ยิ่งแก่ยิ่งอ่อน (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 19 กุมภาพันธ์ 2565
- Tweet
ปัจจุบันนักวิจัยเชื่อว่าภาวะกล้ามเนื้อพร่องสามารถมีสาเหตุได้จาก
- การลดลงของเซลล์ประสาทที่ส่งสัญญานไปยังสมองให้มีการเคลื่อนไหว
- การลดลงของระดับฮอร์โมน
- ร่างกายมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนโปรตีนไปเป็นพลังงานได้น้อยลง
- กินอาหารและโปรตีนไม่พอที่จะคงมวลกล้ามเนื้อไว้ได้
โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อพร่องมากขึ้น ได้แก่
- การไม่ยอมเคลื่อนไหวและใช้ชีวิตแบบนั่งนอนมาก (sedentary lifestyle) ทั้งนี้ การลดการเคลื่อนไหวลงเป็นเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ก็อาจทำให้มวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงลดได้
- การกินอาหารที่ไม่สมดุล (unbalanced diet) อย่างแคลอรี่และโปรตีนที่ผู้สูงอายุมักไม่ได้รับอันเนื่องมาจากการมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ปัญหาเหงือกฟัน การกลืน การรับรู้รส เป็นต้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์แนะนำว่าควรได้รับโปรตีน 25-30 กรัมในแต่ละมื้ออาหาร
- การเจ็บป่วยหรือการได้รับบาดเจ็บ การอักเสบที่ทำให้เกิดความไม่สมดุล
- ความเครียด
แพทย์ผู้วินิจฉัยอาจแนะนำให้ทำการตรวจมวลไขมัน กล้ามเนื้อ และกระดูกด้วยวิธี Dual energy X-ray absorptiometry (DXA) ซึ่งจะมีการปล่อยรังสีเอ็กซ์ที่มี 2 ค่าพลังงานผ่านร่างกายเพื่อคำนวณความหนาแน่น
สำหรับการรักษาหลักๆ คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยมี
- การออกกำลังกายแบบแรงต้าน (resistance training) ซึ่งถือเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด เพราะความตึงของใยกล้ามเนื้อจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมน เปลี่ยนโปรตีนให้เป็นพลังงานในผู้สูงวัย
โดยการออกกำลังกายแบบแรงต้านเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในลักษณะออกแรงต้านกับน้ำหนักตัวและแรงโน้มถ่วง ช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อและกระดูก สามารถทำได้ด้วยตัวเองทั้งมีอุปกรณ์หรือไม่มีอุปกรณ์เสริม มีการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ต้นแขน ต้นขา หัวไหล่ หน้าท้อง หน้าอก อย่างการวิดพื้น (Push Up) การซิทอัพ (Sit Up) การยกเวท (weightlifting) เป็นต้น
แหล่งข้อมูล
- Sarcopenia. https://www.healthline.com/health/sarcopenia [2022, February 18].
- Sarcopenia: What you need to know. https://www.medicalnewstoday.com/articles/318501 [2022, February 18].
- What is Sarcopenia? https://www.aginginmotion.org/about-the-issue/ [2022, February 18].