เคตามีน (Ketamine)

สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ:คือยาอะไร?

  เคตามีน (Ketamine) คือ ยาในกลุ่ม NMDA (N-Methyl-D-aspartic acid หรือ N-Methyl-D-aspartate, สารที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทในสมอง) receptor antagonist ทางคลินิกใช้เป็นยาสลบก่อนทำการผ่าตัด นอกจากจะมีฤทธิ์ในการสงบประสาทแล้วยังมีฤทธิ์ระงับปวด  ช่วยขยายหลอดลม ต่อต้านอาการซึมเศร้า

ยาเคตามีนอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงทั่วๆไปได้เช่น มีภาวะกระสับกระส่าย รู้สึกสับสน ความดันโลหิตสูง

ยานี้ถูกสังเคราะห์ได้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) อีก 2 ปีต่อมาได้ถูกนำไปทด ลองใช้กับนักโทษในเรือนจำจนได้ข้อสรุปให้ใช้เป็นยาสลบได้ และถูกนำไปใช้กับทหารอเมริกันสมัยสงครามเวียดนาม

องค์การอนามัยโลกได้ระบุให้ยาเคตามีนเป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สถานพยาบาลควรมีประ จำไว้ใช้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยานี้ คณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้บรรจุให้ยานี้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติและจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในประเภท 2 โดยระบุเงื่อนไขการใช้ยาเคตามีนดังนี้

  • ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อกับผู้ป่วยที่หาเส้นเลือดสำหรับให้น้ำเกลือไม่ได้
  • ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำ
  • ใช้ในการระงับความรู้สึกสำหรับการทำหัตถการทางการแพทย์ที่ใช้ระยะเวลาสั้นๆ
  • ใช้เป็นยาเสริม (adjunct therapy) เพื่อระงับอาการปวดรุนแรง (intractable pain)

การใช้ยาเคตามีนจะมีใช้ตามสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตทางกฎหมายอย่างถูกต้อง การขอซื้อยานี้ต้องทำธุรกรรมผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น การจัดเก็บยานี้ในสถานพยาบาลต้องถูกจัดเก็บในตู้ยาที่มิดชิดมีการล็อคกุญแจ เภสัชกรผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล การจัดเก็บเท่านั้นที่สามารถนำยาออกจากคลังยาเพื่อส่งมอบต่อกับบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วย

รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยานี้เท่าที่พบเห็นในประเทศไทยจะเป็นยาฉีด ถึงแม้มีการระบุให้ใช้ในสถานพยาบาล แต่ก็มีการลักลอบใช้เป็นยาเสพติดหรือที่เราได้ยินคำว่า “ยาเค” จากหลักฐานทางคลินิกที่กระทรวงสาธารณสุขแจ้งเตือนไว้ การใช้ยานี้ต่อเนื่อง นอกจากผู้เสพจะต้องใช้ปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว หากใช้ขนาดที่สูงถึง 1 กรัมอาจทำให้ผู้เสพยาถึงตายได้

เคตามีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?

เคตามีน

ยาเคตามีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้: เช่น

  • ใช้เป็นยาสลบในเด็ก(นิยามคำว่าเด็ก)เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและทำให้ง่ายต่อการสอดท่อช่วยหายใจ
  • บรรเทาอาการหอบหืดในผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจตีบเรื้อรัง
  • ใช้เป็นยาช่วยในการผ่าตัดฉุกเฉินในภาวะสงคราม
  • ใช้บรรเทาอาการปวด หลังเข้ารับการผ่าตัดและช่วยลดการใช้ยามอร์ฟีน (Morphine)
  • ใช้บำบัดอาการซึมเศร้าในโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar depression)

เคตามีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยาเคตามีนคือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (Receptor) ในสมองและยับยั้งสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า กลูตาเมท (Glutamate, สารสื่อประสาทที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เซลล์สมองตื่นตัว) ส่งผลให้เกิดการปรับสมดุลของสารสื่อประสาท และได้ฤทธิ์ของการสงบประ สาท ระงับอาการปวด โดยมีระยะเวลาของการออกฤทธิ์ประมาณ 5 - 10 นาทีกรณีที่ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ หรือประมาณ 12 - 25 นาทีในกรณีที่ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

เคตามีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาเคตามีนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย:   

  • ยาฉีด ขนาด 50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
  • ยาฉีด ขนาด 10 มิลลิกรัม/20 มิลลิลิตร
  • ยาฉีด ขนาด 50 มิลลิกรัม/10 มิลลิลิตร

เคตามีนมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?

ยาเคตามีนมีขนาดการบริหารยา/ใช้ยา เช่น

ก.สำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด: เช่น

  • ผู้ใหญ่: ฉีดยา 1 -5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • เด็ก: ฉีดยา 0.5 -5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ข. สำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ:

  • ผู้ใหญ่: ฉีดยา 6.5 - 13 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • เด็ก: ฉีดยา 2 - 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

*****หมายเหตุ: ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเคตามีน ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร  เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กิน/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่น/หายใจติดขัด/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาเคตามีนอาจส่งผลให้ อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน       
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/ มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

เคตามีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

 ยาเคตามีนสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา(ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)  เช่น

  • ฝันร้าย
  • รู้สึกสับสน
  • ประสาทหลอน
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • อาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • หัวใจเต้นเร็วหรือหัวใจเต้นช้าก็ได้
  • กดการหายใจ (หายใจช้า ตื้น เบา)
  • อาจพบอาการผื่นคันตามผิวหนัง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มีน้ำลายมาก
  • เห็นภาพซ้อน
  • หนังตากระตุก
  • ทางเดินหายใจตีบ/ หายใจลำบาก
  • มีสารคัดหลั่งออกมาที่หลอดลม/เสมหะมาก
  • หากใช้ติดต่อกันบ่อยครั้ง สามารถพบอาการติดยาได้
  • ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการแพ้ยานี้

มีข้อควรระวังการใช้เคตามีนอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาเคตามีน เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
  • ห้ามใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์        
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลมชัก
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคจิต
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง:ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเคตามีนด้วย) ยาแผนโบราณ  อาหารเสริม  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

เคตามีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาเคตามีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยาเคตามีน ร่วมกับยา Barbiturates และยากลุ่ม Opioids จะส่งผลให้มีภาวะซึมเศร้า มากยิ่งขึ้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยาเคตามีน ร่วมกับยา Propoxyphene, Hydroxyzine, Brompheniramine, Chlorphe niramine, Pyrilamine, Midazolam, Alprazolam จะทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาเคตามีนเพิ่มมากขึ้นเช่น มีอาการวิงเวียน ง่วงนอน รู้สึกสับสน ขาดสมาธิ เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยาเคตามีน ร่วมกับยา Theophylline อาจทำให้เกิดภาวะชักติดตามมา กรณีที่จำเป็น ต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นกรณีไป

ควรเก็บรักษาเคตามีนอย่างไร?

 ควรเก็บยาเคตามีน:

  • เก็บยาในช่วงอุณหภูมิ 15 - 25 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
  • เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • เก็บยาในที่ปลอดภัย ป้องกันการลักขโมยยานี้

เคตามีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาเคตามีน  มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Calypsol (คาลิปซอล) Gedeon Richter
Ketalar (เคตาลาร์) Pfizer
Ketamine-p (เคตามีน-พี) PP Lab3

 

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Ketamine [2022,Feb19]
  2. https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=5993 [2022,Feb19]
  3. https://www.mims.com/Thailand/drug/info/Calypsol/?type=BRIEF [2022,Feb19]
  4. https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=ketamine [2022,Feb19]
  5. https://neurotransporter.org/glutamate.html [2022,Feb19]
  6. https://www.drugs.com/drug-interactions/ketamine-index.html?filter=2#B [2022,Feb19]
  7. https://www.medsafe.govt.nz/profs/datasheet/k/ketamineinf.pdf [2022,Feb19]