logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยานอนหลับ

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยานอนหลับ

ประเภท

การออกฤทธิ์

ตัวอย่าง

1. Barbiturates

ออกฤทธิ์กดสมอง ทำให้เข้าสู่ภาวะสงบประสาทจนถึงขั้นหลับหรือหมดสติ ปัจจุบันกลุ่มยา Barbiturates ถูกแทนที่ด้วยยาBenzodiazepine ด้วยเหตุผลมีอันตรายน้อยกว่า Barbiturates

Amobarbital, Pentobarbital, Phenobarbital, Secobarbital, และ Sodium thiopental

2. Quinazolinones

ออกฤทธิ์ในลักษณะ GABA receptor agonists โดยทำให้เกิดการปิดกั้นการส่งกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่ง จึงทำให้เกิดฤทธิ์สงบประสาทและก่อให้เกิดอาการง่วงนอน

Cloroqualone, Diproqualone, Etaqualone, Mebroqualone, Mecloqualone และ Methaqualone

3. Benzodiazepine

การออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้จะเกิดที่ตัวรับ (Receptor) ที่ปลายเซลล์ประสาทในสมองที่ชื่อว่า GABAA receptor ส่งผลรบกวนการส่งกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาทด้วยกัน และเป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รับยาเข้าสู่ภาวะนอนหลับ แต่ยากลุ่มนี้หากใช้ยาเป็นระยะเวลานานผู้ป่วยจะต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ จึงจะทำให้นอนหลับ

Nitrazepam, และ Diazepam

4. Nonbenzodiazepine

ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประโยชน์ข้อหนึ่งของยากลุ่มนี้คือทำให้นอนหลับ โดยมีข้อดีคือสามารถใช้ยาได้เป็นเวลายาวนานกว่ากลุ่มยา Benzodiazepine และการดื้อยาก็น้อยกว่า Benzodiazepine ส่งผลลดความเสี่ยงของการติดยา

Zopiclone, Eszopiclone, Zaleplon, และ Zolpidem

5. Melatonin

เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไพเนียลในสมอง โดยทั่วไปฮอร์โมนนี้จะถูกหลั่งออกมาในตอนกลางคืนหรือตอนที่ไม่มีแสงสว่าง เพื่อช่วยกระตุ้นให้นอนหลับ (การใช้ยาประเภทนี้มักไม่ควรนานเกิน 3 เดือน)

 

6. Antihistamine

เป็นกลุ่มยาที่นำมาบำบัดอาการแพ้ แต่มีการประยุกต์โดยนำผลข้างเคียงข้อหนึ่งของยานี้คือทำให้ง่วงนอนมาเป็นประโยชน์โดยใช้เป็นยานอนหลับ

Diphenhydramine และ Doxylamine

7. ยาต้านเศร้า(Antidepressant)

ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน โดยแบ่งยาตามกลไกการออกฤทธิ์ได้ดังนี้

7.1 กลุ่ม Serotonin antagonists and reuptake inhibitors (SARIs)

7.2 กลุ่ม Tricyclic antidepressants

 

7.3 กลุ่ม Tetracyclic antidepressants

7.4 ยากลุ่มอื่นที่แสดงฤทธิ์ต่อความสัมพันธ์ของสารสื่อประสาทในสมองและมีฤทธิ์ต้านเศร้า ช่วยทำให้นอนหลับ เช่น Selective serotonin reuptake inhibitors(SSRI), Serotonin–norepinephrine reuptake inhibitors, Norepinephrine reuptake inhibitors

 

7.1 Trazodone

 

7.2 Amitriptyline, Doxepin, และ Trimipramine

7.3 Mianserin และ Mirtazapine

 

8. ยารักษาโรคจิต(Antipsychotics)

ออกฤทธิ์ที่สมองโดยจะเข้าจับกับตัวรับหลายชนิดที่เซลล์ประสาทของสมอง ส่งผลบำบัดอาการทางจิตใจและช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น

Chlorpromazine, Clozapine, Olanzapine, Quetiapine, Risperidone, และ Zotepine

9. ยากลุ่มอื่น

9.1 Alpha-adrenergic agonist

9.2 Cannabinoids

9.3 Orexin receptor antagonist

9.4 Gabapentinoids

9.1 Clonidine และ Guanfacine

9.2 Cannabidiol, Tetrahydrocannbinol

9.3 Suvorexant

9.4 Pregabalin, Gabapentin, Phenibut และ Imagabalin

  • สภาพร่างกายหรือความสมบูรณ์ของร่างกาย
  • โรคประจำตัว เพราะยาประจำที่ใช้อยู่ก่อนอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยา
  • ชนิดและการออกฤทธิ์ของยานอนหลับ ตลอดจนความแรง และผลข้างเคียง