ยาลอราซีแพม (Lorazepam) ยาเอติแวน (Ativan)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 31 มีนาคม 2557
- Tweet
- ทั่วไป
- ยาลอราซีแพมมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาลอราซีแพมมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาลอราซีแพมมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาลอราซีแพมมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาลอราซีแพมมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาลอราซีแพมอย่างไร?
- ยาลอราซีแพมมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาลอราซีแพมอย่างไร?
- ยาลอราซีแพมมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาไดอะซีแพม (Diazepam) ยาแวเลียม (Valium)
- โรคภูมิแพ้หูคอจมูก (ENT and Allergy)
- โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder หรือ MDD)
ทั่วไป
ลอราซีแพม (Lorazepam) หรือชื่อการค้าที่คนไทยเคยรู้จัก คือ เอติแวน (Ativan) เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม Benzodiazepine ทางวงการแพทย์ใช้เป็นยาคลายความวิตกกังวล การนอนไม่หลับ ยานี้จะออกฤทธิ์ที่สมอง และมีฤทธิ์ระยะสั้นกว่ายากลุ่ม Benzodiazepine ตัวอื่น
หลังจากได้รับยาลอราซีแพมเข้าสู่ร่างกาย ยาลอราซีแพมจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างที่อวัยวะตับ และระดับยาจะคงอยู่ในร่างกายในช่วง 9–16 ชั่วโมง จากนั้นจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
ในต่างประเทศมีการผลิตยาลอราซีแพมในรูปแบบ ยาเม็ด ยาฉีด ยาอมใต้ลิ้น และ ยาปิดบริเวณผิวหนัง
ด้วยยาลอราซีแพมออกฤทธิ์ที่สมองและระบบประสาท การใช้ยาจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น ไม่สมควรชื้อยามารับประทานเอง
ยาลอราซีแพมมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาลอราซีแพมมีสรรพคุณ ดังนี้
- ใช้รักษาอาการวิตกกังวล คลายเครียด
- ใช้เป็นยาป้องกันอาการชัก และช่วยคลายกล้ามเนื้อ
- ช่วยสงบประสาท และทำให้นอนหลับ
ยาลอราซีแพมมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาลอราซีแพมจะออกฤทธิ์ในสมอง โดยยาจะเข้าไปแทนที่การจับตัวของสารสื่อประสาทที่เรียกว่า GABA (Gamma aminobutyric acid, สารที่มีคุณสมบัติทำให้ระบบประสาทตื่นตัว) กับตัวรับ (GABA – A Receptor) ซึ่งจากกลไกนี้จะส่งผลให้มีการยับยั้งคำสั่งของสาร GABA และส่งผลให้มีฤทธิ์ในการรักษาอาการทางระบบประสาทบางอาการได้
ยาลอราซีแพมมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาลอราซีแพมในประเทศไทย จัดจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดขนาด 0.5, 1, และ 2 มิลลิ กรัม
ยาลอราซีแพมมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาลอราซีแพมมีขนาดรับประทาน ดังนี้
ก. ในผู้ใหญ่:
- สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล รับประทานครั้งละ 1-2 มิลลิกรัม วันละ 2–3 ครั้ง
- สำหรับอาการนอนไม่หลับ รับประทาน 2–4 มิลลิกรัม ก่อนนอน
ทั้งนี้ สามารถรับประทานยาฯก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และขนาดรับประทานที่เหมาะสม ยังขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาอีกด้วย
ข. ในเด็ก: การใช้ยาลอราซีแพมต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาลอราซีแพม ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาลอราซีแพมอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนแล้ว
- - หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้ เช่น ความพิการแต่กำเนิด
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาลอราซีแพม สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า
ยาลอราซีแพมมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาลอราซีแพมนี้ อาจมีผลข้างเคียง/ผลไม่พึงประสงค์ต่อผู้ใช้ยา อาทิเช่น จิตใจสับสน ง่วงนอน การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ปัสสาวะไม่ออก ความดันโลหิตต่ำ
มีข้อควรระวังการใช้ยาลอราซีแพมอย่างไร?
ข้อควรระวังในการใช้ยาลอราซีแพม คือ
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ยาลอราซีแพม
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis: MG)
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคจิตขั้นรุนแรง
- ระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ ผู้เป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต และผู้ป่วยด้วยระบบทางเดินหายใจบกพร่อง
- ระวังการใช้ยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาเสพติดกลุ่มอื่นๆ ด้วยจะเพิ่มผล ข้างเคียงต่อจิตประสาทมากยิ่งขึ้น
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิดรวมถึงยาลอราซีแพมด้วย ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาลอราซีแพมมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
การใช้ยาลอราซีแพม ร่วมกับยาที่ใช้รักษาอาการแพ้ โรคภูมิแพ้ สามารถเพิ่มความรุนแรงของผลข้างเคียงของยาลอราซีแพมให้มากขึ้น เช่น มีการกดการทำงานของสมอง และก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า ยาที่ใช้รักษาอาการภูมิแพ้ข้างต้น เช่น Brompheniramine, Chlorpheniramine, Triprolidine
การใช้ยาลอราซีแพมร่วมกับยากลุ่ม Benzodiazepine ด้วยกัน จะส่งผลให้เกิดอาการข้าง เคียง/ผลข้างเคียงมากยิ่งขึ้น ยากลุ่ม Benzodiazepine ดังกล่าวเช่น Diazepam
การใช้ยาลอราซีแพมร่วมกับยาลดน้ำมูกบางตัว อาจทำให้ฤทธิ์ของยาลอราซีแพมในด้านการสงบประสาทลดน้อยลง ยาลดน้ำมูกดังกล่าว เช่น Phenylephrine, Pseudoephedrine
ควรเก็บรักษายาลอราซีแพมอย่างไร?
สามารถเก็บยาลอราซีแพม ในอุณหภูมิห้อง เก็บให้พ้นแสงแดดและความชื้น และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กเสมอ
ยาลอราซีแพมมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ชื่ออื่นของยาลอราซีแพม และผู้ผลิตในประเทศไทย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
Anta (แอนตา) | Pharmasant Lab |
Anxira (แอนซิรา) | Condrugs |
Hawkcopax (ฮอคโคแพกซ์) | L. B. S. |
Kemora (เคโมรา) | Olan-Kemed |
Lizavan (ไลซาแวน) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Lonza (ลอนซา) | Medicine Products |
Lora (ลอรา) | Atlantic Lab |
Loramed (ลอราเมด) | Medifive |
Loramed Medifive (ลอราเมด เมดิไฟว์) | Medifive |
Lora-P (ลอรา-พี) | P P Lab |
Lorapine (ลอราไพน์) | T M N Impex |
Loravan (ลอราแวน) | Suphong Bhaesaj |
Lorazep (ลอราเซพ) | Asian Pharm |
Lorazepam Acdhon (ลอราซีแพม แอคฮอน) | Acdhon |
Lorazin (ลอราซิน) | Inpac Pharma |
Lozepam (ลอซีแพม) | New Life Pharma |
Ora (ออรา) | Masa Lab |
Razepam (ราซีแพม) | Thai Nakorn Patana |
Tanavan (ทานาแวน) | Polipharm |
Vemed (วีเมด) | Utopian |
Zora (โซรา) | General Drugs House |
บรรณานุกรม
- http://www.drugbank.ca/drugs/DB00186 [2014,March22].
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/ativan [2014,March22].
- https://www.mims.com/Thailand/drug/search/lorazepam [2014,March22].
- http://en.wikipedia.org/wiki/Lorazepam [2014,March22].