นิมีซูไลด์ (Nimesulide)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 3 เมษายน 2565
- Tweet
สารบัญ
- บทนำ :คือยาอะไร?
- ยานิมีซูไลด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
- ยานิมีซูไลด์ออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยานิมีซูไลด์มีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยานิมีซูไลด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยานิมีซูไลด์มีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
- ยานิมีซูไลด์มีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
- มีข้อควรระวังในการใช้ยานิมีซูไลด์ ไหม?
- ควรเก็บรักษายานิมีซูไลด์ อย่างไร?
- ยานิมีซูไลด์มีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาแก้ปวด (Analgesics)
- ไข้ อาการไข้ ตัวร้อน (Fever)
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome)
- โรคกระดูก (Bone disease)
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- โรคข้อ (Joint disease)
- ยาฆ่าเชื้อ (Antimicrobial drug) ยาแก้อักเสบ (Anti inflammatory drug)
- ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)
บทนำ :คือยาอะไร?
นิมีซูไลด์ (Nimesulide) คือ ยาในกลุ่มยาแก้ปวด อยู่ในพวกยาต้านการอักเสบชนิดเอ็นเสด (NSAIDs, non-steroidal anti inflammatory drugs) เป็นยาต้านการอักเสบชนิดไม่ ใช่สเตียรอยด์
ยานิมีซูไลด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
ยานิมีซูไลด์ คือ ยากลุ่มเอ็นเสด มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้: เช่น
- บรรเทาอาการปวดชนิดเฉียบพลัน ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหลังผ่าตัด และปวดประจำเดือน
ยานิมีซูไลด์ออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยานิมีซูไลด์ คือ ยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglan din) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดอาการปวดจึงส่งผลให้อาการปวดลดลง
ยานิมีซูไลด์มีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?
รูปแบบการจัดจำหน่ายของยานิมีซูไลด์คือ
- ยาเม็ด ขนาด 100 มิลลิกรัม
- ยาเจล 3%
- ยาเหน็บทวาร
ยานิมีซูไลด์ มีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยานิมีซูไลด์ สำหรับผู้ใหญ่ขนาดสูงสุดที่รับประทานไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัม/ครั้งวันละไม่เกิน 2 ครั้ง ควรรับประทานพร้อมหรือหลังอาหารทันทีเพื่อลดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
ยานิมีซูไลด์จัดเป็นยาอันตรายและมีผลอันไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) สูง จึงไม่ควรซื้อยากินเอง ขนาดของยาที่รับประทานควรได้รับคำแนะนำการใช้ยาจากแพทย์หรือเภสัชกร เสมอ โดยเฉพาะในเด็กการใช้ยาควรต้องเป็นคำแนะนำจากแพทย์
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษา แพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยานิมีซูไลด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดและอาการจากการแพ้ยาเช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่น หายใจติดขัด/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่เช่นโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูง เพราะยานิมีซูไลด์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือไม่หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะ ยามักผ่านรกหรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยานิมีซูไลด์สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยา ใกล้กับมื้อถัดไปให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า และสามารถหยุดยาได้เมื่อหายจากอาการปวด แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์
ยานิมีซูไลด์ มีผลไม่พึงประสงค์ไหม?
ผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง) ของยานิมีซูไลด์ เช่น
- เป็นพิษต่อตับและไต
- ก่อให้เกิด อาการแสบร้อนกลางอก (Heart Burn)
- คลื่นไส้อาเจียน
- ผื่นคัน
- บวม
- ปวดหัว
- เกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- และอาจเกิดภาวะไตวาย
ยานิมีซูไลด์ มีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?
ปฏิกิริยาระหว่างยานิมีซูไลด์กับยาตัวอื่น เช่น
- การกินยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ (ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร)
- การกินยานี้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะเสริมฤทธิ์กันและก่อให้เกิดภาวะเลือด ออกในกระเพาะอาหารได้ง่าย ซึ่งยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น อะซีโนคูมารอล (Acenocou marol) และ วอร์ฟาริน (Warfarinsodium)
- การกินยานี้ร่วมกับยารักษาอาการทางจิตเวชอาจก่อให้ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายจากยาทางจิตเวชสูงขึ้นเช่น ยาลิเทียม (Lithium Sulphate) เป็นต้น
มีข้อควรระวัง ในการใช้ยานิมีซูไลด์ไหม?
ข้อควรระวังการใช้ยานิมีซูไลด์ เช่น
- ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ในผู้ที่เป็น โรคไต โรคตับ และในผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ รวมทั้งในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิดรวมยานิมีซูไลด์ ยาแผนโบราณทุกชนิด สมุนไพรต่างๆ อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ควรเก็บรักษายานิมีซูไลด์ อย่างไร?
การเก็บรักษายานิมีซูไลด์ เช่น
- ควรเก็บยาให้พ้น แสงแดดความชื้น ความร้อน
- และควรเก็บยาให้พ้น มือเด็ก และสัตว์เลี้ยง
ยานิมีซูไลด์มีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?
ชื่อทางการค้าและบริษัทผู้ผลิตยานิมีซูไลด์ เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Nidol (ไนดอล) | Eurodrug / BJC |
Nimo (นิโม) | TO Chemical |
Nimulid MD (นิมูลิด) | Biogenotech |
Nilide (นิไลด์) | Pharmasant Lab |