ยาแคลเซียมซิเตรท (Calcium citrate หรือ Ca citrate) มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่ละลายในน้ำเย็น นักวิทยาศาสตร์พบว่ากระบวนการในธรรมชาติของการเกิดแคลเซียมซิเตรทต้องใช้สารตั้งต้น 2 ตัว มีแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Calcium hydroxide) และกรดซิตริก(Citric acid) มนุษย์จึงนำกลไกดังกล่าวมาผลิตเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ในการถนอมอาหาร
ปกติยาแคลเซียมซิเตรทจะสามารถปลดปล่อยเกลือแคลเซียมได้ประมาณ 24.1% ทางคลินิกมีการนำแคลเซียมซิเตรทมาบำบัดให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะขาดธาตุแคลเซียมได้เช่นเดียวกัน ข้อดีของยาแคลเซียมซิเตรทประการหนึ่งคือ ไม่จำเป็นต้องพึ่งกรดในกระเพาะอาหารเหมือนกับยาแคลเซียมคาร์บอเนต ก็สามารถดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารได้เช่นเดียวกัน ยาเสริมแคล เซียมบางสูตรตำรับได้ใช้ยาแคลเซียมซิเตรทแทนแคลเซียมคาร์บอเนต ทั้งนี้เพื่อรองรับกลุ่มผู้ ป่วยที่มีภาวะกรดในกระเพาะอาหารน้อย และเป็นเหตุให้การรับประทานยาที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตเกิดการดูดซึมได้ไม่มากเท่าใดนัก อย่างไรก็ตามการรับประทานยาในกลุ่มแคลเซียมซิเตรทร่วมกับมื้ออาหารก็จะช่วยให้การดูดซึมจากทางเดินอาหารเป็นไปอย่างมีประ
รูปแบบยาแผนปัจจุบันจะพบเห็นยาแคลเซียมซิเตรทอยู่ในรูปแบบยารับประทานชนิดเป็นยาเดี่ยวและชนิดผสมร่วมกับยาอื่นเช่น วิตามิน-ดี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเสริม สร้างและซ่อมแซมกระดูก การเลือกใช้ยาแคลเซียมซิเตรทควรต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์ ด้วยเกลือแคลเซียมที่มากหรือน้อยเกินไป อาจก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายหรือไม่สามารถบำบัดอาการขาดเกลือแคลเซียมของร่างกายได้
ยาแคลเซียมซิเตรทมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เช่น
กลไกการออกฤทธิ์ของยาแคลเซียมซิเตรทคือ ตัวยาจะปลดปล่อยเกลือแร่แคลเซียมเข้า สู่กระแสเลือดเพื่อสร้างสมดุลที่เหมาะสมและถูกนำไปซ่อมแซมกระดูกที่สึกหรอ อีกทั้งป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก นอกจากนี้เกลือแร่แคลเซียมยังช่วยทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้อย่างปกติ
ยาแคลเซียมซิเตรทมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเช่น
ยาแคลเซียมซิเตรทมีขนาดรับประทานเช่น
ก.สำหรับป้องกันภาวะการขาดแคลเซียมของร่างกาย:
ข.สำหรับป้องกันภาวะกระดูกพรุน:
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาแคลเซียมซิเตรท ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
หากลืมรับประทานยาแคลเซียมซิเตรทสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยาแคลเซียมซิเตรทสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย
หากมีอาการแพ้ยานี้จะพบอาการผื่นคัน หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก ใบหน้า-ริมฝีปาก-ลิ้น-คอมีอาการบวม
สำหรับผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาดอาจพบอาการคลื่นไส้และอาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก รู้ สึกสับสน มึนงง เพ้อ จนถึงขั้นเกิดภาวะโคม่า
หากพบอาการดังกล่าวทั้งอาการจากแพ้ยาหรือจากได้ยาเกินขนาดต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรง พยาบาลทันที
มีข้อควรระวังการใช้ยาแคลเซียมซิเตรทเช่น
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาแคลเซียมซิเตรทด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาแคลเซียมซิเตรทมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
ควรเก็บยาแคลเซียมซิเตรทภายในอุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาแคลเซียมซิเตรทที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Calcium citrate 200 mg (แคลเซียมซิเตรท 200 มิลลิกรัม) | Puritan’s Pride |
Calcium citrate with vitamin D3 (แคลเซียมซิเตรท วิท ไวตามิน ดี3) | SOLGAR |