logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาบํารุงเลือด

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาบํารุงเลือด

ยาบำรุงเลือดหรือยารักษาโลหิตจาง (Antianemia Drugs) หมายถึง ยาที่ใช้ป้องกันและรักษาภาวะโลหิตจางซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยยาบำรุงเลือดแต่ละชนิดจะใช้รักษาตามสาเหตุนั้นๆ ดังนั้นหากสงสัยว่าตนเองมีภาวะโลหิตจางแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ไม่ควรซื้อยาหรือวิตามินใดๆ ที่รวมถึงธาตุเหล็กมากินเอง ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ยารักษาได้อย่างถูกต้องตรงกับสาเหตุของโรค

1. ยากลุ่มที่เป็นสารประกอบของธาตุเหล็ก (Ferrous compound)

2. วิตามินบี 12 หรือไซยาโนโคบาลามีน (Vitamin B12)

3. โฟเลทหรือกรดโฟลิก (Folate or Folic acid)

4. ยากระตุ้นการแบ่งตัวและพัฒนาการของเซลล์เม็ดเลือดแดง (Erythropoiesis-stimulating agents, ESAs)

5. ยากระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์ (Granulocyte colony-stimulating factor, G-CSF)

6. ยากระตุ้นให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแกรนูโลไซต์และเซลล์มาโครฟาจ Granulocyte-macrophage colony-stimulating factor, GM-CSF)

1. ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานั้นๆ หรือมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรง/ปฏิกิริยาไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อยานั้นๆ

2. ห้ามใช้ยา Epoetin ในผู้ที่มีภาวะไขกระดูกไม่สร้างเม็ดเลือดแดง (Pure red cell aplasia / PRCA) ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่กินยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ผู้ที่มีภาวะไวเกินต่อแอลบูมิน(Albumin)

3. ก่อนฉีดยากลุ่ม G-CSF ให้กลับขวดยาไปมา ห้ามเขย่าขวดยาแรงๆ เพราะอาจทำให้ตัวยาเสื่อมสภาพ

4. ห้ามใช้ยากลุ่ม GM-CSF ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา

1. การดูดซึมของธาตุเหล็กชนิดกินจะขึ้นอยู่กับสภาวะของระบบทางเดินอาหาร เช่น สภาวะที่ระบบทางเดินอาหารเป็นกรดจะทำให้ธาตุเหล็กถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ดังนั้นหากกินตอนท้องว่างให้กินร่วมกับน้ำส้มหรือร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูง แต่ในทางกลับกันหากกินร่วมกับนม ยาลดกรด น้ำชา หรือกาแฟ จะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ลดลง อย่างไรก็ดีเพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที

2. ควรระวังการใช้ วิตามินบี 12 ชนิดกินร่วมกับยาต่อไปนี้ ได้แก่ ยา Neomycin, Chloramphenicol, Colchicine, Metformin, Cholestyramine, Potassium chloride, Methyldopa, Cimetidine, และยาเม็ดคุมกำเนิด เพราะยาเหล่านี้รบกวนการดูดซึมของวิตามินบี 12

3. เมื่อได้รับยา Epoetin แล้ว ควรตรวจระดับฮีโมโกลบินอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2-4 ครั้งต่อเดือน เพื่อควบคุมให้ค่าฮีโมโกลบินอยู่ในเป้าหมายของการรักษา เพราะยานี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและต่อการเกิดโรคหัวใจ และ/หรือโรคหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดอุดกั้นจากลิ่มเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง (ควรตรวจติดตามระดับความดันโลหิตตลอดระยะเวลาการรักษา) และควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก

4. ควรระวังการใช้ยากลุ่ม G-CSF ในผู้ที่มีการติดเชื้อรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน/กลุ่มอาการหายลำบากเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome) และไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่ไม่ได้หวังผลการรักษาให้หายขาด