1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 36

ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์ รายงานว่า โรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) แห่ลงทุนเพิ่มหมื่นล้านบาท แข่งขยาย (Expand) สาขาไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น โดยพาดหัวข่าวว่า รพ. เอกชนกาง “แผนที่ถนน” (Road map) ลงทุนรอบใหม่ รับความต้องการ (Demand) ลูกค้าไทยและต่างประเทศ 

โดยมีการเตรียมแผนปูพรม (Wide-spread) สาขาทั่วสารทิศ (All directions) เมืองท่องเที่ยว-อุตสาหกรรม โดยได้รับไฟเขียว (Approval) จาก อีไอเอ (EIA = Environmental Impact Assessment หรือ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) เพิ่มอีก 5 แห่ง รวมเกือบ 800 เตียง คาดว่าจะใช้งบลงทุน (Investment budget) รวม ไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท 

เผยแผนจ่อเข้าคิว (Pipeline) อีกเพียบ โดย BDMS (=Bangkok Dusit Medical Services หรือ กรุงเทพดุสิตเวชการ) ตั้งเป้า (Target) ทะลุ 9 พันเตียง ภายในปี พ.ศ. 2570 ส่วน ค่าย “เกษมราษฎร์-สินแพทย์” ปักหมุดอีอีซี (EEC = Eastern Economic Corridor หรือ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก)

แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ภาพรวม (Overall) ธุรกิจโรงพยาบาลกำลังกลับมา (Return) เท่ากับสถานะก่อนการแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 แล้ว

และมีแนวโน้ม (Trend) การขยายตัวที่ดีขึ้น (Improvement) ทั้งในแง่ของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่ตัวเลขค่อยๆ ฟื้นกลับมา (Gradual recovery) เพิ่มขึ้นเช่นกัน

นอกจากนี้ จากภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมที่ฟื้นตัวขึ้น (Economic turnaround) ก็จะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้ความต้องการ (Demand) การรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นตามมา

ส่วนหนึ่งสะท้อน (Reflect) จากภาพของโรงพยาบาลเอกชนหลายๆ แห่งเริ่มทยอยลงทุนเพื่อปรับปรุง (Renovate) ด้านต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ (Service recipients)

รวมถึงการลงทุนเพื่อขยายบริการและเปิดสาขาใหม่ ที่คาดว่าจากนี้ไป หลายๆ ค่ายจะมีความเคลื่อนไหว (Movement) มากขึ้น ธุรกิจโรงพยาบาลยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง (Continuous growth)

นอกจากนี้ความต้องการการรักษาที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังปัจจัยในแง่ในของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (Structural change) เข้ามาสนับสนุน

ตัวอย่างเช่น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society), การเพิ่มขึ้นของกลุ่มชนชั้นกลางที่มีรายได้ (Middel-income earners), และกำลังซื้อ (Purchasing power) ที่สูงขึ้น การขยายตัวของชุมชนเมือง (Urbanization) บวกกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล (Government policy) ต่างก็เป็นแรงเสริมส่ง (Support)

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ในด้านต่างๆ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special economic zone) และโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาส (Opportunity) ให้ธุรกิจโรงพยาบาลขยายสาขาไปยังพื้นที่ดังกล่าว เพื่อรองรับผู้ป่วยในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง (Neighborhood)

รวมทั้งรองรับชาวต่างชาติ (Foreigner) ที่จะมาทำงาน หรือลงทุนในไทยมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการเดินทางระหว่างประเทศ (International travel) กลับเข้าสู่ระดับปกติ ส่งผลให้นักท่องเที่ยว (Tourist) และผู้ป่วย (Patient) ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทยมากขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.prachachat.net/marketing/news-1473625 [2024, July 13].
  2. https://eeco.or.th/th/comprehensive-infrastructure [2024, July 13].