logo

คำถามจาก วิกิยา

Home / FAQ ยา/ ยาละลายลิ่มเลือด

คำถามเกี่ยวกับยา

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ยาละลายลิ่มเลือด

  1. ผู้ป่วยมีประวัติโรคหลอดเลือดสมองหรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะภายใน 3 เดือน
  2. ผู้ป่วยมีประวัติผ่าตัดใหญ่ภายใน 14 วัน ผ่าตัดเล็กภายใน 10 วัน หรือหลังคลอดบุตรไม่เกิน 7 วัน เพราะจะส่งผลให้มีเลือดออกจากแผลจากผ่าตัดหรือแผลจากคลอดบุตร
  3. ผู้ป่วยมีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือในทางเดินปัสสาวะภายใน 21 วัน
  4. มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท
  5. มีประวัติมีเลือดออกง่ายผิดปกติ หรือได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) หรือยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drugs) เพราะเพิ่มโอกาสการเกิดเลือดไหลไม่หยุด (Bleeding) ได้
  6. มีอาการชัก
  7. มีเกล็ดเลือดต่ำ ต่ำกว่า 100,000/ลูกบาศก์มิลลิลิตร
  8. ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 หรือมากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  9. ถ้าต้องผ่าตัด รักษาโรคอื่นๆ ด้วย ให้แจ้งแพทย์/ทันตแพทย์ด้วยว่ากินยาละลายลิ่มเลือดอยู่
  10. ห้ามเล่นกีฬาที่มีการปะทะ ผาดโผน ล้ม ใช้ศีรษะ เช่น ชกมวย จักรจานเสือภูเขา กีฬาเอ็กซ์ตรีม ฟุตบอล ตะกร้อ ปีนหน้าผา
  11. ห้ามปรับเปลี่ยนขนาดยาเอง บางกรณีไม่ได้กินยาทุกวัน ต้องอ่านวิธีกินยาให้ดี แพทย์จะมีการปรับยาตามผลตรวจค่าการแข็งตัวเลือด เพื่อให้ระดับค่าการแข็งตัวของเลือดประมาณ 2-3 เท่าของค่าปกติ และไม่ควรกินสมุนไพร อาหารเสริม โปรตีนบำรุง เช่น วิตามินอี น้ำมันปลา และแปะก๊วย (Ginko biloba) เพราะอาจเพิ่มโอกาสการเกิดเลือดไหลไม่หยุดได้
  1. มีเลือดออกมากผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ในหลายอวัยวะเช่น อุจจาระมีเลือดปนหรือสีดำคล้ำ (เลือดออกในทางเดินอาหาร) เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกที่ตาขาว/เลือดออกใต้เยื่อตา มีรอยจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง ประจำเดือนมากผิดปกติ เลือดกำเดาไหลมากและนานกว่าปกติ เลือดออกมากผิดปกติในช่องปาก เป็นต้น
  2. ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac tamponade) จากมีเลือดออกในโพรงเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งจะมีอาการแสดงคือ ความดันโลหิตต่ำลงและหลอดเลือดที่คอโป่งพอง เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยช็อกและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

ยาละลายลิ่มเลือด

ยาต้านเกล็ดเลือด

 วาร์ฟาริน คูมาดิน

 แอสไพริน คลอพิโดเทล ซีลอสตาซอล อะกรีน็อค อะโพเล็ต พลาวิท

 ทำให้เลือดแข็งตัวยาก

 ทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะตัว

 ตรวจดูการแข็งตัวของเลือด (PT:INR) ทุกครั้งที่พบแพทย์

 ตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เกล็ดเลือด (CBC) นานๆ ครั้ง

 ผลข้างเคียงเลือดออกหยุดยาก รอยจ้ำ เลือดออก ฟกช้ำง่าย

 ผลข้างเคียงกัดกระเพาะอาหาร

 มีปฏิกิริยากับยาอื่นหลายชนิด ต้องบอกแพทย์ทุกครั้งว่า
 กินยาละลายลิ่มเลือดอยู่

 ไม่ควรกินร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs

 กรณีที่จะทำการรักษาใดๆ ซึ่งจะทำให้มีเลือดออก ต้องหยุดยา
 และตรวจวัดการแข็งตัวของเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติก่อน จึงจะรักษาได้

 ทำฟัน ผ่าต้อกระจก ผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องหยุดยา

 ห้ามเล่นกีฬาที่มีการปะทะ ผาดโผน ล้มง่าย เช่น ชกมวย ฟุตบอล
 จักรยานเสือภูเขา ปีนผา เป็นต้น

 เล่นกีฬาได้ทุกชนิดตามความพร้อมและความแข็งแรงของร่างกาย