ปริมาณปัสสาวะต่อวัน (Urine output)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 17 ตุลาคม 2554
- Tweet
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
- โรคลมแดด (Heatstroke / Heat illness)
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- เบาจืด (Diabetes insipidus)
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics Drugs)
- ท้องเสีย (Diarrhea)
- โรคไต (Kidney disease)
- ปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
ปริมาณปัสสาวะต่อวัน (Urine output) ขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น สภาพอากาศ การดื่มน้ำ การดื่มนม ลักษณะอาหารเช่น อาหารประเภทแกง เครื่องดื่ม การออกกำลังกาย/การเล่น/กิจวัตร ประจำวัน/อาชีพ/ประเภทงาน สุขภาพ/โรคประจำตัว และโรคอ้วนเพราะคนอ้วนมักมีเหงื่อออกมากปริมาณปัสสาวะจึงน้อยลง อย่างไรก็ตามปริมาณปัสสาวะปกติต่อวันจะอยู่ประมาณ 1 - 2 ลิตร
ปริมาณปัสสาวะต่อวันที่จัดว่ามากเกินปกติ (Polyuria) คือ มากกว่า 2.5 ลิตร ซึ่งโรค/ภาวะ ที่พบเป็นสาเหตุมีได้หลากหลายโรค/ภาวะ ที่บ่อยคือ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับแข็ง โรคเบาจืด อากาศเย็นจัด ดื่มน้ำมาก ดื่มสุรา ดื่มกาแฟ/กาเฟอีนมาก การตั้งครรภ์ และกินยาขับปัสสาวะ
ปริมาณปัสสาวะต่อวันที่จัดว่าน้อยกว่าปกติ (Oliguria) คือ น้อยกว่า 400 มิลลิลิตร ซึ่งโรค/ภาวะที่เป็นสาเหตุมีได้หลากหลายเช่นกัน ที่พบบ่อยเช่น โรคไตวายเฉียบพลัน โรคที่มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเช่น นิ่วในไต โรค/ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะช็อก และการดื่มน้ำน้อย
ปริมาณปัสสาวะที่น้อยกว่าวันละ 100 มิลลิลิตรเรียกว่า ภาวะไร้ปัสสาวะ (Anuria) พบได้ในโรคไตวายเฉียบพลัน ภาวะมีการอุดกั้นท่อปัสสาวะ (เช่น โรคของต่อมลูกหมาก) โรคไตเรื้อ รัง โรค/ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคจากพิษโลหะหนัก (เช่น จากสารปรอท)
บรรณานุกรม
1. Urine http://en.wikipedia.org/wiki/Urine [2015,July4]
Updated 2015, July 4