logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาลดความดัน

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาลดความดัน

เป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิตที่สูงเกินปกติโดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้เข้าสู่ภาวะปกติมากที่สุด เพื่อชะลอความรุนแรงของโรค และเพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับหัวใจ ตา ไต สมอง และหลอดเลือดขนาดเล็กๆ ทั่วร่างกาย

1. ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เช่น ยากลุ่ม Thiazide diuretics ยากลุ่ม Loop diuretics ยากลุ่ม Potassium-sparing diuretics และยากลุ่ม Osmotic diuretics

2. ยาที่ออกฤทธิ์ลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาธีติก (Sympathoplegic agents) เช่น ยากลุ่ม Beta blockers ยากลุ่ม Alpha1 blockers และยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง

3. ยาที่ออกฤทธิ์ลดการทำงานของระบบ Renin-angiotensin-aldosterone system (RAAS, ระบบที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของไตและฮอร์โมน/สารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคงความดันโลหิตของร่างกาย) เช่น ยากลุ่ม ACE inhibitors ยากลุ่ม ARBs (Angiotensin II receptor blockers)

4. ยากลุ่มต่างๆ ที่ขยายหลอดเลือด เช่น ยากลุ่ม Calcium channel blockers และยากลุ่ม Nitrate

1. ห้ามใช้ยาขับปัสสาวะบางกลุ่ม (กลุ่มไทอะไซด์และฟูโรซีไมด์) ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาซัลฟา

2. ห้ามใช้ยาขับปัสสาวะปริมาณมากในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ไตวาย และหัวใจล้มเหลว

3. ห้ามกินยาขับปัสสาวะหลังอาหารเย็นหรือก่อนนอนเพราะจะทำให้ปวดปัสสาวะตอนกลางคืนจึงรบกวนการนอนหลับ

4. ห้ามใช้ยาในกลุ่ม Beta blockers ในผู้ป่วยโรคหืด โรคหัวใจล้มเหลวชนิดรุนแรง โรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง และภาวะหลอดเลือดส่วนปลาย (มือเท้า แขน ขา) ตีบ

5. ห้ามใช้ยาในกลุ่ม ACE inhibitors ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดไตตีบตัน เพราะอาจทำให้ไตวายได้

6. ห้ามบดเคี้ยวหรือหักยาเม็ดรูปแบบที่เป็นยาออกฤทธิ์เนิ่นนาน เพราะทำให้ยาเสียคุณสมบัติในการออกฤทธิ์นานเป็นพิเศษ และอาจทำให้ร่างกายได้รับยาในปริมาณมากเกินไปจนทำให้ความดันโลหิตตกลงอย่างรวดเร็วจนหน้ามืดหรือหมดสติได้

1. ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide diuretics ทำให้เกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ได้แก่ ภาวะโพเทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) โซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatramia) น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) กรดยูริคในเลือดสูง (Hyperuricemia) และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย/นกเขาไม่ขัน (Impotence)

2. ยาขับปัสสาวะกลุ่ม Loop diuretics มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาคล้ายกับยาขับปัสสาวะกลุ่ม Thiazide diuretics และยามีความเป็นพิษต่อหูชั้นในจึงมีผลต่อการได้ยินได้ (Ototoxicity)

3. ยาขับปัสสาวะชนิดที่ลดการขับโพแทสเซียมทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง (Hyperkalemia) และภาวะเต้านมโตในเพศชาย (Gynecomastia) เช่น จากการใช้ยาสไปโรโนแล็กโทน (Spironolactone)

4. ยาในกลุ่ม Beta blockers อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradycardia) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจากภาวะร่างกายไวต่อน้ำตาลกลูโคส (Glucose intolerance) ส่งผลในระบบประสาทส่วนกลางเช่น ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ฝันร้าย และภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (ชาย)

5. ยาในกลุ่ม Alpha1 blockers ทำให้เกิดภาวะความดันเลือดต่ำจากการเปลี่ยนท่าทาง (Postural hypotension) ปวดศีรษะและอ่อนเพลีย

6. ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอาจทำให้หดหู่/ซึมเศร้า ฝันร้าย ง่วงซึม ปากแห้ง

7. ยาในกลุ่ม ACE inhibitors มีอาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยคือ ไอแห้งๆ ไอไม่มีเสมหะ อาการอื่นๆ เช่น อาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง/แองจิโออีดีมา (Angioedema) โพแทสเซียมในเลือดสูง ความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มใช้ยาครั้งแรกๆ

8. ยาในกลุ่ม ARBs มีอาการไม่พึงประสงค์คล้ายกับยาในกลุ่ม ACE inhibitors แต่ทำให้เกิดอาการไอแห้งๆ และอาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง (Angio edema) น้อยกว่าอย่างเด่นชัด

9. ยาในกลุ่ม Calcium channel blockers อาจทำให้เกิดอาการเท้าบวม (Peripheral edema) ปวดศีรษะ หน้าแดง และท้องผูก