เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 25 – สารอาหาร (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 20 เมษายน 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – สารอาหาร (2)
สโมสรสารโภชนาการทางการแพทย์แห่งอเมริกา (American Society of Clinical Nutrition) ซึ่งตีพิมพ์บทความในวารสารอเมริกันด้านสารโภชนาการทางการแพทย์ (American Journal of Clinical Nutrition) ได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท ยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ที่ผลิตอาหารที่อุดมด้วยน้ำตาล, ผลิตน้ำอัดลม, ผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป ฯลฯ
นี่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) มิใช่หรือ?
ในสหรัฐอเมริกา บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารและยา เป็นผู้ทรงอิทธิผลมากทางการเมือง
เราถูกล้างสมอง (Brain-washed) โดยโฆษณาที่เราเห็นทุกๆ นาทีของทุกๆ วัน เราได้รับการบอกกล่าวว่าจะกินอย่างไร? อยู่อย่างไร? และซื้ออะไร? เป็นต้น ชีวิตคนเรากำลังถูกทำลาย (Destroyed)
ผลลัพธ์ของการกินถูกนิยามกันใหม่ (Refined) อาหารแปรรูป (Processed foods) ที่ปราศจากสารอาหารที่จำเป็น ทำให้ประเทศมั่งคั่งที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้า ต้องทนทุกข์ทรมานจากทุกรูปแบบของทุพโภชนาการ (Mal-nutrition) และโรคเสื่อมสภาพ (Degenerative diseases)
นายแพทย์ ซี เอฟเวอเรตต์ คุป (C. Everett Koop) เป็นกุมารศัลยแพทย์ (Pediatric surgeon) และต่อมาเป็นศาสตราจารย์กุมารศัลยศาสตร์ ณ โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัย Pennsylvania นอกจากนี้ เขายังเป็นนักเขียน และถ่ายทำภาพยนตร์ชุด (Series) จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว
ต่อมาเขาได้เป็นผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกา (Surgeon General) ภายใต้รัฐบาลโรนัลด์ แรแกน (Ronald Reagan) ระหว่างปี ค.ศ. 1982 – 1989 แม้จะไม่เป็นที่ชื่นชอบของหลายกลุ่มที่ขัดแย้งความคิดทางการเมือง เขาก็มีผลงานในการกำหนดให้มีฉลากคำเตือนอันตรายของการใช้ยาสูบ (Tobacco), สนับสนุนการใช้ถุงยางอนามัยในการควบคุมการแพร่กระจายของโรคเอดส์ (AIDS/HIV), ต่อต้านการทำแท้ง (Abortion), และส่งเสริมสิทธิของเด็กพิการ
เขากล่าวถึงความกังวลเรื่องอาหารของชาวอเมริกันว่า “ทางเลือกหนึ่งที่ดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อสุขภาพในอนาคตเป็นเวลายาวนาน (Long-term health prospects) มากกว่าทางเลือกอื่น ก็คือ สิ่งที่เรากิน”
ทุกวันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่มุ่งเน้นผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Commercialized greedy) สร้างเครื่องจักรที่ปั๊มเงินจนเพิ่มกำไรมหาศาล โดยป้อนอาหารขยะ (Junk food) ให้ประชากรส่วนใหญ่ แล้วตามมาด้วยการรักษาด้วยยา อันเป็นอุตสาหกรรมขนาดยักษ์เช่นกัน
สิ่งที่น่าเคือง (Rub) ก็คือ สถาบันหรือองค์กร (Establishments) ต่างชักจูงสาธารณชนว่า ไม่ว่าจะกินอาหารอะไร ที่แปรรูป, ห่างไกลจากธรรมชาติ (De-natured), ขาดพลังชีวิตชีวา (De-vitalized), หรือเต็มไปด้วยสารเคมี (Chemical-filled) ร่างกายของเราก็ยังอยู่ได้ ตราบใดที่เรากินวิตามิน, แร่ธาตุ (Mineral), ยาลดกรด (Antacid), และยาแก้แพ้ (Allergy remedies)
ประเด็นแรกเป็นเรื่องของอาหาร และประเด็นหลังเป็นเรื่องของยา
หมายเหตุ- บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลั
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Nutrient - https://en.wikipedia.org/wiki/Nutrient [2021, August 24].
- Everett Koop - https://en.wikipedia.org/wiki/C._Everett_Koop,_M.D. [2021, August 24].