ลูปไดยูเรติก (Loop diuretics)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 19 มิถุนายน 2565
- Tweet
สารบัญ
- บทนำ: คือยาอะไร?
- ลูปไดยูเรติกมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ)รักษาโรคอะไร?
- ลูปไดยูเรติกมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ลูปไดยูเรติกมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ลูปไดยูเรติกมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ลูปไดยูเรติกมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ลูปไดยูเรติกอย่างไร?
- ลูปไดยูเรติกมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาลูปไดยูเรติกอย่างไร?
- ลูปไดยูเรติกมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics Drugs)
- ไทอะไซด์ (Thiazide)
- เอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitor)
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจวาย (Heart failure)
- ตับวาย ตับล้มเหลว (Liver failure)
- ซัลฟา (Sulfa drugs) ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides)
บทนำ: คือยาอะไร?
ยาลูปไดยูเรติก (Loop diuretics) เป็นกลุ่มยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์กับไตในบริเวณที่เรียก ว่า ลูปออฟเฮนเล่ (Loop of Henle) ในเบื้องต้นยากลุ่มนี้ถูกนำไปใช้ลดความดันโลหิตสูง ลดอาการบวม/บวมน้ำของร่างกาย และบ่อยครั้งถูกนำมาใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวรวมถึงภาวะไตวาย และอาจกล่าวได้ว่ายาลูปไดยูเรติกมีประสิทธิภาพดีกว่ากลุ่มยาไทอะไซด์ (Thiazide) ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะที่ใช้รักษาอาการของผู้ป่วยที่มีสภาพไตเป็นปกติเท่านั้น แต่ยาลูปไดยูเรติกสามารถใช้รักษาได้ในผู้ป่วยที่มีสภาพไตทำงานบกพร่อง
กลไกของกลุ่มยาลูปไดยูเรติกจะออกฤทธิ์ต่อการขนส่งประจุของเกลือโซเดียม เกลือโพแทส เซียม และเกลือคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งจะมีผลลดความดันโลหิตและเกิดการขับน้ำออกจากร่างกายเพื่อลดอาการบวม เป็นต้น
อาจยกตัวอย่างยาในกลุ่มลูปไดยูเรติกได้ดังนี้เช่น
- Furosemide: จัดเป็นยาขับปัสสาวะที่รู้จักและมีการใช้อย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ มี ทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีด ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจล้มเหลว และลดอาการบวมของร่างกาย
- Bumetamide: มักนำมาใช้รักษาอาการหัวใจล้มเหลว โดยจะนำมาใช้กับผู้ที่ต้องใช้ยา Furosemide ในขนาดสูงๆหรือใช้ยา Furosemide แล้วไม่ค่อยได้ผล
- Etacrynic acid: ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและลดอาการบวมน้ำของร่างกายอันมีสาเหตุจากภาวะหัวใจวายและภาวะไตวาย จะมีข้อแตกต่างจากลูปไดยูเรติกตัวอื่นตรงที่ Etacrynic acid ไม่ มีโครงสร้างคล้ายกับยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) จึงสามารถใช้ยา Etacrynic acid กับผู้ที่แพ้ยา กลุ่มซัลฟา (Sulfa drug, รวมยา Sulfonamide) ได้ แต่ก็สามารถก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบ ทางเดินอาหารได้มากกว่ายาตัวอื่นของยากลุ่มนี้ด้วยโครงสร้างทางเคมีที่ทำให้ยานี้มีฤทธิ์เป็นกรด
- Torasemide หรืออีกชื่อคือ Torsemide : ใช้รักษาอาการบวมที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วยซึ่งการใช้เพียงขนาดต่ำๆ ก็สามารถลดความดันโลหิตสูงได้แล้ว
ทั้งนี้ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียงจากยาลูปไดยูเรติกเท่าที่พบได้บ่อยคือ เกิดภาวะเกลือโซ เดียม เกลือโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ อาจพบภาวะร่างกายเสียน้ำร่วมด้วย อาการข้างเคียงอีกประ การหนึ่งที่สามารถส่งผลเสียต่อผู้ป่วยอย่างมากได้แก่ เกิดพิษต่อประสาทหูจนอาจทำให้เกิดอาการหูหนวกติดตามมาได้
มีข้อพึงระวังบางประการของการใช้ยาลูปไดยูเรติกร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs หรือกลุ่ม ACE inhibitors คือจะเร่งให้เกิดภาวะไตวายได้ง่ายมากขึ้น
ยาลูปไดยูเรติกจัดเป็นกลุ่มยาอันตรายหากใช้ผิดวิธีก็สามารถส่งผลเสียได้อย่างมากมาย การใช้ยาลูปไดยูเรติกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยจึงต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและการดูแลของแพทย์เท่านั้น
ลูปไดยูเรติกมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
ยาลูปไดยูเรติกมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เพื่อ
- รักษาภาวะ/โรคความดันโลหิตสูง
- บำบัดภาวะหัวใจล้มเหลว
- ลดอาการบวมน้ำของร่างกาย
ลูปไดยูเรติกมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาลูปไดยูเรติกคือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดกลับเข้ากระ แสเลือดของเกลือโซเดียม เกลือโพแทสเซียม และเกลือคลอไรด์จากปัสสาวะที่ไต ส่งผลให้มีการ ขับน้ำออกจากร่างกายพร้อมกับเกลือดังกล่าว ผู้ป่วยจึงมีปัสสาวะบ่อยขึ้นและทำให้ลดปริมาณของเลือดที่ไปเลี้ยงไต นอกจากนี้ยาลูปไดยูเรติกยังสามารถเพิ่มปริมาณสาร Prostaglandins ซึ่งจะส่ง ผลให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้มีเลือดไปเลี้ยงไตอย่างพอเพียงและไม่ทำให้ความดันเลือดที่ไตเพิ่มขึ้น กลไกทั้งหมดดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการลดอาการบวมและลดความดันโลหิตได้ตามสรรพคุณ
ลูปไดยูเรติกมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาลูปไดยูเรติกมีรูปแบบการจัดจำหน่ายเป็น
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน และ
- ยาฉีด
ลูปไดยูเรติกมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ด้วยตัวยาในกลุ่มลูปไดยูเรติกมีขนาดความแรงรวมถึงคุณสมบัติของการรักษาที่แตกต่างกัน การใช้ยากลุ่มนี้ได้อย่างเหมาะสมปลอดภัยจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยาลูปไดยูเรติก ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำ บาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาลูปไดยูเรติกอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาลูปไดยูเรติกสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
อย่างไรก็ตามเพื่อประสิทธิผลของการรักษาควรรับประทานยาลูปไดยูเรติกให้ตรงเวลา
ลูปไดยูเรติกมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาลูปไดยูเรติกสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น ทำให้มีเกลือแร่บางตัวในกระแสเลือดต่ำเช่น เกลือโซเดียม เกลือโพแทสเซียม และเกลือคลอไรด์ จึงส่งผลให้เกิดภาวะสูญเสียน้ำของร่างกายหรือภาวะขาดน้ำ และมีภาวะกรดยูริคในเลือด สูงจึงเกิดภาวะเกาต์คุกคาม มีอาการวิงเวียน ความดันโลหิตต่ำ เกิดภาวะเกลือแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดผื่นคัน บางกรณีอาจทำให้เกิดอาการหูหนวกได้อีกด้วย
มีข้อควรระวังการใช้ลูปไดยูเรติกอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ลูปไดยูเรติกเช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีภาวะปัสสาวะไม่ออก
- ห้ามใช้ยากับนี้ผู้ที่มีภาวะตับทำงานล้มเหลว/ตับวาย
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่สูญเสียเกลือแร่ของร่างกายอย่างรุนแรง
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มซัลฟา (Sulfa drug)
- ห้ามใช้ยานี้กับกับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ โดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
- ห้ามปรับขนาดรับประทานยานี้ด้วยตนเอง
- ห้ามใช้ยาที่หมดอายุแล้ว
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นรับประทาน
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง:
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวม ยาลูปไดยูเรติก) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ลูปไดยูเรติกมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาลูปไดยูเรติกมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
- การใช้ยากลุ่มลูปไดยูเรติกร่วมกับยา Cyclosporin อาจทำให้เกิดภาวะเกาทต์คุกคาม หาก ไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยากลุ่มลูปไดยูเรติกร่วมกับยา Methotrexate จะทำให้ปริมาณยา Methotrexate ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยาลูปไดยูเรติกร่วมกับยาปฏิชีวนะบางกลุ่มสามารถก่อให้เกิดความเป็นพิษกับไต และ/หรือสูญเสียการได้ยิน/หูหนวก วิงเวียน โดยมากมักเกิดกับผู้สูงอายุ ยาปฏิชีวนะกลุ่มดังกล่าวเช่น Amikacin, Tobramycin และ Gentamycin เป็นต้น
ควรเก็บรักษาลูปไดยูเรติกอย่างไร?
ควรเก็บยาลูปไดยูเรติกในช่วงอุณหภูมิห้องที่เย็น ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
ลูปไดยูเรติกมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาลูปไดยูเรติกที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Dema (ดีมา) | T. Man Pharma |
Dirine (ไดรีน) | Atlantic Lab |
Femide (ฟีไมด์) | MacroPhar |
Frusemide (ฟรูซีไมด์) | Utopian |
Frusil (ฟรูซิล) | Suphong Bhaesaj |
Fudirine (ฟูไดรีน) | P P Lab |
Furetic/Furetic-S (ฟูเรติก/ฟูเรติก-เอส) | Siam Bheasach |
Furide (ฟูไรด์) | Polipharm |
Furine 40 (ฟูรีน-40) | Medicine Products |
Furomed (ฟูโรเมด) | Inpac Pharma |
Furomide (ฟูโรไมด์) | Medicpharma |
Furosemide GPO (ฟูโรซีไมด์ จีพีโอ) | GPO |
Furozide (ฟูโรไซด์) | A N H Products |
Fuseride (ฟูซีไรด์) | Pharmasant Lab |
Fusesian (ฟูซีเซียน) | Asian Pharm |
Hawkmide (ฮอคไมด์) | L. B. S. |
H-Mide (เฮท-ไมด์) | Macro Phar |
Lasiven (เลซีเวน) | Umeda |
Lasix/Lasix High Dose (เลซิก/เลซิก ไฮท์ โดส) | Sanofi-aventis |
Prosix (โพรซิก) | Inpac Pharma |
T P Furosemide (ที พี ฟูโรซีไมด์) | T P Drug |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Loop_diuretic [2022,June18]
- https://www.drugs.com/drug-class/loop-diuretics.htmlhttps://en.wikipedia.org/wiki/Furosemide [2022,June18]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Bumetanide [2022,June18]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Etacrynic_acid [2022,June18]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Torasemide [2022,June18]
- https://www.straighthealthcare.com/loop-diuretics.html [2022,June18]