ยาไดอะซีแพม (Diazepam) ยาแวเลียม (Valium)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาไดอะซีแพม (Diazepam) หรือชื่อการค้าที่คนมักรู้จัก คือ แวเลียม (Valium) จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ถูกนำมาใช้รักษาได้หลายอาการโรค อาทิเช่น ภาวะเครียด นอนไม่หลับ โรคลมชัก สงบประสาท โรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ติดฝิ่น

หลังจากที่ร่างกายได้รับยาไดอะซีแพม ยาจะเริ่มออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุผลดัง กล่าวยานี้จึงถูกนำไปใช้รักษาอาการชักชนิดเฉียบพลัน และผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดคุกคาม เป็นต้น ยาไดอะซีแพมจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างที่ตับ และอยู่ในร่างกายได้นานถึง 20 – 100 ชั่วโมง และถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ

การใช้ยาไดอะซีแพม ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์เท่านั้น การหาซื้อตามร้านขายยา จำเป็นต้องมีใบสั่งจากแพทย์ ไม่สามารถหาซื้อได้ง่ายเหมือนยาอันตรายอื่นๆ และหากผู้ บริโภคนำยาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ย่อมเกิดผลเสียต่อผู้ใช้มากกว่าประโยชน์ที่ควรจะได้รับ

ยาไดอะซีแพมมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาไดอะซีแพม

ยาไดอะซีแพมมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • ใช้รักษาภาวะเครียด หรืออาการวิตกกังวล
  • ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ลดอาการชักเกร็ง

ยาไดอะซีแพมมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาไดอะซีแพมมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยจะซึมผ่านเข้าไปในสมอง และออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทที่เรียกว่า GABA (Gamma amino butyric acid) ด้วยกลไกดังกล่าว ส่งผลให้สมองตอบสนองต่ออาการโรคไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ยาไดอะซีแพมมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาไดอะซีแพมมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • ยาแคปซูลขนาดความแรง 2 และ 5 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ดขนาดความแรง 2, 5 และ 10 มิลลิกรัม
  • ยาฉีดขนาดความแรง 10 มิลลิกรัม ต่อ 2 มิลลิลิตร

ยาไดอะซีแพมมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาไดอะซีแพมมีขนาดรับประทาน เช่น

  • สามารถรับประทานยาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
  • ผู้ใหญ่รับประทาน 4 – 40 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน 3 – 4 ครั้ง/วัน
  • เด็กรับประทาน 0.12 – 0.8 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยแบ่งรับประทาน 3 – 4 ครั้ง/วัน

*****หมายเหตุ ขนาดรับประทานที่ปลอดภัยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาเท่านั้น และควรต้องใช้ยานี้เฉพาะตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาไดอะซีแพม ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่น หายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาไดอะซีแพมอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้ เช่น ความพิการแต่กำเนิด

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทาน ยาไดอะซีแพม สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาไดอะซีแพมมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

การใช้ยาไดอะซีแพม อาจส่งผลให้เกิด ผลไม่พึงประสงค์จากยา /ผลข้างเคียง /อาการข้างเคียง เช่น

  • อาการง่วงนอน
  • จิตใจไม่ปกติ
  • ความจำเสื่อม
  • การมองเห็นไม่ชัดเจน
  • อาจพบอาการปัสสาวะติดขัด/ ปัสสาวะลำบาก
  • กดการหายใจ/การหายใจผิดปกติ
  • และความดันโลหิตต่ำ

มีข้อควรระวังการใช้ยาไดอะซีแพมอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาไดอะซีแพม เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้ยากับหญิงมีครรภ์ (เพราะอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้) และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร (เพราะยาจะปนมาในน้ำนม ส่งผลให้เด็กนอนหลับ ง่วง ซึมตลอดเวลา ขาดอา หารได้)
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคต้อหิน เพราะอาการโรคต้อหินอาจรุนแรงขึ้นได้
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคจิตที่อยู่ในระยะรุนแรง
  • ระวังการใช้ยากับ ผู้สูงอายุ เด็กแรกคลอด ผู้ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี(Myasthenia Gravis) เพราะผลข้างเคียงจากยานี้อาจสูงขึ้น
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่ป่วยด้วย โรคหัวใจ ผู้ที่มีภาวะบกพร่องในระบบทางเดินหายใจ เพราะอาจทำให้อาการของโรคเหล่านี้รุนแรงขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากับผู้ป่วยด้วย โรคตับ และโรคไต เพราะผลข้างเคียงจากยาจะสูงขึ้น
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะ ยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดรวมถึงยาไดอะซีแพม ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาไดอะซีแพมมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาไดอะซีแพมมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆ เช่น

  • การรับประทานไดอะซีแพมร่วมกับยาบรรเทาปวด/ยาแก้ปวด ในกลุ่มโอปิออยด์ (ฝิ่น) สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น ง่วงนอนและวิงเวียนศีรษะมากขึ้น ตัวอย่าง ยาบรรเทาปวดดังกล่าว เช่น
    • Codeine
    • Fentanyl
    • และ Tramadol เป็นต้น
  • การใช้ยาไดอะซีแพมร่วมกับยาแก้แพ้หรือยาแก้หวัด สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ตัวอย่าง ยาแก้แพ้/ยาแก้หวัด ดังกล่าว เช่นยา
    • Brompheniramine
    • Chlorpheniramine
    • Cetirizine
  • การใช้ยาไดอะซีแพม ร่วมกับ ยาลดความดันโลหิตสูง (ยาลดความดัน ยาลดความดันเลือดสูง) สามารถส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้มากขึ้น มีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน และเป็นลม ได้ ตัวอย่าง ยาลดความดันโลหิตดังกล่าว เช่นยา
    • Atenolol , Nadolol
  • การใช้ยาไดอะซีแพมร่วมกับยาที่กระตุ้นให้อยากอาหาร สามารถก่อให้เกิด อาการง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ตัวอย่างยาที่ใช้กระตุ้นให้อยากอาหารดังกล่าว เช่นยา
    • Cyproheptadine

ควรเก็บรักษายาไดอะซีแพมอย่างไร?

ควรเก็บยาไดอะซีแพมใน

  • อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส(Celsius)
  • เก็บยาให้พ้นแสง/ แสงแดด และความชื้น
  • ไม่เก็บยาในห้องน้ำ
  • และต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเสมอ

ยาไดอะซีแพมมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ชื่ออื่นของยาไดอะซีแพม และชื่อบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
A-Zerax (เอ-ซีแร็กซ์)vAsian Pharm
Calmipam (คอลมิแพม)Chalermchai
Diadon (ไดเอดอน)Acdhon
Diamed (ไดเอเมด)Medicpharma
Diano (ไดเอโน)Milano
Diapam (ไดเอแพม)Greater Pharma
Diapine (ไดเอพีน)Atlantic Lab
Diapine Atlantic (ไดเอพีน แอทแลนติก)Atlantic Lab
Diaz (ไดแอซ)Bangkok Lab & Cosmetic
Diazepam Acdhon (ไดอะซีแพม แอกดอน)Acdhon
Diazepam BJ Benjaosoth (ไดอะซีแพม บีเจ เบญจโอสถ)BJ Benjaosoth
Diazepam General Drugs House (ไดอะซีแพม เจนเนอรัล ดรักซ์ เฮาส์)General Drugs House
Diazepam GPO (ไดอะซีแพม จีพีโอ)GPO
Diazepam H K Pharm (ไดอะซีแพม เอท เค ฟาร์ม)H K Pharm
Diazepam Lerd Singh (ไดอะซีแพม เลิศ สิงห์)Lerd Singh
Diazepam Pond’s Chemical (ไดอะซีแพม พอนด์ส เคมีคอล)Pond’s Chemical
Diazepam Samakeephaesaj (ไดอะซีแพม สามัคคีเภสัช)Samakeephaesaj (Union Drug Lab)
Diazepam Sommai Bhaesaj (ไดอะซีแพม สมหมาย เภสัช) Sommai Bhaesaj
Diazepam T P Drug (ไดอะซีแพม ทีพี ดรัก)T P Drug
Diazepam Vesco (ไดอะซีแพม เวสโก)Vesco Pharma
Diazepion (ไดอะซีเพียน)Chew Brothers
Dilium (ไดเลียม)Seven Stars
Dimed (ไดเมด)Tanapat Bhaesaj
Dipam (ไดแพม)New Life Pharma
Ditran (ไดทราน)Thaipharmed 1942
Divopan (ไดโวแพน)A N H Products
Dizep (ไดเซพ)Suphong Bhaesaj
Dizepam (ไดซีแพม)Masa Lab
Dizzepam (ดีซซีแพม)Pond’s Chemical
DZP2 (ดีซีพี2)Pharmasant Lab
Manodiazo (มาโนเดียโซ)March Pharma
Manolium (มาโนเลียม)March Pharma
Med-Zepam (เมด-ซีแพม)Medical Supply
Monozide (โมโนไซด์)Thai P D Chemicals
Monozide-10 (โมโนไซด์-10)Thai P D Chemicals
Pam (แพม)T V Pharm
Popam (โพแพม)Pharmasant Lab
Ropam (โรแพม)L. B. S.
S Co Zepam (เอส โค ซีแพม)S Co Pharma
Sipam (ซิแพม)Siam Bheasach
Tranolan (ทราโนแลน)Olan-Kemed
V Day Zepam (วี เดย์ ซีแพม)P P Lab
Valax (วาแล็กซ์)T M N Impex
Valax 5 mg (วาแล็กซ์ 5 มิลลิกรัม)Utopian
Valenium (วาเลเนียม)Kenyaku
Vason (เวซัน)Millimed
Vescopam (เวสโคแพม)Vesco Pharma
Vomed 2 mg (โวเมด 2 มิลลิกรัม)Utopian
Vomed 5 mg (โวเมด 5 มิลลิกรัม)Cmed Products
Vorapam (โวราแพม)V S Pharma
Winopam (วิโนแพม)Liwinner Pharma
Zam (แซม)Medicine Products
Zepam (ซีแพม)Modern Manu
Zepaxid (ซีพาซิด)Udomphon (Phihalab)
Zopam (โซแพม)Pharmasant Lab

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Diazepam#Mechanism_of_action [2019,Nov2]
  2. https://www.drugs.com/drug-interactions/diazepam-index.html?filter=3&generic_only= [2019,Nov2]
  3. https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0735675799900797 [2019,Nov2]
  4. https://www.mims.com/thailand/drug/info/diazepam?mtype=generic [2019,Nov2]