
1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 55
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 6 เมษายน 2568
- Tweet
1. การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าใช้บริการ – เนื่องจากปัจจุบัน โครงสร้างรายได้ (Revenue structure) ของกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน ส่วนหนึ่งมาจากระบบประกันสุขภาพ (Health insurance) เช่น การประกันกลุ่ม (Group insurance) ที่มีจำนวนกรมธรรม์ (Policy) สูงถึง 6 ล้านฉบับ ซึ่งตามสถิติ ผู้มีประกันสุขภาพกลุ่มเข้ารับบริการโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.7 ล้านครั้ง (Visit) ต่อปี
ในการใช้บริการโรงพยาบาลดังกล่าว แม้ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล แต่กลับมีต้นทุนอื่นแอบแฝง (Hidden) เช่น ค่าเดินทาง (Travel) และการลางาน (Leave of absence) ที่อาจมีผลกระทบ (Effect) ต่อการประเมินประสิทธิภาพ (Efficiency assessment) ในการทำงานแต่ละปี ส่งผลให้บางครั้ง ผู้เข้ารับบริการที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Minor sickness) อาจเลือกไม่เข้ารับบริการ ถึงแม้ตนมีสิทธิ์ (Right) ในการเข้ารับการรักษาพยาบาล
สุดท้าย ส่งผลให้การนำเทคโนโลยีมาใช้ ตัวอย่างเช่น การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มความถี่ (Frequency) ของการเข้ารับบริการให้เพิ่มสูงขึ้น แม้อาจไม่ได้เพิ่มจำนวนของผู้รับบริการก็ตาม
2. การเพิ่มความต้องการเฉพาะของบริการทางการแพทย์ – เพื่อลดข้อจำกัดเรื่องอุปสงค์ (Demand) ของกลุ่มผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ (Unpredictable) ในการสร้างความจำเป็นพิเศษ (Special need) เพื่อรับบริการทางการแพทย์ โดยในกลุ่มโรงพยาบาลและคลินิกเฉพาะทาง เช่น การบำบัด (Therapy), การเสริมควางาม (Aesthetics), หรือแม้แต่แนวโน้ม (Trend) เพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยด้วยเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive medicine)
เวชศาสตร์ดังกล่าว มีรายได้เติบโตด้วยอัตราเร่ง (Accelerated) ซึ่งค่าเฉลี่ยย้อนหลัก 3 ปี อยู่ที่ 30.2% โดยมีการพยากรณ์ (Forecast) รายได้ปี พ.ศ. 2567 อยู่ที่ราว 4.2 หมื่นล้านบาท จากความสามารถในการตอบสนอง (Response) ความต้องการเฉพาะ นอกเหนือจากการเข้ารับบริการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาพยาบาลที่มีความถี่ในการใช้บริการต่ำและมีข้อจำกัดในการทำตลาด (Marketing limitation) จากการที่ไม่สามารถคาดการณ์การใช้บริการได้
3. การมุ่งเน้นให้เกิดรายได้หมุนเวียน (Recurring income) – เพื่อสร้างฐานรายได้ (Revenue base) ให้เติบโตอย่างสม่ำเสมอ (Continuously) จากผู้ใช้บริการที่พยากรณ์ได้ (Predictable) โดยการเพิ่มเติมความจำเป็นพิเศษ เพื่อเปลี่ยนมุมมอง (Perspective) จากเดิมที่เข้ารับการบริการเพื่อการรักษา (Treatment)
มาเป็นมุมมองร่วมสมัย (Contemporary) ที่เข้ารับบริการในรูปแบบเวชศาสตร์ป้องกัน ทำให้เกิดรูปแบบการให้บริการ (Service model) ใหม่ที่มีความถี่สูงขึ้น เช่น เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation), บริการสด้านสุขภาพ, หรือกลุ่มอาหารเสริม (Food supplement)
รวมถึงการขยายรูปแบบบริการในธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care) ที่ตอบโจทย์ปัญหาของประเทศไทยซึ่งกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น (Super-aged society) ในบริบทของครอบคสรัวที่มีขนาดเล็กลง ยิ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ มีทิศทาง (Direction) ที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
แหล่งข้อมูล –
- https://thaipublica.org/2024/02/ttb-analytics-92/ [2025, April 5].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_tourism [2025, April 5].