1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 47
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 ธันวาคม 2567
- Tweet
ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้า (Future) ยังต้องติดตามการฟื้นตัว (Recovery) ของเศรษฐกิจโลก, สถานการณ์ความขัดแย้ง (Conflict situation) ระหว่างประเทศ, ประกอบกับนโยบายดึงดูด (Attract) นักท่องเที่ยว (Tourist) และการลงทุน (Investment) จากต่างชาติ ของรัฐบาลไทย ซึ่งจะส่งผลต่อรายได้ (Revenue) และจำนวนผู้ป่วยต่างชาติในปี พ.ศ. 2567
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า รายได้จากผู้ป่วยที่บินเข้ามารักษาพยาบาล น่าจะทยอยฟื้นตัว และน่าจะมีสัดส่วน (Proportion) รายได้ในปี พ.ศ. 2567 ราว 49% ของรายได้ผู้ป่วยต่างชาติรวม (Overall) ขณะที่สัดส่วนรายได้ผู้ป่วยต่างชาติที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในประเทศไทย จะอยู่ที่ 51% ของรายได้ผู้ป่วยต่างชาติรวม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จำนวนผู้ป่วยต่างชาติจะอยู่ที่ราว 3.07 ล้านคน/ครั้ง (Visit) ซึ่งทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ยังให้ภาพการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากยังมีปัจจัยกดดัน (Pressure) กำลังซื้อและการตัดสินใจ (Decision-making) เดินทาง (Travel)
ในตลาดผู้ป่วยที่บินเข้ามารักษาพยาบาล ในปี พ.ศ. 2567 ยังมีผู้ป่วยหลัก 2 กลุ่ม อันได้แก่
- ชาวตะวันออกกลาง (Middle East) ที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ และ
- ผู้ป่วยในอาเซียน (ASEAN = Association of South-East Asia Nations)
นอกจากชาวกัมพูชาและเมียนมา (Myanmar) กลุ่มที่มีกำลังซื้อแล้ว ยังมีผู้ป่วยเวียดนามและอินโดนีเซีย ที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ สำหรับการกลับมาของผู้ป่วยจีนนั้น ยังต้องติดตามประเด็นความเชื่อมั่น (Confidence) ในการเดินทางและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ที่อาจส่งผล (Result) ให้นักท่องเที่ยวบางส่วนชะลอการเดินทางไปต่างประเทศ
ส่วนตลาดของผู้ป่วยต่างชาติที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในประเทศไทย หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง (Eased) จะมีโอกาสเติบโตในพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic area) อย่างชลบุรี, ระยอง, และสมุทรปราการ
ทั้งนี้ ต้องติดตามผลของนโยบายของรัฐบาล (Government policy) ดึงดูดการลงทุนและการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (Minimum wage) ของภาครัฐ จะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของธุรกิจต่างชาติ และส่งผลต่อจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่อาศัยหรือทำงานในประเทศไทย ในอนาคต
นอกจากปัจจัยกดดันการเดินทางมารักษาพยาบาล เมื่อมองไปข้างหน้า (Outlook) โรงพยาบาลเอกชนยังมีผู้ป่วยต่างชาติที่อาศัยหรือทำงานในประเทศไทยอยู่มาก การแข่งขันสูง (Fierce competition) จากทั้งผู้เล่น (Player) รายใหม่ในประเทศที่ขยายธุรกิจสู่บริการทางการแพทย์มากขึ้น
และการแข่งขันเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical hub) ในภูมิภาค (Regional) อย่างมาเลเซีย และสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ไทยก็มีการยก (Raise) ระดับบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง (Continuous) และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ (Well-accepted) อีกทั้งมีข้อได้เปรียบการแข่งขัน (Competitive advantage) ด้านค่ารักษาพยาบาลที่เอื้อมถึง (Affordable)
นอกจากนี้ ธุรกิจยังมีความท้าทาย (Challenge) ในการบริหารจัดการต้นทุน (Cost) ที่ยังยืนตัวสูง ซึ่งจะส่งผลกระทบ (Effect) ต่อการดำเนินธุรกิจ (Business conduct) ด้วยความสามารถการทำกำไร (Profitability) ของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) แต่ละรายในระดับที่แตกต่างกัน
แหล่งข้อมูล –
- https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Medical-Tourism-CI3442-FB-27-10-2023.aspx [2024, December 14].
- https://www.statista.com/outlook/hmo/hospitals/thailand [2024, December 14].