ศิริราชผ่าตัดส่องกล้องรักษา “ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้น” (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดภาวะนี้ในเด็กหลังคลอด ปรกติจะเป็นการผ่าตัดที่ทำการตัดเล็มเนื้อเยื่อส่วนเกินของลิ้น (เปิดปิด) ออก ซึ่งเป็นเพียงขั้นตอนเล็กๆ และอาศัยเพียงรอยกรีดเล็กๆ บริเวณการผ่าตัดลอกลิ้น (เปิดปิด) ออกเท่านั้น

วิธีการคือ ขณะที่เด็กได้รับการวางยาสลบแล้ว แพทย์จะสอดกล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็ก เรียกว่า Cystoscope เข้าไปในท่อปัสสาวะ กล้องดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นแนวเส้นภายในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ที่จะปรากฎเป็นภาพบนหน้าจอ ซึ่งแพทย์จะทำการสำรวจดูการอุดกั้น และตัดหรือลอกเอาลิ้น (เปิดปิด) ออก

  • นอกจากส่วนใหญ่ของ 95 % หลักแล้ว กรณีที่เด็กอาจต้องเข้าผ่าตัดฉุกเฉิน จะเกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังนี้ การหายใจอึดอัด (Respiratory distress) ทารกแรกเกิดที่มีอาการดังกล่าว อาจจำเป็นต้องได้รับการระบายอากาศ (Ventilation) และการสอดหลอดสอดคาท่อลม (Endotracheal intubation)
  • ภาวะไตบวมน้ำ (Hydronephrosis) ซึ่งทารกแรกเกิดที่เป็นภาวะไตบวมน้ำนั้นอาจต้องได้รับการผ่าตัดต่อไปนี้
    • การผ่าตัดเบี่ยงเส้นทางเดินปัสสาวะ (Urinary diversion) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เบี่ยงเส้นทางเดินปัสสาวะ ก่อนที่จะเดินทางถึงท่อปัสสาวะ ขั้นตอนนี้ผ่าตัดโดยวิธีที่เรียกว่า Vesicostomy สำหรับผ่าตัดทารกแรกเกิดที่ขนาดตัวเล็กเกินกว่าจะเข้ารับการผ่าตัดแบบใช้ท่อยาวสอดเข้าไปในร่างกาย (Endoscopic incision) ได้ การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดช่องว่างจากกระเพาะปัสสาวะ มายังส่วนนอกของร่างกาย เพื่อที่ว่าปัสสาวะจะสามารถปล่อยออกมายังผ้าอ้อมได้โดยตรง
    • การผ่าตัดเบี่ยงเบนส่วนต้น (Proximal diversion) เป็นวิธีที่ไม่นิยมใช้นัก เมื่อเทียบกับวิธีแรก วิธีนี้จะผ่าเอาท่อปัสสาวะออกมาทางผิวหนัง เพื่อให้ปัสสาวะถูกเบี่ยงมายังด้านข้างของร่างกายแทน วิธีนี้ใช้สำหรับเด็กชายที่มีอาการของโรคที่ร้ายแรงกว่ามาก ตัวอย่างเช่น หากผนังกระเพาะปัสสาวะหนามาก หรือหากตัวกระเพาะปัสสาวะแสดงความผิดปกติที่เห็นได้ชัดเอง

นอกจากวิธีรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีหลักและจำเป็นแล้ว ก็ยังมีการใช้ยารักษา ถึงแม้ว่าการกินเพียงอย่างเดียวยาจะไม่ช่วยรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นให้หายได้ แต่การกินยาก็สามารถใช้ช่วยรักษาควบคู่ไปกับการผ่าตัดสำหรับกรณีที่ร้ายแรงได้

เด็กชายบางคนมีการใช้งานกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะที่รุนแรงเกินไป จนทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเขม็งตึง การกินยาที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ก็อาจช่วยเด็กเหล่านี้ได้ ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้กันทั่วไป เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะนั้น ประกอบด้วย Anticholinergics, Antimuscarinics, Antispasmotics, และ Sympathomimmetics

แม้กระทั่งหลังการผ่าตัด ก็อาจยังมีปัญหาระยะยาว ตัวอย่างเช่น การไหลย้อนกลับของปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะเข้าในท่อปัสสาวะ (Vesicoureteral reflux) กระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่ไม่ปกติ และไตทำงานบกพร่อง ดังนั้น แม้จะผ่าตัดแล้ว ลูกชายของคุณอาจยังมีอาการ เช่น การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จึงควรพาลูกไปพบแพทย์บ่อยๆ หลังจากผ่าตัด นอกจากนั้น หากทางเดินปัสสาวะของลูกคุณได้มีการเสียหายรุนแรง การผ่าตัดเพิ่มเติมอาจช่วยป้องกันความเสียหายของไตได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Posterior urethral valves. http://www.childrenshospital.org/az/Site1471/mainpageS1471P1.html [2013, January 10].