logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ รองช้ำ

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : รองช้ำ

เกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ที่มากเกินไปของฝ่าเท้า ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บสะสมซ้ำๆ ของพังผืด เช่น การเดินหรือยืนนานๆ การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม การเลือกใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสม น้ำหนักตัวมาก/โรคอ้วน นอกจากนี้ยังมักพบร่วมกับภาวะที่มีกล้ามเนื้อน่องตึงผิดปกติด้วย

อาการหลักคือ พบจุดกดเจ็บใต้ฝ่าเท้าบริเวณใกล้กับส้นเท้าหรือกลางฝ่าเท้า นอกจากนี้ลักษณะสำคัญที่พบได้บ่อยๆ คือ อาการเจ็บนี้จะเป็นมากที่สุดหลังจากตื่นนอน แล้วลงมาเดินในก้าวแรกๆ แต่อาการจะทุเลาขึ้นเมื่อเดินหรือทำกิจกรรมไปสักระยะ นอกจากนี้เมื่อนั่งพัก อาการจะยิ่งดีขึ้น แต่เมื่อทำกิจกรรมที่มีการลงน้ำหนักเท้า เช่น ยืน เดิน หรือวิ่งนานๆ อาการก็จะค่อยๆ กลับมาแย่ลงอีก

มีทั้งการบำบัดรักษาอาการ และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ซึ่งได้แก่ การรักษาตามอาการ การทำกายภาพบำบัด และการรักษาบำบัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ (เช่น การใช้อุปกรณ์ยืดเหยียดเอ็นฝ่าเท้าในช่วงเวลานอนกลางคืน การฉีดยาเข้าฝ่าเท้าบริเวณที่มีอาการเจ็บ การผ่าตัดรักษาการบาดเจ็บ/อักเสบของพังผืดฝ่าเท้า)

  1. การใช้คลื่นกระแทก (Shockwave Therapy): เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมตัวเองใหม่อีกครั้งของเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบเรื้อรัง ขณะรักษาผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดตื้อๆ ในบริเวณที่ทำการรักษา
  2. การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในการรักษา (Ultrasound therapy): เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดความปวด ขณะทำการรักษาด้วยวิธีผู้ป่วยจะไม่มีความรู้สึกใดๆ หรือในบางรายอาจรู้สึกอุ่นสบายเท่านั้น
  3. การรักษาด้วยมือ (Manual Therapy): นักกายภาพบำบัดอาจจะเลือกใช้เทคนิคการรักษาต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การกดและคลึงที่จุดกดเจ็บเบาๆ  
  4. การออกกำลังกายเพื่อการรักษา (Exercise Therapy)
  5. การรักษาด้วยการติดเทป (Taping): เพื่อเพิ่มหรือยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังสามารถลดการบวมและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการบาดเจ็บได้ด้วย
  1. ยืดกล้ามเนื้อน่อง
  2. แช่เท้าข้างปวดในน้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาทีทุกเช้าหลังจากตื่นตอน
  3. เหยียบลูกเทนนิสหรือวัสดุกลิ้งได้
  4. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ ในฝ่าเท้า เช่น สอดแผ่นกระดาษเข้าไประหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ของเท้าข้างที่มีอาการปวดออกแรงหนีบ หรือใช้เท้าข้างที่มีอาการปวดขยุ้มผ้าเช็ดหน้าแล้วยกขึ้นให้ลอยจากพื้น ทำค้างไว้ 30 วินาที ทำ 3 รอบต่อวัน
  5. หลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
  6. ปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสม