
1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 54
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 23 มีนาคม 2568
- Tweet
อันที่จริง ในช่วงปี พ.ศ. 2566 จำนวนประชากร เริ่มลดลง ในขณะที่แนวโน้ม (Trend) การตื่นตัวในการดูแลสุขภาพ (Healthcare consciousness) สูงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยง (Avoid) การเจ็บป่วย (Sickness) แต่ก็ตระหนักถึงค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับรายได้ (Income) ของตนเอง
แม้จะมีสิทธิ์เบิกคืน (Reimburse) ชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการประกันสุขภาพ (Health insurance) แต่ก็ยังพบว่า บ่อยครั้งที่ผู้ใช้บริการ ยังต้องชำระเงินส่วนเกิน (Excess) ของค่ารักษาพยาบาล ทำให้อัตราการเข้าโรงพยาบาลในอนาคต น่าจะมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ธุรกิจเอกชนในภาพรวม เริ่มประสบความท้าทาย (Challenge) โดยการเติบโตของโรงพยาบาลจะเป็นลักษณะเป็น K-shape โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ยังรักษาการเติบโตได้ – ได้แก่โรงพยาบาลเอกชนที่เน้น (Focus) ลูกค้าต่างชาติ (Foreigner) ที่รายได้ยังขยายตัวได้ในปี พ.ศ. 2566 ราว 3% จาการเติบโตของตลาด เพื่อเพิ่มจำนวนผู้รับบริการจากคุณภาพ (Quality) การรักษาพยาบาลที่สูง ณ ราคาที่เข้าถึงได้ (Affordable) ประเทศต่างๆ ในกลุ่มตะวันออกกลาง (Middle East) ซึ่งประเทศไทยได้เปรียบในเรื่องราคาที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพเดียวกันหรือสูงกว่า นอกจากนี้ ยังรวมถึงอุปสงค์ (Demand) ในกลุ่มที่มีรายได้สูงในประเทศอาเซียน (ASEAN = Association of South-East Asia Nations) เช่น กัมพูชา, เมียนมา, และลาว ซึ่งมีมาตรฐาน (Standard) ระบบสาธารณสุข (Public-health system) ที่ยังคงต่ำกว่า (Inferior) ไทยมาก
- กลุ่มที่เริ่มเผชิญข้อจำกัดในการขยายตัว – ได้แก่กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่เน้นลูกค้าชาวไทย ที่รายได้รวมในปี พ.ศ. 2566 ลดลง3% โดยเริ่มเผชิญข้อจำกัดจากจำนวนผู้ป่วยนอก (Outpatient) ลดลง จากรายงานการสำรวจ (Survey) การเข้าโรงพยาบาลเอกชนในปี พ.ศ. 2565 ที่มีจำนวนผู้ป่วยนอก 58.5 ล้านคน/ครั้ง (Visit) เปรียบเทียบกับ 58.8 ล้านคน/ครั้ง ในปี พ.ศ. 2560 เมื่อพิจารณาในบริบท (Context) ที่ประชากรไทยกำลังเข้าสู่ช่วงลดลง (Decline) ส่งผลให้อุปสงค์ (Demand) ของผู้ใช้บริการเริ่มขยายตัวได้ลำบากขึ้น รวมถึงในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ค่ารักษาพยาบาลมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน (Proportion) ที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ (Income) กดดัน (Pressure) ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง (Risk) ในการเกิดโรคต่างๆ ในระยะยาว (Long-term)
เมื่อมองไปข้างหน้า (Outlook) มีการพยากรรณ์ (Forecast) กันว่า การเติบโตในบริบทตลาดชาวต่างชาติ (กลุ่มแรก) จะเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว ส่วนในบริบทตลาดชาวไทย (กลุ่มที่ 2) จะยังคงมีปริมาณอุปสงค์ที่ลดลงต่อเนื่อง ดังนั้น ในภาพรวม (Overall) การรักษาพยาบาลแบบดั้งเดิม (Conventional) จะเริ่มเผชิญกับข้อจำกัด
ttb analytics มีความเห็นว่า นับจากปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป จะเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business model) ที่เปลี่ยนไปของกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน โดยมี 3 ปัจจัย ที่จะอยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อน (Drive) อุตสาหกรรมดูแลสุขภาพ (Healthcare industry) ดังต่อไปนี้
แหล่งข้อมูล –
- https://thaipublica.org/2024/02/ttb-analytics-92/ [2025, March 22].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_tourism [2025, March 22].