ศิริราชผ่าตัดส่องกล้องรักษา “ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้น” (ตอนที่ 2)
- โดย ปราง เทพินทราภิรักษ์
- 10 มกราคม 2556
- Tweet
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือเด็กๆ เกิดมาพร้อมกับเนื้อเยื่อ ส่วนเกินดังกล่าวอยู่แล้ว แม้อาจยังวินิจฉัยไม่เจอตอนเกิดก็ตาม พ่อแม่ไม่ได้ส่งต่อภาวะดังกล่าวสู่ลูก ทว่า ก็มีหลายกรณีที่ ภาวะดังกล่าวเกิดในฝาแฝด หรือพี่น้อง แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้เช่นกัน
ในด้านองค์ประกอบทางพันธุกรรม คำอธิบาย ในข้อที่ว่า เหตุใดเนื้อเยื่อส่วนเกินในท่อปัสสาวะจึงเจริญเติบโต มาก กว่าที่ควรจะเป็นนั้น ไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม เชื่อกัน ว่าการเจริญเติบโตดังกล่าว น่าจะเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นของการ พัฒนาตัวอ่อนเพศชายในครรภ์
ปกติแล้ว เนื้อเยื่อในท่อ ปัสสาวะนั้นมีโครงสร้างที่เล็กมาก เชื่อกันว่า ในช่วงการพัฒนาตัวเป็นทารกในครรภ์นั้น ร่างกายจะส่งสัญญาณบางอย่างบอก เนื้อเยื่อให้หยุดการเจริญเติบโต หรือช่วยให้เนื้อเยื่อมีขนาดเล็กลง แต่ในเด็กชายที่ เป็นภาวะดังกล่าวนั้น สัญญาณที่ว่านี้หายไป ส่งไปไม่ถึง ทำให้เนื้อเยื่อยังคงเจริญเติบโตต่อไป
สำหรับอาการของภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นนั้น แตกต่างกันไปตามระดับความร้ายแรง ดังนั้น เด็กแต่ละคน จึงประสบกับอาการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะขนาดใหญ่ ที่อาจใหญ่ถึงขั้นเห็นเป็นก้อนบริเวณ หน้าท้องทีเดียว
การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (มักไม่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และแทบไม่เกิดกับเด็กผู้ชายเลย เว้นแต่ กรณีที่มี เหตุขัดข้องบางประการ อาการเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ ปัสสาวะถี่และไหลอ่อนแรง นอกจากนี้เด็กยังคงปัสสาวะรดกางเกง หรือ ที่นอน แม้กระทั่งหลังจากมีการสอนให้ใช้ห้องน้ำแล้ว น้ำหนักน้อย และปัสสาวะลำบาก
ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้น ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดนั้น มีการตรวจพบเมื่อใด และจะพบได้เร็วขนาดไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะ ในกรณีรุนแรง ภาวะดังกล่าวอาจถูกตรวจพบระหว่างการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ดูภาพของตัวอ่อนในครรภ์ โดยการใช้คลื่นเสียง
อาการที่ร้ายแรงของภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้น อย่าง ภาวะไตบวมน้ำ (Hydronephrosis) จะสามารถปรากฎให้เห็นผ่านการอัลตราซาวด์ก่อนคลอดได้ เช่นเดียวกันกับท่อไตที่บวมและอักเสบ ในตัวอ่อนทารกเพศชาย ก็สามารถเตือนให้แพทย์วินิจฉัยหาภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นได้
สำหรับในกรณีที่ไม่รุนแรง การทำอัลตราซาวด์ดูภาพตัวอ่อนทารกนั้น อาจไม่พบสิ่งใดผิดปกติเลย ซึ่งในกรณีนี้ ภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นจะค่อยๆส่งผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะทีละน้อย และอาจตรวจไม่พบไปหลายปี จนกระทั่งเด็กอายุมากขึ้นและมีอาการต่างๆ
สำหรับการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะอุดกั้นนั้น กว่า 95% ได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ที่เรียกกันว่า “การผ่าตัดลิ้น (เปิดปิด)” แบบใช้ท่อยาวสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะ (Endoscopic incision) หรือที่เรียกกันว่า “การตัดหรือลอกลิ้น (เปิดปิด)” หรือ กระเพาะปัสสาวะที่อุดกั้นออก (Posterior urethral valve ablation)
แหล่งข้อมูล:
- Posterior urethral valves. http://www.childrenshospital.org/az/Site1471/mainpageS1471P1.html [2013, January 9].