1. ตลาดโรงพยาบาล - ตอนที่ 3

ข้อมูลจากศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รายงานว่า ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) 370 แห่ง โดยแบ่งเป็น โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolis) 116 แห่ง คิดเป็นสัดส่วน 31.4% ของจำนวนโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด และต่างจังหวัด (Provincial) อีก 254 แห่ง คิดเป็นสัดส่วน 68.6%

ในด้านจำนวนเตียงผู้ป่วย (Patient beds) อยู่ที่ 3.6 หมื่นเตียง โดยแบ่งเป็นจำนวนเตียงในกรุงเทพมหานคร 1.4 หมื่นเตียง คิดเป็นสัดส่วน 38.9% ของจำนวนเตียงทั้งหมด และต่างจังหวัด (Provincial) อีก 2.2 หมื่นเตียง คิดเป็นสัดส่วน 61.1% ของจำนวนเตียงทั้งหมด

โรงพยาบาลเอกชนแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มตามขนาดของกิจการ (Business size) ที่วัด (Measure) ด้วยจำนวนเตียง ซึ่งเป็นเครื่องชี้ (Indicator) ขีดความสามารถในการให้บริการ (Service capacity) แก่ผู้ป่วยในของโรงพยาบาล อันได้แก่

  • โรงพยาบาลขนาดใหญ่ (Large) – บนพื้นฐานของจำนวนเตียงผู้ป่วย 250 เตียงขึ้นไปซึ่งมีจำนวน 22 แห่ง คิดเป็น 8% ของจำนวนโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด ส่วนใหญ่แล้ว โรงพยาบาลเหล่านี้ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร (ซึ่งรวมปริมณฑล) และภาคกลาง คิดเป็นสัดส่วน 90% ของจำนวนเตียงทั้งหมด นับเป็นพื้นที่ที่มีการกระจุกตัว (Concentration) ของประชากรที่มีกำลังซื้อ (Purchasing power) ปานกลาง-ถึง-สูง และครอบคลุมจำนวนเตียงรวม 7,162 เตียง คิดเป็น 19.9% ของจำนวนเตียงทั้งหมด
  • โรงพยาบาลขนาดกลาง (Medium) – บนพื้นฐานของจำนวนเตียงผู้ป่วย ระหว่าง 31 ถึง 249 เตียงซึ่งมีจำนวน 255 แห่ง คิดเป็นสัดส่วน 5% ของโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด โดยครอบคลุมจำนวนเตียงรวม 27,069 เตียง คิดเป็น 75.2% ของจำนวนเตียงทั้งหมด
  • โรงพยาบาลขนาดเล็ก (Small) – บนพื้นฐานของจำนวนเตียงผู้ป่วย ระหว่าง 1 ถึง 30 เตียงซึ่งมีจำนวน 101 แห่ง คิดเป็น 7% ของโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด โดยครอบคลุมจำนวนเตียงรวม 1,766 เตียง คิดเป็น 4.9% ของจำนวนเตียงทั้งหมด

ข้อมูลจากแหล่งข่าว PPTVhd36 รายงานว่า การใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชน มีสัดส่วนถึง 24.5% ของคนไทยที่ใช้บริการทางการแพทย์ (Health-care service) กลุ่มผู้นิยมใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ครอบคลุมทุกสิทธิ์ของค่ารักษาสุขภาพ อันได้แก่

  • กลุ่มผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ช่วงปี พ.ศ. 2564 พบว่า ผู้ป่วยใช้สิทธิ์ ประกันสังคม (Social security) มากที่สุด 2% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของโควิด-19 ในปี พ.ศ. 2562
  • ผู้ใช้สิทธิ์บริษัทประกันสุขภาพ (Health insurance) ปี พ.ศ. 2564 มีอัตราเพิ่มขึ้น 3% จากช่วงก่อนโควิด-19 ส่วนสวัสดิการจากนายจ้างก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • แต่ผู้ใช้สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรค [ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเข้าร่วมโครงการ] ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals [2023, April 14].
  2. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/180130#&gid=1&pid=1 [2023, April 14].