1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 33

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปี พ.ศ. 2566 รายได้ (Revenue) ของโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Securities Exchange of Thailand: SET) น่าจะขยายตัว (Expand) +3.7% ซึ่งเป็นทิศทาง (Direction) ที่ชะลอลง (Slow-down) จากปี พ.ศ. 65 เนื่องจากกลุ่มคนป่วยโควิด-19 ที่ลดลง

โดยคาดว่าหลังจากนี้ รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนน่าจะทยอยปรับ (Gradual adjustment) เข้าสู่ฐานเดิม (Original base) ก่อนการแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากผู้ป่วยต่างชาติทยอยกลับ (Gradual return) มาตามการฟื้นตัว (Recovery) ของภาคการท่องเที่ยว (Tourism sector)

โดยเฉพาะตลาดผู้ป่วยหลัก (Major patients) อย่างตะวันออกกลาง (Middle East) ที่คาดว่าจะเข้ามาใช้บริการจำนวนมากในช่วงครึ่งปีหลัง นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยต่างชาติในกลุ่ม กัมพูชา, สปป. ลาว, เมียนมา, และเวียดนาม (Cambodia, Laos, Myanmar, and Vietnam: CLMV) รวมถึงผู้ป่วยชาวไทย ทั้งกลุ่มประกันสังคมและกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปที่ชำระเงินเอง (Self-pay) ที่คาดว่าจะกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปี พ.ศ. 2566 รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนจะยังคงเติบโต แต่กำไร (Profit) ของธุรกิจยังเผชิญแรงกดดัน (Pressure) จากหลายปัจจัย (Factor) ซึ่งนอกจากฐานที่สูงในปีก่อน สะท้อน (Reflect) ได้จากไตรมาส (Quarter) แรกของปี พ.ศ 2566 ธุรกิจมีกำไรลดลง -42% จากปีก่อน จากกลุ่มผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 ที่ลดลง 

ในช่วงที่เหลือของปี พ.ศ. 2566 กำไรของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังถูกกดดันจากต้นทุนในการดำเนิน (Operating cost) ธุรกิจที่ยังสูง ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรง (Labor) ที่มีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มขึ้นจากปัญหาการขาดแคลนบุคลากร (Staff shortage) ค่าสาธารณูปโภค (Infrastructure) ต่างๆ ที่ยังยืนสูง

ตลอดจนการลงทุน (Investment) ในเครื่องมือหรืออุปกรณ์การแพทย์ใหม่ๆ นอกเหนือจากการแข่งขัน (Competition) ทางธุรกิจที่อาจรุนแรงขึ้น จากผู้เล่น (Player) รายเดิมและผู้เล่นรายใหม่ที่จะเข้ามาขยายการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน สวนทาง (Reverse) กับกำลังซื้อ (Purchasing power) ที่มีศักยภาพ (Potential) ของผู้ป่วยที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่หรือมีจำกัด (Limited)

ส่งผลให้การคาดการณ์ (Expectation) ว่า กำไรของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนทั้งปี พ.ศ. 2566 น่าจะลดลงราว -8.5% จากปี พ.ศ. 2565 ด้วยต้นทุน (Cost) และค่าใช้จ่ายดำเนินการ (Operating expenses) ที่เพิ่มขึ้น

ในระยะข้างหน้า (Outlook) ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังเผชิญโจทย์ท้าทาย (Challenge) อีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อม (Readiness) ทางด้านบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะการแพทย์เฉพาะทาง (Medical specialty) หรือบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลหรือรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ (Geriatric) ซึ่งจะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่สำคัญในอนาคต

รวมไปถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical advancement) หรือการเตรียมความพร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) ต่างๆ เพื่อดูแลหรือให้บริการรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น ทั้งการเพิ่มประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (Efficiency)

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามประเด็น (Issue) ต่างๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมราคา (Price control), ยา (Drug), เวชภัณฑ์ (Medical supplies) และค่าบริการ (Service fee) นโยบาย (Policy) กองทุนด้านสุขภาพต่างๆ เช่น ระบบประกันสังคม (Social security) ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง การเข้าถึง (Access) การรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี (Annual check-up) และสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผลประกอบการของธุรกิจในระยะถัดไป

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Private-Hospital-CIS3421-FB-13-07-2023.aspx [2024, June 1].
  2. https://www.statista.com/outlook/hmo/hospitals/thailand#:~:text=The%20Hospitals%20market%20in%20Thailand,US%2412.59bn%20by%202028 [2024, June 1].