1. ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 25
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 26 มกราคม 2567
- Tweet
ในจำนวนสถานพยาบาลทั้งหมดในประเทศไทย เป็นคลินิกเอกชน 64.4%, เป็นของรัฐ ระดับปฐมภูมิ (Primary care) 33.9%, และเป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ (Secondary care) และตติยภูมิ (Tertiary care) เพียง 1.7% ซึ่งตัวเลขนี้ แยกระหว่างโรงพยาบาลเอกชน 0.9% และโรงพยาบาลรัฐ 0.8%
อัตราค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย ต่ำกว่าในสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ในทุกประเภท คู่แข่งขันในด้านราคาในภูมิภาค มีเพียงอินเดียเท่านั้น ที่คิดค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่าไทยในทุกประเภท ยกเว้นประเภทแรก ดังต่อไปนี้
- Coronary angioplasty - ไทย = 147,000 บาท, อินเดีย = 199,500 บาท
- Heart bypass - ไทย = 525,000 บาท, อินเดีย = 276,500 บาท
- Hip replacement - ไทย = 595,000 บาท, อินเดีย = 252,000 บาท
- Gastric bypass - ไทย = 588,000 บาท, อินเดีย = 245,000 บาท
- Hysterectomy - ไทย = 127,750 บาท, อินเดีย = 112,000 บาท
- Laski (2 eyes) - ไทย = 80,850 บาท, อินเดีย = 35,000 บาท
- Dental implant - ไทย = 60,200 บาท, อินเดีย = 31,500 บาท
- Breast implant - ไทย = 122,500 บาท, อินเดีย = 105,000 บาท
ในช่วงการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส Covid-19 ระบบสาธารณสุข (Public health) ของนานาประเทศ ต่างประสบวิกฤต (Crisis) ในความพยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ บางประเทศก็ประสบความสำเร็จ (Success) แต่บางประเทศก็ประสบความล้มเหลว (Failure) จนถึงหายนะ (Disaster)
ดังนั้น จุงมีการพัฒนาดัชนีชี้วัด (Indicator) ในการดูแลสุขภาพระบบนานาชาติ (International) ผลการจากการสำรวจ (Survey) ระบบสาธารณสุขในแต่ละประเทศ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 (ช่วงที่ Covid-19 ระบาดหนัก) แสดงลำดับจากดีมากไปดีน้อย [คะแนนเต็ม 100] ดังนี้
- ไต้หวัน = 86.7
- เกาหลีใต้ = 82.0
- ญี่ปุ่น = 81.1
- เดนมาร์ก = 80.0
- ฝรั่งเศส = 80.0
- สเปน = 78.9
- ออสเตรีย = 78.7
- ไทย = 78.0
แหล่งข้อมูล –
- https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Services/Private-Hospitals/IO/io-Private-Hospitals [2024, January 25].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Health_care_systems_by_country [2024, January 25].