logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ โรควิตกกังวล

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : โรควิตกกังวล

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรควิตกกังวล แต่สามารถสรุปได้ว่าอาจเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก

  • กรรมพันธุ์ เช่น ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรควิตกกังวล โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้สูงขึ้น หรือลักษณะพื้นอารมณ์แบบไม่แสดงออก (Behavioral Inhibition)
  • สิ่งแวดล้อม เช่น เด็กเลียนแบบพฤติกรรมหลีกเลี่ยงอุปสรรค (Harm Avoidance) จากพ่อแม่ ทำให้เด็กกลัวการเข้าสังคม
  • อาการทางกาย ซึ่งเกิดจากการตอบสนองทางระบบประสาทอัตโนมัติมากเกิน ไป เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น หายใจเร็ว ปวดท้องเกร็ง ในผู้ป่วยโรคแพนิกบางรายอาจมีอาการรุนแรงขนาดทำให้เกิดภาวะมือจีบ (การเกร็งของนิ้วมือ) และหมดสติได้ อย่างไรก็ตามอาการทางกายมักเป็นแค่ชั่วคราว โดยเฉพาะเวลาที่มีตัวกระตุ้น
  • กลุ่มอาการทางความคิดหมกมุ่น ซึ่งมักเป็นเรื้อรังมากกว่า ทั้งที่ผู้ป่วยรู้ตัวดีว่าความคิดไร้เหตุผล แต่ก็ไม่สามารถกำจัดความคิดเหล่านั้นออกไปได้ มีความกังวลล่วงหน้าในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

ในทางการแพทย์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนอย่างหนึ่งว่าอาการวิตกกังวลนั้น “มากกว่าปกติ” คือ ให้ดูที่การทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าอาการวิตกกังวลนั้นส่งผลทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างเคย เช่น สมาธิในการทำงานเสียไป ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานแย่ลง นอกจากนี้ ถ้ามีอาการทางกายชัดเจน เช่น ใจสั่น นอนไม่หลับ ปวดท้องบ่อยๆ ร่วมด้วย ก็ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินโรควิตกกังวล

เนื่องจากอาการวิตกกังวลประกอบด้วย อาการทางกายและทางความคิด การปรับความคิดอาจทำได้ยากกว่าการควบคุมร่างกายตัวเอง ดังนั้นการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อและควบคุมการหายใจ จะเป็นการผ่อนคลายความวิตกกังวลในเบื้องต้น สามารถเริ่มทำได้โดยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ ไม่มีสิ่งรบกวน หายใจเข้าออกช้าๆ นับ 1–10 ต่อการหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ทำร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถทำได้โดยอยู่ในท่านั่งหรือท่านอนที่สบาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ เมื่อสามารถทำตามวิธีดังกล่าว จะทำให้ร่างกายตอบสนองลดลงต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ทั้งนี้ควรทำอย่างสม่ำเสมอวันละ 10–15 นาที

  • ก่อนอื่นต้องย้ำเตือนตัวเองบ่อยๆว่า อาการที่เกิดขึ้นแม้จะน่ากลัว แต่ก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
  • ฝึกควบคุมการหายใจ โดยการหายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ เมื่อเวลาเกิดอาการ ไม่ต้องตกใจ หาที่นั่งสบายๆ นั่งลง จากนั้นหายใจเข้าออกช้าๆ ตามที่ฝึกมา ให้ใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก อย่าไปสนใจกับอาการที่เกิดขึ้น ทำจนกว่าอาการใจสั่น ชาตามตัว หรืออาการอื่นๆ จะหายไป และทุกครั้งที่มีอาการก็ให้ใช้วิธีควบคุมการหายใจนี้สู้กับอาการที่เกิดขึ้น