เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 32 – สารเสพติด (1)

เจ็บไข้ได้ป่วย – สารเสพติด (1)

น้ำตาล (Sugar) คือยาเสพติด (Addictive drug) สิ่งที่น่าเศร้าใจมากและถือว่าเป็นการทำลายล้าง (Devastating) ก็คือ การเสพติดน้ำตาล กลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันไปทั่ว ไม่เห็นมีใครมองเป็นเรื่องร้ายแรง

ในขณะที่ความเป็นจริงก็คือ มันเรื่องร้ายแรงจริงๆ เพราะน้ำตาลไปกดทับ (Suppress) ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune), ป้อนอาหารให้มะเร็ง, กระตุ้น (Trigger) ให้เพิ่มน้ำหนัก, ส่งเสริมชราภาพก่อนวัยอันสมควร (Pre-mature aging), และทำลายสุขภาพเป็นช่วงเวลายาว

ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุโดยตรงของเบาหวาน (Diabetes), ภาวะอ้วนเกิน (Obesity), โรคหัวใจ, ฟันและเหงือกเสื่อมลง (Decay), หลอดเลือดขอด (Varicose vein), และเป็นสาเหตุโดยอ้อมของโรคกระเทือนจิต (Mental disturbance)

แอลกอฮอล์ (Alcohol) แต่ดั้งเดิม (Originally) หมายถึง เอธานอล (Ethanol) หรือ เอธิล (Ethyl) ที่ใช้เป็นยาและเป็นแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ของเครื่องดื่ม (Beverages) ซึ่งได้มาจากการหมัก (Fermentation) โดยใช้สารน้ำตาล (Glucose) ที่ผลิตจากน้ำตาล จากกระบวนการแยกสลายน้ำ (Hydrolysis) ของแป้ง (Starch) โดยมีตัวยีสต์ (Yeast) และอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 37 °C

แอลกอฮอล์ ก็เป็นสารกดทับประสาท (Depressant) โดยกดทับทุกเซลล์ของมนุษย์ และเป็นสาเหตุของการทำลายเซลล์สมองให้เสียหาก แอลกอฮอล์ทำลายร่างกายและอาจนำไปสู่การอักเสบ (Inflammation) ของตับอ่อน (Pancreas) ซึ่งเป็นอาการที่ร้ายแรงชีวิต (Fatal)

อุตสาหกรรมคาเฟอีน (Caffeine) ทราบดีว่า คาเฟอีน ค่อยๆ บั่นทอน (Sap) ความรู้สึกตามธรรมชาติของพลังชีวิต (Vitality) ทำให้คนเราต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตลอดวัน อุตสาหกรรมนี้รู้ดีว่า เราอยากได้ (Crave) คาเฟอีนจนต้องรู้สึกทนทุกข์ทรมานหากมิได้บริโภคมัน

อันที่จริงแล้ว กาแฟมิใช่อาหาร และก็มิใช่เครื่องดื่ม แต่มันเป็นพิษ (Poison) นับเป็นยาที่ประกอบด้วยสารพิษ (Toxic substance) มากมาย และกรดมากกว่า 200 ตัว คาเฟอีนมิได้ให้พลังงาน (Energy) แต่มันได้พลังงานที่หยั่งเห็น (Perceived) จากการต่อสู้ (Struggle) และความพยายาม (Effort) ในการทำให้พิษนี้เป็นกลาง (Neutralized)

สิ่งกระตุ้น (Stimulation) ที่ผู้คนได้รับจากการดื่มกาแฟก็คือการใช้ (Expenditure) พลังสำคัญ (Vital forces) ที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ผลที่อาจตามมา (Consequence) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (High blood pressure), ระดับสูงของคลอเรสเตอรอล (Cholesterol), ปัญหาการย่อยอาหาร (Digestive problem) อาทิ ท้องไส้ปั่นป่วน (Stomach upset), แผลเปื่อย (Ulcer), และการดูดซึมสารอาหาร (Nutrient absorption) ที่ลดลง นอกจากนี้ คาเฟอีน ยังส่งให้มีการนอนไม่หลับ (Insomnia), การไม่สงบนิ่ง (Restlessness), การวิตกกังวล (Anxiety), ภาวะซึมเศร้า (Depression), การอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue) และการปวดหัว (Head-ache)

หมายเหตุ- บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Sugar - https://en.wikipedia.org/wiki/Sugar [2022, May 10].
  3. Alcohol - https://en.wikipedia.org/wiki/Alcohol [2022, May 10].
  4. Caffeine - https://en.wikipedia.org/wiki/Caffeine [2022, May 10].