ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง ยารักษาตรงเป้า (Targeted Cell Therapy)

สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ:คือยาอะไร?

         ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง/ยารักษาตรงเป้า/ยารักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Cell Therapy)คือ ยารักษามะเร็งกลุ่มใหม่ที่ต่างจาก’ยาเคมีบำบัด’เดิมจากมีฤทธิ์ที่เฉพาะต่อเซลล์มะเร็งมากกว่าต่อเซลล์ปกติ จึงลดผลข้างเคียงจากยาฯและในอนาคตอาจสามารถให้ผลควบคุมโรคได้ดีกว่ายาเคมีบำบัดเดิม

         มะเร็ง: เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ในร่างกายที่ผิดปกติ ทำให้เซลล์มีการเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถควบคุมโดยการทำงานปกติของร่างกายได้ ทำให้เกิดก้อนเนื้อที่มีลักษณะผิดปกติและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

         วิธีการรักษาด้วยกลุ่มยาแบบดั้งเดิมที่เรียกทั่วไปว่า ‘ยาเคมีบำบัด’ จะใช้ยาที่มีความสามารถ ในการทำลายเซลล์ที่มีความสามารถในการแบ่งตัวได้เร็ว ไม่มีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง จึงส่ง ผลให้เซลล์อื่นในร่างกายที่มีความสามารถในการแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็วถูกทำลายไปด้วย ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยาเหล่านั้นอย่างมากเช่น ผอมแห้ง ผมร่วง เล็บหลุดหรือไม่แข็งแรง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง และส่งผลต่อเซลล์ปกติในส่วนอื่นๆทำให้ร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น

         นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนายาที่ใช้รักษามะเร็งกลุ่มใหม่คือ ‘ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์ มะเร็ง (Targeted Cell Therapy)’ ซึ่งตัวยามีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมากขึ้นทำให้ผลข้าง เคียงจากยาที่เกิดจากการไปทำลายเซลล์ปกติของร่างกายส่วนอื่นๆลดลง

         ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Cell Therapy) แบ่งออกได้เป็น 2 ประ เภทคือ “โมโนโคลนอลแอนตีบอดี (Monoclonal antibody)” และ ”ยาโมเลกุลเล็ก (Small molecules)” ทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างด้านการออกฤทธิ์แต่มีความจำเพาะต่อการควบคุมเซลล์ มะเร็งเช่นเดียวกัน

          ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง ในประเทศไทยจัดเป็นยาควบคุมพิเศษตามกฎหมายของไทย ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็งอย่างเคร่งครัดเท่านั้น

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) รักษาโรคอะไร?

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ทั่วไปในการรักษามะเร็งแบบจำ เพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งในส่วนต่างๆของร่างกาย แบ่งตามข้อบ่งใช้การรักษาตามชนิดของมะเร็งได้ดังต่อไปนี้ เช่น

1. มะเร็งในช่องท้องหรือมะเร็งในช่วงส่วนต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร: (Gastro esophageal junction Adenocarcinoma) เช่น ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง (Trastuzamab), ยารามูซิรูแมบ (Ramuciruab)

2. มะเร็งสมอง: เช่น ยาบีวาซิซูแมบ (Bevacizumab), ยาเอเวอโรไลมัส (Everolimus)

3. มะเร็งเต้านม: เช่น ยาทาม็อกซิเฟน (Tamoxifen), ยาโทเรมิฟีน (Toremifene),  ยาทราสทูซูแมบ (Trastuzamab , ยาฟูลเวสแทรนต์ (Fulvestrant), ยาแอนแอสโทรโซล (Anastrozole), ยาเอ็กซ์เซอร์เมสเทน (Exermestane), ยาเลโทรโซล (Letrozole), ยาเอ็มแทนซีน (Emtansine)

4. มะเร็งปากมดลูก เช่น ยาบีวาซิซูแมบ (Bevacizumab)

5. มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก เช่น ยาบีวาซิซูแมบ (Bevacizumab)

6. มะเร็งระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ยาแลนรีโอไทด์(Lanreotide)

7. มะเร็งระบบ-ศีรษะ-ลำคอ (Head and neck cancer) เช่น ยาซีทูซิแมบ (Cetuximab)

8. เนื้องอกขนาดใหญ่ที่กระดูก (Giant cell tumor of the bone) เช่น ยาดีโนซูแมบ (Denosumab)

9. มะเร็งคาโปซิ (Kaposi sarcoma) หรือมะเร็งหลอดเลือด เช่น ยาอะลิเตรทติโนอิน (Alitretinoin)

10. มะเร็งไต เช่น ยาบีวาซิซูแมบ (Bevacizumab), ยาซูนิทินิบ (Sunitinib), ยา เอเวอโรลิมัส (Everolimus)

11. มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เช่น ยาเทรทินอยด์ (Tretinoin), ยาอิมาทินิบ (Imatinib), ยาดาซาทินิบ (Dasatinib), ยาโบซูทินิบ (Bosutinib), ยาริทูซิแมบ (Rituximab)

12. มะเร็งตับ เช่น ยาโซราทินิบ (Soratinib)

13. มะเร็งปอด เช่น ยาบีวาซิซูแมบ (Bevacizumab), ยารามูซิรูแมบ (Ramucirumab)

14. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) เช่น ยาริทูซิแมบ (Rituximab), ยาไอบรูทินิบ (Ibrutinib)

15. มะเร็งเม็ดเลือดขาว/มะเร็งไขกระดูกชนิด Multiple myeloma เช่น ยาบอร์ทีโซมิบ (Bortezomib), ยาลีนาลิโอไมด์ (Lenaliomide), ยาพาโมลิโดไมด์ (Pomalidomide), ยาดาราทูมูแมบ (Daratumumab)

16. โรคไมอีโลดิสพลาสติก/โรคเลือดเอ็มดีเอส(Myelodysplastic/myeloproliferative disorders, ความผิดปกติของไขกระดูกที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้) เช่น ยาอิมาทินิบ (Imatinib)

17. มะเร็งต่อมหมวกไตชนิด นิวโรบลาสโตมา (Neuroblastoma) เช่น ยาดินูทูซิแมบ (Dinutuximab)

18. มะเร็งรังไข่, มะเร็งท่อนำไข่ เช่น ยาบีวาซิซูแมบ (Bevacizumab)

19. มะเร็งตับอ่อน เช่น ยา เอเวอโรลิมัส (Everolimus), ยาซูนิทินิบ (Sunitinib)

20. มะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น ยา คาบาซิแทคเซล (Cabazitaxel), ยาเอนซาลูตาไมด์ (Enzalutamide)

21. มะเร็งต่อมไทรอยด์ เช่น ยาคาโบแซนทินิบ (Cabozantinib), ยาแวนดิทินิบ (Vandetanib)

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งเป็นยาที่ได้รับการออกแบบให้มีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง จึงมีผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ปกติอื่นๆน้อย ซึ่งสามารถแบ่งยากลุ่มนี้ออก เป็น 2 ประเภทคือ

ก.  โมโนโคลนอลแอนตีบอดี (Monoclonal antibody): โดยใช้เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาในการสกัดออกมาเป็นยา ยาเหล่านี้จัดอยู่ในประเภทยาชีววัตถุ (Biotechnology drug) เนื่องจากเป็นสารที่ได้มาจากกระบวนการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผ่านสิ่งมีชีวิตเช่น หนู เป็นต้น โดย สารเหล่านี้จะเข้าไปจับกับตัวรับ (Receptor) ที่จำเพาะบนผิวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายเซลล์มะเร็งโดยวิธีต่างๆอาทิ ยาอาจเป็นตัวนำส่งสารกัมมันตรังสีเมื่อยาเข้าจับกับเซลล์มะเร็งและจะเกิดการปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีเข้าทำลายเซลล์มะเร็ง หรือการรบกวนการส่งสัญญาณกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนเซลล์ได้หรือเพิ่มได้ช้าลง

 ข. ยาโมเลกุลเล็ก (Small molecules) เป็นยาที่ได้รับการออกแบบให้มีโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็งเข้าสู่ภายในเซลล์มะเร็งได้ โดยทั่วไปยาประเภทโมเลกุลเล็กจะออกฤทธิ์โดยการรบกวนการทำงานของเอนไซม์ภายในเซลล์ ส่งผลต่อการสังเคราะห์ของสาร โปรตีนและการทำงานของเซลล์มะเร็ง

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบเภสัชภัณฑ์: เช่น

  • เภสัชภัณฑ์ยาเม็ดรับประทาน
  • เภสัชภัณฑ์ยาผงพร้อมผสมเพื่อใช้หยดเข้าหลอดเลือดดำ
  • ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV/Intravenous infusion or injection)

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีขนาดรับประทานหรือขนาดบริหารยาอย่างไร?

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีขนาดรับประทานหรือขนาดบริหารยาขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้ของยาแต่ละชนิด, สภาวะหรืออาการของโรค, น้ำหนักตัว, หรือพื้นที่ผิวของร่างกายของผู้ป่วย, อาจรวมไปถึงความสามารถการทำงานของไตและตับของผู้ป่วยด้วย, ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาจะประเมินขนาดการใช้ยาแก่ผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

         เมื่อมีการสั่งยารวมถึงยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติการแพ้ยา แพ้อาหาร และแพ้สารเคมี
  • ประวัติการใช้ยาต่างๆ ทั้งยาที่ซื้อทานเอง และยาที่แพทย์สั่งจ่าย วิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  และสมุนไพร ทั้งนี้เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
  • ประวัติโรคต่างๆโรคประจำตัวที่เคยเป็นมาในอดีตและปัจจุบัน
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากกำลังตั้งครรภ์ วางแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

หากลืมรับประทานยาหรือลืมเข้ารับการบริหารยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งหรือลืมเข้ารับการบริหารยาฯ

  • โดยทั่วไปในกรณียาชนิดรับประทาน: หากลืมรับประทานยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งให้ทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้าหากใกล้กับมื้อยาถัดไปแล้ว ให้ข้ามมื้อยานั้นไปและรับประ ทานมื้อยาถัดไปตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า อย่างไรก็ดีควรสอบถามเภสัชกรไว้ล่วงหน้าเมื่อรับยานี้ เนื่องจากยานี้บางชนิดอาจมีวิธีการรับประทานเมื่อลืมทานที่แตกต่างออก ไป
  • หากผู้ป่วยเข้ารับการบริหารยา/ใช้ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งด้วยวิธีการฉีดหรือหยดเข้าหลอดเลือดดำ: ผู้ป่วยควรไปตามกำหนดนัดหมายอย่างเคร่งครัด หากลืมเข้ารับการบริหารยาให้ติดต่อสถานพยาบาลที่ทำการรักษาโดยเร็วที่สุด

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) น้อยกว่ายารักษามะเร็งชนิดดั้งเดิม/ยาเคมีบำบัด โดยอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง อาทิ ท้องเสีย เกิดผื่นแดง เล็บและผมเปลี่ยนสี ซึ่งควรแจ้งให้แพทย์ทราบ/พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัดหากอาการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรงขึ้น

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอื่นๆที่ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบโดยทันที/รีบไปโรงพยาบาลทันทีก่อนนัด เช่น มีผื่นขึ้น มีจ้ำเลือด อาเจียนมีเลือดปน/อาเจียนเป็นเลือด มีเลือดปนในปัสสาวะหรือปัสสาวะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล/ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระสีดำเหนียวหรือมีเลือดปน/อุจจาระเป็นเลือด อาการข้างเคียงต่อตับ เช่น ตับอักเสบ หรืออาจเกิดอาการเหมือนโรคดีซ่าน คือ ผิวหนังและตาเหลือง/ตัวเหลือง เกิดอาการเจ็บ ป่วยเหมือนติดเชื้อบ่อยครั้ง (เช่น มีไข้ เจ็บคอ/คออักเสบ มีแผลในปาก เป็นต้น)

หากผู้ป่วยได้รับยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งแล้วเกิดอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นคันตามตัว เกิดอาการบวมของริมฝีปาก เปลือกตา/หนังตา หรือใบหน้า หายใจไม่สะดวก/หายใจลำบาก ต้องรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยทันที/ฉุกเฉิน

อย่างไรก็ดี อาการไม่พึงประสงค์ฯข้างต้นเป็นอาการไม่พึงประสงค์ฯโดยทั่วไปของยาในกลุ่มยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง ยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ จึงควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงผลข้างเคียงของยาก่อนเริ่มใช้ยา

อนึ่ง ผู้ป่วยควรตระหนักว่าการที่แพทย์สั่งใช้ยาในกลุ่มนี้ เนื่องจากแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่ายานี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากกว่าโทษหรือการได้รับผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ส่วนมากพบว่าเกิดอาการไม่พึงประสงค์ฯชนิดรุนแรง ผู้ป่วยจึงควรเฝ้าระวังผลข้างเคียงดัง กล่าวที่อาจเกิดขึ้นและรีบแจ้งให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบ/ไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉินหากเกิดอาการรุนแรงดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

มีข้อควรระวังการใช้ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง เช่น

  • ไม่ควรใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือส่วนประกอบของยานี้
  • สตรีตั้งครรภ์ วางแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะยานี้ไม่ควรใช้ขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร สตรีที่ใช้ยานี้ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม หรือยานี้บางชนิดอาจอยู่ในร่างกายได้ยาวแม้กระทั่งหยุดยาแล้ว การคุมกำเนิดอาจยังมีความจำเป็นต่อไปอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ควรสอบถามข้อมูลของยานี้จากแพทย์หรือเภสัชกร
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆควรแจ้งให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบ เนื่องจากยานี้บางชนิดอาจไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางชนิด

***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิดรวมยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง ยาแผนโบราณ   อาหารเสริม  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้น ฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

โดยทั่วไปยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้ม กันต้านทานโรค (Immunosuppressants) ชนิดอื่นๆ เช่น ยา Cyclophosphamide เนื่องจากอาจทำให้ภูมิกันฯของผู้ป่วยต่ำลงไปอีกซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบถึงยาต่างๆที่ผู้ป่วยกำลังใช้อยู่ทุกครั้ง

ควรเก็บรักษายารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งอย่างไร?

การเก็บรักษายารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง:

ก. โดยทั่วไปหากเป็นยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งชนิดเม็ด/ชนิดรับประทาน: ควรเก็บยา

  • เก็บยาในภาชนะบรรจุดั้งเดิมของบริษัทผู้ผลิต
  • เก็บยาในที่แห้ง
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • แต่อย่างไรก็ดี ยาแต่ละชนิดในกลุ่มยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งอาจมีวิธีการเก็บรักษาเฉพาะของยา ผู้ป่วยควรสอบถามเภสัชกรถึงวิธีการเก็บรักษายาจะเป็นการเหมาะสมที่สุด

ข. สำหรับยานี้ที่ใช้ในสถานพยาบาล/ยาฉีด: ผู้เก็บรักษายานี้ควรปรึกษาฝ่ายเภสัชกรรมถึงนโยบายการเก็บรักษายานี้ของแต่ละสถานพยาบาล

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็งมียาอะไรบ้าง? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง  มียาชื่อสามัญ  ยาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิตหรือจัดจำหน่าย  เช่น

ชื่อสามัญของยา

ชื่อการค้า

บริษัทผู้ผลิต/จัดจำหน่าย

อาฟาทินิบ (Afatinib)

จิโอทริฟ (Gilotrif)

บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด

อะเลมทูซิแมบ (Alemtuzumab)

แมบแคมแพธ (Mabcampath)

บริษัท เจ็นไซม์ (ประเทศไทย) จำกัด

อะซิทินิบ (Axitinib)

อินไลทา (Inlyta)

บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บีลิมูแมบ (Belimumab)

เบนลิสทา (Benlysta)

บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด

บีวาซิซูแมบ (Bevacizumab)

อะวาสทิน (Avastin)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

บอร์ทีโซมิบ (Bortezomib )

แวลเซต (Velcade)

บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด

คาทาคินูแมบ (Canakinumab)

อิลาริส (Ilaris)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

คาร์ฟิลโซมิบ (Carfilzomib)

ไคโพรลิส (Kyprolis)

บริษัท ฟาร์มาพลัส เรกูลาทอรี่ เซอร์วิส กรุงเทพฯ จำกัด

ซิทูซิแมบ (Cetuximab)

เออร์บิทักซ์ (Erbitux)

บริษัท เมอร์ค จำกัด

คริโซทินิบ (Crizotinib)

ซาลโกริ (Xalkori)

บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

ดาซาทินิบ (Dasatinib)

สปรายเซล (Sprycel)

บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ส สควิบบ์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด

ดีโนซูแมบ (Denosumab)

โพรเลีย (Prolia)

บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด

เออร์โลทินิบ (Erlotinib )

ทาร์ซิวา (Tarceva)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

เอเวอโรไลมัส (Everolimus)

เซอร์ทิแคน (Certican)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

จีฟิทินิบ (Gefitinib)

ไอเรสซา (Iressa)

บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด

อิบริทูโมแมบ ทิซูแทน(Ibritumomab tiuxetan)

ซีวาลิน (Zevalin)

บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด

อิมาทินิบ (Imatinib )

กลีเวก (Gleevec)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

อิพิลิมูแมบ (Ipilimumab)

เยอร์วอยด์ (Yervoy)

บริษัท บริสตอล-ไมเยอร์ส สควิบบ์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด

ลาพาทินิบ (Lapatinib )

ไทเคิร์บ (Tykerb)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

นิโลทินิบ (Nilotinib)

ทาซิกนา (Tasigna)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

โอฟาทูมูแมบ (Ofatumumab)

อาร์เซอร์รา (Arzerra)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

พาโซพานิบ (Pazopanib)

โวทรินต์ (Votrient)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

เพอร์ทูซูแมบ (Pertuzumab)

เพอร์จีทา (Perjeta)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

รีโกราฟินิบ (Regorafenib)

สตีวาร์กา (Stivarga)

บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด

ริทูซิแมบ (Rituximab)

แมบธารา (Mabthera)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

รูโซลิทินิบ (Ruxolitinib)

จากาวิ (Jakavi)

บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด

โซราฟินิบ (Sorafenib)

เนกซาวาร์ (Nexavar)

บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด

เทมซิโรไลมัส (Temsirolimus)

โทริเซล (Torisel)

บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทซิลิซูแมบ (Tocilizumab)

แอกเทมร่า (Actemra)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

โทฟาซิทินิบ (Tofacitinib)

เซลแจนซ์ (Xeljanz)

บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

ทราสทูซูแมบ (Trastuzumab)

เฮอร์เซปทิน(Herceptin)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

วีมูราฟินิบ (Vemurafenib)

เซลโบราฟ (Zelboraf)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

วิสโมดิจิบ (Vismodegib)

เอริเวดจ์ (Erivedge)

บริษัท โรชไทยแลนด์ จำกัด

 

บรรณานุกรม

  1. Flaherty KT, Infante JR, Daud A, et al. Combined BRAF and MEK inhibition in melanoma with BRAF V600 mutations. New England Journal of Medicine 2012; 367(18):1694-1703.
  2. http://thethaicancer.com/Webdocument/GP_article/GP_article_005.html [2022,June4]
  3. https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types/targeted-therapies/targeted-therapies-fact-sheet [2022,June4]
  4. https://www.mycancergenome.org/content/page/overview-of-targeted-therapies-for-cancer/ [2022,June4]
  5. http://thethaicancer.com/Webdocument/GP_article/GP_article_005.html [2022,June4]