โรคภัย ไข้เจ็บ ตอนที่ 15 บุหรี่แบบดั้งเดิม (2)

โรคภัยไข้เจ็บ

โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 15 – บุหรี่แบบดั้งเดิม (2)

นิโคตีนในปริมาณ (Dose) สูงยังสามารถนำไปสู่ผลกระทบที่เป็นพิษอย่างเฉียบพลัน (Acute toxic) ความเป็นพิษ (Intoxication) ที่ร้ายแรง สามารถนำไปสู่อาการชัก (Seizures) และชะลอการหายใจ รวมทั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต (Fatal) แม้ว่า อาจไม่มีการนิยามปริมาณอย่างชัดเจน

ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า 50 ถึง 60 มิลลิกรัม เป็นปริมาณที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่า ปริมาณดังกล่าวถูกต้องแม่นยำ (Accurate) มีเพียงการรณรงค์ (Campaign) เพื่อให้การศึกษาแก่สาธารณชน (Public education) ถึงอันตรายต่อสุขภาพ

ยาสูบ (Tobacco) เองประกอบด้วยสารเคมีนับพันๆ ตัว แต่อย่างน้อยมี 70 ตัวที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง และบางตัวก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ, โรคปอด, และผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ โดยสารเคมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นเอกเทศ (Independent) จากการเผาไหม้ (Combustion)

สารเคมีในตัวยาสูบเอง ได้แก่ ไนโตรซามีน (Nitrosamines), เบนโซไพรีน (Benzopyrene), และโพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons) จะพบได้ในผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดมีควัน และไร้ควัน (Smokeless) แต่ผลกระทบทางชีววิทยาของยาสูบและบุหรี่ ล้วนเป็นพิษต่อร่างกาย อันนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพในวงกว้าง (Range)

รายชื่อของผลกระทบต่อสุขภาพของยาสูบค่อนข้างยืดยาว (Extensive) อันได้แก่ โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคมะเร็ง เช่น ในปอด, กระเพาะปัสสาวะ (bladder), หลอดเลือด, ลำไส้ใหญ่ (Colon), ลำไส้ตรง (Rectum), หลอดอาหาร (Esophagus), ไต (Kidney), ท่อไต (Ureter), กล่องเสียง (Larynx), ตับ, คอหอย (Oropharynx), ตับอ่อน (Pancreas), กระเพาะ (Stomach), หลอดลมคอ (Trachea), และ หลอดลมขั้วปอด (Bronchus)

ยาสูบยังส่งผลให้ลดการเจริญพันธุ์ (Fertility), ผลร้ายที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ (Pregnancy-related) เช่น การคลอดก่อนกำหนด, ทารกตายในครรภ์, การแท้งลูก (Mis-carriage), น้ำหนักน้อยเมื่อแรกเกิด, การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic), ทารกปากแหว่ง-เพดานโหว่ (Cleft palate), ความพิการของทารกแรกเกิด (Birth defects), และกลุ่มอาการทารกตายกะทันหัน (Sudden infant-death syndrome)

นอกจากนี้ ยาสูบยังมีผลกระทบต่อสุขภาพกระดูก, การสูญเสียฟัน, โรคเหงือก (Gum), โรคตา เช่น ต้อกระจก (Cataract) และประสาทตาเสื่อม (macular degeneration) ที่สัมพันธ์กับอายุ, การทำงานของภูมิคุ้มกันที่ลดลง, โรคไขข้ออักเสบเรื้อรัง (Rheumatoid arthritis) ฯลฯ

จากปี ค.ศ. 2005 ถึง 2009 การสูบยานำไปสู่การตายปีละเกือบ 125,000 คน จากโรคหัวใจ, กว่า 160,000 คน จากโรคมะเร็ง, กว่า 100,000 คนจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD), และกว่า 15,000 คนจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในปี ค.ศ. 2009 โรคทั้ง 4 นี้เป็นสาเหตุการตายของกว่า 1.4 ล้านคนใน โดย28% เป็นกระทบจากการสูบบุหรี่ ตัวเลขนี้ ยังไม่ได้รวมอีก 41,000 คนที่ตายจากการสูบบุหรี่มือสอง (Second-hand)

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.