บาร์บิทูเรต (Barbiturate)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 9 มกราคม 2565
- Tweet
สารบัญ
- บทนำ: คือยาอะไร?
- บาร์บิทูเรตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
- บาร์บิทูเรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- บาร์บิทูเรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- บาร์บิทูเรตมีขนาดการใช้ยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- บาร์บิทูเรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้บาร์บิทูเรตอย่างไร?
- บาร์บิทูเรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาบาร์บิทูเรตอย่างไร?
- บาร์บิทูเรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)
- ไมเกรน (Migraine)
- ลมชัก (Epilepsy)
- ยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท (Transquilizer Drugs)
- ยานอนหลับ (Sleeping pill)
- โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea)
- ยากันชัก ยาต้านชัก (Anticonvulsant drugs)
บทนำ: คือยาอะไร?
บาร์บิทูเรต (Barbiturate) คือ กลุ่มสารอนุพันธุ์ของกรดบาร์บิทูริก (Barbituric acid,สารต้นกำเนิดของยาบาร์บิทูเรต) ถูกสังเคราะห์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1864 (พ.ศ. 2407) โดยนักวิจัยชาวเยอรมัน และถูกนำมาใช้กับวงการแพทย์ในเวลาต่อมา ด้วยกลไกที่มีผลกดการทำงานของสมอง จึงนำบาร์บิทูเรตไปใช้เป็น ‘ยาสงบประสาท (ยาคลายเครียด)’ ช่วยให้นอนหลับ (ยานอนหลับ) จนถึงขั้นใช้เป็นยาสลบ (Anesthesia) ใช้รักษาโรคลมชัก โรคไมเกรน และบรรเทาอาการโรควิตกกังวล เป็นต้น
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการทหารสหรัฐอเมริกาได้เลือกใช้ยาบางตัวในกลุ่มบาร์บิทู เรตโดยตั้งชื่อว่า ‘Goofball’ และใช้เป็นยาเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย ลดความเครียด ลดความดันโลหิต เป็นเหตุให้ทหารกลุ่มที่ได้รับ Goofball มีอาการติดยาเมื่อเสร็จสิ้นสงคราม
ปัจจุบันบาร์บิทูเรตได้รับความนิยมน้อยลงไปด้วยมีผลข้างเคียงมากกว่ายากลุ่มอื่นที่มีฤทธิ์ของการรักษาเหมือนหรือใกล้เคียงกัน อย่างเช่นยาในกลุ่มเบนโซไดอะซิปีน (Benzodiazepine) รายชื่อยาในกลุ่มบาร์บิทูเรตมีอยู่หลายรายการ แต่จะขอยกตัวอย่างเพียงบางตัวดังต่อไปนี้ Allobarbital, Alphenal, Amobarbital, Aprobarbital, Brallobarbital, Butobarbital, Butalbital, Cyclobarbital, Methylphenobarbital, Methohexital, Pentobarbital, Phenobar bital, Secobarbital, Talbutal, Thiamylal, และThiopental ทั้งนี้ การจะเลือกใช้ยาตัวใดมารัก ษากับแต่ละอาการโรคของผู้ป่วยต้องได้รับการคัดกรองและมีคำสั่งจากแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น ผู้ ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างเคร่งครัด ห้ามปรับเปลี่ยนขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ยานี้ด้วยตนเอง
บาร์บิทูเรตมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?
ยาบาร์บิทูเรตมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้:
- ใช้เป็นยาสงบประสาท (ยาคลายเครียด) ช่วยให้นอนหลับ (ยานอนหลับ)
- ใช้เป็นยาสลบก่อนนำคนไข้เข้ารับการผ่าตัด
- รักษา โรคลมชัก โรคไมเกรน
- ช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
- ช่วยคลายความวิตกกังวล (มักใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น)
บาร์บิทูเรตมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาบาร์บิทูเรตคือ ตัวยาจะจะออกฤทธิ์ต่อตัวรับ(Receptor)ต่อสาร กาบา/ GABA (Gamma aminobutyric acid receptor, ตัวรับของสารสื่อประสาท GABA ที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัวของสมอง)ในสมอง และส่งผลกดการทำงานของกระแสประสาท ซึ่งการใช้ยาที่ถูกขนาด ถูกอาการ จะก่อให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
บาร์บิทูเรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาบาร์บิทูเรตมีรูปแบบการจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น
- ยาเม็ด
- ยาแคปซูล
- ยาน้ำชนิดรับประทาน
- ยาน้ำแขวนตะกอน
- สารละลาย
- ยาเหน็บทวาร
- ยาฉีดชนิดผงแห้ง (ใช้ละลายน้ำก่อนฉีด)
บาร์บิทูเรตมีขนาดการใช้ยาอย่างไร?
ยาในกลุ่มบาร์บิทูเรตมีหลายรายการ ดังนั้นขนาดรับประทานและวิธีใช้ต้องเป็นไปตามคำ สั่งของแพทย์เท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ป่วยปรับเพิ่ม - ลดขนาดรับประทานยาเอง สามารถหาข้อมูลรายละเอียดของการใช้ยา ข้อห้าม ข้อควรระวัง การเก็บรักษา ได้จาก ฉลากยา/ เอกสารกำกับยาที่แนบมากับภาชนะบรรจุ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาบาร์บิทูเรต ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และ เภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่นคัน หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาบาร์บิทูเรตอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
โดยปกติทั่วไป หากลืมรับประทานยาบาร์บิทูเรต สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
อย่างไรก็ตาม การลืมรับประทานยานี้บ่อยๆ สามารถทำให้อาการป่วยไม่ทุเลา และยังอาจเพิ่มความรุนแรงของอาการได้มากยิ่งขึ้น
บาร์บิทูเรตมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
กลุ่มยาบาร์บิทูเรตสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- การสูญเสียความทรงจำ
- กดการหายใจ (หายใจเบา ตื้น)
- ไตทำงานผิดปกติ
- ตกใจง่าย
- จิต/ประสาทหลอน
- อ่อนเพลีย
- ปวดกระดูก
- เบื่ออาหาร
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- น้ำหนักลดผิดปกติ
- ตัวเหลือง
*อนึ่ง: สำหรับอาการของผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาด เช่น รู้สึกสับสนอย่างมาก การตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นน้อยมาก ง่วงนอนอย่างมาก มีไข้ ตัวเย็น ความสามารถในการตัดสินใจแย่ลง การหาย ใจติดขัด/หายใจลำบาก ชีพจรเต้นเบา พูดไม่ชัด ตากระตุก อ่อนเพลียมาก ซึ่งหากพบอาการดังกล่าว ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
มีข้อควรระวังการใช้บาร์บิทูเรตอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้บาร์บิทูเรต เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย โรคถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ผู้ป่วยที่มีโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Obstructive sleep apnea)
- ห้ามใช้ยากับหญิงตั้งครรภ์ด้วยยานี้สามารถก่อความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้กับหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ด้วยยากลุ่มนี้สามารถซึมผ่านเข้าน้ำนมมารดาและส่งผลต่อทารกได้
- การหยุดยานี้ทันทีอาจก่อให้เกิดภาวการณ์ถอนยา/ลงแดง เช่น มีอาการวิตกกังวล คลื่นไส้อาเจียน และมีอาการชัก
- ระวังการใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานด้วยสามารถทำให้เกิดการติดยาได้
- ผู้ป่วยมิควรปรับขนาดการรับประทานยานี้เอง การรับประทานยาควรต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอเท่านั้น
- ระวังการใช้ยานี้กับเด็ก (นิยามคำว่าเด็ก) ด้วยยากลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดภาวะตื่นเต้นหรือตื่นตระหนกอย่างผิด ปกติ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้สูงอายุ ด้วยยานี้สามารถก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าและมีอาการสับสนติดตามมา
- ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มบาร์บิทูเรตด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
บาร์บิทูเรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาบาร์บิทูเรตมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การรับประทานยาบาร์บิทูเรต ร่วมกับ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงติดตามมา เช่น วิงเวียน และง่วงนอนอย่างมาก จึงห้ามรับประทานร่วมกัน
- การรับประทานยาบาร์บิทูเรต ร่วมกับ ยาเม็ดคุมกำเนิด สามารถลดความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ของยาคุมกำเนิดดังกล่าว หากมีการใช้ยาร่วมกัน ควรต้องปรับขนาดรับประทานอย่างเหมาะสม และใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆร่วมด้วยเช่น การใช้ถุงยางอนามัยชาย
- การใช้ยากลุ่มบาร์บิทูเรต ร่วมกับ ยาบางกลุ่ม สามารถเพิ่มฤทธิ์ในการกดประสาทส่วน กลางได้ เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยารักษาโรคหืด ยากล่อมประสาท (ยาคลายเครียด) ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านชัก หากไม่ความจำเป็นใดๆควรเลี่ยงการใช้ยาบาร์บิทูเรตร่วมกับยากลุ่มดังกล่าว
ควรเก็บรักษาบาร์บิทูเรตอย่างไร?
สามารถเก็บยาบาร์บิทูเรต เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด และความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
บาร์บิทูเรตมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาบาร์บิทูเรต มียาชื่อการค้า และ บริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Ama (เอมา) | Atlantic Lab |
Amytal (อะไมทอล) | Eli Lilly |
Phenobarbitone GPO (ฟีโนบาร์บิโทน จีพีโอ) | GPO |
Phenobarbital Chew Brothers (ฟีโนบาร์บิทอล ชิว บาร์เทอร์) | Chew Brothers |
Phenobarbital Atlantic (ฟีโนบาร์บิทอล แอทแลนติค) | Atlantic Lab |
Neuramizone (นิวราไมโซน) | Sriprasit Pharma |
Elixir Phenobarb (อิลิคเซอร์ ฟีโนบาบ) | Suphong Bhaesaj |
Belladonna Alkaloids w/ Phenobarbital | |
(เบลลาดอนนา อัลคาลอยด์ ดับเบิ้ลยู/ฟีโนบาร์บิทอล) | Samakeephaesaj |
Anesthal (แอเนสทอล) | Jagsonpal |
Thiopen (ทิโอเพน) | Unique |
บรรณานุกรม
- https://en.wikipedia.org/wiki/Barbiturate [2022,Jan8]
- https://www.thegooddrugsguide.com/drug-types/types-of-barbiturates.htm [2022,Jan8]
- https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/barbiturate-oral-route-parenteral-route-rectal-route/side-effects/drg-20069290 [2022,Jan8]
- https://www.indiastudychannel.com/resources/143909-The-classification-mechanism-action-uses.aspx [2022,Jan8]
- https://science.jrank.org/pages/740/Barbiturates-Precautions.html [2022,Jan8]
- https://www.drugs.com/pregnancy/butabarbital.html [2022,Jan8]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=phenobarbital [2022,Jan8]
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=thiopental [2022,Jan8]