เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 17 – ออกซิเจน (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 23 กุมภาพันธ์ 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – ออกซิเจน (4)
การหายใจที่ลึกๆ ผ่านกะบังลม (Diaphragmic) สามารถเร่ง (Accelerate) กระบวนการชะล้าง (Cleansing) ได้มากเป็น 15 เท่าของอัตราปรกติ
อย่าลืมว่า ร่างกายของเราขึ้นอยู่กับระบบน้ำเหลือง (Lymph) อย่างมาก (Hugely)
คำถามต่อไปก็คือ “แล้วเราจะหายใจอย่างนั้น ได้อย่างไร?”
ก่อนเริ่มต้นทดลองหายใจอย่างง่ายๆ จงรับรู้ว่า หัวใจคือเครื่องสูบ (Pump) สำหรับโลหิต แต่ระบบน้ำเหลืองไม่มีเครื่องสูบ มันต้องอาศัยการเคลื่อน และการหายใจเพื่อไหวเวียน (Circulation)
การไหลเวียนของน้ำเหลือง ทำให้ร่างกายขับถ่าย (Excrete) สารพิษออก ทำให้เรามีสภาพแวดล้อมที่สะอาดและทนุถนอมเซลล์ที่แข็งแรง
สิ่งที่ต้องจดจำก็คือ การไหลเวียนของโลหิตที่อุดมสุด (Richest) อยู่ในปอดส่วนล่าง (Lower lungs) ส่วนล่างที่ 3 ของปอดคือส่วนที่อุดมด้วยออกซิเจน และเป็นส่วนที่ใหญ่กว่า
น่าเสียดาย (Unfortunately) ที่ผู้คนส่วนใหญ่หายใจเพียงตื้นๆ (Shallow) ทุกๆ ครั้งที่เราหายใจ มีการแลกเปลี่ยน (Exchange) เกิดขึ้นภายในปอดของเรา
เมื่อเราสูดลมเข้า (Inhale) เรากรอกใส่ (Infuse) โลหิตที่กำลังไหลเวียนผ่านปอด ด้วยออกซิเจนที่ชุบชีวิต (Life-giving) และเมื่อเราคายลมออก (Exhale) สารพิษที่อยู่ในกระแสโลหิต อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ก็จะถูกขับออก (Expelled) ผ่านทางลมหายใจ
ผู้คนส่วนมากใช้ปอดส่วนบนเพียง 1 ใน 3 เมื่อหายใจ ณ ที่ซึ่งเป็นเพียงประมาณ 20% หรือกว่านั้นของโลหิตที่ไหลเวียนจริง!!
ผู้ที่หายใจ (Breather) ตื้นๆ มักไม่สามารถแลกเปลี่ยนส่วนล่างของปอด ณ ที่ซึ่งส่วนใหญ่ (Majority) ของโลหิตไหลเวียนอยู่ หมายความว่า โลหิตนำสารพิษกลับไป (Return) ยังเซลล์ที่เต็มไปด้วยสารพิษ และขาดแคลนออกซิเจนบริสุทธิ์ (Fresh) ที่เซลล์ของเราต้องการเพื่อการเจริญเติบโต (Thrive)
การหายใจช้าๆ และลึก ๆ คือรากฐาน (Foundation) ของร่างกาย, จิตใจ, และวิญญาณ (Spirit)!
ดังนั้น เพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด (Maximum benefit) จากลมหายใจในแต่ละวัน จงเรียนรู้ที่จะหายใจจากข้างล่างขึ้นข้างบน
รูปแบบ (Pattern) ที่ดีที่สุดสำหรับการหายใจลึกๆ ผ่านกะบังลมก็คือสัดส่วนดังนี้ 1 : 4 : 2
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Oxygen - https://en.wikipedia.org/wiki/Oxygen [2022, January 25].
- Breathing - https://en.wikipedia.org/wiki/Breathing [2022, January 25].