1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 34

ในสมัยก่อนที่เทคโนโลยียังไม่มีอิทธิพล (Influence) ในชีวิตประจำวัน (Daily life) ของผู้คนเท่าไรนั้น ธุรกิจโรงพยาบาลมักจะใช้ระบบการตลาดแบบดั้งเดิม (Classical) เพื่อโฆษณา (Advertise) จุดเด่น (Outstanding points) ด้านการแพทย์, การบริการ, และการรักษาผู้ป่วยของแต่ละโรงพยาบาล

โดยดำเนินการผ่านการทำโฆษณาบนช่องโทรทัศน์ (Television), วิทยุ (Radio), แผ่นภาพ (Poster) และสื่อกลางแจ้ง (Billboard), ตลอดจนสื่อบนสิ่งตีพิมพ์ (Prints) อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ (Newspaper) และนิตยสาร (Magazine)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบอกต่อ (Words of mouth) จากกลุ่มผู้ป่วยที่เคยเข้าใช้บริการ (Patient experience) จากโรงพยาบาลมาก่อน ซึ่งดูเหมือนจะทรงอิทธิพลไม่น้อย อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม (Overall) นานาวิธีการตลาดดังกล่าว ยังไม่ให้ผลลัพธ์ (Result) เป็นไปตามที่นักการตลาดตั้งเป้า (Target) ไว้

เนื่องจากเทคโนโลยีและสื่อดิจิทัล (Digital media) มีการพัฒนาก้าวหน้า (Advance development) จนเข้าแทรกแซง (Intervene) สื่อแบบดั้งเดิม, ลดบทบาท (Role) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำการตลาดของสื่อสิ่งพิมพ์, รวมถึงรูปแบบการทำการตลาดแบบเก่า (Conventional) ที่ลดน้อยถอยลง

แนวโน้ม (Trend) ที่เห็นชัด คือสื่อออนไลน์ค่อยๆ กลายเป็นกระแสหลัก (Mainstream) ในการโฆษณาสินค้าและบริการในทุกกลุ่มธุรกิจ ไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจโรงพยาบาล (Hospital business)

ถึงแม้ว่าการตลาดแบบดั้งเดิมจะให้ประสิทธิภาพและการวัด (Measurement) ผลตอบแทนจาการลงทุน (Return on investment: ROI) ที่ไม่ดีเท่าแต่ก่อน แต่วิธีการตลาดแบบเก่ายังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ (Apply) ให้เหมาะสมกับกลยุทธ์การตลาด (Marketing strategy) สมัยใหม่สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลได้เช่นกัน

แต่ต้องมีการวางแผน (Planning) และประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องผสมผสาน (Interweave) กับวิธีการตลาดออนไลน์ (Online marketing) ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลหลายแห่งต่างคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ (Noel) ที่มีความหลากหลาย (Variety) จนสามารถประสบความสำเร็จในระดับประเทศได้มากมาย

ช่องทางการตลาด (Market channel) ได้มีการเปลี่ยนแปลง จากการตลาดภายนอก (Outbound marketing) หรือออฟไลน์ (Off-line) ไปสู่ การตลาดภายใน (Inbound marketing) หรือออนไลน์ (On-line) ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจโรงพยาบาล มีอยู่หลายช่องทาง แต่ที่สำคัญๆ  ได้แก่

  1. Facebook

ในบรรดาสื่อสังคม (Social media) เฟซบุ๊กนับเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ที่เหมาะสำหรับธุรกิจโรงพยาบาลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะระบบการยิงโฆษณาซึ่งถือเป็นจุดขายโดดเด่น (Unique selling point) ของแพลตฟอร์มนี้ เพราะสามารถตอบโจทย์ในการนำเสนอ (Offer) การบริการและส่งเสริมการขาย (Sales promotion) ให้เข้าหากลุ่มลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง

หรือหากโรงพยาบาลต้องการสื่อสาร (Communicate) เข้าหากลุ่มลูกค้าที่มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพราะระบบการตั้งค่าโฆษณาของเฟซบุ๊กมีความละเอียดและแม่นยำ (Precise) มาก โดยสามารถตั้งค่าโฆษณา เพื่อคัดกรอง (Screen) ให้สื่อสารเข้าหากลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจในการใช้บริการของโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ได้โดยตรง หรือยิงตรงเป้า

แหล่งข้อมูล

  1. https://tbs-marketing.com/th/verticals/healthcare-marketing/medical-marketing/ [2024, June 15].
  2. https://www.impactmybiz.com/blog/inbound-vs-outbound-marketing/ [2024, June 15].