โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 13 – ยาสูบ (3)

โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 13 – ยาสูบ (3)

อนุมูลออกซิเจนอิสระ (Free oxygen radical) จะทำลายผนังหลอดเลือดแดง อันนำไปสู่การฝังตัว (Deposition) ของคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และปฏิกิริยารอง (Secondary reactions) อื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการสะสม (Build-up) ของคราบไขมัน (Plaque)

ถ้ากระบวนการนี้เกิดขึ้นที่หัวใจ ก็สามารถนำไปสู่โรคหัวใจล้ม (Heart attack) และถ้าเกิดขึ้นที่สมอง ก็สามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ทั้ง 2 กรณีเป็นส่วนประกอบสำคัญ (Major components) ของโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardio-vascular disease)

เราจะเห็นผลกระทบ (Effects) ของการสูดควัน (Smoke inhalation) จากการเผาไหม้ (Combustion) ของผลิตภัณฑ์ใดที่มีส่วนประกอบของคาร์บอน (Carbon-containing) ไฟไหม้ป่า (Forest fire) หรือไฟไหม้ทุ่งโล่ง (Brush fire) นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency) ด้วยสารพัดโรค

โรคดังกล่าวได้แก่ หืดหอบ (Asthma), ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD), หลอดลมอักเสบ (Bronchitis), กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis), ไซนัสอักเสบ (Sinusitis), และทางเดินหายใจส่วนบนติดเชื้อ (Upper respiratory infection)

การเผาไหม้ของฟืนไม้ในบ้านชาวอเมริกัน เพื่อเพิ่มความอบอุ่น ส่งผลให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic inflammation) และเพิ่มความเสี่ยงของการหายใจลำบาก (Wheeze), ไอ (Cough), เจ็บคอ (Sore throat), ติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรง (Serious lung infection), และอาการกำเริบของหืดหอบ (Asthma exacerbations)

ความเสี่ยง (Exposure) ต่อการเผาไหม้ในที่ร่ม (Indoor) จะสูงกว่าในประเทศด้อยพัฒนา (ซึ่งรวมประเทศไทยด้วย) เมื่อเปรียบเทียบกับในสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งมีข้อมูลพร้อมกว่าในเรื่องความเสี่ยงดังกล่าว ครึ่งหนึ่งของครัวเรือนทั่วโลก ยังคงปรุงอาหารด้วยเชื้อเพลิงของแข็ง (Solid fuel) ในชีวิตประจำวัน

การศึกษาวิจัยพบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา ของโรคปอดบวม (Pneumonia), น้ำหนักน้อย (Low weight) ของทารกแรกเกิด, ทารกตายในครรภ์ (Still-birth), มะเร็งปอด, ตาบอดจากต้อกระจก (Cataract), และโรคหัวใจและหลอดเลือด

เรามองเห็นได้ชัดว่า มีกลไกร่วม (Shared mechanisms) ที่การสูดควัน สามารถนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพในเชิงลบ ในโลกสมัยใหม่อย่างสหรัฐอเมริกา แหล่งการสูดควันเข้าทางจมูก ส่วนมากมาจากบุหรี่ (Cigarette) และ (เมื่อไม่นานมานี้) กัญชา (Marijuana)

บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic cigarette) มิได้ใช้การเผาไหม้ จึงมีผลกระทบต่อสุขภาพที่เป็นเอกเทศ (Independent) แตกต่างจากควันและอนุภาค (Particulate) โดยเราจะลงรายละเอียด (Detail) ของผลที่ตามมา (Consequences) ของ 3แหล่งหลักของการสูบยา ดังต่อไปนี้

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ.  (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.