีขึ้น นอกจากนี้ผลเสียจากใช้ยาปฏิชีวนะนานๆ หรือพร่ำเพรื่อที่พบบ่อย คือ เกิดภาวะดื้อยา ภาวะกดภูมิคุ้มกัน (ร่างกายอ่อนแอลงเพราะไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ด้วยภูมิคุ้มกันของตัวเอง) เกิดการทำลายจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ส่งผลให้การสร้างและ/หรือการดูดซึมวิตามินบางกลุ่มสูญเสียไป เช่น วิตามินเค เป็นต้น
ยาลิซิโนพริล (Lisinopril) เป็นยาในกลุ่ม ACE inhibitor ทางคลินิกนำมาใช้เป็นยา
- รักษาอาการโรคความดันโลหิตสูง
- รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว/หัวใจวาย
- รักษาภาวะโรคไตด้วยเหตุจากโรคเบาหวาน
ก. อาการข้างเคียงที่อาจพบได้บ่อย: เช่น ตาพร่า ปัสสาวะขุ่น รู้สึกสับสน ปัสสาวะน้อย วิงเวียน เป็นลม เหงื่อออกมาก อ่อนเพลียและไม่มีแรง
ข. อาการข้างเคียงที่พบได้แต่น้อย: เช่น ปวดท้อง ปวดตามร่างกาย เจ็บหน้าอก หนาวสั่น คัดจมูก ท้องเสีย เสียงแหบ คลื่นไส้ ไอ จาม เจ็บคอ และอาเจียน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติเกิดลมพิษขึ้นตามผิวหนังหลังจากใช้ยากลุ่ม ACE inhibitor
- ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยา Aliskiren และในผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน
- ห้ามใช้ยานี้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีเกลือโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินมาตรฐาน รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
- การรับประทานยาลิซิโนพริลร่วมกับยากลุ่ม Potassium เช่น Potassium chloride และ Potassium bicarbonate อาจทำให้เกิดภาวะเกลือโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินจากมาตรฐาน ส่งผลให้ไตทำงานหนักจนถึงขั้นเกิดภาวะไตวาย กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต และหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทั้งสองกลุ่มร่วมกัน
- การรับประทานยาลิซิโนพริลร่วมกับยา Olmesartan อาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีภาวะความดันโลหิตต่ำ เกิดความเสียหายที่ไตเพราะเกิดภาวะเกลือโพแทสเซียมในร่างกายเกิน บางกรณีทำให้เกิดภาวะไตวาย กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต หัวใจเต้นผิดจังหวะจนถึงหยุดเต้น เพื่อมิให้เสี่ยงต่ออาการที่กล่าวมาจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การรับประทานยาลิซิโนพริลร่วมกับยา HCTZ อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การรับประทานยาลิซิโนพริลร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen Naproxen อาจทำให้ฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตของยาลิซิโนพริลด้อยประสิทธิภาพลง อีกทั้งยังทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
ยาเมโทโพรลอล (Metoprolol) คือ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นยาตัวหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มซีเล็กทีฟ เบต้า1 รีเซพเตอร์ บล็อกเกอร์ (Selective beta1 receptor blocker หรือ Cardioselective beta blockers หรือยา กลุ่ม Beta blocker) ใช้รักษา
- โรคความดันโลหิตสูง (ยาลดความดัน)
- ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ (Ventricular tachycardia)
- อาการเจ็บหน้าอกด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Angina)
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction)
- ป้องกันการเกิดไมเกรน (Migraine)
วิงเวียน ง่วงนอน อ่อนแรง ท้องเสีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ ซึมเศร้า ตาพร่า เลือดไปเลี้ยงตามปลายมือปลายเท้าลดลง (รู้สึกเย็นและ/หรือชา)
ส่วนอาการข้างเคียงที่รุนแรงที่อาจพบได้ เช่น ภาวะหัวใจเต้นช้าจนเป็นเหตุให้เป็นลมในที่สุด นอกจากนี้อาจพบอาการตัวเขียว นิ้วมือนิ้วเท้าซีด มือเท้าบวม สมรรถภาพทางเพศด้อยลง ผมร่วง อารมณ์แปรปรวน หายใจลำบาก ไอ กระหายน้ำ เจ็บคอ มีไข้ ตาเหลือง/ตัวเหลือง ปวดท้อง คลื่นไส้ มีผื่นคันขึ้นตามตัว
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้ เช่น
- โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Sick sinus syndrome)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว (Decompensated heart failure)
- มีความผิดปกติในระบบการไหลเวียนเลือดที่รุนแรง (Severe peripheral arterial circulatory disorders)
- ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกด้วยโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคหืด
- ผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตตัวบน (Systolic blood pressure) ต่ำกว่า 100 มิลลิเมตรปรอท
- ผู้ที่มีภาวะเลือดเป็นกรด (เช่น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคหืดที่ควบคุมโรคไม่ได้)
- ห้ามใช้ยานี้กับ หญิงตั้งครรภ์ และในหญิงให้นมบุตร
- ห้ามปรับขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ยานี้ด้วยตนเองโดยมิได้ปรึกษาแพทย์
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวชนิด Compensated heart failure ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดลมหดเกร็งตัว/หายใจลำบาก ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้า และผู้ป่วยที่เคยมีประวัติด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ร่วมกับยาชา เพราะอาจเกิดภาวะกดการทำงานของหัวใจ
- ระหว่างการใช้ยานี้ต้องระวังเรื่องการขับขี่ยวดยานพาหนะหรือการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล เพราะยามีผลให้ง่วงซึมได้
- การใช้ยาเมโทโพรลอล ร่วมกับยา Reserpine (ยาลดความดัน) และยาในกลุ่มเอมเอโอไอ (MAOIs) จะทำให้ฤทธิ์ของยาเมโทโพรลอลเพิ่มมากขึ้น หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาเมโทโพรลอล ร่วมกับ ยาลดกรดที่มีเกลืออะลูมิเนียม (Aluminium) หรือเกลือแมกนีเซียม (Magnesium) จะทำให้การดูดซึมยาเมโทโพรลอลมากยิ่งขึ้น จึงควรเลี่ยงการรับประทานร่วมกันหรือปรับเวลาของการรับประทานไม่ให้ตรงกัน
- การใช้ยาเมโทโพรลอล ร่วมกับ ยาบางตัวอาจทำให้ความเข้มข้นของยาเมโทโพรลอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาร่วมกัน ยากลุ่มดังกล่าว เช่นยา Bupropion, Cimetidine, Diphenhydramine, Fluoxetine, Hydroxycholoquine, Paroxetine, Quinidine, Ritonavir
- การใช้ยาเมโทโพรลอล ร่วมกับ กลุ่มยาชา/ยาสลบอาจเกิดความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตต่ำ และภาวะหัวใจล้มเหลว จึงควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ยาเพรดนิโซโลน (Prednisolone) จัดเป็นสารสังเคราะห์กลุ่ม Glucocorticoid นำมาใช้ทางการแพทย์โดยมีวัตถุประสงค์ต้านการอักเสบ เช่น
- รักษาและบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนังในรูปแบบยาครีมและยารับประทาน /ยาแก้อักเสบ
- รักษาการอักเสบของลำไส้เล็ก/ลำไส้เล็กอักเสบ
- รักษาการอักเสบของตา/หู ในรูปแบบของยาหยอดตาและยาหยอดหู
- ป้องกันและบำบัดอาการภูมิแพ้/โรคภูมิแพ้และโรคหืด
- ทำเป็นยาใช้เฉพาะที่ในการรักษาริดสีดวงทวาร
- รักษาโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
- ทำให้มีอาการบวม เพราะยานี้ก่อให้เกิดการเพิ่มของเกลือโซเดียมในร่างกาย
- ประจำเดือนมาผิดปกติ
- มีขนขึ้นดกทั้งตัวรวมทั้งใบหน้าด้วย
- กระดูกพรุน
- ต้อกระจก
- สิว
- ผิวหนังบาง
- กล้ามเนื้อลีบ จึงมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ความต้านทานต่อการติดเชื้อโรคต่ำลง จึงติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
- ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้กำเนิดบุตร
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ โรคต้อหิน เพราะจะทำให้อาการของโรคเหล่านี้กำเริบมากขึ้น
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อรา เพราะจะทำให้เชื้อโรครุกลามและมีจำนวนมากขึ้น แต่กลับซุกซ่อนอาการจากติดเชื้อโดยผู้ป่วยไม่รู้ตัว
- ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยในโรคต่างๆ หลายโรค เพราะยานี้สามารถทำให้อาการของโรคดังกล่าวรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยอาการโรคจิต โรคต้อกระจก โรคเบาหวาน
- ไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ/ไข้ทรพิษ ขณะที่รับประทานยาเพรดนิโซโลน
- การใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) บางกลุ่ม ร่วมกับ ยาเพรดนิโซโลน
- การใช้ยาแก้ปวดบางกลุ่มร่วมกับยาเพรดนิโซโลน สามารถเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องรุนแรง เวียนศีรษะ และมีลักษณะของอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอยจากการมีเลือดออกในทางเดินอาหาร กลุ่มยาแก้ปวดดังกล่าว เช่น Ibuprofen และ Celecoxib เป็นต้น
ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) เป็นยาในกลุ่มยาแก้ปวด โดยอยู่ในพวกเดียวกับยา NSAIDs (Non-steroidal inflammatory drugs) ดังนั้น จึงเป็นทั้งยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ใช้ลดและบรรเทาอาการปวด เช่น ปวดข้อ ปวดกระดูก หรือการปวดชนิดเฉียบพลันด้วยสาเหตุถูกกระแทก และสามารถลดอาการปวดประจำเดือน ปวดฟัน ใช้เป็นยาลดอาการปวดจากนิ่วในไตและนิ่วในถุงน้ำดี พัฒนาเป็นยาทาในรูปของเจล (Gel) ซึ่งใช้ทาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังเล่นกีฬาหรือจากการทำงานหนัก และพัฒนาเป็นยาหยอดตา เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวดตาจากการเกิดแผลที่กระจกตา/กระจกตาเป็นแผลหรือบาดแผลจากการผ่าตัดตา นอกจากนี้ยังช่วยลดไข้/ อาการไข้ได้ด้วย
ตัวยามีฤทธิ์ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร แพทย์จึงมักจะให้ยาลดกรดร่วมไปด้วย ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ/ปวดหัว เวียนหัว ผื่นคัน ตับอักเสบ ไตล้มเหลว /ไตวายเฉียบพลัน กดไขกระดูก
- การกินร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้
- การกินร่วมกับยาลดความดันโลหิตจะทำให้ประสิทธิภาพการลดความดันโลหิตน้อยลง
- การกินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะเสริมฤทธิ์กัน และก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ง่าย
- การกินร่วมกับยาโรคหัวใจจะทำให้การออกฤทธิ์ของยาโรคหัวใจมีมากขึ้นจนอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้ อาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้อาเจียน การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
- การกินร่วมกับยาจิตเวช อาจเพิ่มผลข้างเคียงของยาทางจิตเวชให้สูงขึ้น
- ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์จนถึงเกิดการแท้งบุตรได้
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เพราะเสี่ยงกับสภาวะเลือดออกจากแผลได้ง่าย
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจมาใหม่ๆ
ยาโคลพิโดเกรล เป็นยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drug) ใช้รักษาโรคหรือภาวะผิดปกติต่างๆ เพื่อให้เลือดแข็งตัวได้ช้าลง และ/หรือให้เลือดไม่เกิดการจับตัวกันจนเกิดเป็นก้อนหรือเป็นลิ่มเลือด โดยใช้
- ป้องกันลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด
- รักษาภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
- รักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ปวดศีรษะ / ปวดหัว / วิงเวียน
- ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน
- อาหารไม่ย่อย / ท้องอืด
- ปวดท้อง / กระเพาะอาหารอักเสบ
- ท้องเสีย / ท้องผูก
- คลื่นไส้ / อาเจียน
- ผื่นคัน / ลมพิษ
- จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
- ตับอักเสบ / ตับอ่อนอักเสบ
- มีไข้
- พบภาวะเลือดออกตามผิวหนัง ในลูกตา และในโพรงจมูก
- เกิดภาวะจิตหลอน / ประสาทหลอน
- การรับรสชาติผิดปกติ
- Stevens-Johnson syndrome
- ข้ออักเสบ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะโรคตับระยะรุนแรง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคแผลในกระเพาะอาหารที่อยู่ในระยะมีเลือดออก
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร / สตรีตั้งครรภ์ (นอกจากได้รับคำสั่งแพทย์เท่านั้น)
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะสูญเสียเลือดซึ่งเกิดจากบาดแผลหรือจากการผ่าตัด
- หากต้องเข้ารับการผ่าตัดและอยู่ในระหว่างการรับประทานยานี้ ควรต้องหยุดการใช้ยานี้ประมาณ 7 วันก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ระหว่างที่ใช้ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หรือการห้ามเลือดจากบาดแผลต้องใช้เวลามากกว่าเดิม
- การใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin สามารถเพิ่มความเสี่ยงภาวะเลือดออกง่ายหรือตกเลือด
- การใช้ร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) รวมถึงยาแก้ปวดในกลุ่ม COX-2 inhibitors สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้
- การใช้ร่วมกับยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย
ซิมวาสแตติน (Simvastatin) เป็นยาสำหรับลดไขมันในหลอดเลือด ใช้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด(โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย) ภาวะเจ็บหน้าอกอันมีสาเหตุมาจากภาวะไขมันในเลือดสูง ซิมวาสแตตินจัดเป็นยาอันตราย เนื่องจากมีผลข้างเคียงและข้อจำกัดในการรับประทาน จึงไม่สมควรซื้อยามารับประทานเอง การใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
ปวดท้อง ท้องผูก ท้องอืด ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผื่นคัน วิงเวียน เป็นตะคริว ตับอ่อนอักเสบ ปลายประสาทอักเสบ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคตับขั้นรุนแรง หรือภาวะตับทำงานผิดปกติ
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามใช้ยานี้ในเด็กทารก
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีประวัติติดสุรา หรือผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคตับ
- การใช้ยาซิมวาสแตตินร่วมกับยาต้านวัณโรคบางตัว สามารถลดประสิทธิผลในการรักษาของซิมวาสแตติน จึงทำให้ระดับไขมันในเลือดยังคงสูงอยู่ ยารักษาวัณโรคดังกล่าว เช่น Rifampin
- นอกจากนี้ หากใช้ซิมวาสแตตินร่วมกับยารักษาวัณโรคที่ชื่อว่า Isoniazid สามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาท เช่น มีอาการชา ปวดแสบปวดร้อน หรือเสียวบริเวณมือและเท้า
- การใช้ซิมวาสแตตินร่วมกับยาปฏิชีวนะที่ผสมยาลดกรดบางตัว อาจทำให้ระดับซิมวาสแตตินในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ อาทิเช่น สร้างความเสียหายต่ออวัยวะตับ เกิดภาวะกล้ามเนื้อลายอักเสบรุนแรง นอกจากนี้ สามารถตรวจพบภาวะไตมีการทำงานผิดปกติ หรือมีไข้ หนาวสั่น ปวดตามข้อ บวมตามร่างกาย ผื่นคัน ปัสสาวะมีสีคล้ำ ยาปฏิชีวนะกับยาลดกรดดังกล่าว เช่น Clarithromycin และ Lansoprazole ตามลำดับ
- การใช้ซิมวาสแตตินร่วมกับยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม สามารถเพิ่มระดับซิมวาสแตตินในกระแสเลือด ทำให้ได้รับผลข้างเคียงติดตามมา เช่น กล้ามเนื้อลายอักเสบรุนแรง ภาวะตับไตเสียหาย ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นคัน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะมีสีคล้ำ ตัวเหลือง ตาเหลือง ยาลดความดันโลหิตดังกล่าว เช่น Amlodipine, Diltiazem, Verapamil เป็นต้น
- นอกจากนี้ ยังมียาอีกหลายกลุ่มเมื่อใช้ร่วมกับซิมวาสแตติน จะทำให้ระดับของยาซิมวาสแตตินในกระแสเลือดสูงขึ้น และก่อให้เกิดผลข้างเคียง ยาเหล่านั้นได้แก่
- ยาต้านเชื้อรา เช่น Clotrimazole, Ketoconazole, Miconazole
- ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น Cyclosporine
- ยารักษาเอชไอวี (HIV) เช่น Amprenavir, Atazanavir, Tipranavir
ยาไกลเบนคลาไมด์อยู่ในยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemic drugs) มีสรรพคุณคือ ใช้บำบัดรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes)
- อาจพบภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ
- ระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
- กดการทำงานของไขกระดูก
- อาการแพ้ยา เช่น เป็นผื่นขึ้นทั้งตัว หรือมีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ลิ้น วิงเวียน และหายใจลำบาก
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type I DM) หรือผู้ที่อยู่ในภาวะโคม่าด้วยโรคเบาหวาน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคไตระยะรุนแรงและผู้ป่วยโรคตับ
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Sulfonamides
- การใช้ยาไกลเบนคลาไมด์ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้มากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การใช้ยาไกลเบนคลาไมด์ร่วมกับยาบางตัว เช่น Beta-blockers, Bezafibrate, Biguanides, Chloramphenical, Clofibrate, Coumadin, Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), Salicylates, Tetracyclines, สามารถส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากต้องใช้ยาร่วมกัน ควรต้องปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสม
- การใช้ยาไกลเบนคลาไมด์ ร่วมกับยาบางตัว เช่น กลุ่มยาแก้ท้องผูก , Corticosteriods, Nicotinic acid, Estrogen, Phenothiazine, Saluretics, และไทรอยด์ฮอร์โมน สามารถลดประสิทธิภาพในการรักษาของไกลเบนคลาไมด์ และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกันควรต้องปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสม
ยาเลโวไทรอกซีน (Levothyroxine หรือ L-thyroxine) หรือนิยมเรียกสั้นๆว่า ‘ไทรอกซีน (Thyroxine)’ เป็นยาที่นำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) ซึ่งมีสาเหตุจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ การรับประทานยานี้จะช่วยปรับระดับการเผาผลาญพลังงาน ขบวนการสังเคราะห์ ขบวนการทำลายในระดับเซลล์ของร่างกาย ให้กลับมาเป็นปกติ เช่น การทำงานของสมอง การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเจริญเติบโตของกระดูกและของเนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆ เป็นต้น
เนื่องจากเลโวไทรอกซีนเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ จึงมีฤทธิ์ต่อระบบการทำงานของอวัยวะสำคัญของร่างกาย ก่อนการใช้ยาจึงต้องมีการตรวจเลือด เพื่อที่แพทย์จะได้สั่งจ่ายยาในขนาดที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้ป่วย
- ปวดศีรษะ
- หงุดหงิด
- น้ำหนักตัวลด
- เจ็บหน้าอก
- หัวใจเต้นเร็ว
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลัน
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตทำงานน้อย
- ระวังการใช้ยานี้กับ ผู้สูงอายุ และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
- การใช้ร่วมกับยาลดน้ำมูกบางตัว สามารถทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เจ็บหน้าอก ใจสั่น และ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาลดน้ำมูกตัวดังกล่าว เช่น ยา Phenylephrine, Pseudoephedrine
- การใช้ร่วมกับยาบำรุงร่างกายกลุ่มวิตามินรวม (Multivitamin with Mineral) สามารถลดประสิทธิผลในการรักษาของยาเลโวไทรอกซิน หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ควรแนะนำผู้ป่วยให้รับประทานยาห่างกัน 4 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
- การใช้ร่วมกับยาลดกรด สามารถรบกวนการดูดซึมของยาเลโวไทรอกซินจนส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาด้อยลงไป หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ควรเว้นระยะเวลาการรับประทานห่างกัน 4 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ยาลดกรดกลุ่มดังกล่าว เช่นยา Aluminium Hydroxide, Calcium Carbonate, และ Magnesium Hydroxide เป็นต้น
- การใช้ร่วมกับยาเบาหวาน สามารถส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด อาจต้องแจ้งแพทย์เพื่อแพทย์ปรับขนาดรับประทานยาของผู้ป่วย ยารักษาโรคเบาหวานที่กล่าวถึง เช่นยา Glimepiride, Glipizide, และ Metformin เป็นต้น
ยาแพนโทพราโซล (Pantoprazole) คือ ยากลุ่มที่เรียกว่า โปรตอนปั๊ม อินฮิบิเตอร์ (Proton pump inhibitor) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ยาแพนโทพราโซลมีสรรพคุณรักษาโรค/ข้อบ่งใช้:
- รักษาอาการโรคกรดไหลย้อน
- รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ทั้งประเภทที่ไม่มีการติดเชื้อและประเภทที่มีการติดเชื้อ H.pylori (Helicobacter pylori) ร่วมด้วย (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร)
- รักษากลุ่มอาการโซลลิงเจอร์เอลลิสัน (ZollingerEllison syndrome)
ยาแพนโทพราโซลจัดเป็นประเภทยาอันตราย การจะใช้ยานี้ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผลจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
- มีอาการท้องเสีย / ท้องผูก / ท้องอืด / ปวดท้อง / อาหารไม่ย่อย / โรคติดเชื้อทางเดินอาหาร
- วิงเวียน / ปวดหัว
- ผื่นคัน
- เจ็บหน้าอก
- คลื่นไส้
- วิตกกังวล
- น้ำตาลในเลือดสูง
- ไขมันในเลือดสูง
- นอนไม่หลับ
- ปัสสาวะบ่อย
- ตับทำงานผิดปกติ
- ปวดต้นคอ
- อ่อนเพลีย
- ไอ
- โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน / หลอดลมอักเสบ / ไซนัสอักเสบ / เยื่อจมูกอักเสบ
- กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- การใช้ยานี้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะตับทำงานผิดปกติ
- ระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์
- ระวังการใช้ยานี้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีลงมา
- การใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อรา เช่นยา Ketoconazole และ Itraconazole จะทำ ให้ร่างกายดูดซึมยาต้านเชื้อราได้ลดลง
- การใช้ร่วมกับยาโรคหัวใจ เช่นยา Digoxin อาจทำให้การดูดซึมยาโรคหัวใจดังกล่าวลดลงเล็กน้อย
- การใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยา Coumarins จะทำให้ฤทธิ์ของการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดมากขึ้น จึงต้องระวังเรื่องการเกิดบาดแผลหรืออาการตกเลือด
- การใช้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ สามารถส่งผลให้เกิดความระคายเคืองภายในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงห้ามรับประทานร่วมกันโดยเด็ดขาด
ยาเซทิไรซีน (Cetirizine) เป็นกลุ่มยาต่อต้านสารฮีสตามีน (Histamine) มีคุณสมบัติช่วยลดอาการแพ้ต่างๆ เช่น ผื่นคัน ลมพิษเรื้อรัง รักษาอาการแพ้จากการเป็นโรคหวัดคัดจมูก
- สามารถก่อให้เกิดการหดเกร็งของหลอดลมทำให้การหายใจลำบาก
- มีอาการบวมของใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และคอ
- ปากแห้ง
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- รู้สึกสับสน บางคนอาจมีอาการนอนไม่หลับ
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
- ห้ามใช้กับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามใช้กับเด็กทารกแรกเกิด
- ระวังการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ โดยอาจต้องปรับขนาดการรับ ประทานเพื่อความปลอดภัยของคนไข้
- ขณะใช้ยาเซทิไรซีน ควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรหรือการขับขี่ยวดยานพาหนะ เพราะยาอาจก่อให้เกิดอาการง่วงนอนได้
- การรับประทานยาเซทิไรซีนร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถส่งผลให้การควบคุมสติ และการควบคุมร่างกาย ด้อยประสิทธิภาพลงไป จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
- การใช้ยาเซทิไรซีนร่วมกับยากลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้ สามารถก่อให้เกิดอาการงวงนอนมากยิ่งขึ้น หากไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน ยากลุ่มที่อ้างถึง เช่น กลุ่มยารักษาอาการแพ้ต่างๆ ยาแก้ปวดที่เป็นกลุ่มยาเสพติดให้โทษ กลุ่มยานอนหลับ กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ กลุ่มยาแก้โรคลม ชัก กลุ่มยาคลายความวิตกกังวล/ยาคลายเครียด กลุ่มยารักษาอาการซึมเศร้า เป็นต้น
ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาในกลุ่มต่อต้านฮิสตามีน (2nd generation histamine antagonist) เป็นยาแก้แพ้ที่มีผลข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอนที่น้อยลง ยาลอราทาดีนใช้รักษาอาการแพ้ต่างๆ เช่น
- แพ้เกสรดอกไม้
- ลมพิษ
- ผื่นคัน
- ระคายเคืองที่ตา
- คันจมูก
- อาการจาม เป็นต้น
ยาลอราทาดีนจัดอยู่ในยากลุ่มยาอันตราย มีข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงมากมาย การใช้ยาจึงต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์ผู้ทำการรักษา
- มีอาการง่วงนอนเล็กน้อย
- การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
- รู้สึกไม่สบายในทางเดินอาหาร
- ปวดศีรษะ
- ปัสสาวะขัด
- ปากแห้ง เป็นต้น
- ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับระยะรุนแรง
- ห้ามใช้กับผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
- ระวังการใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
ก. มียาหลายกลุ่ม เมื่อใช้ร่วมกับยาลอราทาดีน จะส่งผลให้ระดับยาลอราทาดีนในกระแสเลือดสูงขึ้น ทำให้ผู้ที่ใช้ยาเหล่านั้นได้รับผลข้างเคียงของลอราทาดีนมากยิ่งขึ้น ยากลุ่มดังกล่าว เช่น
- ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย /ยาปฏิชีวนะ เช่นยา Azithromycin, Erythromycin
- ยาต้านเศร้า เช่น Fluoxetine
- ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร เช่นยา Cimetidine
- ยาต้านเชื้อรา เช่นยา Ketoconazole
- ยาแก้ท้องเสีย เช่นยา Loperamide
- ยาโรคเกาต์ เช่นยา Colchicine
ข. ยาทาผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการแพ้บางตัว สามารถส่งผลให้ลดระดับยาลอราทาดีนในกระแสเลือดได้ ทำให้ประสิทธิผลของยาลอราทาดีนด้อยลงไปได้เช่นกัน ยาทาผิวหนังดังกล่าว เช่นยา Hydrocortisone cream
ค. ยาลอราทาดีนสามารถทำให้ระดับความเข้มข้นและผลข้างเคียงของยาสเตียรอยด์เพิ่มมากขึ้น หากมีการใช้ร่วมกันยาสเตียรอยด์ดังกล่าว เช่นยา Prednisolone, Sodium phos phate oral
ยาธาตุน้ำแดงเป็นยาสามัญประจำบ้านที่มีข้อบ่งใช้เป็นยาแก้
- ท้องขึ้น
- ท้องอืด
- จุกเสียด
- แน่นเฟ้อ
- เรอเหม็นเปรี้ยว
- แหวะ/สำรอกอาหารออกมา
ยาธาตุน้ำแดงมีรสหวานเล็กน้อย เย็น ซ่า เผ็ดร้อนเล็กน้อย เป็นยาที่มีส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์ที่ส่วนใหญ่เป็นสารสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการดูดซับแก๊สในทางเดินอาหาร แก้อาการท้องอืดไม่สบายท้อง ซึ่งประกอบด้วย สมุนไพร คือ โกฐน้ำเต้า และการบูร และสารอื่นๆ ได้แก่ เปปเปอร์มิ้น (Peppermint) โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) และเอทานอล (Ethanol) โดยมีสรรพคุณมีดังนี้
- โกฐน้ำเต้า (Rhubarb): มีฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยการกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ แก้ธาตุอ่อน ขับลมในลำไส้ ท้องอืดเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ
- การบูร (Camphor): มีกลิ่นเฉพาะ รสเผ็ดร้อน หอมเย็นซ่า ละลายน้ำได้น้อย เพราะฉะนั้นมักนิยมใช้เอทานอลในการทำละลาย มีสรรพคุณ ขับลม เป็นยาระงับเชื้อโรคอย่างอ่อน แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง ท้องร่วง
- เปปเปอร์มินท์: มีกลิ่นหอมเย็น ช่วยขับลม ทำให้สบายท้อง
โซเดียมไบคาร์บอเนต: เป็นยาที่ช่วยในการลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการ ท้องอืดเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว โดยโซเดียมไบคาร์บอเนตจะทำให้สภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารเป็นกลางมากขึ้น
ยาธาตุน้ำขาว (Salon and Menthol mixture) เป็นยาสามัญประจำบ้านเช่นกัน แต่มีส่วนประกอบเป็น Salol , Anise oil เเละ Menthol โดยยาธาตุน้ำขาวช่วยรักษาอาการอักเสบของลำไส้ ช่วยขับลม และเคลือบกระเพาะอาหารเพื่อการทำลายเชื้อโรคในลำไส้ หรือควบคุมเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารที่เป็นต้นเหตุให้กระเพาะอาหารมีกรดมาก
โดยสรุป
- ยาธาตุน้ำแดง เหมาะกับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มากกว่าใช้เป็นยาลดกรด (ช่วยลดกรดได้บ้างเพราะเป็นด่างอ่อนๆ)
- แต่ยาธาตุน้ำขาว เหมาะกับคนที่ท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือจากสารพิษของเชื้อที่ไม่รุนแรง แล้วมีอาการปวดท้อง หรือลมจากสารพิษของเชื้อหรือจากที่เชื้อปล่อยออกมา และไม่ใช่ยาลดกรด
สามารถกินได้ทั้ง เด็ก ผู้ใหญ่ และหญิงตั้งครรภ์ แต่ทุกกลุ่มโดยเฉพาะเด็กและหญิงตั้งครรภ์ต้องรับประทานในขนาดตามคำแนะนำที่ระบุในฉลากยาเท่านั้น
ยาลอซาร์แทน (Losartan) เป็นยาที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง รวมไปถึงโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน/โรคหลอดเลือดสมองเหตุหลอดเลือดสมองอุดตัน จัดอยู่ในกลุ่มยา Angiotensin II receptor (type AT1) antagonist ในทางการแพทย์ยังนำยานี้มาช่วยชะลอภาวะไตวายอันมีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ด้วย
ยาลอซาร์แทน สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีโดยการรับประทาน การใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะบางตัวสามารถเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาและช่วยลดปริมาณการใช้ยาขับปัสสาวะดังกล่าวด้วย และมีการทดสอบการใช้ยานี้กับสัตว์ทดลองที่ตั้งครรภ์พบว่า สามารถก่อให้เกิดความพิการของตัวอ่อน จึงไม่สมควรใช้ยานี้กับหญิงมีครรภ์ อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้ต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
- อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ
- ไม่ค่อยพบอาการผื่นคัน
- ห้ามใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ปรึกษาและพบแพทย์/มาโรงพยาบาลทันทีที่เมื่อกินยานี้แล้ว มีอาการ ซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดขึ้น รวมไปถึงมีอาการบวมของใบหน้า ริมฝีปาก หลอดลม กล่องเสียง และสายเสียงที่อาจก่อให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ
- การรับประทานยาลอซาร์แทนร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อวัณโรค /ยารักษาวัณโรค และ/หรือ ยาต้านเชื้อรา สามารถลดระดับยาลอซาร์แทนซึ่งอยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์ ทำให้ความสามารถในการรักษาความดันโลหิตสูงลดลงไป ยาที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อวัณโรคและเชื้อราดังกล่าว เช่นยา ไรแฟมฟิซิน (Rifampicin) และ ฟลูโคนาโซล( Fluconazole)
ยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) จัดอยู่ในยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillins) มีสรรพคุณรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค เช่น การติดเชื้อในช่องปาก คอ ปอด (ปอดอักเสบ/ปอดบวม) หูชั้นกลาง (หูติดเชื้อ/หูน้ำหนวก) หลอดลม (หลอดลมอักเสบ) และ ระบบทางเดินอาหาร (ลำไส้อักเสบ โรคติดเชื้อเอชไพโลไร) ซึ่งในแต่ละกลุ่มของโรคจะมีวิธีกินยาและขนาดการใช้ยาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรคและความรุนแรง ดังนั้นจึงควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยสั่งจ่ายยาที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อรับประทานเอง
อาจทำให้เกิดผื่นคัน ลมพิษ หรือมีอาการหอบหืด หากพบอาการหายใจมีเสียงหวีด (อาการของหอบหืด) หลังใช้ยา ควรต้องหยุดใช้ยาทันทีและรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล
ระวังการใช้ยาอะมอกซิซิลลินกับผู้ที่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน ผู้ป่วยหอบหืด ผู้ป่วยโรคตับโรคไต และหญิงมีครรภ์ หญิงที่ให้นมบุตร (เพราะมียาหลายตัวสามารถผ่านรกหรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้) ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มเหล่านี้ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรต้องได้รับคำแนะนำและให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น
ยาอะมอกซิซิลลินถือเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้แพร่หลาย มักเกิดความเข้าใจผิดมากพอสมควร เพราะหลายครั้งผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด/โรคหวัด จะเรียกหาอะมอกซิซิลลินกินแก้เจ็บคอ แต่เนื่องจากไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส อะมอกซิซิลลินฆ่าไวรัสไม่ได้ ฆ่าได้แต่แบคทีเรีย ดังนั้นเป็นไข้หวัดยังไม่ต้องใช้อะมอกซิซิลลิน
- การกินร่วมกับยารักษาโรคเก๊าท์อาจก่อให้เกิดผื่นคันตามร่างกายและอาจลุกลามถึงขั้นรุนแรง ซึ่งยารักษาโรคเก๊าท์ เช่น ยา Allopurinol
- การกินร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดจะลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดจึงอาจตั้งครรภ์ได้ ซึ่งยาเม็ดคุมกำเนิด เช่น ยาDienestro, Diethylstilboestrol และ Stilboestrol
ยาโค-อะมอกซิคลาฟ(Co-Amoxiclave หรือ Amoxicillin/clavulanic acid) เป็นยาปฏิชีวนะแผนปัจจุบันที่มีจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก สูตรตำรับจะประกอบไปด้วยตัวยาอะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) และยากรดคลาวูลานิก (Clavulanic acid) ที่มีสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป และสามารถใช้ยานี้ได้ทั้งกับเด็กและกับผู้ใหญ่ ยาโค-อะมอกซิคลาฟเหมาะสำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ (โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ) ทั้งระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร (โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร) โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง ที่เนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย ที่กระดูก (กระดูกอักเสบ) ที่ข้อต่อต่างๆ (ข้ออักเสบติดเชื้อ) รวมถึงการติดเชื้อในช่องปากอย่างเช่นที่รากฟัน
ยาโค-อะมอกซิคลาฟเป็นสูตรตำรับยาปฏิชีวนะที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว กล่าวคือ ยาอะมอกซิซิลลินเป็นยาที่คอยทำลาย/ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรค ในขณะที่กรดคลาวูลานิกจะคอยป้องกันแบคทีเรียที่สามารถทำลายยาอะมอกซิซิลลินอีกทีหนึ่ง
ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) คือ ยารักษาอาการทางจิต หรืออาการทางจิตประสาทชนิด เฉียบพลันที่มีสาเหตุมาจากการใช้ยากลุ่มที่มีผลต่อจิตประสาท เช่น Amphetamines, Ketamine, Psilocybin และ Phencyclidine การรักษายังรวมไปถึงเรื่องอารมณ์ก้าวร้าว มีภาวะอยู่นิ่งไม่ได้หรือเป็นที่รู้จักว่า Hyperactivity นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการอาเจียนหลังได้รับการผ่าตัด หรือหลังได้รับการฉายรังสีรักษา หรือผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากการรักษาทางยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ฯลฯ
- รักษาอาการทางจิตประสาททั้งในผู้ใหญ่และในเด็ก
- รักษากลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Touretter’s syndrome ) ซึ่งมีอาการกระตุกที่กล้ามเนื้อใบหน้าและลำตัวอย่างมาก อาจมีการเปล่งเสียงคำรามหรือพูดติดอ่างร่วมด้วย
- รักษาอาการกระตุกซ้ำๆ ของใบหน้า คอ ไหล่ มุมปาก หรือที่เรียกว่า Tics
- รักษาภาวะวิตกกังวล ภาวะร้อนรน/กระสับกระส่าย และ สับสน
- รักษาอาการสะอึกชนิดรักษายาก (Intractable hiccup)
- รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนของผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายรังสีรักษาหรือใช้ยาเคมีบำบัด
- มีอาการคล้ายวิตกกังวล ซึมเศร้า
- หัวใจเต้นเร็ว
- ความดันโลหิตต่ำ
- เบื่ออาหาร
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (Severe toxic CNS depression)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคต้อหิน ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจหรือโรคตับในระยะรุนแรง ผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin
- ระวังการใช้ยานี้กับ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ เด็ก
- การใช้ยาฮาโลเพอริดอลร่วมกับยา Carbamazepine และ Rifampicin ส่งผลให้ระดับยาฮาโลเพอริดอลในกระแสเลือดลดต่ำลงจนกระทบต่อประสิทธิภาพของการรักษา แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมต่อคนไข้
- การใช้ยาฮาโลเพอริดอลร่วมกับ ยานอนหลับ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นได้ สมควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ฮาโลเพอริดอลร่วมกับ ยาลดความดันโลหิตสูง เช่น Guanethidine สามารถลดฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตให้ด้อยประสิทธิภาพลง ควรเลี่ยงการใช้ร่วมกัน หรือแพทย์เป็นผู้ปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสม
ยาเตตระเคน (Tetracaine หรือ Tetracaine hydrochloride ย่อว่า Tetracaine HCl) หรือเรียกในชื่ออื่นว่า อะเมโทเคน(Amethocaine) ถูกใช้เป็นยาชาเฉพาะที่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเล็ก หรือทำหัตถการทางการแพทย์ต่างๆ การใช้เตตระเคนทาบนผิวหนังหรือบนพื้นที่ของร่างกายเพียง 30 วินาที – 15 นาที ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดอาการชาได้แล้ว ยาเตตระเคนมีหลายรูปแบบเภสัชภัณฑ์ เช่น ยาหยอดตา ยาฉีดเข้าน้ำไขสันหลัง ยาทาเฉพาะที่
- เป็นยาหยอดตา เพื่อระงับอาการปวดเมื่อต้องนำสิ่งแปลกปลอมออกจากตา
- ช่วยระงับปวดขณะทำหัตถการตรวจวัดความดันลูกตา หรือขณะผ่าตัดต้อกระจก
- เป็นยาฉีดเข้าน้ำไขสันหลังเพื่อลดอาการเจ็บ/ปวดขณะทำหัตถการทางการแพทย์
- ใช้ทาผิวหนังทำให้ชาก่อนแทงเข็มฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ
- ยาเตตระเคนที่ใช้เป็นยาหยอดตาเพื่อระงับอาการเจ็บปวดตา ก่อนทำการรักษา ต้องใช้ตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ด้วยยาชาชนิดนี้มีฤทธิ์ลดการผลิตน้ำตา และ อาจเป็นผลเสียทำให้ตาแห้ง สิ่งสำคัญคือ การใช้ยาเตตระเคนกับตาเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้กระจกตาขุ่นมัวได้
- ห้ามใช้ยาเตตระเคนชนิดทาผิวหนังในบริเวณที่เป็นแผลเปิด เพื่อหลีกเลี่ยงการดูดซึมยาเตตระเคนเข้าสู่กระแสเลือด
- ห้ามใช้ยาเตตระเคนหยอดหูชั้นกลาง ด้วยจะทำให้ตัวยาไหลผ่านท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) ผ่านเข้าสู่ลำคอ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชาและไม่สามารถกลืนน้ำ หรืออาหารได้
- ยาเตตระเคนสำหรับฉีดเข้าน้ำไขสันหลังเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวดของผู้ป่วยเมื่อต้องเข้ารับการทำหัตถการทางการแพทย์ต่างๆ ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือความดันโลหิตต่ำ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือผู้ที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก ด้วยยาเตตระเคนจะทำให้อาการเจ็บป่วยดังกล่าวรุนแรงมากยิ่งขึ้น
- ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด: เช่น แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้า หัวใจหยุดเต้น ความดันโลหิตต่ำ
- ผลต่อระบบประสาท: เช่น วิงเวียน ตัวสั่น ง่วงนอน ชัก มีไข้
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น ปวดท้อง ริมฝีปากบวม
- ผลต่อตา: เช่น เกิดภาวะตาพร่า รูม่านตาเล็กลง
- ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น กระสับกระส่าย รู้สึกสับสน
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ: เช่น หายใจขัด หยุดหายใจ
- ผลต่อผิวหนัง: เช่น มีผื่นคัน เหงื่อออกมาก
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาเตตระเคนร่วมกับยา Sodium nitrite, Diazepam, Flurazepam และ Prilocaine เพราะอาจทำให้เกิดภาวะ Methemoglobinemia ตามมา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาเตตระเคนร่วมกับยา Alprazolam, Chlordiazepoxide เพราะจะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ และง่วงนอนอย่างรุนแรง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาเตตระเคนร่วมกับ ยาSulfadiazine เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาของยา Sulfadiazine ลดน้อยลง
- ใช้เพื่อป้องกัน ผิวแห้ง ตกสะเก็ด
- ใช้เพื่อบรรเทาอาการคัน หรือระคายเคืองทางผิวหนัง
- ทางคลินิก ถูกนำมารักษาอาการผื่นผ้าอ้อม ผิวไหม้จากแสงแดด หรือแผลไหม้ในระดับความรุนแรงต่ำๆ หรือแม้แต่ผิวหนังได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอย่างแผลถลอก หรือใช้ยานี้ทาผิวหลังจากการสักผิวหนัง
ยาบีแพนเธน มีกลไกการออกฤทธิ์คือ สาระสำคัญของยานี้ที่เป็นตัวยาเด็กซ์แพนทีนอล (Dexpanthenol) จะช่วยดูดซับความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง ทำให้ลดอาการผิวหนังแห้ง กร้าน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการระคายเคือง นอกจากนี้ยังทำให้การสมาน/การซ่อมแซมรอยแผลที่ผิวหนังเกิดได้รวดเร็วมากขึ้น
ยาบีแพนเธนเป็นยาใช้ภายนอก และตัวยาเองก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ได้น้อย โดยทั่วไปจึงมักไม่พบอาการข้างเคียงอย่างใดเลย แต่อาจพบว่าผู้ใช้ยานี้บางรายเกิดอาการระคายเคืองผิวหนังส่วนสัมผัสยานี้ได้บ้างเล็กน้อย
- ห้ามใช้ยาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของตัวผลิตภัณฑ์ที่ต่างไปจากสภาพปกติ เช่น สี กลิ่น ผิดปกติ
- การใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ ควรต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังใช้ยานี้
- แม้ยาบีแพนเธนเป็นยาทาภายนอกก็ตาม ผู้บริโภค/ผู้ป่วยก็ควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยานี้ทุกครั้ง เพื่อประเมินความรุนแรงของรอยโรคที่ผิวหนัง ว่าเหมาะสมที่จะใช้ยานี้หรือไม่
- ใช้บำบัดรักษาและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน แต่ไม่สามารถรักษาอาการไมเกรนแบบเฉียบพลันได้
- บำบัดอาการเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน
ยาฟลูนาริซีนมีกลไกการออกฤทธิ์โดยทำให้หลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะสมอง จึงเกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
- มีน้ำหนักตัวเพิ่ม
- ง่วงนอน
- คลื่นไส้
- ปากคอแห้ง
- นอนไม่หลับ
- ความดันโลหิตต่ำ
- หากพบว่ามีอาการวิตกกังวล ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อขอปรับขนาดยา (เพราะอาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวลมากขึ้น)
- ถ้ามีผื่นคัน มีภาวะซึมเศร้า รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ลำบาก ไม่สามารถควบคุมการขยับปากและใบหน้าได้ ต้องรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย โรคความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจล้มเหลว และผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ระวังการใช้ยานี้ใน หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า
- ระหว่างกินยานี้ ให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เพราะจะส่งผลให้ผลข้างเคียงจากยานี้สูงขึ้น
- ระหว่างการใช้ยาฟลูนาริซีน ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร หรือการขับรถ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากมีอาการง่วงนอนมาก
- การใช้ยาฟลูนาริซีนร่วมกับยากันชัก เช่นยา Carbamazepine, Phenytoin, และ Valproic acid สามารถทำให้ระดับยาฟลูนาริซีนในกระแสเลือดลดต่ำ อาจส่งผลต่อการรักษาของยาฟลูนาริซีน จึงควรต้องแจ้งแพทย์เพื่อแพทย์พิจารณาปรับขนาดการกิน
- การกินยาฟลูนาริซีนร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ กลุ่มยานอนหลับ กลุ่มยาคลายวิตกกังวล/ยาคลายเครียด ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เสพติดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid analgesics) จะเพิ่มฤทธิ์ของการสงบประสาท ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกง่วงนอน วิงเวียนมากขึ้น หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการกินร่วมกัน หรือให้แพทย์เป็นผู้ปรับขนาดยา
- รักษาการติดเชื้อราที่ผิวหนัง การติดเชื้อแคนดิดา (Candida) ที่ช่องคลอด
- รักษาการติดเชื้อราของเยื่อหุ้มสมองแบบเฉียบพลัน (Acute Cryptococcal meningitis) ในผู้ป่วยโรคเอดส์
- ใช้ป้องกันการติดเชื้อราในผู้ป่วยด้วยภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เช่น โรคเอดส์
กลไกการออกฤทธิ์ของยาฟลูโคนาโซลคือ ตัวยาจะลดการสังเคราะห์สาร Ergosterol (สารสำคัญที่ใช้สร้างเซลล์ของเชื้อรา) ในเชื้อรา ส่งผลยับยั้งการสร้างเซลล์เมมเบรน/เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) จึงทำให้เชื้อราตายลงในที่สุด
- อาการคลื่นไส้อาเจียน
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- ท้องอืด
- การทำงานของตับเพิ่มมากขึ้น
- ปวดศีรษะ
- ผื่นคัน
- ผิวหนังบวม
- ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงมีครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยด้วยโรคไตและโรคตับ
- ร่วมกับ ยาวัณโรค เช่นยา Rifampicin สามารถลดระดับปริมาณยาฟลูโคนาโซลในกระแสโลหิตได้
- ร่วมกับ ยาขยายหลอดลม เช่นยา Theophyllin จะทำให้ร่างกายกำจัดยา Theophylline ได้น้อยลง
- ร่วมกับ ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฟลูโคนาโซลสามารถลดประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดจนอาจก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
- ร่วมกับ ยาคลายความวิตกกังวล/ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่นยา Alprazolam, Triazolam, Midazolam และ Diazepam ยาฟลูโคนาโซลสามารถเพิ่มระดับยาดังกล่าวในกระแสเลือดและทำให้ร่างกายได้รับผลข้างเคียงของยาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้น
ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) อาจเรียกย่อๆ ว่า ยาเอชซีทีแซด (HCTZ) เป็นยาขับปัสสาวะที่จัดอยู่ในกลุ่มสารไทอะไซด์ (Thiazide: กลุ่มสารขับปัสสาวะกลุ่มหนึ่ง) ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ลดอาการบวมน้ำของร่างกาย
- ป้องกันภาวะนิ่วในไต
- รักษาโรคกระดูกพรุน
- รักษาภาวะ/โรคเบาจืด
- ทำให้ร่างกายเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่
- รู้สึกระคายเคืองในทางเดินอาหาร
- เบื่ออาหาร
- ปวดหัว
- วิงเวียน
- ความดันโลหิตต่ำ
- ปากคอแห้ง
- กระหายน้ำ
- ท้องเสีย หรือ ท้องผูก
- ตัวซีด
- ตับอ่อนอักเสบ
- อาจมีอาการของโรคเกาต์กำเริบ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยแพ้ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ และแพ้ยาซัลโฟนาไมด์
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ปัสสาวะไม่ออก
- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีภาวะตับ - ไตบกพร่องอย่างรุนแรง
- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยด้วยโรคต่อมไร้ท่อที่ชื่อ โรคแอดดิสัน (Addison's disease)
- ห้ามใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่กำลังควบคุมระดับเกลือแร่ในเลือดและในผู้สูงอายุ
- การใช้ร่วมกับยารักษาอาการทางจิตประสาท/ยาจิตเวช เช่นยา Lithium อาจทำให้ยารักษาอาการทางจิตฯ มีระดับปริมาณในกระแสเลือดสูงขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะท้องเสีย อาเจียน ง่วงนอน ตัวสั่น กระหายน้ำ
- การใช้ร่วมกับยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่นยา Amidarone อาจเพิ่มความเสี่ยงต่างๆ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น วิงเวียน เป็นลม อ่อนเพลีย สับสน ง่วงนอน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ซึ่งภายหลังรับประทานยานี้หากมีอาการดังกล่าวควรต้องรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
- การใช้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดภาวะ ปวดหัว วิงเวียน เป็นลม จึงห้ามรับประทานร่วมกัน
- อาจทำให้เกิดภาวะของเกลือโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatraemia ) เมื่อใช้ร่วมกับยากันชัก เช่นยา Carbamazepine
- อาจเพิ่มความเสี่ยงของความเป็นพิษต่อร่างกายเมื่อใช้ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ร่วมกับ
- ยารักษาโรคเกาต์ เช่นยา Allopurinol
- ยาปฏิชีวนะบางตัว เช่นยาTetracycline
ยาฟูโรซีไมด์ (Furosemide) เป็นยาขับปัสสาวะที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคหัวใจล้มเหลวและอาการบวมของร่างกาย
ยาฟูโรซีไมด์อาจทำให้รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร ก่อให้เกิดความดันโลหิตต่ำ การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน วิงเวียน และปวดศีรษะ
- ห้ามใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (ส่วนในหญิงให้นมบุตร ต้องขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ เพราะยาผ่านออกมาในน้ำนมได้) ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะร่างกายขาดเกลือแร่ และผู้ที่มีโรคตับระยะรุนแรง
- ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยโรคไต โรคต่อมลูกหมากโต
- ควรระวังการใช้ยากับผู้ที่อยู่ในภาวะจำกัดน้ำและเกลือแร่
- การรับประทานยาฟูโรซีไมด์ร่วมกับยาแก้ปวด เช่น ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAID) สามารถทำให้เกิดพิษและก่อให้เกิดความเสียหายกับไตได้
- การใช้ยาฟูโรซีไมด์ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม เช่น Amikacin Tobramycin และ Gentamycin เป็นต้น สามารถก่อให้เกิดความเป็นพิษกับไต และสูญเสียการได้ยิน วิงเวียน ซึ่งโดยมากมักเกิดกับผู้สูงอายุ
- การใช้ยาฟูโรซีไมด์ร่วมกับยาที่เพิ่มการเคลื่อนไหวของกระเพาะและลำไส้ เช่น Cisapride สามารถทำให้เกิดภาวะการเต้นของหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีอาการเวียนศีรษะ เป็นลม ติดตามมา
โคเดอีน (Codeine) จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ มักนำไปผสมกับยาอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์ในการรักษา มีสรรพคุณ เช่น
- แก้ไอ
- แก้ท้องร่วง/ท้องเสีย
- แก้ปวด
- หัวใจเต้นเร็ว / เต้นผิดจังหวะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องผูก
- ปากคอแห้ง
- เหงื่อออกมาก
- ง่วงนอน
- มึนงง
- ปัสสาวะไม่ออก
- ความดันโลหิตต่ำ
- อุณหภูมิร่างกายลดลง
- ประสาทหลอน
- อารมณ์แปรปรวน
- อาจเกิดอาการชัก
- การกินยาโคเดอีนร่วมกับยาแก้ปวด เช่น ยาทรามาดอล (Tramadol) อาจก่อให้เกิดอาการชักได้ง่าย อีกทั้งทำให้ระบบการหายใจทำงานผิดปกติและมีภาวะหายใจลำบาก
- การกินยาโคเดอีนร่วมกับ ยาลดความดันยาลดความดันเลือดสูง เช่น ยาเนฟีดีปีน (Nefedipine) อาจเสริมฤทธิ์กันและทำให้ความดันโลหิตต่ำลงมาก จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การกินยาโคเดอีนร่วมกับยานอนหลับบางกลุ่ม เช่น ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) จะเสริมฤทธิ์กดการหายใจ และมีความเสี่ยงต่อการขาดอากาศ
- การกินยาโคเดอีนร่วมกับยารักษาอาการภูมิแพ้/ยาแก้แพ้ เช่น ยาคลอร์เฟนนิรามิน (Chlorpheniramine) จะเสริมฤทธิ์การกดการหายใจของร่างกาย ทำให้รู้สึกมึนงง และอ่อนเพลีย
- ด้วยยาโคเดอีนมีฤทธิ์เสพติด จึงต้องระมัดระวังในการรับประทานยาอย่างถูกต้องเฉพาะตามแพทย์/พยาบาล/เภสัชกรแนะนำเท่านั้น เพื่อป้องกันการเสพติดยาโดยรู้ไม่เท่าทัน
- โคเดอีนมีฤทธิ์กดการหายใจของร่างกาย อาจก่อให้เกิดภาวะการหายใจติดขัด จึงต้องระวังการใช้ยากับผู้ที่ป่วยเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหืด
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เพราะยาผ่านรกเข้าสู่ทารกก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารก เมื่อคลอดเด็กจะเติบโตได้ช้า มีอาการจากติดยานี้ และมีการกดการหายใจได้
- ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้สูงอายุ เพราะเกิดผลข้างเคียงสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ทั่วไป โดยเฉพาะการกดการหายใจ
- ระวังการใช้ยาโคเดอีนกับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์ โมน) เพราะโคเดอีนมักทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงทำให้รู้สึกหนาวสั่นมากขึ้น
- ผู้ที่ได้รับยาโคเดอีน ไม่ควรขับขี่ยานยนต์ หรือทำงานกับเครื่องจักร เพราะยาจะทำให้ง่วงนอน จึงอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ยาไดอะซีแพม (Diazepam) หรือชื่อการค้าที่คนมักรู้จัก คือ แวเลียม (Valium) จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ถูกนำมาใช้รักษาได้หลายอาการโรค อาทิเช่น
- ใช้รักษาภาวะเครียด หรือ อาการวิตกกังวล
- ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการชักเกร็ง
- ใช้รักษาภาวะนอนไม่หลับ
- ใช้รักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ติดฝิ่น
- อาการง่วงนอน
- จิตใจไม่ปกติ
- ความจำเสื่อม
- การมองเห็นไม่ชัดเจน
- อาจพบอาการปัสสาวะติดขัด / ปัสสาวะลำบาก
- กดการหายใจ / การหายใจผิดปกติ
- ความดันโลหิตต่ำ
- ห้ามใช้ยากับหญิงมีครรภ์ (เพราะอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้) และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร (เพราะยาจะปนมาในน้ำนม ส่งผลให้เด็กนอนหลับ ง่วงซึมตลอดเวลา ขาดอาหารได้)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคต้อหิน เพราะอาการโรคต้อหินอาจรุนแรงขึ้นได้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคจิตที่อยู่ในระยะรุนแรง
- ระวังการใช้ยากับ ผู้สูงอายุ เด็กแรกคลอด ผู้ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia Gravis) เพราะผลข้างเคียงจากยานี้อาจสูงขึ้น
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีภาวะบกพร่องในระบบทางเดินหายใจ เพราะอาจทำให้อาการของโรคเหล่านี้รุนแรงขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากับผู้ป่วยด้วย โรคตับ และโรคไต เพราะผลข้างเคียงจากยาจะสูงขึ้น
- การรับประทานไดอะซีแพมร่วมกับยาบรรเทาปวด/ยาแก้ปวด ในกลุ่มโอปิออยด์ (ฝิ่น) เช่น Codeine, Fentanyl, Tramadol สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น ง่วงนอนและวิงเวียนศีรษะมากขึ้น
- การใช้ยาไดอะซีแพมร่วมกับยาแก้แพ้หรือยาแก้หวัด เช่น Brompheniramine, Chlorpheniramine, Cetirizine สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ
- การใช้ยาไดอะซีแพมร่วมกับยาลดความดันโลหิตสูง เช่น Atenolol, Nadolol สามารถส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้มากขึ้น มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน และเป็นลม ได้
- การใช้ยาไดอะซีแพมร่วมกับยาที่กระตุ้นให้อยากอาหาร เช่น Cyproheptadine สามารถก่อให้เกิด อาการง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ
ยา อัลปราโซแลม (Alprazolam) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่อยู่ในกลุ่ม Benzodiazepine ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์เพื่อ
- รักษาอาการวิตกกังวล
- อาการซึมเศร้า
- นอนไม่หลับ
- เป็นยาร่วมรักษาในการเลิกเหล้า
- อาจทำให้รู้สึกง่วงนอน วิงเวียน สายตาพร่ามัว การมองเห็นไม่ชัดเจน
- รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร เช่น มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน
- อาจทำให้ความทรงจำบกพร่อง หรือ เกิดภาวะหลงลืม
- ห้ามใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามใช้ยาในผู้ที่ป่วยด้วยโรคต้อหิน ด้วยจะทำให้อาการของโรคต้อหินกำเริบมากขึ้น
- การรับประทานยาอัลปราโซแลมร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะเกิดการเสริมฤทธิ์ในการกดการทำงานของกระแสประสาทในสมอง ก่อให้เกิดภาวะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย ขาดการควบคุมสติ ดังนั้น จึงแนะนำว่าเมื่อรับประทานยานี้ ควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักร หรือเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยเฉพาะในขณะที่ได้รับยาอัลปราโซแลมร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การรับประทานยาอัลปราโซแลมร่วมกับยาที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับเชื้อราบางตัว เช่น คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ยาสามารถทำให้เกิดอาการง่วงนอนและการหายใจช้าลงได้
- การรับประทานยาอัลปราโซแลมร่วมกับยาที่ใช้รักษาอาการเจ็บปวดบางกลุ่ม เช่น ยาเฟนทานิล (Fentanyl) สามารถก่อให้เกิดการกดการทำงานของกระแสประสาทในสมอง ก่อให้เกิดภาวะง่วงนอน อ่อนเพลีย ขาดการควบคุมสติ ดังนั้นจึงแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรหรือเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะ
ก. แบ่งตามระยะเวลาของการออกฤทธิ์ดังนี้
- ประเภทออกฤทธิ์เร็ว (Rapid acting Insulin หรือ Fast acting insulin): ใช้ระยะเวลาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดประมาณ 15 นาที ระดับยาในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นสูงสุดใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และฤทธิ์การรักษาอยู่ได้นาน 2 - 4 ชั่วโมง ตัวอย่างอินซูลินในกลุ่มนี้ได้แก่ Insulin glulisine, Insulin lispro, Insulin aspart
- ประเภทออกฤทธิ์ในช่วงปกติ (Regular insulin หรือ Short-acting Insulin): ใช้ระยะเวลาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดประมาณ 30 นาที ระดับยาในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นสูงสุดใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง และฤทธิ์การรักษาอยู่ได้นาน 3 - 6 ชั่วโมง ตัวอย่างอินซูลินในกลุ่มนี้ได้แก่ Humulin R
- ประเภทออกฤทธิ์นานขึ้นในระดับกลาง (Intermediate - acting Insulin): ใช้ระยะเวลาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง ระดับยาในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นสูงสุดใช้เวลาประมาณ 4 - 12 ชั่วโมง และฤทธิ์ในการรักษาอยู่ได้นาน 12 - 18 ชั่วโมง ตัวอย่างอินซูลินในกลุ่มนี้ได้แก่ Humulin N
- ประเภทออกฤทธิ์นาน (Long - acting Insulin): ชนิดที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงตั้งแต่ดูดซึมจนกระทั่งเริ่มออกฤทธิ์ ระยะเวลาของฤทธิ์ในการรักษาอยู่ได้นานมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป ตัวอย่างอินซูลินในกลุ่มนี้ได้แก่ Insulin detemir และ Insulin glargine
ข. แบ่งตามรูปแบบการละลายของยาคือ
- ประเภทละลายน้ำได้: มักอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์เร็ว มีลักษณะใส สามารถฉีดทางหลอดเลือดได้
- ประเภทไม่ละลายน้ำ: ถูกผลิตเป็นรูปยาฉีดชนิดแขวนตะกอน มักอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ระดับกลางขึ้นไป ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
- รักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 diabetes)
- ใช้ร่วมรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 diabetes)
- รักษาภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนด้วยโรคเบาหวาน (Diabetic ketoacidosis)
หากลืมฉีดยาอินซูลินสามารถฉีดยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการใช้ในครั้งถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
อินซูลินสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ คือ เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน เกิดการสูญเสียเนื้อเยื่อไขมันใต้ผิวหนัง มีภาวะโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ (อาการเช่น กล้ามเนื้อเป็นตะคริว หัวใจเต้นผิดปกติ) การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่แพ้ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ของยาอินซูลิน
- ระวังการใช้กับสตรีตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ
- กรณีที่มีการเปลี่ยนชนิดหรือผลิตภัณฑ์ยาอินซูลินเป็นชนิดใหม่ ควรต้องเฝ้าติดตามประสิทธิ ผลในการรักษาของผู้ป่วยควบคู่กันไปอย่างใกล้ชิดเช่น จากการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้น
- การใช้ยาอินซูลินร่วมกับยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid), ยากลุ่ม Sympathomi metic drug, ไทรอยด์ฮอร์โมนเช่น ยา Levothyroxine ยาขับปัสสาวะ ยาต้านวัณโรค เช่น Isoniazid สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันควรปรับขนาดของยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาอินซูลินร่วมกับยาต้านเบาหวานชนิดอื่น (เช่น ยา Metformin) ยาในกลุ่ม ACE inhibitors ยากลุ่ม MAOIs ยาต้านแบคทีเรีย/ยาฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) จะส่งผลให้ลดน้ำตาลในกระแสเลือดมากยิ่งขึ้น แพทย์จะปรับขนาดของยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นกรณีไป
- การใช้ยาอินซูลินร่วมกับยาต้านแบคทีเรีย เช่น Doxycycline สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำยิ่งขึ้น การใช้ยาร่วมกันควรต้องตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดว่าปกติดีหรือไม่
- การใช้ยาอินซูลินร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำก็ได้ จึงห้ามใช้ร่วมกัน
ยาอีโซเมปราโซล (Esomeprazole) หรือชื่อยาชื่อการค้าที่คนทั่วไปรู้จักคือ ยาเน็กเซียม (Nexium) เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (Proton pump inhibitor) ถูกนำมาใช้
- รักษาอาการโรคกรดไหลย้อน
- รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (โรคแผลเปบติค)
- รักษาอาการโรค Zollinger-Ellison syndrome
- ป้องกันภาวะเลือดออกในกระเพาะ
- ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร-ลำไส้ เมื่อผู้ป่วยมีการรับประทานยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs)
ยาอีโซเมปราโซลอาจมีผลไม่พึงประสงค์ เช่น อาการปวดศีรษะ และรู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ในระยะรุนแรง
- ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- การใช้ยาอีโซเมปราโซลร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวีบางตัว เช่น Atazanavir, Nelfinavir สามารถลดฤทธิ์การรักษาของยาต้านไวรัสเอชไอวีดังกล่าว เพราะภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารต่ำ ยาต้านไวรัสเอชไอวีเหล่านี้จะถูกดูดซึมได้น้อยลง จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกัน
- การใช้ยาอีโซเมปราโซลร่วมกับยารักษาโรคข้อรูมาตอยด์ เช่น Methotrexate อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงของ Methotrexate (เช่น กดการทำงานของไขกระดูก) มากขึ้น ด้วยอีโซเมปราโซลจะสนับสนุนการเพิ่มปริมาณ Methotrexate ในกระแสเลือด
- การใช้ยาอีโซเมปราโซลร่วมกับยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ จะทำให้การดูดซึมของธาตุเหล็กลดต่ำลง ด้วยอีโซเมปราโซลลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงมีภาวะที่ไม่เหมาะสมในการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย แพทย์จะเป็นผู้แนะนำและปรับขนาดหรือเวลาของการรับประทานยาทั้งคู่
ยาแรนิทิดีน หรือ รานิทิดีน (Ranitidine) เป็นยาที่เป็นสารเคมีที่มีกลไกแข่งขันหรือยับยั้งการทำงานของสารฮีสตามีน (Histamine) ที่เรียกว่า Histamine H2 receptor antagonist ทำให้การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดน้อยลง จึงถูกนำมาใช้
- รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- รักษาและบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
- รักษาภาวะกรดหลั่งออกมามากเกินไป เช่น โรค Zollinger - Ellison syndrome
- ใช้ควบคู่กับยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- ใช้เป็นยาร่วมกับยาอื่นในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori ที่อยู่ในกระเพาะอาหาร
- ป้องกันภาวะกรดในกระเพาะอาหารสำลักเข้าสู่หลอดลมก่อนการผ่าตัด (Acid - aspiration pneumonia)
- รักษาภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
- ลมพิษ
- มีไข้
- หลอดลมหดเกร็งทำให้หายใจลำบาก
- ความดันโลหิตต่ำ
- เจ็บหน้าอก
- ระวังการใช้ยานี้กับ ผู้ป่วยโรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยด้วยโรคไต
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้แสงแดด หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร รวมถึงเด็กทารก จนกระทั่งผู้สูงอายุ
- การใช้ยาแรนิทิดีนร่วมกับยาบางตัวที่รักษาโรคเอชไอวี /ยาต้านเอชไอวี เช่นยา Atazanavir อาจทำให้การดูดซึมของยาต้านเอชไอวีลดลง ส่งผลต่อประสิทธิผลของการรักษา หากต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสม
- การใช้ยาแรนิทิดีนร่วมกับยาบางตัวที่รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ-บี /ยาต้านไวรัสตับอักเสบบี เช่น Adefovir สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาทั้ง 2 เพิ่มมากขึ้น แพทย์จะปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสมเป็นแต่ละกรณีผู้ป่วย
- การใช้ยาแรนิทิดีนร่วมกับยาขยายหลอดลม เช่นยา Aminophylline, Theophylline อาจเกิดผลข้างเคียงของยา Aminophylline และ Theophylline เพิ่มมากขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ใจสั่น อาจมีอาการชักร่วมด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน หรือ แพทย์จะปรับขนาดการรับประทานของยาให้เหมาะสมเป็นแต่ละกรณีไป
- การใช้ยาแรนิทิดีนร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Warfarin สามารถทำให้เกิดอาการตกเลือดได้ หากพบอาการตกเลือด อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด และ/หรืออุจจาระเป็นเลือด ปวดศีรษะ วิงเวียน ควรต้องรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อการรักษา และเพื่อแพทย์พิจารณาปรับขนาดการรับประทานของยาทั้งคู่
ยาโคลนาซีแพม(Clonazepam) เป็นยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) ที่ออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 6–12 ชั่วโมง ทางคลินิกนำมาใช้
- บำบัดป้องกันการเกิดลมชักทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่
- บำบัดอาการโรคแพนิค (Panic disorder)/ภาวะตื่นตระหนกในผู้ใหญ่
- ผลต่อระบบเลือด: เช่น โลหิตจาง เกิดภาวะ Leukopenia (เม็ดเลือดขาวต่ำ)Thrombocytopenia (เกล็ดเลือดต่ำ) Eosinophilia (เม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophilในเลือดสูง) และมีเลือดออกใต้ผิวหนัง/ห้อเลือด
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น ท้องผูกหรือไม่ก็ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปากแห้ง เกิดแผลที่เหงือก
- ผลต่อระบบประสาท: เช่น วิงเวียน กระสับกระส่าย เดินเซ สติปัญญาลดลง ความจำด้อยลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ หนังตากระตุก พูดไม่ชัด
- ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด: เช่น ชีพจรเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ หน้าแดง หลอดเลือดดำที่ขาอักเสบ (หลอดเลือดอักเสบ)
- ผลต่อตับ: เช่น ค่าเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดสูงขึ้น และอาจมีภาวะตับโต
- ผลต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค: เช่น ติดเชื้อง่าย เช่น ติดไวรัสเริม
- ผลต่อผิวหนัง: เช่น ผมร่วง เกิดผื่นคัน เกิดสิว ลมพิษ รู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง
- ผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ: เช่น เกิดโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก/ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อย เลือดออกจากท่อทางเดินปัสสาวะ/ปัสสาวะเป็นเลือด
- ผลต่อระบบเผาผลาญพลังงานของร่างกาย: เช่น เบื่ออาหาร ร่างกายขาดน้ำ/ กระหายน้ำ/ภาวะขาดน้ำ น้ำหนักตัวเพิ่มหรือไม่ก็ลด เกิดภาวะ/โรคเกาต์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหลัง ปวดขา ปวดคอ ปวดข้อ เป็นตะคริวที่ขา
- ผลต่อตา: เช่น ตาพร่า
- ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น เซื่องซึม สับสน ประสาทหลอน ก้าวร้าว อยู่ไม่สุข วิตกกังวล นอนไม่หลับ ฝันร้าย มีความรู้สึกอยากทำร้ายตนเอง
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ: เช่น เกิดโรคติดเชื้อที่ช่องทางเดินหายใจส่วนบน ไซนัสอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ ไอ หลอดลมอักเสบ
- ห้ามปรับขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ยานี้โดยไม่ปรึกษาแพทย์
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ รวมถึงสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ด้วยตัวยาสามารถส่งผลต่อทารกได้ การจะใช้ยานี้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเท่านั้น
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยโรคตับระยะรุนแรง ผู้ป่วยโรคระบบเดินหายใจในระดับรุนแรง และกับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ห้ามรับประทานยานี้พร้อมกับสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ที่มีประวัติโรคพิษสุราเรื้อรัง
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้สูงอายุ ด้วยเสี่ยงกับการเกิดภาวะซึมเศร้า และอาจมีอาการวิตกกังวลตามมา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการติดยา
- ระหว่างการใช้ยานี้ ต้องระมัดระวังเรื่องการขับขี่ยวดยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรต่างๆ ด้วยมักเกิดอาการวิงเวียนจากการใช้ยานี้ จนอาจเกิดอันตรายได้ง่าย
- รับประทานยานี้ต่อเนื่อง ตรงตามขนาด และเวลาในแต่ละวัน ตามแพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาโคลนาซีแพมร่วมกับยา Fentanyl, Propoxyphene ด้วยจะทำให้ร่างกายได้รับผลข้างเคียงจากยาโคลนาซีตามมาได้มากยิ่งขึ้น เช่น ง่วงนอน วิงเวียน สับสน ขาดสมาธิ
- การใช้ยาโคลนาซีแพมร่วมกับยา Buprenorphine จะเกิดฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางมากยิ่งขึ้น ส่งผลกดการทำงานของอวัยวะระบบหายใจ และมีภาวะโคม่าตามมาจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้จากภาวะหายใจล้มเหลว หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาโคลนาซีแพมร่วมกับยา Droperidol ด้วยจะทำให้เกิดความเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะตามมา
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาโคลนาซีแพมร่วมกับยา Olanzapine ด้วยจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเบา วิงเวียน ง่วงนอน หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีบุคคลไป
มอนเทลูคาสท์ (Montelukast) คือ ยารักษาอาการโรคหืด รวมถึงอาการแพ้ที่เกิดในระบบทางเดินหายใจ ยามอนเทลูคาสท์เป็นสารประเภท Leukotriene receptor antagonists (สารต้านการอักเสบที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้) มีสรรพคุณ เช่น
- รักษาอาการภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ
- รักษาอาการโรคหืด
- ป้องกันอาการหดเกร็งของหลอดลมที่ส่งผลให้เกิดอาการโรคหืด
ทั้งนี้ การใช้ยานี้ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เป็นสำคัญ
- วิงเวียน
- อ่อนแรง / อ่อนเพลีย
- มีไข้
- ท้องอืด /ปวดท้อง / ท้องเสีย / คลื่นไส้อาเจียน
- ผื่นคันตามผิวหนัง / ลมพิษ
- ปวดฟัน
- กระเพาะอาหารอักเสบ
- ลำไส้อักเสบ
- เกิดอาการไอ
- น้ำมูกคั่ง
- อารมณ์หงุดหงิดง่าย / กระสับกระส่าย / ก้าวร้าว
- ง่วงนอน / นอนไม่หลับ / ฝันแปลกๆ
- ตัวบวม
- ประสาทหลอน
- เป็นตะคริว
- ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ตับอ่อนอักเสบ
- เกิดอาการลมชัก
- อาจพบภาวะ Churg-Strauss syndrome (กลุ่มอาการโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการหดเกร็งของหลอดลม (หายใจลำบาก) แบบเฉียบพลัน
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- การใช้ยามอนเทลูคาสท์ ร่วมกับยาบางตัว เช่นยา Rifampicin, Phenobarbital, และ Phenyltoin อาจทำให้ยามอนเทลูคาสท์ในร่างกายถูกตับเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีได้มากยิ่งขึ้น จนส่งผลต่อการรักษา หากไม่มีความจำเป็นใดๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยามอนเทลูคาสท์ ร่วมกับยา Prednisone อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการบวมตามมือเท้า การจะใช้ยาทั้ง 2 ตัวร่วมกันควรต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
- การใช้ยามอนเทลูคาสท์ ร่วมกับยา Sulfamethoxazole อาจทำให้ระดับยามอนเทลูคาสท์ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นจนก่อให้เกิดอาการข้างเคียงติดตามมา หากต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
ซาลบูทามอล (Salbutamol หรือ Albuterol หรือ Albuterol sulfate) เป็นยารักษาภาวะหลอดลมเกร็งตัว ใช้บรรเทาอาการป่วยจากโรคหืดและโรคปอดชนิดเรื้อรัง จัดเป็นยาออกฤทธิ์สั้น อยู่ประเภทเบต้า 2-แอดริเนอจิก รีเซฟเตอร์ อโกนิส (Beta-2 adrenergic receptor agonist ซึ่งยากลุ่มนี้จะทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว) ยาซาลบูทามอลมีสรรพคุณดังนี้
- รักษาอาการหลอดลมหดเกร็ง/หดตัวแบบเฉียบพลัน
- บรรเทาอาการหอบหืดแบบเฉียบพลันในระดับรุนแรง
ทั้งนี้ ยาซาลบูทาจัดอยู่ในหมวดยาอันตราย ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- เกิดอาการมือสั่น
- หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรผิดปกติ
- เป็นตะคริว
- ปวดศีรษะ
- ลมพิษ
- ความดันโลหิตต่ำ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะตกเลือด
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ
- ระมัดระวังการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์
- ยานี้ขับออกมากับน้ำนมของมารดา การจะใช้ยากับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน
- การใช้ยาซาลบูทามอลร่วมกับยาขับปัสสาวะ ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) อาจทำให้เกิดภาวะเกลือโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ
- การใช้ยาซาลบูทามอลร่วมกับยา Co-trimoxazole อาจทำให้การดูดซึมของยา Co-trimo xazole มากขึ้น เกิดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะได้รับผลข้างเคียงเพิ่มจากเดิม
- การใช้ยาซาลบูทามอลร่วมกับยารักษาโรคหัวใจ เช่น Digoxin อาจทำให้ความเข้มข้นของ Digoxin ในกระแสเลือดลดต่ำลง จนส่งผลต่อการรักษา
ทั้งนี้หากไม่มีความจำเป็นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน แต่หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน อาจปรับขนาดรับประทานตามความเหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
ยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) คือยาสังเคราะห์กลุ่ม Glucocorticoid ที่เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้เป็นยาต้านการอักเสบ/ยาแก้อักเสบ และมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายไม่ให้ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อหรือต่ออวัยวะภายใน ซึ่งด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ส่งผลให้ยาเดกซาเมทาโซนถูกนำมาใช้บำบัดรักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น
- บรรเทาอาการอักเสบต่างๆ ที่เกิดกับร่างกาย
- รักษาโรคข้อรูมาตอยด์
- รักษาอาการหอบหืด โรคหืด
- รักษาและป้องกันภาวะอักเสบของตาอันมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือหลังผ่าตัดต้อกระจก
- บรรเทาอาการบวมของจอตา/จอประสาทตา อันมีสาเหตุจากเส้นเลือดดำใหญ่ที่ไปหล่อเลี้ยงตีบตัน
- รักษาอาการอักเสบของหู (หูติดเชื้อ) อันมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- รักษาและบรรเทาแผลในปาก ช่องคอ โดยใช้ในรูปแบบของยาพ่น
- ลดภาวะสมองบวมในผู้ป่วยเนื้องอกสมอง มะเร็งสมอง
- บรรเทาและลดอาการข้างเคียงของยากลุ่มยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง
- ใช้เป็นยาทดแทนในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาเพรดนิโซโลน
- ใช้รักษาอาการป่วยของทารกในครรภ์มารดาที่มีการพัฒนาของปอดผิดปกติ
- เกิดสิว ผิวหนังบางลง
- นอนไม่หลับ
- วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- รับประทานอาหารมากขึ้น
- น้ำหนักเพิ่ม
- เบื่ออาหาร
- ซึมเศร้า
- ความดันโลหิตสูง
- มีความเสี่ยงของการติดเชื้อมากขึ้น
- ความดันลูกตาสูง
- อาเจียนคลื่นไส้
- จิตใจสับสน
- ปัสสาวะน้อยลง
- บวม ใบหน้า ตามนิ้ว มือและขา
- กรณีที่ใช้ยาเป็นเวลานานๆ อาจเกิดต้อกระจก
*อนึ่ง: หากหยุดยาเดกซาเมทาโซนกะทันหันหลังกินยาต่อเนื่อง อาจมีอาการถอนยา เช่น ความดันโลหิตต่ำ เป็นไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ขึ้นผื่นคันตามผิวหนัง น้ำหนักลด เยื่อจมูกอักเสบ และเสียชีวิตได้
- ห้ามใช้ยานี้ กับผู้ป่วยที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการติดเชื้อ
- ห้ามใช้ยานี้ กับผู้ที่มีการติดเชื้อราในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพราะจะทำให้เชื้อรารุนแรงขึ้น
- ห้ามใช้ยานี้ กับผู้ป่วยที่เชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง เพราะอาจทำให้โรครุนแรงขึ้น
- ห้ามใช้ยานี้ กับผู้ที่อยู่ในช่วงให้วัคซีน เช่น วัคซีนฝีดาษ /วัคซีนไข้ทรพิษ เพราะจะทำให้เชื้อที่ใช้ผลิตวัคซีนรุนแรงขึ้น หรือประสิทธิภาพของวัคซีนด้อยลง
- การใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม เช่นยา Ciprofloxacin, Ofloxacin, Trovafloxacin สามารถเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะเอ็นอักเสบโดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- การใช้ยาปฏิชีวนะบางตัว เช่นยา Rifampin ร่วมกับยาเดกซาเมทาโซน จะทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาของยาเดกซาเมทาโซนลดลงไป หากมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานของยาทั้งคู่
- การใช้ร่วมกับยาแก้ปวดบางตัว เช่นยา Ibuprofen อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้ (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร) มีอาการปวดท้อง วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว อุจจาระมีสีดำเหมือนยางมะตอย (จากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร) จึงควรหลีกเลี่ยงหรือให้รับประทานยาแก้ปวดหลังอาหาร
- การใช้ร่วมกับยาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด/ ยาต้านเกล็ดเลือด เช่นยา Aspirin สามารถทำให้ประสิทธิภาพของยาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดด้อยลงไป ควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกันหรือแพทย์ปรับขนาดของการรับประทานยาทั้งคู่ ยาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
ยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) จัดเป็น ยาปฏิชีวนะกลุ่มควิโนโลน (Quinolones) มีใช้แพร่หลายในโรงพยาบาล มีสรรพคุณใช้รักษาการติดเชื้อของอวัยวะต่างๆ เช่น
- หูชั้นกลาง
- ไซนัสอักเสบ
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ /โรคติดเชื้อระบบทางดินปัสสาวะ
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- และการติดเชื้อในกระแสเลือด / กระแสโลหิต
- ก่อการระคายเคืองระบบกระเพาะอาหารและลำไส้
- ผื่นคัน
- ปวดข้อ
- อาการสั่นทั่วตัว
- ชัก
- ใจสั่น
- ผิวแพ้แสงแดด เช่น ขึ้นผื่นเมื่อโดนแดด
- ยานี้อาจรบกวนการทำงานของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง ต้องระวังและห้ามใช้กับผู้ที่มีประวัติเป็นโรคลมชักเพราะจะเพิ่มโอกาสชักให้สูงขึ้น
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร และ/หรือ ลำไส้ เพราะก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้
- ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้
- การใช้ร่วมกับกลุ่มยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเซด (NSAIDs) จะรบกวนและกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการชักได้ง่าย ตัวอย่าง ยาแก้ปวดกลุ่มเอนเซดส์ (NSAIDs) เช่นยา อะซีโคลฟีแนค (Aceclofenac) ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) อินโดเมทาซีน (Indomethacin) เมเฟนามิค (Mefenamic) และไพรอคซิแคม (Piroxicam)
- การใช้ร่วมกับกลุ่มยาลดกรด จะลดการดูดซึมของยาไซโปรฟลอกซาซิน ส่งผลเสียโดยที่อาการของโรคไม่ดีขึ้น ตัวอย่าง กลุ่มยาลดกรด เช่นยา อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxide) และ แมกนีเซียมคาร์บอเนท (Magnesium carbonate)
ยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) คือ ยาปฏิชีวนะที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย ยาเตตราไซคลีนยังใช้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้ยากลุ่มเพนนิซิลลิน ทั้งนี้ ยาเตตราไซคลีน มีสรรพคุณรักษาโรค เช่น:
- รักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบจากติดเชื้อแบคทีเรีย
- รักษาโรค/ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เช่น
- สิว
- กามโรค
- อหิวาตกโรค
- อาการทางผิวหนัง: อาจก่อให้เกิดภาวะผื่นคันและผิวลอก
- อาจทำให้รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร โดยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
- สามารถก่อให้เกิดอาการ ปวดหัว เวียนศีรษะ การมองเห็นไม่ชัดเจน
- อาจทำให้มี ไข้ หนาวสั่น คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่
- อาจทำให้มีภาวะตัวเหลืองตาเหลือง รวมถึงเบื่ออาหาร
- ห้ามใช้ยานี้ใน หญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ยกเว้นเป็นคำสั่งแพทย์ผู้รักษา
- ห้ามใช้ยานี้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี เพราะก่อให้เกิดภาวะสีของฟันคล้ำขึ้น
- ห้ามรับประทานยาเตตราไซคลีนพร้อมกับนม เพราะจะลดการดูดซึมของยา
- การใช้ร่วมกับกรดวิตามินบางตัว เช่นยา ไอโสเตรติโนอิน (Isotretinoin, ยารักษาสิว) สามารถก่อให้เกิดความดันเพิ่มขึ้นในสมองและแสดงอาการ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
- การใช้ร่วมกับยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น เมโธเทรกเซท (Methotrexate) สามารถเพิ่มระดับของยารักษามะเร็งดังกล่าวในร่างกายของผู้ป่วย ทำให้เกิดสีผิวซีด อ่อนแอ มีแผลในปาก คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระสีดำหรือมีเลือดออกมากับอุจจาระ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
- การใช้ร่วมกับยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) และ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium hydroxide) สามารถทำให้ฤทธิ์การรักษาของยาเตตราไซคลีนลดประสิทธิภาพลง
ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ป้องกันและรักษาการติดเชื้อราทางผิวหนัง เช่น กลาก (Tinea) เกลื้อน (Pityriasis versicolor) เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal candidiasis) และมีการนำยานี้มาใช้รักษาเชื้อรากับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง หรือผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
- อาการทางผิวหนัง อาจก่อให้เกิดภาวะผื่นคัน และยาทา ยาแชมพู ยังอาจก่อการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยตรงได้
- ในรูปแบบยารับประทาน อาจทำให้รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหารโดยมีอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถก่อให้เกิดเพิ่มความดันในศีรษะ ส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน ตามมาได้
อนึ่ง การใช้ยาคีโตโคนาโซลทุกรูปแบบ ถ้าซื้อยาใช้เองและอาการไม่ดีขึ้นในระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์หลังใช้ยา หรือ เมื่ออาการเลวลง ควรต้องพบแพทย์เสมอ เพราะการใช้ยาต่อเนื่อง นอกจากไม่ได้ผลแล้วยังอาจเกิดผลไม่พึงประสงค์จากยาได้
- ระวังการใช้ยาในผู้ที่ป่วยที่เป็นโรคตับ
- ห้ามใช้ยาชนิดรับประทานในหญิงตั้งครรภ์
- การรับประทานยาคีโตโคนาโซลร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ และผื่นคันได้
- การใช้ยาคีโตโคนาโซลร่วมกับยารักษาอาการวิตกกังวล เช่น อัลปราโซแลม (Alprazolam) สามารถทำให้ระดับของยาดังกล่าวอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานมากขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะง่วงซึม อ่อนล้า
- การใช้ยาคีโตโคนาโซลร่วมกับยาลดกรด เช่น อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxide) สามารถทำให้การดูดซึมของยาคีโตโคนาโซลต่ำลงและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา
ยาอะไซโคลเวียร์ (Aciclovir หรือ Acyclovir ย่อว่า ACV) เป็นกลุ่มยาใช้ต้านเชื้อไวรัส เป็นยายับยั้ง (ไม่ใช่ยากำจัดเชื้อ) ต้องรับประทานให้ตรงตามช่วงเวลา (เว้นช่วงเวลาให้ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ระดับยาในเลือดสม่ำเสมอตลอดวัน เช่น ทุก 4 ชั่วโมง ยกเว้นเวลานอน) มีสรรพคุณ เช่น
- ใช้ป้องกันและรักษาเชื้อไวรัสที่ก่อโรคเริม (Herpes simplex) ที่แสดงอาการในบริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น ริมฝีปาก อวัยวะเพศ (เริมอวัยวะเพศ) หรือแม้แต่เยื่อหุ้มสมอง (ไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบ)
- ใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรคงูสวัด (Herpes zoster) และโรคอีสุกอีใส (Chicken pox)
เนื่องจากยานี้เป็นเพียงการยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเจริญเติบโตเพิ่ม ต้องอาศัยภูมิต้านทานของร่างกายในการกำจัดเชื้อให้มีปริมาณลดต่ำลง ไม่ให้เกิดโรค แต่เชื้อไวรัสนี้จะไม่หายขาด จะอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามปมประสาทของร่างกาย ดังนั้นจึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เน้นอาหารที่ปรุงสุกสะอาด โปรตีนที่ย่อยง่าย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามอย่าเครียด มิฉะนั้นจะทำให้ไวรัสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดหัว/ปวดศีรษะ
- ท้องร่วง/ท้องเสีย
- ผื่นคัน
- ตาแดง
สำหรับยานี้ชนิดยาฉีด อาจก่อให้เกิดอาการปวดบริเวณหลอดเลือดดำที่มีการฉีดยา หากมียาบางส่วนไหลออกนอกหลอดเลือด อาจก่อให้เกิดภาวะเป็นแผลในบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียง และอาจพบว่าผู้ป่วยบางรายหลังได้รับยานี้แล้วมีอาการไตล้มเหลว (แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก)
- เมื่อกินร่วมกับยาขยายหลอดลม เช่นยา อะมิโนฟิลลีน (Aminophylline) และทีโอฟิลลีน (Theophylline) สามารถส่งเสริมให้ความเข้มข้นของยาที่ใช้ขยายหลอดลมมีความเข้มข้นและอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น และอาจมีผลข้างเคียงของยาที่ใช้ขยายหลอดลมเพิ่มมากขึ้น
- เมื่อกินร่วมกับยาปฎิชีวนะ เช่นยา อะมิคาซิน (Amikacin),เจนตามัยซิน (Gentamicin) สามารถส่งผลให้เกิดความเป็นพิษจากยาปฎิชีวนะได้มากยิ่งขึ้นเช่น ต่อหู ไต เส้นประสาทต่างๆ
- ระวังการใช้ยานี้กับ หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ผู้ที่มีภาวะตับไตทำงานผิดปกติ
ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) ถูกนำมาใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาอาการวิตกกังวล ภาวะหัวใจขาดเลือด (โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย) ไมเกรน และอื่นๆ ยาโพรพราโนลอลจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ต้องเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น ยาโพรพราโนลอลมีสรรพคุณ เช่น
- ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ภาวะเจ็บหน้าอกเนื่องจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ
- ช่วยควบคุมอาการสั่นหรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอันมีสาเหตุจากโรควิตกกังวล โรคไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ)
- รักษาโรคหัวใจที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนา
- ป้องกันโรคไมเกรน
- รู้สึกเย็นตามแขนขา
- นอนไม่หลับ
- อ่อนเพลีย
- วิงเวียน
- คลื่นไส้อาเจียน
- ท้องผูก
- รู้สึกไม่สบายในกระเพาะอาหาร
- รู้สึกหงุดหงิด
- สับสน
- ซึมเศร้า
- จิตหลอน/ประสาทหลอน
- อาจพบอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น และหลอดลมหดเกร็งตัวทำให้หายใจลำบาก
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่ภาวะหัวใจเต้นช้า (Sinus brady cardia) ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกด้วยอาการโรคหัวใจกำเริบ ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ที่อยู่ในภาวะมีเลือดออกอย่างรุนแรง ผู้ที่มีภาวะความเป็นกรดในร่างกายสูง ผู้ป่วยด้วยหลอดเลือดแดงในระยะรุนแรง และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติระดับรุนแรง (2nd or 3rd degree heart block)
- ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 และ 3
- ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยที่มีประวัติภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีภาวะตับ-ไตทำงานผิดปกติ
- ยาโพรพราโนลอลสามารถเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวใจเต้นช้า และมีภาวะความดันโลหิตต่ำ
- สำหรับผู้ป่วยสูงอายุ แนะนำให้ใช้ยาโพรพราโนลอลในรูปแบบที่ออกฤทธิ์นาน (Sustained -release preparations) ด้วยตัวยาจะค่อยๆ ออกฤทธิ์เหมาะต่อร่างกายของผู้สูงอายุ อีกทั้งช่วยป้องกันการลืมรับประทานยาในมื้อถัดไป
- การใช้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สามารถก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยอาจพบอาการปวดศีรษะ วิงเวียน เป็นลม ชีพจรเต้นผิดปกติ ดังนั้นห้ามรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การใช้ร่วมกับกลุ่มยาวิตามินผสมแร่ธาตุบำรุงร่างกาย อาจทำให้ฤทธิ์ในการรักษาของโพรพราโนลอลด้อยประสิทธิภาพลงไป หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน ควรปรับเวลาในการรับประทานให้ห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไป
- การใช้ร่วมกับอาหาร จะทำให้การดูดซึมยาโพรพราโนลอลเข้าสู่ร่างกายดีขึ้นและส่งผลต่อการออกฤทธิ์ในการรักษา และควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันในแต่ละวัน
- การใช้ร่วมกับยาขยายหลอดลม เช่น Aminophylline จะส่งผลให้ฤทธิ์ในการรักษาของโพรพราโนลอลด้อยลงไป อีกทั้งทำให้ฤทธิ์ของ Aminophylline เพิ่มมากขึ้น โดยพบอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ สั่น ชีพจรเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
- การใช้ร่วมกับยารักษาโรคติดเชื้อเอชไอวี เช่น Atazanavir อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิงเวียน เป็นลม
- การใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิต เช่น Verapamil อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงของยามากยิ่งขึ้น เช่น มีอาการอ่อนแรง ปวดศีรษะ เป็นลม บวม น้ำหนักเพิ่ม หายใจติดขัด/หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นผิดจังหวะ
ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) เป็นยารักษาโรคซึมเศร้า/ยาต้านเศร้า ที่จัดอยู่ในกลุ่มยาประเภท Selective serotonin reuptake inhibitors ยาฟลูออกซิทีนมีสรรพคุณ/ขอบ่งใช้ เช่น
- รักษาโรคซึมเศร้า (Major depressive disorder)
- รักษาอาการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ (Eating disorder)
- บรรเทาอาการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive disorder)
- รักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual dysphoric disorder)
- รักษาอาการตื่นตระหนก (Panic disorder)
ยาฟลูออกซิทีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- สามารถพบอาการผื่นคัน
- มีไข้ หนาวสั่น
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- เหงื่อออกมาก ผิวเย็นและซีด
- สับสน
- มีอาการชัก
- ท้องเสีย
- วิงเวียน
- ง่วงนอน
- ปากคอแห้ง กระหายน้ำ
- หิวบ่อย
- หายใจลำบาก
มีข้อควรระวังการใช้ยาฟลูออกซิทีนอย่างไร?
- ห้ามใช้ร่วมกับยากลุ่มยา Monoamine oxidase inhibitor/ เอมเอโอไอ (ยาต้านเศร้า , ยาโรคพาร์กินสันชนิดหนึ่ง), Pimozide (ยาจิตเวช)
- ไม่แนะนำการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่ป่วยที่มีประวัติด้วยโรคลมชัก
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวต่ำ
- การใช้ร่วมกับยาแก้ปวด เช่นยา Aspirin อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร/เลือดออกในทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น
- การใช้ร่วมกับยารักษาอาการคัดจมูก/Nasal congestion ที่ชื่อยา Phenylpropranolamine (เช่น ในโรคหวัด ไซนัสอักเสบ) ฟลูออกซิทีนอาจทำให้ยาแก้คัดจมูกดังกล่าวมีผล ข้างเคียงต่อร่างกายมากขึ้น
- การใช้ร่วมกับรักษาโรคหัวใจ เช่นยา Amiodarone อาจเกิดความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ