คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : ซึมเศร้า
- รู้สึกผิดหวัง สิ้นหวัง ไร้ค่า ไม่มีใครช่วยได้
- การกินและน้ำหนักเปลี่ยนแปลง บางคนกินมากขึ้น บางคนเบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง
- โกรธและหงุดหงิดง่าย ซึ่งมักจะเกิดจากความอดทนต่อความเครียดต่ำลง
- ไร้พลัง มีความรู้สึกสูญเสียพลัง ไม่มีพลังขับเคลื่อนให้ต้องทำอะไรในชีวิตประจำวัน
- มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เมื่อเศร้าแล้วบางคนหาทางออกด้านพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ติดยาเสพติด ติดพนัน ขับรถเร็ว เล่นกีฬาเสี่ยงตาย เป็นต้น
- อาการทางร่างกาย เช่น อาการนอนไม่หลับ การเจ็บป่วย (เช่น ปวดท้อง มึนศีรษะ) และ/หรือการเจ็บปวด (เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่) บ่อย โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุทางร่างกายได้
- การหายใจ: การหายใจของเราจะผิดไปจากปกติ เราจะหายใจถี่ขึ้น ตื้นขึ้น และหลายครั้งเรา “กลั้นหายใจ” โดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งหากเป็นแบบนี้บ่อยๆ อากาศจะเข้าสู่ปอดน้อยลงเรื่อยๆ
- อาการร้อนท้อง ปวดท้อง หรือร้อนกระเพาะอาหาร: เกิดเนื่องจากเวลาเครียดจะมีการหลั่งกรดมากในกระเพาะอาหารที่มากขึ้น
- ปวดศีรษะ ปวดขมับ: เกิดขึ้นได้บ่อยเวลาเครียด โดยมีสาเหตุมาจากการหายใจซึ่งทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เต็มที่ ทำให้ต้องสูบฉีดเลือดไปสมองเร็วขึ้นและเส้นเลือดบีบตัวมากขึ้น ทำให้เราปวดตุ๊บๆ ที่ศีรษะ
- ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิค
- สร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเอง เช่น ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนขำขัน สามารถช่วยคลายความวิตกกังวลและลดความเครียดได้
- ระบายอารมณ์เสียบ้าง (ในด้านที่ไม่ทำลาย) เช่น ตะโกน ร้องไห้ เขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก หรือพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ เพื่อช่วยลดความฟุ้งซ่าน ทั้งยังได้ข้อคิดและเรียนรู้ว่า ความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราเพียงคนเดียว
- มองโลกในแง่ดี ทุกปัญหาย่อมมีทางออก ทุกอุปสรรคย่อมมีโอกาส
- ตระหนักรู้ในตนเอง รู้จักว่าอารมณ์ตนเองเป็นอย่างไร ยอมรับตามอารมณ์ที่ตนเองเป็น (หากปฏิเสธอารมณ์ตนเองตามความเป็นจริงมักจะเกิดความขัดแย้งในใจ เกิดความเครียดและซึมเศร้าได้)
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- พูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน
- หางานอดิเรกทำ ที่ทำให้ตนเองมีความสุข เช่น ดูหนังฟังเพลง เล่นคอมพิวเตอร์ เต้นรำ อ่านหนังสือ ท่องเที่ยว ฯลฯ
- กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นประโยชน์เช่น แอลกอฮอล์ สารกระตุ้นประสาท