ไนเซอร์โกไลน์ (Nicergoline)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 6 มิถุนายน 2557
- Tweet
- บทนำ
- ยาไนเซอร์โกไลน์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาไนเซอร์โกไลน์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาไนเซอร์โกไลน์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาไนเซอร์โกไลน์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาไนเซอร์โกไลน์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาไนเซอร์โกไลน์อย่างไร?
- ยาไนเซอร์โกไลน์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาไนเซอร์โกไลน์อย่างไร?
- ยาไนเซอร์โกไลน์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
- เวียนศีรษะ (Dizziness)
- โรคสมองเสื่อม (Dementia)
- อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
บทนำ
ยาไนเซอร์โกไลน์ (Nicergoline) ถูกนำมาจัดจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้าว่า Sermion เป็นอนุพันธุ์ของสารเคมีกลุ่ม Ergot (สารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหลอดเลือด)ทางการแพทย์ ใช้ยาไนเซอร์โกไลน์รักษาโรคสมองเสื่อม (Senile Dementia) และ โรคของระบบหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก) นอกจากนี้ยังพบว่า ไนเซอร์โกไลน์ยังช่วยเพิ่มความไวในการตอบสนองของสมอง โดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมอง ทำให้สมองได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเพียงพอ
หลังรับประทานยาไนเซอร์โกไลน์ ยาจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างในระหว่างการดูดซึมจากทาง เดินอาหาร และบางส่วนจะถูกส่งไปที่อวัยวะตับ ปริมาณยาในกระแสเลือดจะลดลง 50% ภายใน เวลา 13 - 20 ชั่วโมง
ยาไนเซอร์โกไลน์นี้จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย การใช้ยารวมไปถึงขนาดรับประทานที่ปลอดภัยและเหมาะสม จึงต้องขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น
ยาไนเซอร์โกไลน์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
สรรพคุณของยาไนเซอร์โกไลน์ คือ
- รักษาภาวะปวดศีรษะและอ่อนเพลียอันเนื่องจากหลอดเลือดในสมองตีบตัน (อ่านเพิ่ม เติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก)
- รักษาความดันโลหิตสูงและภาวะความจำเสื่อม
ยาไนเซอร์โกไลน์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาไนเซอร์โกไลน์มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เรียกว่า Alpha–adrenergic blocking activity ซี่งเป็นกลไกที่ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัว จึงเป็นการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆรวมถึงสมอง
ยาไนเซอร์โกไลน์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
รูปแบบการจัดจำหน่ายของยาไนเซอร์โกไลน์ คือ ยาเม็ดขนาดความแรง 10 และ 30 มิลลิกรัม
ยาไนเซอร์โกไลน์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดรับประทานของยาไนเซอร์โกไลน์ คือ
- รับประทานครั้งละ 30 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
ทั้งนี้ สามารถรับประทานยาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ โดยขนาดรับประทานที่เหมาะสมและปลอดภัย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาไนเซอร์โกไลน์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาไนเซอร์โกไลน์ อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนเกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไนเซอร์โกไลน์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า
ยาไนเซอร์โกไลน์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
อาจพบผลข้างเคียงของยาไนเซอร์โกไลน์ เช่น ความดันโลหิตต่ำ วิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน นอนไม่หลับ รู้สึกระคายเคืองในทางเดินอาหารบ้างเล็กน้อย
มีข้อควรระวังการใช้ยาไนเซอร์โกไลน์อย่างไร?
ข้อควรระวังในการใช้ยาไนเซอร์โกไลน์ คือ
- ห้ามใช้ยาไนเซอร์โกไลน์กับผู้ที่แพ้ยาไนเซอร์โกไลน์
- ระวังการใช้ยาไนเซอร์โกไลน์ร่วมกับผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าต์ ด้วยอาจก่อให้เกิดการรบกวน เมตาโบลิซึม/สันดาป (Metabolism) และการขับถ่ายกรดยูริคออกจากร่างกาย
- การใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังไม่มีการ ศึกษาถึงความปลอดภัย หรือผลดี-ผลเสียสำหรับการใช้ยาในหญิงมีครรภ์มาก่อน
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาไนเซอร์โกไลน์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้น ฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาไนเซอร์โกไลน์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาไนเซอร์โกไลน์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ควรเก็บรักษายาไนเซอร์โกไลน์อย่างไร?
สามารถเก็บยาไนเซอร์โกไลน์ในอุณหภูมิห้อง บรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดดและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาไนเซอร์โกไลน์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไนเซอร์โกไลน์ที่ผลิตจำหน่ายในประเทศไทย มีชื่อทางการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
Sergoline (เชอร์โกไลน์) | Siam Bheasach |
Sermion (เซอร์เมีอน) | Pfizer |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Nicergoline [2014,may3].
2. http://mims.com/Thailand/drug/info/Sermion/?type=full#Indications {2014,May3].
3. http://mims.com/Thailand/drug/info/Sermion/?type=full#Dosage [2014.May3].
4. http://mims.com/Thailand/drug/info/Sergoline/?q=nicergoline&type=brief [2014,Maay3].
5. http://www.smart-drugs.com/Inserts/insert-nicergoline.htm [2014,May3].
6. http://druginfosys.com/Drug.aspx?drugCode=1527&drugName=Nicergoline&type=12 [2014,May3].