เมนูอาหารลดเค็ม:ตอนที่ 2 (Low salt diet:Part 2)
- โดย จุฑาพร พานิช
- 23 ตุลาคม 2561
- Tweet
- โรคไต (Kidney disease)
- ไตวายเรื้อรัง
- ไตอักเสบ (Nephritis)
- โรคไตอักเสบในเด็ก (Pediatric nephritis)
- ไตวาย ไตล้มเหลว (Renal failure)
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจวาย (Heart failure)
- โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- โรคหลอดเลือดสมองแตก
- อัมพฤกษ์ อัมพาต แขน ขา อ่อนแรง (Muscle weakness)
- บทนำ
- อาหารลดเค็มคืออะไร?
- อาหารลดเค็มสำคัญอย่างไร?
- เมนูอาหารลดเค็ม
- แกงเหลืองไหลบัวใส่กุ้งสด
- แกงลาว
- ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กน้ำหมูพลังเห็ด
- แกงเขียวหวานไก่
- น้ำพริกอ่อง
- สรุป
- บรรณานุกรม
บทนำ
เมนูอาหารลดเค็ม(Low salt diet) เป็นเมนูที่ลดโซเดียม (Sodium)ในอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิด โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง/โรคไตเรื้อรัง โดยในหัวข้อเมนูอาหารลดเค็มจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนด้วยกัน โดยตอนที่ 1 กล่าวถึง 5 เมนูด้วยกันคือ ส้มตำปลาร้า น้ำพริกหนุ่ม ผัดไทยกุ้งสด ข้าวราดหน้าผัดกะเพราไก่ และกล้วยบวชชี ซึ่งได้กล่าวไปแล้วในอีกบทความ ในเว็บ haamor.com บทความชื่อ ‘อาหารลดเค็ม ตอน1’
สำหรับ อาหารลดเค็มตอนที่ 2 จะกล่าวถึงในบทความนี้ โดยประกอบด้วย 5 เมนูคือ แกงเหลืองไหลบัวใส่กุ้งสด แกงลาว ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล้กน้ำหมูพลังเห็ด แกงเขียวหวานไก่ และน้ำพริกอ่อง
อาหารลดเค็มคืออะไร?
อาหารลดเค็ม ในที่นี้หมายถึง อาหารที่มีโซเดียมลดลงจากอาหารทั่วไป โดยในบทความนี้จะบอกทั้งสูตรและเคล็ดลับการทำอย่างละเอียด เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ นำไปทำได้ง่าย และมีรสชาติที่อร่อย
อาหารลดเค็มสำคัญอย่างไร?
เมื่อทานอาหารรสชาติเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง จะส่งผลกระทบต่อร่างกายดังนี้
1. โรคความดันโลหิตสูง:
การทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ทำให้โซเดียมในร่างกายมีมากเกินไป ไตจะขับโซเดียมออกทางนํ้าปัสสาวะ ถ้าไตขับออกไม่หมด โซเดียมก็จะคั่งในร่างกาย ทำให้เกิดการดึงนํ้าออกจากเซลล์ (Cell) มากขึ้น ส่งผลมีปริมาณของเหลว/น้ำ ไหลเวียนในร่างกายมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งเมื่อความดันโลหิตสูงมากเป็นระยะเวลานาน จะมีความเสี่ยงเรื่องโรคหลอดเลือดสมองชนิดหลอดเลือดสมองแตก ทำให้เป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตได้
2. โรคไตวายเรื้อรัง:
การทานอาหารที่มีโซเดียมสูงจะทำให้ไตทำงานหนัก เนื่องจากไตมีหน้าที่ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายส่งผลให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น นอกจากนี้การที่มีความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดการเสื่อมของไตเร็วขึ้น และเกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
ดังนั้นการทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายเรื้องรังได้
เมนูที่นำเสนอในบทความนี้จะเปรียบเทียบระหว่างสูตรดั้งเดิมคือสูตรที่ยังไม่ได้ปรับลดโซเดียม และสูตรดัดแปลงที่มีการปรับลดปริมาณโซดียมลง โดยในตางรางได้เปรียบเทียบปริมาณโซเดียมระหว่างสูตรดั้งเดิม กับสูตรดัดแปลง(สูตรที่ลดโซเดียมคือ สีแดง)ดังต่อไปนี้
สรุป
การทานอาหารที่ถูกต้อง ไม่ใช่การอด หรืองด แต่เป็นการค่อยๆปรับลดสารอาหารที่เกินความต้องการของร่างกายลง อาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายก็มีรสชาติอร่อยได้ แม้โซเดียม (Sodium) เป็นแร่ธาตุธรรมชาติที่จำเป็น แต่หากได้รับมากเกินกว่าความต้องการของร่างกายจะทำให้เกิดโทษ ดังนั้นการบริโภคอาหารลดเค็ม(ลดโซเดียม) จะช่วยให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้
บรรณานุกรม
- Thailand Ministry of Public Health and the U.S. Centers for Disease Control and Prevention Collaboration. (2557). เมนูสุขภาพลดเค็มลดมัน. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
- วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ. (2558). โซเดียมปีศาจร้ายทำลายสุขภาพ. โครงการลดการบริโภคเค็ม (โซเดียม) ในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กรุงเทพมหานคร.
- บทที่ 6 วิตามิน แร่ธาตุและน้ำ www.facagri.cmru.ac.th/2013/wp-content/uploads/.../6วิตามิน-แร่ธาตุ-น้ำ.pdf [2018,Oct6]
- ลดโซเดียม ยืดชีวิต. tnfc.fda.moph.go.th/file/fileDoc/2015-04-29_6645.pdf [2018,Oct6]