ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19ในผู้ป่วยมะเร็ง

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19ในผู้ป่วยมะเร็ง

คณะแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา นำโดย พญ.Rebecca M Shulman แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยาจากฟิลาเดลเฟีย ต้องการศึกษาเปรียบเทียบถึงผลข้างเคียงเฉียบพลันของวัคซีนป้องกันโควิด-19ระหว่างผู้ป่วยมะเร็งกับคนทั่วไปว่าต่างกันหรือไม่และอย่างไร รวมถึงเป็นผลขึ้นกับวิธีรักษามะเร็งหรือไม่ และได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์โรคมะเร็ง สหรัฐอเมริกา J Natl Compr Canc Netw (JNCCN) ฉบับ กุมภาพันธ์ 2022

         การศึกษานี้ ศึกษาเฉพาะผู้ป่วยโรงพยาบาลหน่วยงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาในช่วง16กุมภาพันธ์-15พฤษภาคม 2021   โดยเป็นการศึกษาแบบเชิงสังเกตล่วงหน้า(Prospective observational study) ผู้ป่วยมะเร็งที่ศึกษาจะได้รับการฉีดวัคซีนฯ 2เข็ม เป็นวัคซีนของบริษัท Pfizer (BNT162b2) เข็ม1และเข็ม2ห่างกันประมาณ3สัปดาห์ ผลข้างเคียงเฉียบพลันจากเข็ม1 จะได้รับการประเมินในวันที่กลับมารับเข็ม2, ส่วนผลข้างเคียงของเข็ม2จะประเมินผ่านโทรฯหรือการตอบทางอินเทอร์เน็ตเมื่อ2สัปดาห์หลังฉีดเข็ม2  ซึ่งอาการที่ประเมิน ได้แก่ ตำแหน่งที่ฉีด(เช่น ปวด บวม แดง ร้อน), และอาการอื่นๆ(ไข้, ปวดข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ, หนาวสั่น, ปวดหัว, คลื่นไส้, อาการภูมิแพ้ที่รวมถึงเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงหวีด), และอาการอื่นๆที่ผู้ป่วยต้องการแจ้ง

ผลศึกษา:

  • มีผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกทั้งหมด(ผู้ป่วยมะเร็งและคนที่ไม่เป็นมะเร็ง) 1,753ราย, 5%มีประวัติเป็นมะเร็ง, 12%กำลังอยู่ในการรักษามะเร็ง(รักษาโดยผ่าตัด=24.2%, ฉายรังสีฯ=18%, ยาเคมีฯ=39.8%, อื่นๆ=26.1% (ได้แก่ ยาภูมิคุ้มกัน=16.6%, ยารักษาตรงเป้า=24.2%, ฮอร์โมน=59.2%)  
  • ในผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด 5%เป็นมะเร็งทั่วไปและ7.5%เป็นมะเร็งระบบโรคเลือด
  • กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งมีค่ากึ่งกลางของอายุสูงกว่ากลุ่มคนทั่วไปอย่างสำคัญทางสถิติ 68ปี:66ปี (P<.001) และ เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงอย่างสำคัญทางสถิติ2%:31.9%(P<.001)  
  • ผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด 4%เคยป่วยติดโควิดมาก่อนฉีดวัคซีนเข็มแรก
  • ผู้ที่ศึกษาได้รับวัคซีนเข็มแรก=1752ราย, ครบ2เข็ม=1260 ราย 
  • อาการหลังฉีดวัคซีนพบบ่อย และไม่ต่างกันทางสถิติทั้งจากผู้ป่วยมะเร็งและคนทั่วไป,3%: 72.5%(P=0.71) ทั้งจากเข็มแรก 61.3%:60.2% (P=0.67) และ เข็ม2 64.2%:62.8%,P=0.63)
  • อาการหลังฉีดวัคซีนพบบ่อยในเข็ม2 มากกว่าในเข็ม1 อย่างน้อย1อาการ อย่างสำคัญทางสถิติ 7%: 60.2% (P=0.024)
  • ในผู้ป่วยมะเร็ง
  • อาการหลังวัคซีนเข็ม2ที่พบบ่อย ได้แก่ เหนื่อยล้า,ปวดข้อ, มีไข้, หนาวสั่น, ปวดหัว, และคลื่นไส้
  • อาการภูมิแพ้วัคซีน(Allergic reaction)พบน้อยในทุกกลุ่มทั้งหลังเข็ม1(6/1752ราย) และหลังเข็ม2 (9/1261ราย)
  • ในผู้ป่วยทุกกลุ่ม อาการหลังฉีดวัคซีนพบบ่อยใน
  • เพศหญิงสูงกว่าเพศชายอย่างสำคัญทางสถิติ(77.8%:65.5%; P<0.001)
  • อายุน้อยพบสูงกว่าอายุมาก, อายุ18–59 ปี= 84.4%; อายุ60–79ปี=72.2%;อายุ ≥80ปี=50.0%; (P<.001)
  • อาการปวด/บวมที่รอยฉีดยา เป็นอาการพบบ่อยที่สุดในผู้ฉีดวัคซีนทุกกลุ่ม และไม่ต่างกันทางสถิติในผู้ป่วยมะเร็งและในคนทั่วไป, ในเข็ม1=39.3%:43.8%(P=0.07), เข็ม2=5%:40.3%(P=0.45)
  • อาการปวดกล้ามเนื้อ พบบ่อยกว่าในเข็ม1ในผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อเทียบกับคนทั่วไป (16.5%;11.9%; P=0.012) แต่ระยะเวลาปวดสั้นกว่าทางสถิติ, ค่าเฉลี่ย 2วัน:3วัน (P=0.04)
    • ส่วนอาการ ปวดข้อ, มีไข้, ปวดหัว, และคลื่นไส้ ไม่ต่างกัน และไม่สัมพันธ์กับอาการของโรคมะเร็ง
    • เมื่อมีอาการในผู้ป่วยทุกกลุ่ม อาการเริ่มเกิดในวันแรกหรือภายในวันที่2หลังฉีดวัคซีนฯ
  • ในผู้ป่วยมะเร็ง:
    • อาการต่างๆหลังฉีดวัคซีนไม่ต่างกันระหว่างผู้ป่วยกลุ่มไม่อยู่ในช่วงการรักษาและกลุ่มช่วงกำลังรักษา(83.2%:81.4%;P=.63)
    • อาการที่เกิดนานเกิน5วันพบน้อยและไม่ต่างกันทางสถิติในกลุ่มไม่อยู่ในช่วงการรักษาและกลุ่มช่วงกำลังรักษา(10.2%:9.8%;P=0.90)
    • ในกลุ่มกำลังได้รับการรักษา อาการหลังวัคซีนและความรุนแรงไม่ต่างกันในแต่ละวิธีรักษามะเร็งทั้งในเข็ม1และเข็ม2

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งและคนทั่วไป มีอาการหลังฉีดวัคซีนต่างกันน้อย และในผู้ป่วยมะเร็งการได้รับวัคซีนฯในช่วงกำลังรักษาก็มีผลเพียงเล็กน้อยต่ออาการหลังฉีดวัคซีนและไม่ขึ้นกับวิธีรักษามะเร็ง

บรรณานุกรม

https://jnccn.org/view/journals/jnccn/20/2/article-p160.xml   [2022,March8]