เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 33 – สารเสพติด (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 มิถุนายน 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – สารเสพติด (2)
นิโคตีน (Nicotine) เป็นสารที่ผลิตตามธรรมชาติ มีในพืชตระกูลยาสูบ (Tobacco) มักใช้เป็นสารกระตุ้น (Stimulant) เมื่อเป็นยา (Pharmaceutical drug) อาจช่วยหยุดยั้งการสูบบุหรี่ (Smoke cessation) เพื่อบรรเทากลุ่มอาการหลังเลิกยา (Withdrawal symptoms)
การเสพติดนิโคตีนมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ (Physical and psychological dependence) ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ (Distress) อันได้แก่ อารมณ์ซึมเศร้า (Depressed mood), เครียด (Stress), วิตกกังวล (Anxiety), ระคายเคือง (Irritability), ขาดสมาธิ (Difficulty concentrating), และรบกวนการนอน (Sleep disturbance)
ชาวอเมริกันประมาณ 1,000 คน หยุดสูบบุหรี่ (Smoking) ทุกๆ วัน เนื่องจากการตาย [จากการสูบบุหรี่] โปรดระลึกว่า เราไม่อาจสูบบุหรี่ แล้วมีสุขภาพแข็งแรง
การสูบบุหรี่ คือสาเหตุอันดับ 1 ของมะเร็งในปอด (Lung cancer) มันอธิบายได้มากกว่า 90% ของกรณีทั้งหมดในผู้ป่วยมะเร็งในปอด แล้วยังเป็นสาเหตุ (Responsible) ประมาณ 1 ใน 4 ของการตายจากหัวใจวาย (Heart attack) ประมาณ 75% ของการตายจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) และถุงลมโป่งพอง (Emphysema) ล้วนมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่
ถ้าใครยังคงทำร้ายตนเอง และคนที่รัก [รอบข้าง] ด้วยการสูบบุหรี่ โปรดหยุดทันที! จงทำทุกอย่างเพื่อเลิกสูบบุหรี่ ถ้าต้องการความช่วยเหลือ ติอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล ต้องเข้าใจความสัมพันธ์กับผลตามมาในเชิงลบ (Negative consequence) ของการสูบบุหรี่ แล้วตัดสินใจอย่างมีพันธสัญญา (Committed) และสอดคล้อง [กับเป้าหมายในใจ] (Congruent) ที่จะทะลายรูปแบบ (Pattern) [ของนิสัย]!
ผลกระทบของยาเสพติดเหล่านี้ ไม่ว่าจะมีคำสั่งแพทย์ (Prescription) หรือผิดกฎหมาย (Illegal) ล้วนมีพิษสูง (Highly toxic) และบ่อนทำลาย (Destructive) ร่างกาย การวิจัยพบว่า ปริมาณนิโคตีนถูกดูดซึมเข้าร่างกายยิ่งเร็วเท่าใด ความเสี่ยงสูงของการเสพติด ก็ยิ่งเร็วเท่านั้น
การควบคุมระดับของนิโคตีนแก่ผู้เสพติดทดแทน (Replace) ผ่านหมากฝรั่ง (Gum), แผ่นแปะผิวหนัง (Dermal patch), ยาอม (Lozenges), สูดดมเข้า (Inhaler), และฉีดเข้ารูจมูก (Nasal spray) ช่วยให้หย่าขาด (Wean off) จากการเสพติดได้ งานวิจัยเร็วๆ นี้ แสดงประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า รูปแบบปัจจุบันของการบำบัดทดแทนนิโคตีน (Nicotine-replacement therapy) [ดังกล่าวข้างต้น] สามารถเพิ่มโอกาสเลิกการสูบบุหรี่ได้สำเร็จถึง 50 – 60% ไม่ว่าจะอยู่ในบริบทใด
ในการทดลองทางการแพทย์ (Clinical trials) ปัจจุบัน มีการศึกษาประโยชน์ที่อาจเป็นไปได้จากการใช้นิโคตีนในการรักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s), โรคสมองเสื่อม (Dementia), โรคซึมเศร้า, และก้อนเนื้อมะเร็ง (Sarcoma)
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Nutrient - https://en.wikipedia.org/wiki/Nutrient [2022, May 17].
- Nicotine - https://en.wikipedia.org/wiki/Nicotine [2022, May 17].