เมกลิทิไนด์ (Meglitinides)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาเมกลิทิไนด์ (Meglitinides) เป็นหมวดของยารักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ตัวยาจะไปกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินออกมาอย่างมีความสัมพันธ์กับปริมาณของระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ลักษณะยาแผนปัจจุบันเป็นยาชนิดรับประทานโดยให้รับประทานก่อนอาหาร ซึ่งจะคล้ายกับการรับประทานยาต้านเบาหวานกลุ่ม Alpha-glucosidase inhibitors แต่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้อยกว่ายาต้านเบาหวานประเภท Sulfonylurea

ปัจจุบันได้มีการแบ่งอนุพันธุ์ของยาเมกลิทิไนด์ออกเป็นรายการย่อยดังนี้

  • Repaglinide: แถบอเมริกาจะรู้จักกันในชื่อการค้าว่า “Prandin” ประเทศไทยจำ หน่ายเป็นยาเดี่ยวขนาด 0.5 มิลลิกรัม/เม็ด มีข้อควรระวังโดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 75 ปี ทางคลินิกยังใช้ยานี้ร่วมกับ Metformin ในการรักษาโรคเบาหวานอีกด้วยโดยผลิตเป็นยาผสมชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน
  • Nateglinide: เป็นยาต้านเบาหวานที่ถูกพัฒนาโดยเครือข่ายของผู้ประกอบการด้านอาหารและเคมีของประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Ajinomoto โดยจำหน่ายภายใต้ชื่อการค้าว่า “Starlix” มีการผลิตเป็นลักษณะของยาเดี่ยวขนาด 60 และ 120 มิลลิกรัม/เม็ด ยาตัวนี้สามารถใช้รักษาเบา หวานประเภทที่ 2 ร่วมกับ Metformin หรือ Thiazolidinedione ก็ได้
  • Mitiglinide: เป็นยาต้านเบาหวานประเภทที่ 2 ที่รู้จักในชื่อการค้าว่า “Glufast” และ มีการร่วมทุนกับบริษัทยาของประเทศญี่ปุ่นเพื่อการจัดจำหน่าย เมกลิทิไนด์มีข้อห้ามใช้กับผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 รวมถึงผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้
  • อาจมีคำถามจากผู้บริโภคว่า ยารักษาโรคเบาหวานตัวใดดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ต้องรับประ ทานหรือใช้ตลอดชีวิตหรือไม่ ฯลฯ ด้วยยารักษาเบาหวานมีอยู่หลายหมวด แต่ละหมวดยังมีราย การยาแยกย่อยอีกมากมาย แพทย์ผู้รักษาสามารถให้คำตอบได้ด้วยการคัดกรองตามหลักวิชาการที่นำมาประกอบกับประวัติทางสุขภาพของผู้ป่วย ผู้บริโภค/ผู้ป่วยต้องใช้ยาอย่างมีวินัย ไม่ปรับ เปลี่ยนขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ยาด้วยตนเอง

เมกลิทิไนด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

เมกลิทิไนด์

ยาเมกลิทิไนด์มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้รักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2

เมกลิทิไนด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาเมกลิทิไนด์มีกลไกการออกฤทธิ์โดยตัวยาจะกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เหมือนปกติหรือใกล้เคียงปกติ

เมกลิทิไนด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาเมกลิทิไนด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายเช่น

  • ยาเดี่ยวชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ดชนิดรับประทานที่ผสมร่วมกับยาอื่นเช่น Metformin

เมกลิทิไนด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาเมกลิทิไนด์มีขนาดรับประทานเช่น

  • Repaglinide: ผู้ใหญ่: รับประทานเริ่มต้น 0.5 มิลลิกรัมก่อนมื้ออาหารประมาณ 30 นาที และแพทย์จะเป็นผู้คอยปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป ขนาดรับประทานสูงสุดไม่เกิน 16 มิลลิกรัม/วัน
  • Nateglinide: ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 60 - 120 มิลลิกรัมก่อนมื้ออาหารประมาณ 30 นาที หากจำเป็นแพทย์สามารถปรับขนาดรับประทานเป็นครั้งละ 180 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้ง
  • Mitiglinide: ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัมก่อนมื้ออาหารประมาณ 5 นาทีวันละ 3 ครั้ง

* อนึ่ง ในผู้อายุต่ำกว่า 18 ปี (ที่รวมถึงในเด็ก): ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดถึงประสิทธิภาพและขนาด ยานี้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การใช้ยานี้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

*****หมายเหตุ:

  • ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเมกลิทิไนด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาเมกลิทิไนด์อาจส่งผลให้อาการ ของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาเมกลิทิไนด์สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

เมกลิทิไนด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยากลุ่มเมกลิทิไนด์สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รู้สึกตึงแน่นในช่องท้อง มีอาการท้องเสีย/ท้องร่วง ปวดศีรษะ สามารถรบกวนผลการทดสอบเลือดที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดของสถานพยาบาลได้ คลื่น ไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ตับทำงานผิดปกติ เกิดภาวะไซนัสอักเสบ จมูกอักเสบ ปวดหลัง มีผื่นคันตามผิวหนังและลมพิษ ตาพร่า

สำหรับผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาดจะพบอาการจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยอาจเกิดภาวะโคม่า และอาจมีอาการชักร่วมด้วย หากพบอาการเหล่านี้ต้องรับนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน

มีข้อควรระวังการใช้เมกลิทิไนด์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาเมกลิทิไนด์เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้
  • ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ห้ามปรับขนาดรับประทานยานี้ด้วยตนเอง
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้จนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis)
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับขั้นรุนแรง
  • ระวังการใช้ยานี้กับเด็ก ผู้สูงอายุ การจะใช้ยานี้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องมีคำสั่งจากแพทย์โดยพิจารณาเป็นกรณีเท่านั้น
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรต้องเรียนรู้ถึงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การช่วยเหลือตนเอง รวมถึงการป้องกันมิให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่า ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการทำแผลผ่าตัด และผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเมกลิทิไนด์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

เมกลิทิไนด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาเมกลิทิไนด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น

  • การใช้ยา Repaglinide ร่วมกับยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs), Salicylates, Sulphonamides, Phenylbutazone (ยาแก้อักเสบ), Hydantoins (ยากันชัก) รวมถึงยาต้านการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้ยา Repaglinide ออกฤทธิ์ได้มากขึ้น หรือการใช้ร่วมกับยา Ketoconazole, Fluconazole, Itraconazole, Erythromycin อาจเพิ่มความเข้มข้นของยา Repaglinide ในกระแสเลือดจนอาจเป็นผลให้เกิดอาการข้างเคียงของยา Repaglinide ตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกับยากลุ่มข้างต้นแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
  • การใช้ยา Mitiglinide ร่วมกับยาดังต่อไปนี้เช่น Insulins, Biguanides (ยาเบาหวาน), Alpha-glucosidase inhibitors, Pioglitazone, Salicylates, Clofibrate, Sulfanilamide, Tetracy clines, Beta-adrenergic blockers, MAOIs, Epinephrine, Nicotinic acid, INH/Isonicotinyl hydrazine/Isoniazid, Pyrazinamide, Phenothiazines, Phenytoin, Guanethidine รวมถึงกลุ่มยาขับปัสสาวะ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
  • การใช้ยา Nateglinide ร่วมกับยา Gatifloxacin (ยาปฏิชีวนะ) อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำหรือสูงก็ได้
  • การมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะมีอาการกระหายน้ำ หิวอาหาร และปัสสาวะมาก
  • สำหรับอาการน้ำตาลในเลือดต่ำจะพบอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ง่วงนอน สับสน ตัวสั่น คลื่นไส้ หิว อ่อนเพลีย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เพื่อป้องกันอาการดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน

ควรเก็บรักษาเมกลิทิไนด์อย่างไร?

ควรเก็บยาเมกลิทิไนด์ภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

เมกลิทิไนด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาเมกลิทิไนด์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Prandimet (แพรนดิเมท) Novo Nordisk
Prandin (แพรนดิน) Novo Nordisk
Starlix (สตาร์ลิกซ์) Novartis
Glufast (กลูฟาส) Eisai

บรรณานุกรม

    < li> http://diabetes.about.com/od/glossaryofterms/g/meglitinides.htm [2015,June27]
  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Meglitinide [2015,June27]
  2. http://www.mims.com/USA/drug/info/prandimet/prandimet%20tablet?type=full[2015,June27]
  3. http://www.mims.com/USA/drug/info/Starlix/Starlix%20Tablet?type=full[2015,June27]
  4. http://www.mims.com/USA/drug/info/repaglinide/?type=full&mtype=generic#Dosage[2015,June27]
  5. href=" http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Glufast/?type=BRIEF[2015,June27]
  6. http://www.drugs.com/drug-interactions/gatifloxacin-with-nateglinide-1161-0-1695-0.html [2015,June27]