ยาแอสไพริน (Aspirin)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 13 พฤศจิกายน 2556
- Tweet
- ทั่วไป
- ยาแอสไพรินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาแอสไพรินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาแอสไพรินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาแอสไพรินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาแอสไพรินควรทำอย่างไร?
- ยาแอสไพรินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาแอสไพรินอย่างไร?
- ยาแอสไพรินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาแอสไพรินอย่างไร?
- ยาแอสไพรินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
ทั่วไป
ยาแอสไพริน (Aspirin) เป็นยาที่มีการใช้ในวงการแพทย์เป็นเวลานาน และจนถึงปัจจุบัน ก็ยังมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จัดอยู่ในกลุ่มยาที่เรียกว่าเอ็นเสด (NSAIDs) ยาแอสไพรินนี้สามารถดูดซึมได้ดีในระบบทางเดินอาหาร หรือแม้แต่ดูดซึมเข้าทางผิวหนังโดยใช้ในรูปของยาทา ปริมาณยาในกระแสเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 2 ชั่วโมงหลังรับประทาน และยาจะถูกทำลายที่ตับ ถูกขับออกทางปัสสาวะ ยาแอสไพรินสามารถผ่านเข้ารก และถูกขับออก มากับน้ำนมได้ การใช้ยานี้กับหญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร จึงต้องใช้ความระมัดระวังและได้ รับคำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
ยาแอสไพรินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาแอสไพริน มีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้เป็นยาป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด เพื่อลดภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ (โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ)
ยาแอสไพรินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาแอสไพรินจะทำการยับยั้งเอนไซม์ ชื่อ Cyclooxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้เกิดการสังเคราะห์สาร Prostaglandin และ Thromboxane ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของเนื้อเยื่อในร่างกาย กระบวนการดังกล่าวจะส่งผลให้การอักเสบและอาการไข้ของร่างกายลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยยับยั้งการอุดตันของหลอดเลือดได้ด้วย
ยาแอสไพรินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาแอสไพริน มีรูปแบบการจัดจำหน่าย คือ ยาเม็ดขนาดความแรง 60, 81, 162, 300 มิลลิกรัม
ยาแอสไพรินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาแอสไพริน ในขนาดรับประทานสำหรับการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะอุดตันของหลอดเลือด แพทย์จะสั่งจ่ายยาในขนาดที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป โดยปกติมักจะได้ รับคำสั่งแพทย์ให้รับประทานยา 1 เม็ดต่อวัน
ข้อสำคัญในการกินยาแอสไพริน เพื่อลดการระคายเคืองและการเกิดแผลต่อกระเพาะอา หาร ให้กินยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือของเภสัชกร ซึ่งโดยทั่วไป คือ กินยาหลังอาหารทัน ทีร่วมกับดื่มน้ำสะอาด 1 แก้ว เพื่อเพิ่มการดูดซึมยาให้ได้รวดเร็วขึ้น
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาแอสไพริน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก - มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาแอสไพรินอาจส่งผลให้อาการ ของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้
หากลืมรับประทานยาแอสไพรินควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาแอสไพริน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาฯในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาฯเป็นสองเท่า
ยาแอสไพรินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ผลไม่พึงประสงค์ของยาแอสไพริน คือ สามารถทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร เกิดภาวะกรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย เบื่ออา หาร เป็นต้น
มีข้อควรระวังการใช้ยาแอสไพรินอย่างไร?
ข้อควรระวังในการใช้ยาแอสไพริน คือ การเกิดภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ซึ่งได้แก่
- ห้ามใช้ยาฯ กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เพราะอาจส่งผลให้เกิดภา วะเลือดออกในทารกได้
- ห้ามใช้ยากับเด็กทารก
- ห้ามใช้ยากับผู้ที่ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- ห้ามใช้ยากับผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก หรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะตกเลือด
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตชนิดไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Insufficiency)
- ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยด้วยโรคตับ
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
- การใช้ยาในเด็กต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ยาเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวม ทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาแอสไพรินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ปฏิกิริยาระหว่างยา ของยาแอสไพรินกับยาตัวอื่นๆ คือ
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่ใช้ดูดซับพิษในกระเพาะ ลำไส้ อาจทำให้การดูดซึมของยาแอสไพรินเข้าสู่ร่างกายลดน้อยลง ยาดังกล่าว เช่น Activated Charcoal
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะทำให้การดูดซึมยาแอสไพรินลดลง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน ยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างดังกล่าว เช่น กลุ่มยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับ ยาต้านการอักเสบบางกลุ่มก็สามารถลดการดูดซึมของยาแอสไพรินได้เช่นเดียวกัน ยาดังกล่าว เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
ควรเก็บรักษายาแอสไพรินอย่างไร?
สามารถเก็บยาแอสไพรินได้ในอุณหภูมิห้อง พ้นจากแสงแดดและความชื้น และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
ยาแอสไพรินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ชื่อการค้า และบริษัทผลิตยาแอสไพรินในประเทศไทย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
A.S.A Cap (เอ.เอส.เอ แคพ) | SSP Laboratories |
A.S.A.-500 (เอ.เอส.เอ.-500) | SSP Laboratories |
Anassa (อนาสซา) | T.O. Chemicals |
Arpisine (อาร์ไพซิน) | P P Lab |
Asatab (อซาแทป) | T.O. Chemicals |
Ascot (แอสคอท) | Polipharm |
Aspaco 300 (แอสปาโก 300) | Burapha |
Aspent (แอสเพนท์) | Ranbaxy Unichem |
Aspent-M (แอสเพนท์-เอ็ม) | Ranbaxy Unichem |
Aspilets (แอสไพเลทส์) | Great Eastern |
Aspipac (แอสไพแพค) | Inpac Pharma |
Aspirin Baby (แอสไพริน เบบี้) | SSP Laboratories |
Aspirin BD (แอสไพริน บีดี) | British Dispensary |
Aspirin SSP (แอสไพริน เอสเอสพี) | SSP Loboratories |
Aspirine (162 mg) (แอสไพริน 162 มก.) | SSP Loboratories |
Asrina (แอสรินา) | Pharmasant Lab |
B-Aspirin 81 (บี-แอสไพริน 81) | Osoth Interlab |
Bayer Aspirin (เบเยอร์ แอสไพริน) | Bayer HealthCare Consumer Care |
Buntaopoad-Bura (บรรเทาปวด-บูรา) | Burapha |
Caparin 100 (คาพาริน 100) | Osotspa |
Empirin (เอ็มไพริน) | Chew Brothers |
Entrarin (เอ็นทราริน) | Asian Pharm |
Pirin (ไพริน) | Patar Lab |
S.P. Tap (เอส.พี. แท็พ) | SSP Laboratories |
Seferin-5/Seferin-10 (เซเฟริน-5/เซเฟริน-10) | General Drugs House |