เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 18 – ออกซิเจน (5)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 2 มีนาคม 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – ออกซิเจน (5)
การหายใจลึกๆ ผ่านกะบังคมในสัดส่วนดังนี้ 1 : 4 : 2 หมายความว่า
สูดลมเข้า (Inhale) ผ่านรูจมูก เป็นจำนวนเท่า (Multiple) ของการนับ 1 ครั้ง
กลั้นหายใจ (Hold the breath) เป็นจำนวนเท่า (Multiple) ของการนับ 4 ครั้ง
คายลมออก (Exhale) ผ่านทางปาก เป็นจำนวนเท่า (Multiple) ของการนับ 2 ครั้ง
ตัวอย่าง สูดลมเข้า 6 วินาที
กลั้นหายใจ 24 วินาที
คายลมออก 12 วินาที
ทำเช่นนี้วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 10 วัน แล้วลองสังเกตระดับพลังงาน ว่าจะสูงขึ้นมาก (Dramatically) อย่างชัดเจน (Clarity) พร้อมด้วยความสามารถในการต่อสู้ (Ward off) กับโรคภัยไข้เจ็บ
ดังนั้น ในคราวหน้า เมื่อเรากังวลเกี่ยวกับสุขภาพ หรือต้องการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity) ก่อนลงมือทำอะไร เพียงหายใจลึกๆ ผ่านกะบังลม มันจะช่วยชะล้าง (Cleanse) และเพิ่มออกซิเจน (Oxygenate) ให้แก่เซลล์เอง ทำให้เกิดพลังงานชุบชีวิต (Life-giving) ที่จำเป็นต่อการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ (Optimally)!
การออกกำลังกายแบบกายกรรม (Aerobic exercise) มีความสำคัญต่อสุขภาพ เนื่องจากมันหมายถึง ความ สามารถของร่างกายในการใช้ออกซิเจนอย่างเต็มศักยภาพ กล่าวคือ การออกกำลังกายดังกล่าว ช่วยออกซิเจนให้ไหลเวียนผ่านหลอดเลือด (Blood vessel)
สิ่งนี้สำคัญมาก แม้ว่าเราจะกินอาหารสุขภาพ และกินอาหารเสริมที่ทรงพลังที่สุดในโลก แต่ถ้าสารโภชนการนั้น ไม่สามารถเข้าส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากการไหวเวียน (Circulation) ถูกจำกัด (Restricted) ส่วนต่างๆ ดังกล่าวก็จะต้องทนทุกข์ทรมาน (Suffer) และในที่สุด (Eventually) กลายเป็นโรคไป
วารสารการแพทย์นิวอิงค์แลนด์ (New England Journal of Medicine) ได้ตีพิมพ์ว่า ผู้หญิงที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดความเสี่ยงของภัยมะเร็งเต้านมได้ถึง 72%
การออกกำลังกายแบบกายกรรม หมายถึงการออกกำลังกายระดับปานกลาง (Moderate) และต่อเนื่อง (Continuous) ที่ยาวนานอย่างน้อย 15 – 20 นาที กุญแจสำคัญอยู่ที่การออกกำลังกายยาวนาน มิใช่โหมหนัก แต่ด้วยความเร็ว (Pace) ที่รู้สึกสบาย (Comfortable)
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Breathing - https://en.wikipedia.org/wiki/Breathing [2022, February 1].
- Exercise - https://en.wikipedia.org/wiki/Exercise [2022, February 1].