เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 20 – ออกซิเจน (7)

เจ็บไข้ได้ป่วย – ออกซิเจน (7)

นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบกายกรรมยังผลิต (Produce) สารเคมี-ชีวะ (Bio-chemical) ที่เรียกว่า “เอ็นโนฟิน” (Endorphin) ซึ่งขับไล่ความเครียด (Stress) และโรคซึมเศร้า (Depression) รวมทั้งกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แล้วยังเพิ่มระดับของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) หรือฮอร์โมนเยาวชน (Youth hormone)!

ระดับความเข้มข้น (Intensity) กำหนดว่าเราควรจะออกกำลังกายแบบไหน ซึ่ง อาจเป็น

(1) แบบกายกรรม (Aerobic) หรือ

(2) แบบไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic) เป็นการทะลาย (Break down) สารน้ำตาล (Glucose) ในร่างกาย โดยปราศจากการใช้ออกซิเจน เป็นสิ่งที่หักโหมกว่า และสั้นกว่าแบบกายกรรม

เคมี-ชีวะ (Bio-chemistry) ของการออกกำลังกายแบบไม่ต้องการออกซิเจนนั้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สารน้ำตาลถูกแปลงให้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับปฏิกิริยาของเซลล์ (Cellular reaction) แต่มักต้องอาศัยครูฝึกส่วนตัว (Personal trainer) เพื่อช่วยร่างกายสร้างความทนทาน (Endurance), ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle strength) และพลัง (Power)

ในอัตราการเต้นของหัวใจต่ำ ตัวอย่างการออกกำลังแบบกายกรรมได้แก่ การว่ายน้ำ (Swimming), การเต้นรำ (Dancing), การวิ่ง (Running), การขี่จักรยาน (Bicycling), การพายเรือ (Rowing), การเดินไกลแบบขึ้นเขาลงห้วย (Hiking), และการเดินหรือวิ่ง (Spinning) ถ้าเราฝึกฝนแบบกายกรรม เราควรจะยังสนทนาได้ ในขณะที่ออกกำลังกาย

สรุปแล้ว เราต้องออกกำลังกายแบบกายกรรมเพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรงเต็มไปด้วยพลังงาน

คำว่า “แข็งแรง” (Healthy) มิได้หมายความว่ามีเรือนร่าง (Physique) กำยำ เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ แต่หมายถึงการมีทุกระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้ามเนื้อ (Muscular), ประสาท (Nervous), ไหลเวียน (Circulatory), ย่อยอาหาร (Digestive), น้ำเหลือง (Lymphatic) และ ฮอร์โมน (Hormonal) ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ (Optimally)

เราไม่ต้องการเพียงสุขภาพสมบูรณ์ (Fit) แต่ต้องการความแข็งแรงที่เต็มไปด้วยพลังงานและการชีวิตที่กระฉับกระเฉง (Vitality)!

ลองทดสอบและพิจารณาถึงผลลัพธ์ ลองกำหนดตารางเวลา (Schedule) ที่แน่นอน ซึ่งเราจะออกกำลังกายอย่างน้อย 6 ใน 10 วันข้างหน้า! แล้วสนุกสนานในขณะออกกำลังกาย

ลองเพิ่มปัจจัย (Element) อื่นๆ เข้าไปในกิจวัตรประจำ (Routine) อาทิ ดนตรี, เพื่อนฝูง, การเปลี่ยนสภาพแวดล้อม, และการมีครูฝึกส่วนตัว เพื่อเป็นแรงจูงใจ (Motivate) ให้ดำเนินตามตารางอย่างเข้มงวด

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Exercise - https://en.wikipedia.org/wiki/Exercise [2022, February 15].