เรื่องเฉพาะสตรี...มะเร็งปากมดลูก ตอนที่ 9
- โดย รศ.ดร.นพ.บัณฑิต ชุมวรฐายี
- 9 ตุลาคม 2556
- Tweet
การพยากรณ์โรค เป็นอย่างไร?
ผลการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบัน ได้ผลดีขึ้นกว่าในสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะในความผิดปกติระยะก่อนมะเร็งและระยะที่ 1 กล่าวคือ
- ระยะที่ 0 (ความผิดปกติในระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม) รักษาได้ผลดีเกือบร้อยละ 100
- ระยะที่ 1 มีอัตราการอยู่รอด 5 ปี 80-95%
- ระยะที่ 2 มีอัตราการอยู่รอด 5 ปี 60-705
- ระยะที่ 3 มีอัตราการอยู่รอด 5 ปี 40-50%
- ระยะที่ 4 มีอัตราการอยู่รอด 5 ปี 10-20%
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์โรคและทางเลือกในการรักษา มีอะไรบ้าง?
การพยากรณ์โรค (โอกาสในการหายจากโรค) นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆต่อไปนี้
- ระยะของโรคมะเร็ง (เช่นว่า มะเร็งได้ลุกลามเข้าไปในเนื้อของปากมดลูกเพียงบางส่วน ทั้งหมด หรือลุกลามกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือส่วนต่างๆของร่างกายหรือยัง)
- ชนิด (ผลทางพยาธิวิทยา) ของเซลล์มะเร้ง
- ขนาดของก้อนมะเร็ง
ทั้งนี้ทางเลือกในการรักษา นั้นขึ้นก็อยู่กับปัจจัยต่างๆต่อไปนี้
- ระยะของโรค
- ขนาดของก้อนมะเร็ง
- ความต้องการในการมีบุตร
- อายุของผู้ป่วย
อนึ่ง การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกที่พบในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับระยะชองโรคแล้ว ก็ยังขึ้นอยู่กับอายุครรภ์อีกด้วย สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกที่พบว่ายังเป็นระยะเริ่มแรกอยู่ หรือมาพบในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้วนั้นอาจชะลอการรักษาไว้ก่อนได้ จนกระทั่งหลังคลอด
แหล่งข้อมูล:
- ตำรานรีเวชวิทยา ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ตำรานรีเวชวิทยา ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- http://www.cancer.gov/ access date 1st October, 2004.