logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาทาเชื้อรา

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาทาเชื้อรา

ยาต้านเชื้อรา (Antifungal drug) เป็นยาที่ใช้รักษาหรือใช้ป้องกันอาการต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อรา โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อรา (Fungistatic) หรือมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา/ยาฆ่าเชื้อรา (Fungicidal) ทั้งนี้ควรกินยาต้านเชื้อราให้ครบตามที่แพทย์สั่งแม้อาการของโรคจะดีขึ้นแล้ว เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคและป้องกันเชื้อดื้อยา ส่วนกรณีที่เป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง ถ้าไม่เห็นรอยโรคที่ผิวหนังแล้วก็ยังไม่ควรหยุดยาทันที ควรใช้ยานั้นต่อไปอีก 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อที่อยู่ใต้ผิวหนังถูกกำจัดออกไปเช่นกัน

ก.  ยาต้านเชื้อรากลุ่มที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic antifungal drugs): ใช้รักษาการติดเชื้อราที่อวัยวะภายในร่างกายเช่น ปอด ตับ เชื้อราที่ผิวหนังตื้นๆ แต่เป็นทั่วร่างกาย รักษาเชื้อราที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาทา และรักษาโรคติดเชื้อราในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ที่มีผลทำให้เชื้อรามีการแพร่กระจายไปหลายอวัยวะ ซึ่งได้แก่ยากลุ่มต่างๆ ดังนี้

  • ยากลุ่มพอลิอีน (Polyenes) เช่น ยาแอมโฟเทอริซิน บี (Amphotericin B)
  • ยากลุ่มเอโซล (Azoles) เช่น ยาไอทราโคนาโซล (Itraconazole), ฟลูโคนาโซล (Fluco nazole), คีโตโคนาโซล (Ketoconazole), โพซาโคนาโซล (Posaconazole), โวริโคนาโซล (Voriconazole)
  • ยากลุ่มอัลลิลเอมีน (Allylamine) เช่น ยาเทอร์บินาฟีน (Terbinafine)
  • ยากลุ่มแอคไคโนแคนดิน (Echinocandin) เช่น ยาไมคาฟันจิน (Micafungin), แอนิดูลาฟันจิน (Anidulafungin), แคสโปฟันจิน (Caspofungin)
  • ยากลุ่มที่โครงสร้างคล้ายสารไพริมิดีน/สารเคมีชนิดหนึ่ง (Pyrimidine analogues) เช่น ยาฟลูไซโทซีน (Flucytosine)
  • ยาอื่นๆเช่น ยากริซีโอฟูลวิน (Griseofulvin)

ข.  ยาต้านเชื้อราที่ใช้ภายนอก (Topical antifungal drugs): เป็นยาที่ใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้นๆหรือผิวหนังชั้นนอก ผม ขน และเล็บ ได้แก่

  • ยากลุ่มพอลิอีน (Polyenes) เช่น ยาไนสแตติน (Nystatin)
  • ยากลุ่มเอโซล (Azoles) เช่น ยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole), ไมโคนาโซล (Micona zole), อีโคนาโซล (Econazole), ไอโซโคนาโซล (Isoconazole), คีโตโคนาโซล (Keto conazole)
  • ยากลุ่มอัลลิลเอมีน (Allylamine) เช่น ยาเทอร์บินาฟีน (Terbinafine), แนฟทีฟีน (Nafti fine)
  • ยากลุ่มกลุ่มไทโอคาร์บาเมท (Thiocarbamate) เช่น ยาโทลนาฟเตท (Tolnaftate)
  • ยากลุ่มไฮดรอกซีไพรีโดน (Hydroxypyridone) เช่น ยาไซโคลไพร็อกโอลามีน (Ciclopi rox Olamine)
  • ยากลุ่มมอร์โฟลาย (Morpholine) เช่น ยาอะมอร์โรลฟีน (Amorolfine)
  • ยาอื่นๆ เช่น อันดีไซลินิก แอซิด (Undecylenic acid), ยาขี้ผึ้งวิทฟิลด์ (Whitfield oint ment) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยา 2 ชนิดคือ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และกรดซาลิซิลิก (Salicylic acid)

1. ยา Amphotericin B ทำให้เป็นไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ความดันโลหิตต่ำ นอกจากนี้ยานี้ยังเป็นพิษต่อตับ/ตับอักเสบและต่อไต/ไตอักเสบ ทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ และทำให้โลหิตจาง

2. ยากลุ่มเอโซล (Azoles) มีผลต่อระบบกระเพาะอาหารและลำไส้คือ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เอนไซม์การทำงานของตับในเลือดผิดปกติ และยา Ketocona zole จะยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จึงอาจทำให้เกิดภาวะนมโตในผู้ชาย

3. ยา Terbinafine ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เอนไซม์การทำงานของตับในเลือดผิดปกติ ผื่นลมพิษ

4. ยากลุ่ม Echinocandin ทำให้หลอดเลือดดำอักเสบบริเวณที่ฉีดยา ใบหน้าบวม หน้าแดง ผื่นคัน

5. ยา Flucytosine ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน มีฤทธิ์กดไขกระดูก/กดการทำงานของไขกระดูก ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ และอาจทำให้ลำไส้อักเสบ

6. ยา Griseofulvin ทำให้เกิดผื่นบริเวณผิวหนัง ปวดศีรษะ ปลายประสาทอักเสบ มึนงง เป็นพิษต่อตับ/ตับอักเสบ