logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ริดสีดวง

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ริดสีดวง

โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids หรือ Piles) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบ และ/หรือการบวมของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่อยู่ภายในทวารหนักและรอบๆ ปากทวารหนัก แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคริดสีดวงภายนอก (External hemorrhoids) และ โรคริดสีดวงภายใน (Internal hemorrhoids)

  • ท้องผูก ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • ท้องเสียเรื้อรัง การอุจจาระบ่อยๆ จะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • การนั่งนานๆ รวมทั้งนั่งถ่ายอุจจาระนานๆ จะกดทับกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • อายุ ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • การตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับลงบนกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงเกิดการกดเบียดทับ/บาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดส่วนนี้เรื้อรัง
  • โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด
  • อาจเกิดจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่าเมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร

โดยปัจจัยแต่ละตัวล้วนทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด อันเป็นผลให้เกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย

  • อาการพบบ่อยของโรคริดสีดวงภายนอก คือ
    • มีติ่งเนื้อสีชมพูคล้ำออกมาจากปากทวารหนักเมื่อท้องผูกหรือท้องเสีย
    • เมื่อมีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดที่โป่งพองจะก่อให้เกิดอาการปวด เจ็บ บวม และระคายเคืองบริเวณรอบปากทวารหนัก และอาการคัน แต่มักไม่ค่อยพบมีเลือดออกจากติ่งเนื้อนี้
  • อาการพบบ่อยของโรคริดสีดวงทวารภายใน คือ
    • อุจจาระเป็นเลือด โดยไม่มีอาการปวดเจ็บ อุจจาระมักเป็นเลือดสด ออกหลังอุจจาระสุดแล้ว มักพบเลือดบนกระดาษชำระ เลือดที่ออกจะไม่ปนกับอุจจาระ มักไม่มีมูกปน และมักหยุดได้เอง อาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ
    • เมื่อเป็นมากหลอดเลือดจะบวมมาก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบหลอดเลือดจะบวมออกมาถึงปากทวารหนัก เห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่ม ปลิ้นโผล่ออกมานอกปากทวารหนัก ซึ่งในภาวะเช่นนี้จะก่ออาการเจ็บปวดได้
  • ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มความดันในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การใช้ยาต่างๆ เช่น ยาทาลดอาการคัน ยาเหน็บทวารลดอาการบวม ปวด และยาแก้ปวด เป็นต้น
  • การรักษาทางศัลยกรรมที่มีหลายรูปแบบ เช่น การจี้ด้วยไฟฟ้า หรือ เลเซอร์ การฉีดยาเข้าหลอดเลือด เพื่อให้หลอดเลือดยุบแฟบ การผูกหลอดเลือด หรือการผ่าตัดหลอดเลือด ทั้งนี้ขึ้นกับความรุน แรงของโรค ข้อบ่งชี้ และดุลพินิจของแพทย์
  • ภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่ เพราะเมื่อเกิดหลอดเลือดโป่งพอง หูรูดปากทวารหนักจึงปิดไม่สนิท
  • ภาวะซีด เพราะมีเลือดออกจากกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดเรื้อรัง หรือบางครั้งเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดเองได้
  • การติดเชื้อ อาจเกิดเป็นฝี หรือหนองในบริเวณก้นได้
  • ถ้าเกิดการเน่าตายของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างมาก