1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 48

เมื่อเร็วๆ หน่วยงานวิจัย Statista รายงานว่า ตลาดโรงพยาบาล (Hospital market) ในประเทศไทยเติบโตขึ้นจากความต้องการ (Demand) ที่เพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical tourism) ด้วยบริการทางการแพทย์ที่มีราคาย่อมเยา (Inexpensive) ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทาง (Destination) สำหรับนักท่องเที่ยว ทางการแพทย์จากทั่วโลก (Around the world)

ผู้ป่วยที่ต้องการรับบริการทางการแพทย์ที่เลือกได้ (Choice) เช่น ศัลยกรรมความงาม (Cosmetic surgery), การดูแลทันตกรรม (Dental care) และการรักษาภาวะมีบุตรยาก (Infertility) มักเดินทางมาประเทศไทย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า (Lower cost) และบริการที่มีคุณภาพสูง (High quality) จากโรงพยาบาลของไทย

หนึ่งในแนวโน้ม (Trend) สำคัญของตลาดโรงพยาบาลในประเทศไทย คือการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation) ที่เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลได้ลงทุน (Investment) ในอุปกรณ์ (Equipment) ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced) และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อยก (Raise) ระดับบริการและให้การดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้น

เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม (Popular) มากขึ้นในตลาดโรงพยาบาลในประเทศไทย ได้แก่ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine), การบันทึกข้อมูลทางการแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic medical record), และเครื่องมือวินิจฉัย (Diagnostic device) แบบดิจิทัล อีกหนึ่งแนวโน้มในตลาดคือ การเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ทั้งนี้ ด้วยความตระหนัก (Awareness) ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาสุขภาพ (Healthcare) ที่ดี ผู้คนจำนวนมากจึงเดินทาง (Travel) มาประเทศไทยเพื่อสัมผัสกับการบำบัดแบบดั้งเดิม (Traditional therapy) ของไทย

ตัวอย่างเช่น การนวด (Massage) แผนไทย, การรักษาด้วยสมุนไพร (Herbal), และการทำสมาธิ (Meditation) สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ศูนย์สุขภาพและสปา (Health and spa center) ในประเทศเติบโตขึ้น เพื่อตอบสนอง (Respond) ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่ใส่ใจสุขภาพ (Health consciousness)

ปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริม (Promote การเติบโตของตลาดโรงพยาบาลในประเทศไทย คือการสนับสนุน (Support) จากรัฐบาลต่ออุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ รัฐบาลได้ลงทุน (Invest) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ด้านการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ผ่านโครงการต่างๆ

สิ่งนี้สร้างสภาพแวดล้อม (Environment) ที่เอื้ออำนวย (Facilitate) ต่อการเติบโต ของโรงพยาบาลและการขยาย (Expand) บริการ อีกปัจจัยที่สำคัญคือการมีบุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff) ที่มีทักษะสูง (Highly skilled) ในประเทศไทย ซึ่งมีแพทย์และพยาบาล ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี (Well-trained) จำนวนมาก

เขาเหล่านั้น สามารถให้การดูแลทางการแพทย์ (Medical care) ที่มีคุณภาพสูงแก่ผู้ป่วย โดยช่วยสร้างชื่อเสียง (Reputation) ให้แก่ประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางยอดนิยม (Popular) สำหรับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.statista.com/outlook/hmo/hospitals/thailand [2024, December 28].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_tourism [2024, December 28].