คำถามเกี่ยวกับโรค
โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
เรื่อง : ท้องผูก
ก. สาเหตุที่พบบ่อย เช่น
- เกิดจากลำไส้เคลื่อนตัวช้ากว่าปกติ หรือ บีบตัวลดลง ทั้งนี้เพราะขาดตัวกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ จากการมีลำอุจจาระเล็ก เช่น จากการกินอาหารที่ขาดใยอาหาร และ/หรือ ดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลดลง อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า
- ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัว เคลื่อนตัวช้า
- จากปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล หรือการไม่มีเวลาพอในการขับถ่าย จึงส่งผลถึงการทำงานของลำไส้ ลดการบีบตัวลง
ข. สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้น้อยกว่า เช่น
- มีโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกล้ามเนื้อลำไส้และ/หรือเส้นประสาทลำไส้ จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวลดลง กากอาหาร/อุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้าลง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ/ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน และไตวาย
- มีโรคของระบบสมองและระบบประสาท จึงส่งผลถึงการทำงานเคลื่อนไหวบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ลดลง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็งสมอง เนื้องอกสมอง หรือ โรคไขสันหลัง
- โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัวลดลง เช่น โรคหนังแข็ง (Scleroderma)
- กินยาบางชนิดที่ลดการบีบตัวของลำไส้ เช่น ยาคลายเครียดบางชนิด ยาโรคกระเพาะอาหารบางชนิด ยาลดความดันโลหิตบางชนิด หรือ ยาขับน้ำ/ยาขับปัสสาวะ
- โรคเกี่ยวกับลำไส้ ก่อให้เกิดการอุดกั้นลำไส้/ทางเดินของอุจจาระ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ขับถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ลักษณะของอุจจาระ แห้ง แข็ง
- การขับถ่าย ใช้แรงเบ่ง หรือใช้มือช่วยล้วง
- ภายหลังอุจจาระแล้วยังมีความรู้สึกว่า อุจจาระไม่สุด
- ปวดท้องตำแหน่งทั่วๆ ไป เสมอๆ รวมถึงปวดบริเวณลิ้นปี
- ปากทวารหนักมักมีรอยฉีกขาดจากอุจจาระครูด/บาด
- ผายลมมักมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
- บางครั้งมีอุจจาระเป็นน้ำ/เหลวหลุดเล็ดออกมาโดยไม่รู้ตัว
- ท้องอืด แน่นท้อง พุงป่องจากอุจจาระค้างในลำไส้
- บางคนอาจเป็นสาเหตุให้ เบื่ออาหาร รู้สึกไม่สุขสบาย กระวนกระวาย
- เป็นสาเหตุเกิดโรคริดสีดวงทวารจากการเบ่งอุจจาระเป็นประจำ
- อาจเกิดแผลแตกรอบๆ ทวารหนัก จากก้อนอุจจาระที่แข็งกดครูด
- อาจเกิดไส้เลื่อนได้ จากการเพิ่มแรงเบ่งอุจจาระตลอดเวลา จึงส่งผลให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อน
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะการเพิ่มแรงเบ่งอุจจาระตลอดเวลา จะส่งผลให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานที่ใช้ในการขับถ่ายปัสสาวะทำงานเสื่อมลง
- เนื้อเยื่อทวารหนักปลิ้นออกมานอกปากทวาร (Rectal prolapse) จากการเพิ่มแรงเบ่งตลอดเวลา จะส่งผลให้กล้ามเนื้อทวารหนักและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่ใช้ในการขับถ่ายอุจจาระทำงานเสื่อมลง
- กรณีท้องผูกเรื้อรังมากจนก้อนอุจจาระแข็งมาก อาจก่ออาการลำไส้อุดตันได้ (อาการคือ ปวดท้องมาก รุนแรง อาเจียนมาก ไม่ผายลม)