อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 20 กันยายน 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยาอะซิโธรมัยซินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาอะซิโธรมัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาอะซิโธรมัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาอะซิโธรมัยซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาอะซิโธรมัยซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาอะซิโธรมัยซินอย่างไร?
- ยาอะซิโธรมัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาอะซิโธรมัยซินอย่างไร?
- ยาอะซิโธรมัยซินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- เชื้อไวรัส โรคติดเชื้อไวรัส (Viral infection)
- แมคโครไลด์ (Macrolide)
บทนำ
ยาอะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) จัดเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolide) มีใช้ค่อนข้างแพร่หลายทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ด้วยประสิทธิภาพในการรักษาและครอบ คลุมโรคติดเชื้อที่เป็นกันส่วนมากในประเทศเขตร้อนอย่างไทยเรา
ยาอะซิโธรมัยซินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาอะซิโธรมัยซิน มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น
- การติดเชื้อแบคทีเรียของหูชั้นกลาง (หูชั้นกลางอักเสบ)
- ทอลซิลอักเสบ
- เจ็บคอ-คออักเสบ
- กล่องเสียงอักเสบ
- หลอดลมอักเสบ
- ปอดบวม
- ไทฟอยด์
- ไซนัสอักเสบ
- รักษาการติดเชื้อในทารกที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง รัก ษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และในการติดเชื้อโกโนเรีย
ยาอะซิโธรมัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาอะซิโธรมัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์โดย ตัวยาจะเข้าไปรบกวนการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถขยายและแพร่พันธุ์ได้
ยาอะซิโธรมัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาอะซิโธรมัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- แคปซูล ขนาด 250 มิลลิกรัม
- ยาผงละลายน้ำ ขนาด 200 มิลลิกรัม ใน 1 ช้อนชา
- ยาฉีดเข้าหลอดเลือด ขนาด 500 กรัม
ยาอะซิโธรมัยซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ด้วยยาอะซิโธรมัยซินนี้ ใช้รักษาโรคติดเชื้อต่างๆได้อย่างมีประสิทธิผล วิธีกินยาและขนาด ยาที่ใช้ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิดของเชื้อที่ก่อโรค ดังนั้นควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยสั่งจ่ายยาที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อรับประทานเอง
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาอะซิโธรมัยซิน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด และอาการจากการแพ้ยา เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก /หอบเหนื่อย
- โรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาอะซิโธรมัยซินอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านรก หรือผ่านเข้าสู่น้ำนม และเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาอะซิโธรมัยซิน สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไป ให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
ยาอะซิโธรมัยซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาอะซิโธรมัยซินมีผล/อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/ อาการข้างเคียง) เช่น
- คลื่นไส้-อาเจียน
- ท้องอืด
- ท้องเสีย
- ง่วงนอน
- ปวดหัว
- เวียนศีรษะ และ
- อาจมีตับอักเสบได้
มีข้อควรระวังการใช้ยาอะซิโธรมัยซินอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาอะซิโธรมัยซิน เช่น
- ระวังการใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมถึงอะซิโธรมัยซินด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาอะซิโธรมัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ปฏิกิริยาระหว่างยาอะซิโธรมัยซินกับยาตัวอื่นๆ เช่น
- การใช้ยาอะซิโธรมัยซินร่วมกับ ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว จะทำให้ยารักษาโรคหัวใจคงอยู่ในร่างกายได้ยาวนานขึ้น อาจส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น หรือหัวใจหยุดเต้นได้ ตัวอย่างยารักษาโรคหัวใจ เช่นยา ไดจ็อกซิน (Digoxin)
- การใช้ยาอะซิโธรมัยซินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะเสริมฤทธิ์กันและก่อให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย ตัวอย่างยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยา วอร์ฟารีน (Warfarin)
ควรเก็บรักษายาอะซิโธรมัยซินอย่างไร?
การเก็บรักษายาอะซิโธรมัยซิน เช่น
- เก็บยาในที่แห้ง พ้นแสง/ แสงแดด และในอุณหภูมิไม่ควรเกิน 25 องศาเซลเซียส (Celsius) และ
- ต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาอะซิโธรมัยซินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาอะซิโธรมัยซิน มียาชื่อทางการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Azithro(อาซิโธร) | M & H Manufacturing |
Binozyt(บิโนซิท) | Sandoz |
Floctil(ฟลอกทิล) | Unison |
Zithromax(ซิโธรแมก) | Pfizer |
Zmax(ซีแมก) | Pfizer |