เทอร์พินไฮเดรต (Terpin hydrate)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 23 มกราคม 2565
- Tweet
สารบัญ
- บทนำ:คือยาอะไร?
- เทอร์พินไฮเดรตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ)รักษาโรคอะไร?
- เทอร์พินไฮเดรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- เทอร์พินไฮเดรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- เทอร์พินไฮเดรตมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- เทอร์พินไฮเดรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้เทอร์พินไฮเดรตอย่างไร?
- เทอร์พินไฮเดรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาเทอร์พินไฮเดรตอย่างไร?
- เทอร์พินไฮเดรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาขับเสมหะ (Expectorants) และยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
- โรคทางเดินหายใจ โรคระบบหายใจ โรคระบบทางเดินหายใจ (Respiratory tract disorder)
- ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine drug)
- หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
- หลอดลมอักเสบในเด็ก (Bronchitis in children)
- ยาแก้ไอ (Tips cough)
บทนำ:คือยาอะไร?
เทอร์พินไฮเดรต (Terpin hydrate) คือ ยาขับเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดลมอัก เสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถสกัดยานี้ได้จากน้ำมันหอมระเหยของพืชชนิดต่างๆเช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันจากต้นออริกาโน (Oregano) และน้ำมันจากต้นไทม์ (Thyme) รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยานี้จะเป็นยาชนิดรับประทานโดยตัวยาจะทำให้ช่องทางเดินระบบหาย ใจส่วนล่างขับสารคัดหลั่งออกมาทำให้เสมหะที่ข้นเหนียวหลุดออกมาจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรตำรับยานี้โดยนำยาเทอร์พินไฮเดรตมาผสมกับยาแก้ไอชนิดอื่น เช่นยา Codeine, Dextromethorphan, Glyceryl guaiacolate (Guaifenesin) หรือผสมร่วมกับยาแก้แพ้ อาทิยา Chlorpheniramine เป็นต้น ในประเทศไทยมักไม่พบสูตรตำรับยาเดี่ยวของยาเทอร์พินไฮเดรต แต่จะเป็นรูปแบบยาผสมเสียเป็นส่วนมาก จึงทำให้เกิดความแตกต่างของขนาดรับ ประทานด้วยมียาแก้ไอชนิดอื่นๆร่วมอยู่ในสูตรตำรับยาด้วย
อย่างไรก็ตาม ยาเทอร์พินไฮเดรตจัดเป็นยาอันตราย การใช้ยาอย่างเหมาะสมปลอดภัยจึงยังต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
เทอร์พินไฮเดรตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ)รักษาโรคอะไร?
ยาเทอร์พินไฮเดรตมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้:
- ขับเสมหะอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอ
- บรรเทาอาการไอจากหลอดลมอักเสบ
เทอร์พินไฮเดรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเทอร์พินไฮเดรตคือ ตัวยาจะเพิ่มสารคัดหลั่งภายในหลอดลมทำให้เสมหะที่เหนียวข้นหลุดออกมาได้ง่าย ส่งผลให้บรรเทาอาการไอในที่สุด
เทอร์พินไฮเดรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาเทอร์พินไฮเดรตมีรูปแบบการจัดจำหน่าย:
ก. ยาเม็ดที่ประกอบด้วยตัวยาต่างๆใน 1 เม็ด: เช่น
- Dextromethorphan HBr (Hydrobromide) 10 มิลลิกรัม + Chlorpheniramine maleate 2 มิลลิกรัม + Terpin hydrate 125 มิลลิกรัม
- Codeine phosphate 10 มิลลิกรัม + Guaifenesin 100 มิลลิกรัม +Terpin hydrate 130 มิลลิกรัม
- Terpin hydrate 130 มิลลิกรัม + Dextromethorphan HBr 15 มิลลิกรัม + Guaifene sin 100 มิลลิกรัม
- Chlorpheniramine maleate 2 มิลลิกรัม + Terpin hydrate 125 มิลลิกรัม
- Dextromethorphan HBr 20 มิลลิกรัม + Guaifenesin 50 มิลลิกรัม + Terpin hydrate 85 มิลลิกรัม
- Dextromethorphan HBr 15 มิลลิกรัม + Chlorpheniramine maleate 2 มิลลิกรัม + Terpin hydrate 125 มิลลิกรัม
- Dextromethorphan HBr 15 มิลลิกรัม + Guaifenesin 100 มิลลิกรัม + Terpin hy drate 130 มิลลิกรัม
- Dextromethorphan HBr 15 มิลลิกรัม + Chlorpheniramine maleate 2 มิลลิกรัม + Terpin hydrate 130 มิลลิกรัม + Guaifenesin 100 มิลลิกรัม
ข.ยาแคปซูลที่ประกอบด้วยตัวยาต่างๆใน 1 แคปซูล: เช่น
- Terpin hydrate 130 มิลลิกรัม + Guaifenesin 100 มิลลิกรัม + Dextromethorphan HBr 15 มิลลิกรัม
เทอร์พินไฮเดรตมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดรับประทานของยาเทอร์พินไฮเดรตขึ้นอยู่กับแต่ละสูตรตำรับของยานี้ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาขนาดรับประทานตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเป็นกรณีไป
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเทอร์พินไฮเดรต ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาเทอร์พินไฮเดรตอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาเทอร์พินไฮเดรต สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
เทอร์พินไฮเดรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาเทอร์พินไฮเดรตสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- วิงเวียน
- ง่วงนอน
- ผื่นคัน
- คลื่นไส้อาเจียน
- ปวดบริเวณลิ้นปี่/ปวดท้องบริเวณกระเพาะอาหาร
มีข้อควรระวังการใช้เทอร์พินไฮเดรตอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้เทอร์พินไฮเดรต เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามปรับขนาดรับประทานยานี้ด้วยตนเอง
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร รวมถึงเด็กเล็ก (นิยามคำว่าเด็ก)
- หากมีอาการแพ้ยาหลังใช้ยานี้ให้หยุดการใช้ยานี้ทันที พร้อมกลับไปพบแพทย์/ไปโรง พยาบาลทันที
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเทอร์พินไฮเดรตด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
เทอร์พินไฮเดรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยังไม่มีรายงานพบปฏิกิริยาระหว่างยาของยาเทอร์พินไฮเดรตกับยารับประทานชนิดใดๆ
ควรเก็บรักษาเทอร์พินไฮเดรตอย่างไร?
ควรเก็บยาเทอร์พินไฮเดรต:
- เก็บยาในอุณหภูมิห้องที่เย็น
- ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
เทอร์พินไฮเดรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาเทอร์พินไฮเดรต มียาชื่อการค้าอื่น และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
CliniCof (คลินิคอฟ) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Codee-C (โคดี-ซี) | Medicpharma |
Cophartussin (โคฟาร์ทัสซิน) | Community Pharm PCL |
CPM-2 (ซีพีเอ็ม-2) | Medicine Products |
D-Coate (ดี-โคท) | B L Hua |
Dextussin (เดกซ์ทัสซิน) | T.O. Chemicals |
Dexpin (เดกซ์พิน) | Greater Pharma |
Decofsin (ดีคอฟซิน) | V S Pharma |
Dextro (เดกซ์โทร) | Osoth Interlab |
Fartussin (ฟาร์ทัสซิน) | Farmaline |
Glycoff (กลายคอฟ) | Pharmahof |
Kenya-I (เคนยา-ไอ) | Kenyaku / Schumit |
Terco-C (เทอร์โก-ซี) | B L Hua |
Terco-D (เทอร์โก-ดี) | B L Hua |
Tusspac (ทัสแพค) | Inpac Pharma |
Terracol-A (เทอร์ราคอล-เอ) | ANH Products |
บรรณานุกรม
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=terpin%20hydrate [2022,Jan22]
- https://www.medicinenet.com/terpin_hydratecodeine/article.htm [2022,Jan22]
- https://www.mims.com/thailand/drug/info/terpin%20hydrate?mtype=generic [2022,Jan22]
- https://go.drugbank.com/drugs/DB13163 [2022,Jan22]
- http://www.druginfosys.com/Drug.aspx?drugCode=1258&drugName=Terpin%20Hydrate&type=1 [2022,Jan22]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Terpin#Indications [2022,Jan22]