logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาแก้ท้องผูก

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาแก้ท้องผูก

  • อาหารและน้ำดื่ม: การกินอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย หรืออยู่ในช่วงควบคุมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
  • ยาหลายกลุ่มทำให้ท้องผูกได้ เช่น ยาในกลุ่มโคเดอีน ยาขับปัสสาวะ ยาต้านเศร้า ยาแก้แพ้ ยาต้านการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ยากันชัก ยาลดกรดที่มีกลุ่มสารอลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบ
  • ระบบการเผาผลาญของร่างกาย เกลือแร่ และ/หรือ ฮอร์โมน เช่น ภาวะมีระดับแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคเบาหวาน
  • ความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแผลบริเวณปากทวารหนัก
  • อาการทางจิตประสาท บางคนกลัวการถ่ายอุจจาระที่ส้วมสาธารณะ เช่น ในห้างสรรพสินค้า กลัวความเจ็บปวดจากการขับถ่ายดัวยภาวะเป็นริดสีดวงทวารหรืออั้นอุจจาระเป็นประจำ
  • เพิ่มเนื้ออุจจาระให้มีมากขึ้น จนเกิดการกระตุ้นให้อยากขับถ่าย ซึ่งยากลุ่มนี้ได้จากสารที่สกัดจากเมือกของเปลือกต้นไม้ และนำมาทำในรูปแบบยากิน
  • เพิ่มการดูดน้ำเข้าลำไส้และช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น
  • ทำให้อุจจาระนิ่ม และเคลื่อนตัวไปยังลำไส้ใหญ่ส่วนปลายได้ง่าย
  • หล่อลื่น และทำให้อุจจาระสามารถเคลื่อนตัวไปในลำไส้ใหญ่ได้ดีขึ้น
  • กระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณผนังลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่เคลื่อนตัวได้เร็วขึ้น ซึ่งยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมาก การใช้จนติดเป็นนิสัย ทำให้ต้องเพิ่มขนาดยากินอยู่เรื่อยๆ เพราะยาขนาดเดิมเมื่อกินบ่อยๆ จะใช้ไม่ได้ผล และอาจก่อให้เกิดผลเสีย
  • เพิ่มแรงดันในลำไส้ โดยสวนทวารด้วยน้ำเกลือที่ใช้สวนทวารหนัก

ก. ประเภทแรก: เป็นกลุ่มของผู้ที่เริ่มใช้ยาหรือใช้ยาตามคำสั่งแพทย์ อาจพบผลไม่พึงประสงค์ตามแต่ละชนิดของยาที่ใช้รักษา เช่น ท้องอืด รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง บางตำรับจะทำให้รู้สึกระคายเคืองในช่องท้อง ปวดเกร็ง หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเมื่อหยุดใช้ยา อาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะดีขึ้น

ข. ประเภทที่สอง: เป็นกลุ่มที่ใช้ยาแก้ท้องผูกต่อเนื่อง อาจใช้ยาติดต่อกันเป็นอาทิตย์หรือเป็นแรมเดือน ผลไม่พึงประสงค์ที่ติดตามมาขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ อย่างการทำให้เสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เช่น

  • ภาวะมีเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ และ/หรือไตทำงานผิดปกติได้
  • บางตำรับของยาแก้ท้องผูก จะทำให้ลำไส้ลดการเคลื่อนตัวตามธรรมชาติและต้องได้รับยาขนาดที่มากขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ จึงจะกระตุ้นการบีบตัวเพื่อไล่อุจจาระได้ จึงเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาเพิ่มขึ้น
  • บางครั้งพบว่าการใช้ยาแก้ท้องผูกเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลในลำไส้ จึงเกิดภาวะเลือดออกหรือตกเลือด ซึ่งจะพบเห็นได้จากการมีเลือดปนมากับอุจจาระที่ถูกขับออกมา

ควรเลือกยาที่เลียนแบบกลไกทางธรรมชาติให้มากที่สุด เช่น ยากลุ่มที่เพิ่มปริมาณเนื้ออุจจาระ แต่ทั้งนี้เมื่อท้องผูก ควรสังเกตว่า ขาดการกินผักผลไม้หรือไม่ ดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่ ออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายบ้างหรือไม่ เพราะทั้งสามปัจจัยเป็นสาเหตุหลักของการท้องผูก เลือกแก้ไขด้วยวิธีการเหล่านั้นก่อนพึ่งยา แต่กรณีท้องผูกเรื้อรังถึงแม้ปรับตัวแล้วก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพื่อได้รับการดูแลรักษาที่สมควรกับเหตุ จะปลอดภัยกว่าซื้อยากินเอง หรืออย่างน้อยถ้าจะซื้อยากินเอง ควรปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาเสมอ