โรคภัย ไข้เจ็บ ตอนที่ 14 บุหรี่แบบดั้งเดิม (1)

โรคภัยไข้เจ็บ

การสูบบุหรี่ในสหรัฐอเมริกาได้ลดลงอย่างฮวบฮาบ (Substantially) ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960s แม้ว่ามันยังคงเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญในปัจจุบัน เพราะการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคภัยไข้เจ็บจำนวนมาก การตายมากกว่า 480,000 รายต่อปีเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคซับซ้อน (Complications) ของการสูบบุหรี่

นั่นเป็น 1 ใน 5 ของกรณีการตายในสหรัฐอเมริกา แต่เป็นสาเหตุการตายที่ป้องกันได้ ด้วยพฤติกรรมที่ดัดแปลงได้ (Modifiable behavior) ในระดับโลก (Globally) ภาระนี้ (Burden) หนักหนาสาหัสมาก (Massive) ในศตวรรษที่ 20 มีประมาณการ (Estimation) กันว่า การสูบยา (Tobacco) ได้ฆ่าคนประมาณ 100 ล้านคน

ลำพังปี ค.ศ. 2017 การสูบยาก็ส่งผลให้คนตายกว่า 7 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของพฤติกรรมที่อันตรายสุด (Deadliest) และเป็นอันดับ 2 ของปัจจัยเสี่ยงของพฤติกรรมที่ดัดแปลง รองจากความดันโลหิตสูง มีประมาณการกันว่า การสูบยาจะก่อให้เกิด (Attribute) การตายของคนจำนวน 1,000 ล้านคนในศตวรรษที่ 21

แล้วทำไมการสูบยา จึงเป็นนิสัยที่ร้ายแรงถึงชีวิต (Lethal) คำตอบก็คือ นอกจากผลกระทบที่สัมพันธ์กับการเผาไหม้แล้ว ยังมีผลข้างเคียงทางชีววิทยา (Biological side effects) ของนิโคตีน (Nicotine) ซึ่งส่งผลที่ตามมาในเชิงลบ (Negative consequence) ต่อสุขภาพ

นิโคตีนสำแดง (Exert) ผลกระทบผ่านการกระตุ้น (Stimulation) ของตัวรับ (Receptors) เฉพาะนิโคตีนในสมอง, ระบบประสาท (Nervous system), และอวัยวะเป้าหมาย (Target organs) เช่น เยื่อบุภายใน (Inner lining) ของหลอดเลือด (Blood vessel), กล้ามเนื้อ, ผิวหนัง, ไต (Kidney), และปอด

โอกาสเสพติด (Additive potential) ของนิโคตีน เป็นความรู้กันทั่วไปแต่ผลกระทบเพิ่มเติม (Additional) ยังไม่เป็นที่รับรู้กัน ตัวรับของนิโคตีนดูเหมือนจะกระตุ้น (Trigger) เส้นทางของเซลล์ (Cellular pathway) ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม (Promotion) ให้เกิดมะเร็ง (Cancer) และการอำนวยความสะดวกแก่การกระจาย (Metastasis) ของมะเร็ง

นิโคตีนยังดูเหมือนจะส่งเสริมการขยายตัว (Progression) ของคราบไขมัน (Plaque) จนเกิดการแข็งตีบในหลอดเลือดแดง (Atherosclerosis) และยับยั้ง (Suppress) ภูมิคุ้มกันของเซลล์ (Cellular immunity) รวมทั้งการผลิตสารต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย (Anti-bodies) ซึ่งลดทอน (Impair) การป้องกัน (Defense) ของร่างกายต่อจุลินทรีย์ติดเชื้อ (Infection organism)

นอกจากนี้ ยังมีประจักษ์หลักฐานว่า นิโคตีนให้ผลร้าย (Adverse) ต่อสุขภาพสืบพันธุ์ (Reproductive health) รวมทั้งการคลอดก่อนกำหนด (Preterm delivery), ทารกตายในครรภ์ (Still-birth), และผลร้ายต่อปอดของทารกในครรภ์ (Fetal) และพัฒนาการของสมอง

ผลร้ายอย่างอ่อน (Mile) ของนิโคตีน ได้แก่ คลื่นไส้ (Nausea) และอาเจียน (Vomit) ซึ่งดำเนิน (Progressing) ไปสู่ท้องเสีย (Diarrhea), น้ำลายไหลเกิน (Excess salivation), การคัดหลั่งเกินในปอด (Excess lung secretion), และอัตราการเต้นของหัวใจลดลง

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.